วันพฤหัสบดี, กันยายน 05, 2567

ปลายภาค1/67

 121. ปลายฤดูฝนของประเทศไทยจะไม่แรงฝนด้วยเหตุใด

1. ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือนำความเย็นและฝนโปรยมาสู่พื้นที่

2. ร่องความกดอากาศต่ำก่อให้เกิดฝนตกเป็นบริเวณกว้าง

3. ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้นำฝนมาตกในพื้นที่

4. พายุหมุนจากทะเลจีนใต้พัดผ่าน

122. พายุหมุนที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยส่วนใหญ่จะมาจากทิศทางใด

1. ทิศตะวันตกเฉียงใต้

2. ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

3. ทิศเหนือ

4. ทิศตะวันออก

123 ข้อใดคือประโยชน์ของการเรียกพายุหมุนเขตร้อนให้แตกต่างกันเป็นพายุดีเปรสชั่น พายุโซนร้อนหรือพายุไต้ฝุ่น

1. เพื่อให้ทราบแหล่งกำเนิดของพายุ

2. เพื่อใช้ในการตั้งชื่อพายุอย่างเหมาะสม

3. เพื่อให้ทราบทิศทางและการเคลื่อนที่ของพายุ

4. เพื่อให้ทราบกำลังความแรงและการป้องกัน

124. เพราะเหตุใดภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าภาคกลางตอนบน

1. เพราะมีโอกาสได้รับผลจากพายุดีเปรสชั่น

2. เพราะได้รับผลทางมรสุมฤดูร้อนและมรสุมฤดูหนาว

3. เพราะได้รับผลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพัดมาจากทะเลจีนใต้

4. เพราะปัจจัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือปลูกป่าและสวนยางพารามากขึ้นจึงทำให้มีปริมาณฝนสูงกว่าภาคกลางตอนบน

125. เหตุใดจังหวัดนครพนมจึงได้รับปริมาณน้ำฝนมาก

1. ทำเลที่ตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของดีเปรสชั่น

2. เทือกเขาภูพานช่วยรับลมมรสุม

3. เป็นที่ราบสูงไอน้ำในอากาศกลั่นตัวได้สะดวก

4. ได้รับอิทธิพลมาจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

126. เพราะเหตุใดพื้นที่ทางตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าทางตะวันตกของภาค

1. มีระยะทางอยู่ใกล้ทะเลมากกว่า

2. ได้รับอิทธิพลจากพายุหมุนเขตร้อน

3. ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

 4. มีเทือกเขาในประเทศลาวเป็นแนวปะทะลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

127. จังหวัดนครพนมมีปริมาณน้ำฝนใกล้เคียงกับจังหวัดในภาคใต้เพราะสาเหตุข้อใด

1. ที่ตั้งอยู่บนแนวพายุโซนร้อน

2. ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากทะเล

3. ที่ตั้งอยู่บนแนวฝนพาความร้อน

4. ที่ตั้งอยู่ด้านรับลม

128. เหตุใดพายุไต้ฝุ่นจึงมีกำลังอ่อนลงเมื่อพัดเข้าสู่ประเทศไทย

1. ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เคลื่อนตัวมาปะทะ

2. ทิวเขาในประเทศเวียดนามและลาวเป็นแนวปะทะ

3. ขณะที่พายุนี้เคลื่อนที่ได้มีฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง

4. แหล่งกำเนิดอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งมีระยะห่างจากประเทศไทยมาก

129. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย

1. ไม่เคยก่อตัวในอ่าวไทย

2. หากก่อตัวในอ่าวเบงกอลจะมาไม่ถึงประเทศไทย

3. มีแหล่งกำเนิดในทะเลจีนใต้มากกว่าในทะเลอันดามัน

4. ที่ก่อตัวในอ่าวตังเกี๋ยจะส่งผลต่อสภาพอากาศในประเทศไทยมากที่สุด

130. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับพายุแคทรีนา ที่สร้างความเสียหายอย่างมากเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2548

1. เป็นพายุไต้ฝุ่นที่ก่อตัวในจีนใต้ ขึ้นฝั่งใกล้กรุงฮานอย

2. เป็นพายุ โซนร้อนที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกขึ้นฝั่งในประเทศเม็กซิโก

3. เป็นพายุไซโคลนที่ก่อตัวในมหาสมุทรอินเดีย ขึ้นฝั่งใกล้เมืองโกลกาตา

4. เป็นพายุเฮอร์ริเคนที่ก่อตัวในมหาสมุทรแอตแลนติก ขึ้นฝั่งใกล้เมืองนิวออร์ลีนส์

131. ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องมรสุมเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ใดในประเทศไทยมากที่สุด

1. การเปลี่ยนอุณหภูมิตามอิทธิพลลมมรสุม

2. ชมฝนตกชุกในเดือนพฤษภาคมและเดือนกันยายน

3. ได้รับแสงอาทิตย์เข้มข้นในเดือนเมษายนและเดือนสิงหาคม

4. การเปลี่ยนแปลงทางเดินของพายุหมุนจากมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย

132. ช่วงฝนชุกสองช่วงในประเทศไทยระหว่างเดือนพฤษภาคมและเดือนกันยายนเกิดจากอะไร

1. การเปลี่ยนทิศทางของลมมรสุม

2. การเคลื่อนที่ของร่องความกดอากาศต่ำ

3. การเคลื่อนที่ของแนวตั้งฉากของแสงอาทิตย์

4. การเคลื่อนที่ของพายุหมุนจากทะเลจีนใต้สลับกับทะเลอันดามัน

133. ฝนชุกในภูมิภาคส่วนใหญ่ของประเทศไทยเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด

