1. ภายหลังการปฏิวัติวิทยาศาสตร์และการปฏิวัติอุตสาหกรรม
ได้มีปัญหาเกิดขึ้นหลายด้าน
ความพยายามที่จะแก้ไขที่นับว่ามีผลและใช้มาจนถึงปัจจุบันคือข้อใด
1. การออกกฎหมายห้ามจ้างเด็กและผู้หญิงทํางานบางประเภท
2. การใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบปล่อยเป็นสําคัญ
3. การตั้งโรงงานขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนสูงให้มากที่สุด
4. การสร้างวรรณกรรมที่สะท้อนความยากแค้นของสามัญชน
2.การปฏิวัติอุตสาหกรรมมีบทบาทสําคัญในประวัติศาสตร์อย่างไร
1. สังคมตะวันตกพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทางเทคโนโลยี
2. เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สังคม
และเศรษฐกิจ
3. ชนชั้นคนงานก้าวขึ้นมามีบทบาทสําคัญเท่าเทียมชนชั้นกลาง
4. นําไปสู่การปฏิรูปปรับปรุงสังคมและการใช้นโยบายรัฐสวัสดิการ
3. การปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่
18 มีผลกระทบอย่างชัดเจน
ทางด้านสังคมอย่างไร
1. ชนชั้นนายทุนเอารัดเอาเปรียบชนชั้นกรรมาชีพ
2. เกิดช่องว่างระหว่างชนชั้นมากขึ้น
3. ชาวชนบทอพยพเข้าสู่ตัวเมืองเพิ่มขึ้น
4. มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
4. สภาพการณ์อะไรของยุโรปที่ทําให้เกิดแนวความคิดแบบสังคมนิยม
1. การปฏิวัติทางการเกษตรทําให้ชาวนาสูญเสียที่ดิน
2. ชนชั้นกลางต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง
3. ปัญญาชนบางกลุ่มไม่พอใจที่นายทุนเอาเปรียบกรรมกร
4. การหลั่งไหลของคนชนบทเข้าเมืองเพื่อเป็นกรรมกรโรงงาน
5. การปฏิวัติอุตสาหกรรมในคริสต์ศตวรรษที่
18 ถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อ
การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1
ได้เพราะเหตุใด
1. ความก้าวหน้าในการผลิตอาวุธทําให้เกิดการแข่งขันด้านการทหาร
2. ประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ
ต้องการเข้าครอบครองแหล่งวัตถุดิบและตลาดระบายสินค้า
3. การปฏิวัติอุตสาหกรรมทําให้เกิดความแตกต่างระหว่างประเทศที่มีขีดความสามารถในการพัฒนาไม่เท่ากัน
4. การปฏิวัติอุตสาหกรรมมีผลต่อพัฒนาการของแนวความคิดทางการเมืองแตกต่างกันออกไปเป็นหลายระบบ
เช่น ประชาธิปไตย เผด็จการ สังคมนิยม จึงเกิดเป็นความขัดแย้ง
6. การปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไรในยุโรป
1. การขยายตัวของชาวนาไรที่ดิน และการขยายอิทธิพลของแนวความคิดเรียงสหกรณ์การเกษตร
2. การขยายตัวของชนชั้นกรรมกร และการขยายอิทธิพลของแนวความคิดสังคมนิยมเพ้อฝัน
3. การขยายตัวของชนชั้นกลาง และการขยายอิทธิพลของแนวความคิดเสรีนิยมทางเศรษฐกิจและการเมือง
4.
