วันอังคาร, กรกฎาคม 26, 2554

บุคลล (ม.3)

กฎหมายว่าด้วยความสามารถของบุคคล

ประเภทของบุคคล
Ø บุคคลในทางกฎหมาย หมายถึง สิ่งซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายจำแนกเป็น ๒ ประเภท คือ
                  1. บุคคล คือ มนุษย์ คือ มนุษย์เราโดยทั่วไป
                  2. นิติบุคล คือ สิ่งที่กฎหมายสมมติว่าเป็นบุคคลหรือยกขึ้นเป็นบุคคลเพื่อให้มีสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ ได้ตามกฎหมาย

บุคคลธรรมดา
การเริ่มสภาพบุคคล
สภาพบุคคลเริ่มตั้งแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
            1. ทารกพ้นจากคลอดของมารดา
            2. อยู่รอดเป็นทารก

ทารกในครรภ์มารดาปกติยังไม่ถือว่ามีสภาพบุคคล โดยหลักจึงไม่อาจมีสิทธิใด ๆ ในทางกฎหมาย แต่
.แพ่งฯ มาตรา ๑๕ วรรคสอง บัญญัติว่า ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่าง ๆ ได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
เช่น สิทธิในการรับมรดกจากบิดาที่ตายในระหว่างที่ทารกนั้นยังอยู่ในครรภ์มารดาโดยการคลอดนี้จะต้องคลอดภายในระยะเวลา ๓๑๐ วัน นับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย

การสิ้นสุดสภาพบุคคล
สภาพบุคคลสิ้นสุดลงเมื่อตาย ( มาตรา ๑๕ ) การตายตามกฎหมายนั้นมีอยู่ ๒ กรณี คือ
การตายตามธรรมชาติ
            หมายถึง คนสิ้นชีวิต โดยหลักจะได้แก่ ระบบการทำงานของร่างกาย ๓ ระบบ ไม่ทำงาน คือ
            1. ระบบประสาทกลาง ได้แก่ สมอง
            2. ระบบไหลเวียนโลหิต ได้แก่ หัวใจและหลอดเลือด
            3. ระบบหายใจ ได้แก่ หลอดลมและปอด
การตายโดยผลของกฎหมาย
            คือ บุคคลที่ศาลสั่งแสดงว่าเป็นคนสาบสูญ
                        การที่บุคคลถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังชีวิตอยู่ หรือไม่ตลอดระยะเวลาห้าปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ แต่ในกรณีที่มีเหตุภยันตรายจากการรบหรือสงคราม ยานพาหนะสูญหาย ระยะเวลาจะลดเหลือ ๒ ปี

นิติบุคคล
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สมาคม มูลนิธิ  ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด
กฎหมายอื่น
กระทรวงและกรมในรัฐบาล ราชการบริหารส่วนภูมิภาค วัด

กฎหมายลายลักษณ์อักษร (ม.3)

ที่มาของกฎหมายในระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร
สืบทอดมาตั้งแต่สมัยโรมัน
มีที่มาอยู่ 3 ประการ
1) กฎหมายลายลักษณ์อักษร
2) จารีตประเพณี
        3) หลักกฎหมายทั่วไป