1. ช่วงที่ร่องมรสุมพัดผ่านประเทศเกิดจากแนวปะทะของมวลอากาศทั้งสองฝ่าย

2. ช่วงเปลี่ยนแปลงฤดูมรสุม ลมเปลี่ยนทิศทางเกิดความแปรปรวนของอากาศ

3. ช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ลมพัดมาจากมหาสมุทรอินเดียและทะเลจีนใต้

 4. ช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ลมพัดผ่านพื้นน้ำในอ่าวไทยเข้าสู่แผ่นดิน

134. การที่ฝนตกหนักลมแรงบางครั้งมีฟ้าผ่าและลูกเห็บตกเกิดเป็นบริเวณแคบๆ เป็นลักษณะของพายุฤดูฝนฤดูใด

1. พายุดีเปรสชั่น-ต้นฤดูฝน

2. พายุโซนร้อน-ปลายฤดูฝน

3. พายุฝนฟ้าคะนอง-ฤดูร้อน

4. พายุหมุนเขตร้อน-ช่วงเปลี่ยนฤดู

135. เราจะไม่เห็นปรากฏการณ์ธรรมชาติในช่วงเกิดพายุฝนฟ้าคะนองข้อใด

1. ฝนตกเป็นบริเวณแคบ

2. ฝนตกเป็นระยะเวลาสั้นๆ 

3. ลมแรง กรรโชก

4. ฟ้าผ่าและฟ้าแลบ

136. เพราะเหตุใดลมตะเภาจึงพัดไปตามลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

1. เนื่องจากมีศูนย์ความกดอากาศต่ำเกิดขึ้นในที่ราบภาคกลางความกดอากาศสูงเกิดขึ้นในอ่าวไทย

2. เนื่องจากมีสูงความกดอากาศสูงเกิดขึ้นในที่ราบภาคกลาง

3. แม่น้ำเจ้าพระยามีความกดอากาศต่ำตามแนวแม่น้ำยมจึงคัดตามแนวความกดอากาศต่ำนั้น

4. เป็นลมก่อนมรสุมฤดูร้อนที่พัดไปตามอิทธิพลของมรสุมฤดูร้อน

137. ชาวกรุงเทพฯ นิยมเล่นว่าวที่ท้องสนามหลวงระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายนลมที่พัดอยู่ในช่วงเวลานี้คือลมอะไร

1. ลมข้าวเบา

2. ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

3. ลมตะเภา

4. ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

138. ถ้าลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เปลี่ยนทิศทางมาเป็นลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้จังหวัดใดที่อยู่ด้านรับลม

1. เพชรบุรี

2. ฉะเชิงเทรา

3. ตรัง

4. บุรีรัมย์

139. เมื่อลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เปลี่ยนทิศทางเป็นลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ข้อใดไม่ถูกต้อง

1. นครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานีจะมีฝนตกมากขึ้น

2. เพชรบูรณ์และพิษณุโลกจะมีฝนตกน้อยลง

3. ราชบุรีและเพชรบุรีจะมีฝนตกมากขึ้น

4. ตากและสุโขทัยจะมีฝนตกมากขึ้น

140. ถ้าลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เป็นทิศทางการเป็นลมมรสุมตะวันออก ลักษณะภูมิอากาศข้อใดที่ถูกต้อง

1 ประจวบคีรีขันธ์ จะมีฝนมากกว่าระนอง

2. จันทบุรี ตราด ฝนตกมากขึ้น

3. กาญจนบุรี เป็นเขตรับฝน

4. แม่สอด อำเภอแม่สอดอยู่ในจังหวัดตาก

141. ท่าบริเวณประเทศเวียดนามและลาวยุบลงเป็นอ่าวตังเกี๋ยลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยจะเป็นอย่างไร

1. ไม่เปลี่ยนแปลงเพราะได้รับอิทธิพลจากมรสุมฤดูหนาว

2. ไม่เปลี่ยนแปลงเพราะยังตั้งอยู่ในเขตร้อนเหมือนเดิม

3. เปลี่ยนแปลงเพราะภูมิอากาศคล้ายชายฝั่งจันทบุรีและตราด

4. เปลี่ยนแปลงเพราะภูมิอากาศคล้ายชายฝั่งตะวันออกของภาคใต้

142. ถ้ามีนักท่องเที่ยวขอคำแนะนำด้านการท่องเที่ยวบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันท่านคิดว่าสมควรแนะนำให้ไปเที่ยวสถานที่ใดและในช่วงเวลาใดที่เหมาะสมที่สุด

1. ฝั่งอ่าวไทย กันยายน - ธันวาคม

2. เกาะตะรุเตา ตุลาคม-มกราคม

3. ฝั่งอ่าวไทย ธันวาคม - กุมภาพันธ์

4. เกาะสิมิลัน พฤษภาคม-กรกฎาคม

143. ท่าทางจะเดินทางไปท่องเที่ยวหมู่เกาะสิมิลันในเขตทะเลอันดามันท่านควรจะเลือกช่วงเวลาใดจึงเหมาะสมที่สุด

1. พฤษภาคม-มิถุนายน

2. สิงหาคม-กันยายน

3. ตุลาคม -พฤศจิกายน

4. มีนาคม - เมษายน

144. นางสาวมัลลิกาเตรียมตัวเดินทางไปพักผ่อนที่เรียนแห่งชาติเกาะตะรุเตาจังหวัดสตูล ได้ทราบข้อมูลว่าสามารถไปได้เฉพาะในช่วงเวลาที่ไม่มีลมมรสุมท่านคิดว่าช่วงเวลาใดต่อไปนี้เหมาะสมที่สุด