การเกิดกษัตริย์ผู้ทรงภูมิธรรมซึ่งส่งเสริมลัทธิพาณิชย์นิยมเพื่อชนชั้นกลางและ
รัฐสวัสดิการเพื่อกรรมกร
7. ข้อใดมิได้เป็นผลสืบเนื่องจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม
1. เกิดลัทธิสังคมนิยม
2. เกิดลัทธิศาสนนิยม
3. เกิดลัทธิจักรวรรดินิยม
4. เกิดลัทธิปัจเจกชนนิยม
8. ข้อใดมิใช่ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป
1. นําไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมและนําเศรษฐกิจเข้าสู่ระบบตลาดโลก
2. เกิดการขยายตัวการค้าแบบพาณิชย์นิยมและการปกครองแบบสาธารณรัฐ
3. เกิดชนชั้นกลาง
เกิดลัทธิจักรวรรดินิยมที่นําไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศต่อมา
4. เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตผู้คน
และเกิดแนวคิดใหม่ทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา
9. ข้อใดไม่ใช่ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
1. การปฏิวัติประชาธิปไตยของชนชั้นกลาง
2. การปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพ
3. การค้นพบเส้นทางเดินเรือมายังโลกตะวันออก
4. การเกิดสังคมเมือง
10. ข้อใดไม่ใช่ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
1. ความต้องการแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
2. ชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น
3. การค้นพบว่าโลกไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาล
4. ความต้องการวัตถุดิบเพิ่มมากขึ้น
11. ข้อใดไม่ใช่ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
1. ประชากรเพิ่มจํานวนมากขึ้น
2. ทําให้เกิดลัทธิสังคมนิยม
3. ชุมชนแบบเมืองขยายตัวมากขึ้น
4. อํานาจทางการเมืองไปอยู่กับชนชั้นกรรมกร
12. ข้อใดไม่ใช่ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่มีต่อสังคม
1. ความเหลื่อมล้ำในสังคมมีมากขึ้น
2. คนจนมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น
3. จํานวนประชากรเพิ่มมากขึ้น
4. การขยายตัวของเมืองเพิ่มขึ้น
13. ข้อใดไม่ใช่ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่มีต่อสังคม
1. ทําให้มีจํานวนประชากรเพิ่มมากขึ้น
2. ทําให้มีการควบคุมจํานวนประชากร
3. สังคมเมืองขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
4. ชนชั้นกลางมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น
14. ข้อใดไม่ใช่ผลกระทบโดยตรงของการปฏิวัติอุตสาหกรรมต่อสังคมตะวันตก
1. การสูญเสียอํานาจของสถาบันคริสต์ศาสนา
2. กําเนิดของลัทธิเสรีนิยม
3. การเข้ามามีบทบาททางการเมืองของชนชั้นกลาง
4. วรรณกรรมแนวสัจนิยม
15. ข้อใดไม่มีความเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติอุตสาหกรรม
1. รัฐควบคุมการผลิตและการค้าตามแนวของลัทธิพาณิชย์นิยม
2. กระบวนการเปลี่ยนแปลงในวิธีการและเทคนิคการผลิต
3. การผลิตสินค้าโดยการใช้เครื่องจักรและระบบโรงงาน
4. การผลิตสินค้าโดยใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากธรรมชาติ
16. ข้อใดคือการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่สําคัญในระยะแรกของการปฏิวัติ
อุตสาหกรรม
1. เกิดลัทธิทางเศรษฐกิจแบบพาณิชย์นิยม
2. เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
3. เกิดการผลิตแบบพึ่งพาตนเองของแต่ละประเทศ
4. เกิดปัญหาคนว่างงานจํานวนมาก
17. ลัทธิพาณิชย์นิยมทําให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศได้
เพราะเหตุผลข้อใดมากที่สุด
1. ความพยายามหาแหล่งวัตถุดิบและตลาดสินค้าของประเทศแม่โดยใช้วิธี
การผูกขาด
2 การที่รัฐมุ่งสะสมทองคําและโลหะเงินเพื่อการผลิตเหรียญกษาปณ์ที่ใช้ในการ
แลกเปลี่ยน
3. การเก็บภาษีนําเข้าในอัตราสูงเพื่อปกป้องผู้ผลิตภายในประเทศ
4. การย้ายศูนย์กลางการค้าของยุโรปจากย่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนออกไปยังชายฝั่ง
18. ปัจจัยสําคัญที่มีผลทําให้กระแสวัฒนธรรมตะวันตกแพร่กระจายไปสู่ส่วนอื่นๆ
