วันศุกร์, สิงหาคม 19, 2554

เงืนฝืด (ม.5)

เงินฝืด Deflation
ความหมาย
ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลงเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องทำให้อำนาจซื้อของเงินเพิ่มขึ้น ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมีน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับความต้องการถือเงิน
รูปแบบของเงินฝืด

ภาวะเงินฝืดอย่างอ่อน
ระดับราคาสินค้าและบริการลดลงไม่เกิน 5%ต่อปี
กระตุ้นการใช้จ่าย
เพิ่มอุปสงค์มวลรวม
เศรษฐกิจขยายตัว
ภาวะเงินฝืดปานกลาง
ระดับราคาสินค้าและบริการลดลงเกิน 5%แต่ไม่ถึง20%ต่อปี
กำไรของผู้ผลิตลดลง
ลดกำลังการผลิต
รายได้ของประชาชนลด
เศรษฐกิจถดถอย
ภาวะเงินฝืดอย่างรุนแรง
ระดับราคาสินค้าและบริการลดลงเกินกว่า 20%ต่อปี
การผลิตหยุดชะงัก
คนว่างงาน
เศรษฐกิจตกต่ำ


ผลกระทบ
ผู้ประกอบการคาดคะเนว่าราคาสินค้าลด >>>การผลิตลด >>>ชะลอการลงทุน >>>จ้างงานลด >>>ว่างงานเพิ่ม >>>รายได้ประชาชนลด >>>เศรษฐกิจถดถอย/ซบเซา>>>เศรษฐกิจตกต่ำ

วันพฤหัสบดี, สิงหาคม 18, 2554

นิติกรรมและสัญญา (ม.3)

นิติกรรมคืออะไร
(ป.พ.พ.ม. 149) การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร  มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อก่อ  เปลี่ยนแปลง  โอน  สงวน  หรือระงับซึ่งสิทธิ
หลักการของนิติกรรม
1.ต้องมีการแสดงเจตนาของบุคคล
§  ชัดแจ้ง
§  ปริยาย
§  นิ่ง
2. ต้องประกอบด้วยใจสมัคร
§  เจตนาด้วยใจจริง และด้วยใจสมัคร
§  ปราศจากการข่มขู่ ล่อลวง ฉ้อฉล หรือหลอกลวงให้สําคัญผิดใด ๆ
§  แม้จะตกลงให้ได้เปรียบเสียเปรียบแก่กันอย่างไรก็ถือว่าใช้ได้
3. มุ่งให้มีผลผูกพันในทางกฎหมาย
§  ต้องการให้มีผลในทางกฎหมาย
4. เป็นการกระทําที่ชอบด้วยกฎหมาย
§  ต้องไม่ต้องห้ามตาม กฎหมาย
§  ไม่พ้นวิสัย
§  ไม่ขัดต่อความสงบฯ
§  แบบของนิติกรรม
§  ความสามารถของบุคคล
5. การกระทํานั้นเพื่อก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวในสิทธิ
§  ก่อสิทธิ
§  เปลี่ยนแปลงสิทธิ
§  โอนสิทธิ
§  สงวนสิทธิ
§  ระงับซึ่งสิทธิ
นิติกรรมในชีวิตประจำวัน
1. การกู้ยืมเงิน
การกู้ยืมเงินเป็นสัญญาอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า "ผู้กู้" มีความต้องการจะใช้เงิน แต่ตนเองมีเงินไม่พอ หรือไม่มี เงินไปขอกู้ยืมจากบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า "ผู้ให้กู้" และผู้กู้ตกลงจะใช้คืน ภายในกำหนดเวลาใดเวลาหนึ่ง การกู้ยืมจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ มีการส่ง มอบเงินที่ยืมให้แก่ผู้ที่ให้ยืม ในการกู้ยืมนี้ผู้ให้กู้จะคิดดอกเบี้ยหรือไม่ก็ได้
2. การค้ำประกัน
การที่ใครคนหนึ่งทำสัญญา กับเจ้าหนี้ว่าถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันจะชำระหนี้นั้นแทน เมื่อลูกหนี้ ไม่ชำระหนี้เจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องหรือฟ้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดได้
3. การจำนอง
การที่ ผู้จำนอง เอาอสังหาริมทรัพย์ไปตราไว้แก่ ผู้รับจำนอง เพื่อเป็นประกัน การชำระหนี้ของลูกหนี้ โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์ที่จำนองให้เจ้าหนี้ เมื่อจำนองแล้วถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เจ้าหนี้ก็มีอำนาจยึดทรัพย์ที่จำนองออกขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้ และมีสิทธิพิเศษได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้ธรรมดาทั่วไป
4. การจำนำ
สัญญาซึ่ง ผู้จำนำ ส่งมอบสังหาริมทรัพย์ให้แก่ ผู้รับจำนำ เพื่อประกันการชำระหนี้
5. การเช่าซื้อ
สัญญาที่เจ้าของทรัพย์สินเอาทรัพย์สินของตนออกให้ผู้อื่นเช่า เพื่อใช้สอยหรือเพื่อให้ได้รับประโยชน์ และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์นั้น หรือจะให้ทรัพย์สินที่เช่าตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ เมื่อได้ใช้เงินจนครบตามที่ตกลงไว้โดยการชำระเป็นงวด ๆ จนครบตามข้อตกลง
**ไม่เหมือนขายผ่อนส่งตรงกรรมสิทธิ์**
6. การเช่าทรัพย์
สัญญาซึ่ง ผู้ให้เช่า ตกลงให้ ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดและผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น
7. การซื้อขาย
สัญญาที่ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ สินให้แก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย
8. การขายฝาก
สัญญาซื้อขายซึ่งสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของ ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยผู้ซื้อตกลงในขณะทำสัญญาว่า ผู้ขายมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ภายในกำหนดเวลาเท่าใด