1. มกราคม-พฤษภาคม

2. มีนาคม-กรกฎาคม

3. มิถุนายน-กันยายน

4. ตุลาคม-กุมภาพันธ์

145. เหตุใดอุณหภูมิในรอบปีของภาคเหนือจึงแตกต่างกันมาก

1. อากาศโปร่งแจ่มใสพื้นดินคายความร้อนได้เร็ว

2. อิทธิพลจากมหาสมุทรเข้าถึงน้อย

3.  ป่าไม้ส่วนมากเป็นป่าเบญจพรรณดูดซับความร้อนได้เร็ว

4. พื้นที่เป็นภูเขาสูงฤดูหนาวจึงมีอุณหภูมิต่ำ

146. การเคลื่อนไหวของเปลือกโลกในบริเวณที่เป็นประเทศไทยทำให้เกิดผลต่างๆยกเว้นข้อใด

1. การยกตัวทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ราบสูง

2. การยุบตัวทำให้ภาคกลางเป็นแหล่งรองรับตะกอน

3. การบีบอัดตัวและยกตัวกลายเป็นทิวเขาสลับหุบเขาของภาคเหนือ

4. การยกตัวของภูเขาภาคใต้เป็นแนวจากเหนือถึงใต้

147. ข้อความใดที่อธิบายลักษณะภูมิประเทศไม่ถูกต้อง

1. ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของภาคใต้เกิดจากการจมตัว

2. ดินดอนสามเหลี่ยมของที่ราบภาคกลางเกิดจากดินตะกอนแม่น้ำ

3. การโก่งงอของเปลือกโลกในภาคเหนือทำให้เกิดเทือกเขาขนานในแนวเหนือใต้

4. การยกตัวของแผ่นดินทั้งทางด้านตะวันตกและด้านใต้ทำให้ภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือลาดเอียงไปทางตะวันออก

148. เพราะเหตุใดที่ราบสูงโคราชจึงไม่จัดอยู่ในภูมิประเทศแบบที่ราบสูงอย่างแท้จริง

1. มีความชันทางด้านตะวันตกและใต้

2. มีความสูงเฉลี่ย 150 - 180 เมตร

3. ไม่มีภูเขาล้อมรอบ

4. มีขนาดเล็ก

149. ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของไทยมีลักษณะภูมิประเทศเป็นแบบใด

1. เป็นที่ราบลูกคลื่นหรือที่ราบลูกระนาด (Rolling plain)

2. เป็นที่ราบสูงซึ่งมีความสูงตั้งแต่ 500 - 2000 ฟุต ลาดเอียงจากเหนือไปถึงใต้

3. เป็นที่ราบดินตะกอนแต่ถูกยกตัวสูงขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งจากแรงดันภายในโลก

4. เป็นที่ราบซึ่งมีลักษณะคล้ายที่ราบสูง นั่งจากวิภาชันหรือผาตั้ง (escapement) ทางตะวันตกและทางใต้ แล้วลาดเอียงไปทางตะวันออก

150. ภูมิประเทศภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความลาดเอียงไปทางไหน

1. สูงจากตะวันออก แล้วค่อยๆลาดมาทางตะวันตก

2. สูงทางเหนือ แล้วค่อยๆลาดมาทางใต้

3. สูงทางตะวันตก แล้วค่อยๆลาดมาทางตะวันออก

4. สูงทางใต้ แล้วค่อยๆลากมาทางเหนือ

151. การเกิดแผ่นดินไหวในภาคเหนือและภาคตะวันตกของไทยมีผลมาจากข้อใด

1. พื้นที่เป็นเขตภูเขาไฟมาก่อน

2. พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตหินเก่าและหินกลางเก่ากลางใหม่

3. เป็นเขตที่เปลือกโลกถูกแรงกดทับจากภูเขามากที่สุด

4. พื้นที่อยู่ใกล้เขตภูเขาหินใหม่ซึ่งทอดตัวผ่านทางตะวันตกของพม่า

152. เพราะเหตุใดประเทศไทยจึงไม่มีปรากฎการณ์เกี่ยวกับภูเขาไฟและแผ่นดินไหว

1. เพราะตั้งอยู่ในเขตโครงสร้างหินยุคเก่า

2. เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ

3. เพราะตั้งอยู่ในเขตโครงสร้างหินยุคใหม่

4. เพราะมีภูเขาสูงๆกระจายอยู่น้อย

153. ข้อใดตรงกับลักษณะภูมิประเทศของภาคกลาง

1. ภาคกลางตอนล่างเป็นพื้นที่ราบใหญ่กว้างขวางเกิดจากการทับถมของแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ถึงอ่าวไทย

2. ภาคกลางตอนล่างเป็นพื้นที่ราบลูกฟูกและมีที่ราบดินตะกอนรูปพัดขนาบข้าง

3. ภาคกลางตอนบนโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำและพื้นที่ราบลูกฟูก

4. ภาคกลางตอนบนเป็นเนินเขาเตี้ย สลับกับที่ราบลูกฟูก

154. ปัจจัยข้อใดที่ใช้อธิบายข้อแตกต่างระหว่างภาคกลางตอนบนกับภาคกลางตอนล่างได้ถูกต้อง