ของโลกได้อย่างรวดเร็วนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19
คือปัจจัยใด
1. ลัทธิจักรวรรดินิยม
2. การปฏิวัติอุตสาหกรรม
3. ระบอบประชาธิปไตย
4. การค้าระหว่างประเทศ
19. เหตุการณ์ใดเป็นผลที่เกิดจากการแข่งขันเพื่อแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
1. การขยายตัวของลัทธิฟาสซิสต์
2. การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
3. การล่มสลายของระบบสังคมนิยม
4. การเกิดลัทธิจักรวรรดินิยม
20. การดําเนินนโยบายจักรวรรดินิยมของประเทศมหาอํานาจตะวันตกในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่
19-20 เป็นอุบัติการณ์เนื่องจากเหตุใด
1. ความรู้สึกชาตินิยมรุนแรง
2. ความพยายามจะเผยแพร่อุดมการณ์การเมือง
3. ความพยายามจะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
4. ความขัดแย้งแข่งขันกันทางเศรษฐกิจและการทหาร
21. ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของลัทธิจักรวรรดินิยมในปลายคริสต์ศตวรรษที่
19
1. การยึดครองเมืองท่าสําคัญๆ และจัดตั้งสถานีการค้า
2. การเข้าควบคุมทางการเมือง และยึดครองอํานาจอธิปไตย
3. การเผยแผ่คริสต์ศาสนานิกายต่างๆ และการผูกขาดด้านการค้า
4. การครอบงําและเข้าปกครองดินแดนต่าง ๆ
รวมทั้งการประสานนโยบายด้านเศรษฐกิจและการเมือง
22.ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการล่าอาณานิคม
1. ความต้องการแหล่งวัตถุดิบ และตลาด
2. ความต้องการสร้างความยิ่งใหญ่ของชาติจักรวรรดินิยม
3. ความขัดแย้งในอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง
4. ความเชื่อของพวกจักรวรรดินิยมในเรื่อง “ภาระของคนผิวขาว”
23. ในยุคหลังปฏิวัติอุตสาหกรรมถึงก่อนสงครามโลกครั้งที่
2 ความขัดแย้งทางอุดมการณ์
เป็นความขัดแย้งระหว่างแนวคิดใด
1. ประชาธิปไตย กับ รัฐสวัสดิการ
2. ศาสนา กับ วิทยาศาสตร์
3. เสรีนิยม กับ เผด็จการ
4. จักรวรรดินิยม กับ ชาตินิยม
24. ผลของลัทธิจักรวรรดินิยมที่มีต่อดินแดนอาณานิคมคือข้อใด
1. ทําให้ดินแดนอาณานิคมเกิดพลังชาตินิยมในการเรียกร้องเอกราช
2. ทําให้ดินแดนอาณานิคมมีเสถียรภาพทางการเมือง
3. ทําให้ดินแดนอาณานิคมมีความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม
4. ทําให้ดินแดนอาณานิคมยึดระบอบการปกครองตามอย่างเมืองแม่
25. ความเจริญด้านใดที่ช่วยสนับสนุนการปฏิวัติอุตสาหกรรมน้อยที่สุด
1. ความศรัทธาในพระเจ้า
2. ความก้าวหน้าทางวิทยาการ
3. แนวความคิดประชาธิปไตยและระบบเสรีนิยม
4. การสํารวจทางทะเลและการค้นพบแผ่นดินใหม่
26. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการปฏิวัติทางเกษตรกรรม
1. การเปลี่ยนแปลงวิธีการเพาะปลูกและความก้าวหน้าด้านเทคนิคการเกษตร
2. การตอบสนองความต้องการสินค้าของตลาดโพ้นทะเล
3. การเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากขุนนางมาเป็นชนชั้นกลาง
4. แรงงานภาคอุตสาหกรรมลดลง
27. ข้อใดเป็นผลของลัทธิพาณิชยนิยมในยุโรปตะวันตกที่ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจน
1. การเพิ่มอํานาจและความมั่นคงให้กับระบอบราชาธิปไตย
2. ชนชั้นขุนนางในระบอบศักดินาสวามิภักดิ์มีบทบาททางการเมืองมากขึ้น
3. เกิดการเรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยให้เศรษฐกิจดําเนินไปอย่างเสรี
4. ทําให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ
28. ลัทธิเศรษฐกิจในข้อใดที่สนับสนุนการใช้อํานาจของกษัตริย์ในช่วงต้นของยุโรปสมัยใหม่
1. ลัทธิทุนนิยม
2. ลัทธิสังคมนิยม
3. ลัทธิจักรวรรดินิยม
4. ลัทธิพาณิชย์นิยม
29. ข้อความใดถูกต้องที่สุด
1. วิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกต
2. วิทยาการเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่
3. วิธีการของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่คือการทดสอบ
4. การหาเหตุผลแบบอนุมานและอุปมานเป็นวิธีการวิทยาศาสตร์