ความเป็นมาของชนชาติไทย (ม.1)

ความเป็นมาของชนชาติไทย
ชนชาติไทย/ชนชาติไท(ไต)

ชนชาติไทย
ชนชาติไท(ไต)
มีลักษณะร่วมกันคือ
Ø ชาติพันธ์(มองโกลอยด์)
Ø ตัวอักษร(อักษรไทย)
Ø ภาษา(ภาษาไทย)เพี้ยนไปตามถิ่น
Ø นิสัย ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี

Ø กลุ่มคนที่พูดภาษาตระกูลไท(ไต)
Ø แตกแขนงไปหลายกลุ่มย่อย เช่น  ไทลื้อ ไทอาข่า ไทม้ง ไทจ้วง
Ø คนไทยถือว่าเป็นกลุ่มย่อยของคนไท
Ø กระจายอยู่หลายประเทศ  (จีน อินเดีย ลาว เวียดนาม พม่า มาเลเซีย ไทย)



ไทย/สยาม
v ไทย หมายถึง กลุ่มชนที่มีเอกลักษณ์ร่วมกัน และคิดว่าตนเองเป็นคนไทยดังที่กล่าวไว้แล้ว
v สยาม หมายถึง ดินแดนทั้งหมดของประเทศไทยซึ่งคือประเทศไทยนั่นเอง
แนวคิดเกี่ยวกับที่มาของคนไทย
1. เทือกเขาอัลไต(ทางเหนือของจีน)
2. มณฑลเสฉวน(ตอนกลางของจีน)                   ตอนบนของไทย          
3. ตอนใต้จีน/รัฐอัสสัม (ตอนใต้ของจีน)
4. อยู่ที่นี่ตั้งแต่แรก                                                  ไม่ได้ไปไหนเลย
5. คาบสมุทรมลายู                                          ตอนล่างของไทย




ทฤษฎีเทือกเขาอัลไต(ทางเหนือของจีน)
เจ้าของแนวคิด
แนวคิด
การหักล้าง
ดร.วิลเลี่ยม คลิฟตัน ดอดด์
ผู้ริเร่ม
เขียนหนังสือ:ชนชาติไทย:พี่ใหญ่ของชาวจีน
คนไทยเป็นชาวมองโกล
ตั้งถิ่นฐานที่จีนก่อนชาวจีน
อาณาจักรอ้ายลาว
ภายหลังถูกจีนรุกรานจนถอยลงมา
การอพยพลำบากมาก
ไกลมาก
ไม่มีใครเชื่อแล้ว
ขุนวิจิตรมาตรา
หนังสือ:หลักไทย
อัลไต มาจากคำว่า แอ่งไทย
ภายหลังถูกจีนรุกรานจนถอยลงมา
ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับคนไทยบริเวณนั้น
แอ่งไทยมาจากการลากเสียงเท่านั้น
มณฑลเสฉวน(ตอนกลางของจีน)
เจ้าของแนวคิด
แนวคิด
การหักล้าง
แตแครียง เดอ ลากูแปครี
ผู้ริเร่ม
บทความ:ถิ่นเดิมของชนชาติฉาน
เอกสารจีน อาณาจักรต้ามุงปกครองโดยคนไทย
ภายหลังถูกจีนรุกรานจนถอยลงมา
ไม่มีหลักฐานอื่นว่าไทยเคยปกครองต้ามุง
ใช้เอกสารอย่างเดียวไม่ได้
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชนุภาพ
แสดงบรรยายพงศาวดารสยาม
เดิมไทยเป็นถิ่นของมอญ เขมร
ชาวไทยเดิมอยู่เสฉวนแต่ถูกขับไล่
ขาดหลักฐานทางโบราณคดีและมานุษยวิทยา
หลวงวิจิตรวาทการ
พระยาอนุมานราชธน
งานค้นคว้าเรื่องเชื้อชาติไทย
ชาวไทยยิ่งใหญ่ทางตอนกลางของจีน เรียกว่า อ้ายลาว
อพยพลงมาเรื่อยๆ
ขาดหลักฐานทางโบราณคดีและมานุษยวิทยา
ตอนใต้จีน/รัฐอัสสัม (ตอนใต้ของจีน)
เจ้าของแนวคิด
แนวคิด
การหักล้าง
อาร์คิบอล อาร์ คอลูน
ผู้ริเร่ม