1. ภูมิประเทศและภูมิอากาศ

2. ภูมิอากาศและระบบแม่น้ำลำธาร

3. ระบบแม่น้ำลำธารและชนิดของดิน ความหนาของตะกอนดิน

4. ชนิดของดิน ความหนาของตะกอนดินและภูมิประเทศ

155. หลักฐานที่บ่งชี้ว่าที่ราบภาคกลางเคยเป็นทะเลมาก่อนคือข้อใด

1. ลักษณะภูมิประเทศที่มีความต่างระดับน้อย

2. การพบแร่ยิปซัมที่พิจิตร

3. ลักษณะภูมิประเทศดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ

4. การพบซากไดโนเสาร์ที่นครสวรรค์

156. ข้อใดแสดงถึงลักษณะของพื้นที่ราบภาคกลางตอนล่าง

1. เป็นดินดอนสามเหลี่ยม

2. เป็นที่ราบลุ่มน้ำขังบางบริเวณ

3. เป็นพื้นที่ราบน้ำท่วมบางปี

4. เป็นสันดอนปากแม่น้ำ

157 ข้อใดบ่งชี้ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ราบภาคกลางตอนล่างได้อย่างชัดเจน

1. การปลูกผักและผลไม้ต้องยกร่อง

2. การสร้างบ้านต้องให้มีใต้ถุนสูง

3. การเกิดแผ่นดินทรุดเมื่อสูบน้ำบาดาล

4. การที่มีถนนและทางหลวงเป็นเส้นตรง

158. ข้อใดตรงกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ของภาคกลางมากที่สุด

1. ได้รับอิทธิพลจากทะเลเพียงด้านเดียวคือจากด้านทิศใต้หรืออ่าวไทย

2. มีภูมิอากาศทุ่งหญ้าเมืองร้อนปริมาณฝนจึงขึ้นอยู่กับอิทธิพลของลมมรสุม

3. มีระบบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ระบบเดียวคือแม่น้ำเจ้าพระยา

4. พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบดินตะกอนที่เกิดมาไม่นานเนื่องจากเคยเป็นทะเลมาก่อน

159. ลักษณะภูมิประเทศในภาคกลางตอนล่างมีผลต่อสภาพน้ำอย่างไร

1. น้ำเกิดเน่าเสียได้ง่าย

2. น้ำจะไปน้ำท่วมทุกปี

3. น้ำทะเลหนุนทำให้น้ำเค็ม

4. น้ำท่วมขังบริเวณนี้ระบายออกช้า

160. เพราะเหตุใดภาคกลางตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีอยุธยาไปจดอ่าวไทยจึงมีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน

1. บริเวณนี้พื้นที่สุดต่ำมาก

2. บริเวณนี้สูงจากระดับน้ำทะเลเล็กน้อย

3. บริเวณนี้คู่ครองถูกทับถมแทบหมด

4. บริเวณนี้มีน้ำทะเลขึ้นลงวันละ 2 ครั้ง

161. สมมุติว่ามีการรื้อเขื่อนใหญ่ๆในภาคเหนือให้หมดจะมีผลกระทบที่สำคัญต่อภาคกลางอย่างไร

1. ทำนาปรังไม่ได้

2. การประมงในแม่น้ำทำไม่ได้

3. มีน้ำท่วมเป็นประจำ

4. ปริมาณไฟฟ้ามีไม่พอใช้

162. ข้อใดเป็นลักษณะภูมิประเทศของภาคเหนือ

1. ที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบเก่ายุคพรีแคมเบรียน

2. ที่ราบดินตะกอนน้ำพากระจายอยู่ทั่วๆไป

3. ที่ราบลุ่มแม่น้ำเป็นดินเหนียวสลับที่ราบดินตะกอน

4. ที่ราบดินตะกอนน้ำพัดพาและมีทิวเขาสูงรอบชายขอบ

163. อุณหภูมิในภาคตะวันตกโดยเฉพาะที่ทองผาภูมิจังหวัดกาญจนบุรีและอุ้มผางจังหวัดตาก ระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาวแตกต่างกันมากเป็นเพราะเหตุใด

1. พื้นที่ส่วนใหญ่ยังเป็นป่าไม้

2. พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาหุบเขา

3. พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ด้านชายแดน

4. พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินปูน

164. ทำไมจังหวัดตากและจังหวัดกาญจนบุรีจึงมีอุณหภูมิสูงมากทั้งๆที่สองจังหวัดมีภูเขาและอุทยานแห่งชาติ

1. ป่าไม้ส่วนใหญ่ถูกคนทำลาย

2. ตั้งอยู่ในเขตเงาฝน

3. ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบแคบๆสลับภูเขา

4. อยู่ห่างไกลจากทะเล

165. ลักษณะเด่นของภาคตะวันตกในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้แก่อะไร

1. มีแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์มากกว่าภาคอื่น

2. มีเขื่อนเก็บน้ำขนาดใหญ่อยู่มาก

3. มีป่าไม้อยู่มากกว่าภาคอื่น

4. มีผลิตผลทางการเกษตรสูง

166. ทำไมภาคตะวันตกจึงมีเขื่อนเก็บกักน้ำขนาดใหญ่อยู่มากกว่าภาคอื่นๆ

1. เพื่อแก้ไขการขาดแคลนน้ำ

2. เพื่อป้องกันอุทกภัย

3. มีแหล่งน้ำตกขนาดใหญ่มาก

4. มีองค์ประกอบธรรมชาติเหมาะสม

167. ศักยภาพทางเศรษฐกิจของภาคตะวันตกที่ปรากฏชัดเจนในขณะนี้ได้แก่อะไร

1. ป่าไม้

2. แร่ธาตุ

3. เกษตรอุตสาหกรรม

4. การท่องเที่ยว

168. อัตราส่วนที่ใกล้เคียงที่สุดระหว่างความยาวชายฝั่งทะเลในทะเลใต้ตั้งแต่ชุมพรถึงนราธิวาสกับตั้งแต่ระนองถึงสตูลมีอย่างไร

