วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 12, 2555

บุคคล (ม.3)

กฎหมายว่าด้วยความสามารถของบุคคล
ประเภทของบุคคล
Ø บุคคลในทางกฎหมาย หมายถึง สิ่งซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายจำแนกเป็น ๒ ประเภท คือ
บุคคล คือ มนุษย์ คือ มนุษย์เราโดยทั่วไป
นิติบุคล คือ สิ่งที่กฎหมายสมมติว่าเป็นบุคคลหรือยกขึ้นเป็นบุคคลเพื่อให้มีสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ ได้ตามกฎหมาย
บุคคลธรรมดา
การเริ่มสภาพบุคคล
สภาพบุคคลเริ่มตั้งแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
Ø ทารกพ้นจากคลอดของมารดา
Ø อยู่รอดเป็นทารก
Ø ทารกในครรภ์มารดาปกติยังไม่ถือว่ามีสภาพบุคคล โดยหลักจึงไม่อาจมีสิทธิใด ๆ ในทางกฎหมาย แต่
Ø .แพ่งฯ มาตรา ๑๕ วรรคสอง บัญญัติว่า ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่าง ๆ ได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
เช่น สิทธิในการรับมรดกจากบิดาที่ตายในระหว่างที่ทารกนั้นยังอยู่ในครรภ์มารดาโดยการคลอดนี้จะต้องคลอดภายในระยะเวลา ๓๑๐ วัน นับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
การสิ้นสุดสภาพบุคคล
            สภาพบุคคลสิ้นสุดลงเมื่อตาย ( มาตรา ๑๕ ) การตายตามกฎหมายนั้นมีอยู่ ๒ กรณี คือ
Ø การตายตามธรรมชาติ
Ø การตายโดยผลของกฎหมาย
การตายตามธรรมชาติ หมายถึง คนสิ้นชีวิต โดยหลักจะได้แก่ ระบบการทำงานของร่างกาย ๓ ระบบ ไม่ทำงาน คือ
Ø ระบบประสาทกลาง ได้แก่ สมอง
Ø ระบบไหลเวียนโลหิต ได้แก่ หัวใจและหลอดเลือด
Ø ระบบหายใจ ได้แก่ หลอดลมและปอด
การตายโดยผลของกฎหมาย คือ บุคคลที่ศาลสั่งแสดงว่าเป็นคนสาบสูญ
Ø การที่บุคคลถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังชีวิตอยู่ หรือไม่ตลอดระยะเวลาห้าปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ แต่ในกรณีที่มีเหตุภยันตรายจากการรบหรือสงคราม ยานพาหนะสูญหาย ระยะเวลาจะลดเหลือ ๒ ปี
นิติบุคคล
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Ø สมาคม มูลนิธิ  ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด
กฎหมายอื่น
Ø กระทรวงและกรมในรัฐบาล ราชการบริหารส่วนภูมิภาค วัด
ผู้เยาว์
ผู้เยาว์คือใคร
Ø มาตรา 19 บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ ยี่สิบปี บริบูรณ์
Ø มาตรา 20 ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรสหากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา 1448
การสมรสของผู้เยาว์
Ø มาตรา 1448 การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้
การทำนิติกรรมของผู้เยาว์
Ø มาตรา 21 ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อนการใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
นิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทำเองได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอม
Ø มาตรา 22 ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง
Ø มาตรา 23 ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว
Ø มาตรา 24 ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร
Ø มาตรา 25 ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์
Ø  มาตรา 26 ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ผู้เยาว์จำหน่ายทรัพย์สินเพื่อการอันใดอันหนึ่งอันได้ระบุไว้ ผู้เยาว์จะจำหน่ายทรัพย์สินนั้นเป็นประการใดภายในขอบของการที่ระบุไว้นั้นก็ทำได้ตามใจสมัคร อนึ่งถ้าได้รับอนุญาตให้จำหน่ายทรัพย์สินโดยมิได้ระบุว่าเพื่อการอันใดผู้เยาว์ก็จำหน่ายได้ตามใจสมัคร
ผู้เยาว์ประกอบธุรกิจ
มาตรา 27 ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่น หรือในการทำสัญญาเป็นลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงานได้ ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้
ในความเกี่ยวพันกับการประกอบธุรกิจ หรือการจ้างแรงงานตามวรรคหนึ่งให้ผู้เยาว์มีฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว
ถ้าการประกอบธุรกิจ หรือการทำงานที่ได้รับความยินยอมหรือที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ก่อให้เกิดความเสียหายถึงขนาดหรือเสื่อมเสียแก่ผู้เยาว์ ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจบอกเลิกความยินยอมที่ได้ให้แก่ผู้เยาว์เสียได้หรือในกรณีที่ศาลอนุญาต ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการอนุญาตที่ได้ให้แก่ผู้เยาว์นั้นเสียได้
ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมบอกเลิกความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควรผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาล ให้เพิกถอนการบอกเลิกความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมได้
การบอกเลิกความยินยอมโดยผู้แทนโดยชอบธรรม หรือการเพิกถอนการอนุญาตโดยศาล ย่อมทำให้ฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วของผู้เยาว์สิ้นสุดลงแต่ไม่กระทบกระเทือนการใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้กระทำไปแล้วก่อนมีการบอกเลิกความยินยอมหรือเพิกถอนการอนุญาต

ตัวอย่างปลายภาค รอบสุดท้าย

  1. ความหมายโดยทั่วไปของกฎหมายคืออะไร 1. ข้อบังคับของรัฐ 2. บรรทัดฐานในสังคม 3. จารีตประเพณี 4. บรรทัดฐานที่ศาลใช้ในการตัดสินคด...