สำรวจตอนใต้จีน ตอนเหนืออินโดนีเซีย ตอนเหนือพม่าและรัฐอัสสัม
พบว่ามีกลุ่มคนที่มีภาษา วัฒนธรรม ประเพณีเหมือนคนไทย
(ประเทศไทย)
น่าเชื่อถือที่สุด
มีหลักฐานมากและมีชาวไตอาศัยอยู่บริเวณดังกล่าว

เจ้าของแนวคิด
แนวคิด
การหักล้าง
จอร์ช เซเดส์
(George Coedes)

เชื่อว่าเดิมคนไทยอยู่ที่มณฑลหหยูนหนานตั้งอาณาจักรน่านเจ้า ถูกจีนรุกรานจึงอพยพไปที่รัฐอัสสัม เชียงรุ้ง(จีน) เชียงแสน(ไทย)
ไม่มีการหักล้าง

ซือ หม่า เซียน

กล่าวถึงชนเผ่าเทียนที่มีแว่นแคว้นใหญ่โต อ่อนน้อมต่อจีนจึงไม่ถูกรุกราน เรียกว่า เตียนเย่ว(ผู้ขี่ช้าง)
ไม่มีการหักล้าง

ศจ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร

อ้างหลักฐานของนักภาษาศาสตร์ ดร.เก็ตนีย์ ว่ามณฑลกวางสีมีภาษาถิ่น ภาษาไทอยู่มาก แสดงว่าชนชาติไทยเคยตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้
ไม่มีการหักล้าง

พระยาประชากิจกรจักร
(แช่ม บุนนาค)
พงศาวดารโยนก

นำหลักฐานของชาวตะวันตกมาอ้างอิงเป็นครั้งแรก
สรุปว่าถิ่นเดิมของคนไทยอยู่บริเวณตอนใต้ของจีน
ไม่มีการหักล้าง

ทฤษฎีอยู่ที่นี่ตั้งแต่แรก
เจ้าของแนวคิด
แนวคิด
การหักล้าง
รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม
ผู้ริเริ่ม

ใช้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และโบราณคดี เสนอแนวคิดว่าคนไทยอยู่บริเวณประเทศไทยและคาบสมุทรอินโดนีเซียมานับพันปีแล้ว
ไม่มีหลักฐานใดยืนยัน

ศจ.นายแพทย์สุด แสงวิเชียร
เทียบโครงกระดูกยุคหินใหม่ที่พบที่กาญจนบุรี

มีสีของเม็ดเลือดแดงมากผิดปกติซึ่งเป็นโรคที่มีเฉพาะคนไทย
ประเพณีถอนฟันหน้า
ประเพณีฝนแต่งฟันหน้า

ไม่ได้เปรียบเทียกับโครงกระดูกของชาวมอญ เขมร พม่าและลาว
หลักฐานไม่เพียงพอ
เจ้าของแนวคิด
แนวคิด
การหักล้าง
ศจ.ชิน อยู่ดี
หนังสือ:สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

มีการขุดค้นร่องรอยของมนุษย์ตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทย
โครงกระดูก 180,000 ปี
เครื่องใช้ 700,000ปี
มนุษย์ที่อาศัยอยู่อย่างต่อเนื่องนั้นไม่อาจระบุได้ว่าคือ ชนชาติใด
หลักฐานไม่พอ
ทฤษีคาบสมุทรมลายู
เจ้าของแนวคิด
แนวคิด
การหักล้าง
รูธ เบเนดิกต์

ชาวไทยเป็นคนเชื่อสายมลายู
มีคำพ้องเสียงกับภาษาฟิลิปปินส์
แมว-แม่ว กู-อากู ตาย-ปะตาย
หลักฐานผิดหลักภาษาที่เอาความคล้ายคลึงมาอ้าง
นายแพทย์ สมศักดิ์ พันธุ์สมบุญ

ความถี่ของหมู่เลือดจากการสุ่มเหมือนชาวอินโดนีเซียและมลายู มากกว่าจีน
หมู่เลือดไม่เกี่ยว
ฟันและขากรรไกรเหมือนชาวจีน
แต่มลายูเหมือนเขมร
ศจ.นายแพทย์ ประเวศ วะสี

เฮโมโกลบินEพบมากในคนบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ชาวจีนไม่ค่อยมี
เฮโมโกลบินEสูงเพราะบริเวณนั้นมีโรคมาลาเรียชุกชุม
ไม่เกี่ยวกับเชื้อชาติเลย


ตัวอย่างปลายภาค รอบสุดท้าย

  1. ความหมายโดยทั่วไปของกฎหมายคืออะไร 1. ข้อบังคับของรัฐ 2. บรรทัดฐานในสังคม 3. จารีตประเพณี 4. บรรทัดฐานที่ศาลใช้ในการตัดสินคด...