1. 4 ต่อ 3

2. 5 ต่อ 4

3. 7 ต่อ 6

4. 9 ต่อ 8

169. สาเหตุที่ชายฝั่งตะวันตกของประเทศเว้าแหว่งมากและไม่ค่อยมีที่ราบและชายฝั่งตะวันออกมีที่ราบมากและไม่ค่อยเว้าแหว่งเพราะเหตุใด

1. ชายฝั่งทั้งสองมีการยกตัวสูงขึ้นต่างกัน

2. มีกำเนิดโครงสร้างทางธรณีต่างกัน

3. ชายฝั่งตะวันตกจมลงในขณะที่ทางตะวันออกยกตัวสูงขึ้น

4. ชายฝั่งทั้งสองมีการยุบจมลงต่างกัน

170. เพราะเหตุใดทะเลด้านฝั่งอันดามันจึงมีความเหมาะสมในการทำประมงน้อยกว่าฝั่งอ่าวไทย

1. มีลักษณะเป็นชายฝั่งแบบยกตัวน้ำตื้นเกินไป

2. มีน้ำลึกมากและคลื่นลมแรงกว่า

3. มีลักษณะเป็นชายฝั่งแบบยุบจมสร้างท่าเทียบเรือยากกว่า

4. มีปริมาณสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์น้อยกว่า

171 การสลายตัวของหินบะซอลต์ แอนดีไซต์และทัปต์ ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับการผลิตในข้อใด

1. อุตสาหกรรมซีเมนต์จังหวัดสระบุรี

2. อุตสาหกรรมเซรามิกที่จังหวัดลำปาง

3. การปลูกพืชไร่ที่จังหวัดกาญจนบุรี

4. การปลูกมะขามหวานที่จังหวัดเพชรบูรณ์

172. เขาหินปูนที่พบในภาคเหนือและภาคตะวันตกมีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างไร

1. เป็นแหล่งวัตถุดิบอุตสาหกรรมก่อสร้างและเป็นแหล่งท่องเที่ยว

2. เป็นบริเวณที่อากาศดีเหมาะสำหรับการนันทนาการ

3. เป็นเขตที่มีแร่โลหะต่างๆเหมาะสำหรับการตั้งโรงงาน

4. เป็นเขตแร่รัตนชาติทำให้เกิดอุตสาหกรรมอัญมณี

173. เหตุใดจังหวัดสระบุรีจึงเป็นแหล่งอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ที่สำคัญของประเทศไทย

1. มีแหล่งหินปูนมากและห่างไกลชุมชน

2. มีแหล่งหินปูนมากและตั้งอยู่ไม่ไกลจากตลาดผู้ใช้

3. ตั้งอยู่ใกล้กับตลาดผู้ชายและทำการขนส่งทางถนนดี

4. มีโรงโม่หินหลายแห่งและตั้งอยู่ไม่ไกลจากตลาดผู้ใช้

174. เหตุใดทิวเขาภูเก็ตและทิวเขานครศรีธรรมราชจึงมีแร่ดีบุกและวุลแฟรมมาก

1. เพราะมีหินปูนอยู่มาก

2. เพราะมีหินแกรนิตแทรกอยู่มาก

3. เพราะมีหินบะซอลต์กระจายอยู่ทั่วไป

4. เพราะมีหินตกตะกอนทับถมอยู่มาก

175 ปัจจัยใดทำให้ภาคตะวันตกแห้งแล้ง

1. เป็นพื้นที่เขตเงาฝนและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

2. เป็นพื้นที่อยู่ใต้อิทธิพลของลมข้าวเบาซึ่งเป็นลมแล้ง

3. เป็นพื้นที่ด้านรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งเป็นลมแล้ง

4. เป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลจุดกำเนิดของพายุหมุนจากทะเลจีนใต้มากที่สุด

176. ความแห้งแล้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกิดจากสาเหตุใด

1. มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยน้อยกว่าภูมิภาคอื่นๆ

2. ฤดูฝนสั้นมีช่วงฤดูแล้งขั้นสลับเป็นเวลานาน

3. มีแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้

4. พายุไต้ฝุ่นซึ่งนำฝนมาตกได้อ่อนกำลังลงเมื่อขึ้นฝั่งประเทศเวียดนาม

177. ถ้าท่านจะคิดถึงปัญหาความแห้งแล้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ท่านจะมองถึงสาเหตุใหญ่เบื้องต้นในข้อใดก่อน

1. ป่าไม้เหลือน้อย

2. ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง

3. พื้นดินไม่สามารถอุ้มน้ำไว้ได้

4. ปริมาณฝนตกน้อยกว่าภาคอื่นๆ

178. สาเหตุที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยแห้งแล้งเพราะอะไร

1. อัตราการระเหยของน้ำและการคายน้ำของพืชมีมาก

2. ความสามารถที่เก็บกักน้ำไว้บนผิวดินมีน้อย

3. ปริมาณน้ำที่ได้จากแหล่งอื่นๆนอกจากฝนตกมีน้อย

4. ปริมาณน้ำฝนที่ตกมีจำนวนน้อย

179. ข้อใดคือสาเหตุที่ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือแห้งแล้งและมีผลผลิตต่ำ

1. ทำการเกษตรผิดวิธี

2. เป็นบริเวณที่ได้รับปริมาณน้ำฝนต่ำ

3. ดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย

4. ลำน้ำส่วนใหญ่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง

180. ปัญหาความแห้งแล้งโดยทั่วไปของภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งยากต่อการแก้ไขมีมูลเหตุสำคัญมาจากอะไร

1. ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยา

2. หินดินดานและลักษณะหินในภูมิภาค

3. ลักษณะการเป็นที่ราบสูงด้านอับลม

4. ระยะห่างไกลจากทะเล

181. ข้อใดเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ดินส่วนใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความอุดมสมบูรณ์น้อย

1. เพราะดินส่วนใหญ่เกิดจากหินชั้น ทำให้ระบบระบายน้ำไม่ดี

2. เพราะดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายไม่มีอินทรีย์วัตถุ

3. เพราะดินส่วนใหญ่เกิดจากหินชั้น มีเกลือแทรกตามชั้นหิน

4. เพราะดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ

182. ปัญหาที่สำคัญที่สุดของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยคือข้อใด

1. ระดับรายได้ต่ำ

2. การขาดที่ดินทำกิน

3. การขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูก

4. การขาดแคลนเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ

183. ภาคเหนือมีปริมาณฝนเฉลี่ยน้อยกว่าภาคอื่นแต่ทำไมภาคเหนือจึงไม่ค่อยขาดแคลนน้ำ

1. พื้นดินสามารถเก็บน้ำได้ดี

2. มีป่าไม้และภูเขาสูงเป็นต้นน้ำ

3. มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่หลายแห่ง

4. พบน้ำบาดาลมีอยู่ทั่วไป

184 สาเหตุการสูญเสียป่าไม้ในภาคเหนือข้อใดที่ร้ายแรงที่สุด

1. การทำไร่เลื่อนลอยทั่วไปและการลักลอบตัดไม้ผิดกฎหมายของนายทุน

2. การทำไร่เลื่อนลอยของชาวไทยภูเขาและการถากถางป่าเพื่อทำกินของประชาชน

3. การทำไร่เลื่อนลอยของชาวไทยภูเขาและการลักลอบตัดไม้โดยผิดกฎหมายของนายทุน

4. การถากถางป่าเพื่อทำกินของชาวบ้านและการลักลอบตัดไม้โดยผิดกฎหมายของนายทุน

185. ปัจจัยหลักที่ทำให้ภาคตะวันออกเป็นเขตปลูกไม้ผลคือข้อใด

1. เป็นที่ราบดินตะกอนน้ำทะเลมีอาหารพืชสูง

2. เป็นที่ราบลอนลาดมีดินอุดมสมบูรณ์

3. อุณหภูมิเฉลี่ยในระดับปานกลางตลอดปี

4. มีฝนตกชุก น้ำไม่ท่วมขัง

186. การเลือกสถานที่เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมในข้อใด สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพมากที่สุด

1. การทำสวนผลไม้ในเขตฝนชุกของภาคตะวันออก

2. ปลูกพืชไร่เพื่อการค้าบริเวณที่ราบภาคกลางตอนบน

3. ทำฟาร์มโคนมในเขตอากาศหนาวทางภาคเหนือ

4. เพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำบริเวณป่าชายเลน

187. ข้อใดเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยให้บางจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถปลูกเงาะและทุเรียนได้

1. มีการชลประทานดีขึ้น

2. ดินมีแร่ธาตุที่เหมาะสม

3. ความชื้นในดินพอเหมาะ

4. มีการปรับปรุงพันธุ์ขึ้นใหม่

188. เหตุผลสำคัญที่ไม่สามารถสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเนื่องมาจากอะไร

1. พื้นที่ส่วนใหญ่มีเกลือ

2. ดินไม่สามารถเก็บน้ำ

3. ภูมิประเทศไม่อำนวย

4. มีปริมาณน้ำน้อย

189. ภาคอีสานมีการสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำหลายโครงการ แต่กระนั้นยังคงประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำอยู่ เพราะเหตุใด

1. พื้นที่เป็นที่ราบสูง น้ำไหลลงสู่แม่น้ำโขงอย่างรวดเร็ว

2. วิกฤตการณ์แล้งซ้ำซากและปริมาณฝนน้อยกว่าภาคอื่น

3. สภาพของพื้นผิวเป็นแบบที่ราบลูกฟูกหรือลูกระนาดทั่วไป

4. ดินเหนียวที่สายจากหินดินดานมีพื้นที่มากจึงแตกระแหง

190. การสร้างเขื่อนในภาคเหนือเพื่อการชลประทานและผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ เป็นโครงการในลักษณะใด เพราะเหตุใด

1. โครงการขนาดใหญ่ เพราะเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีน้ำมาก

2. โครงการขนาดใหญ่ เพราะภูมิประเทศเป็นภูเขา เหมาะแก่การสร้างเขื่อน

3. โครงการขนาดกลาง เพราะมีเพียงแม่น้ำสายเล็กๆ

4. โครงการขนาดกลาง เพราะเป็นภาคที่มีประชากรน้อยไม่จำเป็นต้องลงทุนมาก

191. บริเวณฉนวนไทย [ Thai Corridor] หมายถึงอะไร

1. ดินแดนในอดีตที่เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส

2. พื้นที่ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศแถบอินโดจีน

3. พื้นที่ราบเชื่อมที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยากับที่ราบต่ำเขมร

4. ช่องเขาในเทือกเขาสันกำแพงทางใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

192. พรมแดนลักษณะใดที่ก่อให้เกิดปัญหาการล่วงล้ำดินแดนอยู่เสมอๆใน 3 จังหวัดภาคตะวันออกของไทย

1. กำหนดโดยวิธีการเรขาคณิต [geometric boundary]