กฎหมายลายลักษณ์อักษรของไทย
1) ประมวลกฎหมาย
        - รวมกฎหมายเรื่องเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกันมาบัญญัติไว้ รวมกันเป็นเรื่อง เป็นหมวด เป็นหมู่ อย่างเป็นระบบ เพื่อความสะดวกในการใช้การศึกษา
2) รัฐธรรมนูญ
        - เป็นกฎหมายแม่บท/หลักสำคัญในการกำหนดระเบียบแห่งอำนาจสูงสุด กติกา
3) พระราชบัญญัติ
        - มีศักดิ์สูงรองจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่ต้องอยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ
        - ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
        - บัญญัติขึ้นเฉพาะเรื่องผิดจากประมวลกฎหมาย
4) พระราชกำหนด
        - เป็นกฎหมายที่ฝ่ายบริหารได้รับมอบหมายให้ออกกฎหมายได้ยามฉุกเฉินเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติโดยส่วนรวม  เป็นกฎหมายชั่วคราว
        - ต้องนำเข้ารัฐสภา > > ฝ่ายนิติบัญญัติได้อนุมัติเป็นพระราชบัญญัติ
        - หากรัฐสภาพไม่อนุมัติ > > พระราชกำหนดเป็นอันตกไป
5) พระราชกฤษฎีกา
        - เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร มีศักดิ์ต่ำกว่ากฎหมายข้างต้น
        - ต้องอาศัยอำนาจที่ได้รับมอบหมายตามพระราชบัญญัติ จึงจะออกกฎหมายได้
6) กฎกระทรวง
        - ออกโดยฝ่ายบริหาร
        - นำหลักการในกฎหมายหลัก มาขยายต่อในรายละเอียดในการปฏิบัติ
        - ออกโดยรัฐมนตรี ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด
7) เทศบัญญัติและกฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
        - จะออกได้ต้องมีพระราชบัญญัติซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทกำหนดอำนาจไว้
                เช่น พรบ.เทศบาล, พรบ.สุขาภิบาล, พรบ.ระเบียบบริหารส่วนราชการ      ส่วนจังหวัด หรือกฎหมายพิเศษจัดตั้งองค์กรปกครองตนเอง
                        เช่น พรบ.กทม.หรือ พรบ.เมืองพัทยา

วันจันทร์, กรกฎาคม 25, 2554

สหกรณ์ (ม.5)

สหกรณ์
ความหมาย
การรวมตัวของกลุ่มบุคคลที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ด้วยความสมัครใจ ร่วมกันรับผิดชอบและดำเนินการให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ โดยยึดหลักประชาธิปไตย ไม่มุ่งแสวงหาผลกำไร และแบ่งปันผลประโยชน์กันอย่างยุติธรรม

ลักษณะสำคัญ
1. เป็นธุรกิจ ใช้ปัจจัยการผลิต
2. รวมคนและรวมทุนด้วยความสมัครใจ
3. เพื่อช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือกันและกัน
4. เป็นนิติบุคคล
5. มีกฎหมายสหกรณ์และข้อบังคับสหกรณ์

ความเป็นมา
ช่วงปฎิวัติอุตสาหกรรม 18>เครื่องจักรแทนคน >ว่างงาน >เกิดความขัดแย้ง>เกิดแนวคิดการรวมกลุ่มเยอะ
ใช้อย่างจริงจังโรเบิร์ต โอเวน>ผลิตของใช้กันเอง>สภาพสังคมไม่เอื้อย้าย>ไปอินเดียนนา-อเมริกา>เลิกเพราะค่าใช้จ่ายและการต่อต้านจากสถาบัน
นายแพทย์วิลลเลี่ยม คิง>รวมกลุ่มลงทุนขายของ เจ๊งแต่ได้เป็นต้นแบบสหกรณ์ร้านค้า
เฮอร์มัน ชูลซ์>ตั้งสหกรณ์กับช่างฝีมือและพ่อค้า
ฟรีดรริก วิลเฮล์ม ไรฟ์ไฟเซน>สหกรณ์หาทุนและให้กู้ยืมกับเกษตรกร>สหกรณ์ต้นแบบของโลก

หลักการณ์ของสหกรณ์
1. ต้นแบบ มาจากสหกรณ์รอชเดล กลุ่มทอผ้าเมืองรอชเดล
2. เปิดรับสมาชิกทั่วไป
3. 1man 1vote
4. ได้เงินปันผลตามหุ้น
5. ดอกเบี้ยอัตราจำกัดตามหุ้น
6. เป็นกลางทางศาสนาและการเมือง
7. ขายตามราคาตลาดด้วยเงินสด
8. ส่งเสริมการศึกษาอบรม

ตัวอย่างปลายภาค รอบสุดท้าย

  1. ความหมายโดยทั่วไปของกฎหมายคืออะไร 1. ข้อบังคับของรัฐ 2. บรรทัดฐานในสังคม 3. จารีตประเพณี 4. บรรทัดฐานที่ศาลใช้ในการตัดสินคด...