2. กำหนดโดยข้อตกลงระหว่างไทยกับกัมพูชา

3. กำหนดตามแนวธรรมชาติ [Natural Boundary]

4. กำหนดตามแผนที่อากาศของทางทหาร

193. ข้อใดเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดบริเวณพรมแดนด้านตะวันตกของไทยที่ติดต่อกับพม่าในปัจจุบัน

1. การทำลายป่าไม้และความมั่นคงของประเทศ

2. การขาดแคลนพื้นที่ทำกิน ทำให้มีการบุกรุกป่าสงวน

3. ชาวไทยภูเขาหลายเผ่ายังคงนิยมปลูกฝิ่นเป็นพืชสำคัญควบคู่กับพืชไร่

4. การพังทลายของดินอย่างรุนแรงเนื่องจากการทำไร่เลื่อนลอยของชาวไทยภูเขา

194. ภาคภูมิศาสตร์ของประเทศไทยได้แบ่งออกเป็น 6 ภูมิภาคนั้นใช้หลักเกณฑ์ในข้อใด

1. ลักษณะทางด้านกายภาพและวัฒนธรรม

2. ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ดิน พืชและสัตว์

3. ลักษณะภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติและการประกอบอาชีพ

4. ลักษณะทั่วไปของประชากร ด้านเชื้อสาย ภาษาและขนบธรรมเนียม

195. ที่ตั้งของประเทศไทยก่อให้เกิดผลดีในด้านใด

1. ยุทธศาสตร์และการเมือง

2. สถานที่ท่องเที่ยวและวัฒนธรรมประเพณี

3. ภูมิอากาศและการคมนาคม

4. ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และภาษาศาสตร์

196 ดินตะกอนใหม่ยุคควอเทอร์นารีปกคลุมพื้นที่ประมาณเท่าไหร่ของภาคกลาง

1. ร้อยละ 25

2. ร้อยละ 60

3. ร้อยละ 40

4. ร้อยละ 75

197. ข้อใดเป็นลักษณะที่ถูกต้องของแต่ละภูมิภาค

1. ภาคตะวันออกมีภูมิประเทศตอนเหนือเป็นที่ราบลุ่มฝนตกชุกดินไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์

2. ภาคตะวันตกมีภูมิประเทศเป็นทิวขาวสลับหุบเขาปริมาณน้ำฝนน้อยทรัพยากรธรรมชาติค่อนข้างอุดมสมบูรณ์

3. ภาคกลางมีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบเป็นแหล่งเกษตรกรรม ทรัพยากรน้ำอุดมสมบูรณ์แต่มีปัญหาดินเปรี้ยว

4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีภูมิประเทศเป็นแอ่งที่ราบทรัพยากรน้ำอุดมสมบูรณ์ แต่มีปัญหาดินเค็ม

198. ถ้านักเรียนต้องการศึกษาหินที่เกิดจากภูเขาไฟต้องไปที่ใด

1. ภูกระดึง ภูพาน

2. เขาหลวง เขาสอยดาว

3.. ภูพระอังคาร เขาพนมรุ้ง

4. ดอยอินทนนท์ ดอยอ่างขาง

199. ข้อใดไม่ถูกต้อง

1. ที่ราบแคบๆภาคเหนือเกิดจากการกัดเซาะและทับถมทำให้ดินอุดมสมบูรณ์

2. ที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลางอุดมสมบูรณ์จากตะกอนน้ำพามาเหมาะแก่การเกษตร

3. ลุ่มแม่น้ำชีถึงมูลภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สามารถเลี้ยงดูคนเป็นจำนวนมากตั้งแต่อดีต

4. ที่ราบชายฝั่งทะเลภาคใต้อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรแร่ธาตุ จึงมีการตั้งถิ่นฐานสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

200. พื้นที่ในข้อใดตั้งอยู่ที่ขอบนอกสุดของประเทศไทย

1. แม่สาย เบตง แม่สะเรียง โขงเจียม

2. แม่อาย สะเดา คลองใหญ่ แม่ละเมาะ

3. เชียงแสน ตากใบ สังขละบุรี อรัญประเทศ

4. โขงเจียม อุ้มผาง เชียงคาน ด่านพระเจดีย์สามองค์

201. เมื่อพิจารณาการแบ่งภูมิภาคของโลกตามอุณหภูมิประเทศไทยควรจัดอยู่ในเขตใด

1. เขตศูนย์สูตร

2. เขตร้อน

3. เขตฝน

4. เขตมรสุม

202. นักท่องเที่ยวในสถานที่ใดจะเห็นดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าหลังสุด

1. ผาแต้ม

2. ดอยแม่สลอง

3. เขื่อนศรีนครินทร์

4. สะพานติณสูลานนท์

203. ถ้าระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับปัจจุบันอีก 4 เมตรจังหวัดใดจะอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลมากที่สุด

1. ปทุมธานี

2. สระบุรี

3. สุพรรณบุรี

4. พระนครศรีอยุธยา

204. "วันนี้น้ำทะเลขึ้นสูงสุดเวลา 9.00 น. สูง 1 เมตร" หมายความว่าน้ำทะเลขึ้นสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางที่ไหน

1. กรมอุทกศาสตร์ กรุงเทพฯ

2. สัตหีบ จังหวัดชลบุรี

3. สะพานพุทธยอดฟ้า กรุงเทพฯ

4. เกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

205. ตามปกติการแสดงลักษณะภูมิประเทศที่เป็นภูเขาในแผนที่โดยวิธีการแรเงาเขานิยมแรเงาโดยสมมุติว่ามีแสงส่องมาจากทิศใด

1. ตะวันตกเฉียงเหนือ

2. ตะวันตก

3. ตะวันออกเฉียงเหนือ

4. ตะวันออก

206. ทิวเขาในแนวเหนือใต้หลายทิวเขาเกือบขนานกัน มีที่ราบระหว่างหุบเขาบริเวณที่ราบมีลำน้ำไหลผ่านภูมิประเทศเช่นนี้ควรจะเป็นภูมิภาคใดของประเทศไทย

1. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

2. ภาคเหนือ

3. ภาคใต้

4. ภาคตะวันตก

207. เขตภูมิลักษณ์ที่เป็นทิวเขาและที่ราบระหว่างภูเขาหมายถึงภาคใดของประเทศไทย

1. ภาคใต้

2. ภาคเหนือ

3. ภาคตะวันตก

4. ภาคตะวันออก

208. ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันตกคล้ายคลึงกับภาคใดมากที่สุด

1. ภาคใต้

2. ภาคเหนือ

3. ภาคตะวันออก

4. ภาคกลางตอนบน

209 ภูมิประเทศของประเทศไทยภาคใดคล้ายคลึงกันมากที่สุด

1. ภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

2. ภาคใต้กับภาคตะวันออก

3. ภาคเหนือกับภาคตะวันตก

4. ภาคใต้กับภาคตะวันตก

210. ความคล้ายคลึงกันด้านกายภาพระหว่างภาคเหนือและภาคตะวันตกได้แก่ข้อใด

1. มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเท่าๆกัน

2. มีแหล่งต้นน้ำซึ่งสามารถเก็บน้ำได้หลายแห่ง

3. มีทิวเขาสูงหลายทิวเขาขนาดกันในแนวเหนือใต้

4. มีลักษณะดินเหมาะสมแก่การปลูกพืชเหมือนกัน

211. ลักษณะทางกายภาพข้อใดที่คล้ายคลึงกันมากที่สุดระหว่างภาคเหนือและภาคตะวันตก

1. ทิวเขาสูงสลับกันที่ราบหุบเขาและมีแร่ดีบุก

2. ป่าไม้อุดมสมบูรณ์และมีแร่ธาตุชนิดเดียวกัน

3. ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาวเหมือนกัน

4. ภูมิอากาศทุ่งหญ้าสะวันนา ปริมาณฝนมากกว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

212. ภูมิภาคใดเหมาะสมที่สุดในการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า

1. ภาคตะวันตกและภาคใต้

2. ภาคเหนือและภาคตะวันตก

3. ภาคใต้และภาคเหนือ

4. ภาคเหนือและภาคตะวันออก

213. ภูมิภาคใดของไทยที่มีศักยภาพทางการท่องเที่ยว ทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวหลากหลายและทรัพยากรบริการการท่องเที่ยวสมบูรณ์มากที่สุด

1. ภาคเหนือกับภาคตะวันตก

2. ภาคกลางกับภาคใต้

3. ภาคตะวันตกกับภาคตะวันออก

4. ภาคใต้กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

214 ถ้าพิจารณาถึงลักษณะภูมิประเทศการตั้งถิ่นฐานของประชากรภาคใดที่คล้ายคลึงกัน

1. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคเหนือ

2. ภาคใต้กับภาคตะวันออก

3. ภาคตะวันออกกับภาคกลาง

4. ภาคเหนือกับภาคตะวันตก

 215 ภาคใดมีการจัดการดินและระบบการปลูกพืชคล้ายคลึงกัน

1. ภาคตะวันตกกับภาคเหนือ

2. ภาคกลางตอนบนกับภาคกลางตอนล่าง

3. ภาคใต้กับภาคตะวันออก

4. ภาคกลางตอนล่างกับภาคตะวันออก

 216 ภาคที่มีภูมิอากาศแตกต่างจากภาคอื่นมากที่สุดคือภาคใด

1. ภาคใต้

2. ภาคเหนือ

3. ภาคกลาง

4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

217. เมื่อพิจารณาจากลักษณะภูมิประเทศ การก่อสร้างถนนในภูมิภาคใดจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

1. ภาคกลาง

2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

3. ภาคตะวันตก

4. ภาคเหนือ

 218 ภาคตะวันออกและภาคใต้มีลักษณะสภาพแวดล้อมคล้ายกัน แต่ยกเว้นข้อใด

1. ความยาวของแม่น้ำ

2. การวางตัวของทิวเขา

3. คุณสมบัติของดิน

4. ลักษณะชายฝั่งและเกาะ

219. ข้อใดเป็นลักษณะที่คล้ายคลึงกันระหว่างภาคตะวันออกและภาคใต้ของไทย

1. ทิศทางการไหลของน้ำไปทางเดียวกัน

2. จำนวนเกาะนอกชายฝั่งใกล้เคียงกัน

3. ตอนบนของภาคเป็นที่ราบลุ่มเหมือนกัน

4. มีแม่น้ำสายสั้นๆ และหินมีอายุเก่าแก่ใกล้เคียงกัน

220. ภาคตะวันออกและภาคใต้มีความคล้ายคลังกันอย่างไร

1. แม่น้ำส่วนใหญ่เป็นแม่น้ำสายสั้นๆ และมีป่าชายเลนบริเวณชายฝั่ง

2. อิทธิพลของลมมรสุมนำฝนมาตกในบริเวณใกล้เคียงกัน

3. มีการปลูกพืชและประเภทอุตสาหกรรมคล้ายกัน

4. วิถีชีวิตและการประกอบอาชีพของชนกลุ่มน้อยคล้ายคลึงกัน