30. ข้อใดแสดงลําดับขั้นตอนตามหลักวิทยาศาสตร์
1. รวบรวมข้อมูล ตั้งสมมติฐาน ทดลอง อธิบายปัญหา
2. ตั้งสมมติฐาน ทดลอง พิสูจน์ รวบรวมข้อมูล
3. ทดลอง วิเคราะห์ปัญหา สรุป อธิบายทฤษฎี
4. ตั้งปัญหา ตั้งสมมติฐาน ทดลอง สรุป
31. ความหมายของเทคโนโลยีที่สําคัญได้แก่ข้อใด
1. การค้นหาความรู้ใหม่ๆ
2. การวิเคราะห์และสังเคราะห์สิ่งต่างๆ
3. การประยุกต์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติ
4. การผลิตสิ่งของด้วยความรวดเร็ว
32. ความก้าวหน้าของวิทยาการและวิทยาศาสตร์จะก่อให้เกิดเทคโนโลยีขึ้นได้เมื่อใด
1. มนุษย์มีความสามารถในการใช้ความรู้เชิงปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี
2. มนุษย์มีความสามารถในการควบคุมการใช้ความรู้ใหม่ให้เกิดประสิทธิภาพและปลอดภัย
3. มนุษย์มีความสามารถในการควบคุมการใช้ผลงานทางวิทยาศาสตร์ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ
4. มนุษย์มีความสามารถในการนําความรู้ใหม่มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมและการดําเนินชีวิต
33. วิทยาการและเทคโนโลยีก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมมนุษย์อย่างไร
1. วิถีการดําเนินชีวิตของมนุษย์ยุ่งยากมากขึ้น
2. มนุษย์สูญเสียอํานาจทางเศรษฐกิจ
3. แรงงานที่ไร้ทักษะจะว่างงานมากขึ้น
4. รัฐบาลจะมีบทบาททางเศรษฐกิจน้อยลง
34. ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีผลกรประชากรของไทยอย่างไร
1. เพิ่มจํานวนคนว่างงาน
2. สัดส่วนผู้สูงอายุสูงขึ้น
3. ลดจํานวนคนภาคเกษตรกรรม
4. สัดส่วนคนมีความรู้มากขึ้น
35. ข้อความในข้อใดไม่ถูกต้อง
1. เทคโนโลยีการพิมพ์เกิดขึ้นในยุโรปสมัยกลาง
2. การแยกอากาศออกจากถ่านหินทําให้มีควันน้อยลง
3. อังกฤษเป็นชาติแรกที่จัดตั้งองค์การทางวิทยาศาสตร์ขึ้น
4. เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกผลิตขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่
2
36. การนําสมุนไพรมาทําเป็นน้ำยาอาบศพเป็นพัฒนาการทางเทคโนโลยีในสมัยใด
1. ยุคก่อนประวัติศาสตร์
2. ยุคประวัติศาสตร์
3. ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา
4. ยุคการปฏิวัติวิทยาศาสตร์
37.
การพัฒนาเทคโนโลยีในด้านใดเกิดขึ้นในยุคเคียงกับการชลประทาน
1. การใช้ตัวอักษร
2. การใช้แผนที่
3. การใช้กล้องโทรทรรศน์
4. การใช้โทรเลข
38. ข้อใดเป็นพื้นฐานของพลังงานที่มนุษย์ใช้ในปัจจุบัน
1. ความร้อน
2. แรงงานกล
3. ไฟฟ้า
4. เชื้อเพลิง
39. วิธีการใดที่เป็นหลักการหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องที่สุดในยุคปัจจุบัน
1. การแสวงหาความรู้ด้วยการปฏิบัติด้วยตนเอง
2. การศึกษาค้นคว้าและแลกเปลี่ยนประสบการณ์
3. การสังเกต การวิเคราะห์ และการตรวจสอบ
4. การถ่ายทอด สะสมความรู้ และการลองผิดลองถูก
40. ข้อใดคือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อศาสตร์อื่นๆ
ในคริสต์ศตวรรษที่ 19
และ 20
1. การใช้เหตุผล
2. การสังเกตและการใช้เหตุผล
3. การทดลองในห้องปฏิบัติการ
4. การใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
41. ขั้นตอนการกําหนดสมมติฐานในระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์คืออะไร
1. การอธิบายผลของการค้นคิดอย่างมีหลักเกณฑ์
2. การเอาข้อมูลมาอธิบายข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏ
3. การวิเคราะห์เบื้องต้นโดยใช้หลักเหตุผล
4. การสังเกตโดยใช้ผลของการทดลอง
42. ขั้นตอนใดสําคัญที่สุดตามระเบียบวิธีวิทยาศาสตร์
1. วิเคราะห์ข้อเท็จจริง
2. ตั้งข้อสังเกตจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ
3. ทดลองและทดสอบความถูกต้อง
4. กําหนดสมมติฐานเพื่ออธิบายปรากฏการณ์
43. ข้อใดไม่สอดคล้องกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์
1. นักเรียนที่ดูหนังสือมาก สอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยได้
2. คนที่ตรงต่อเวลาเป็นคนที่สังคมยอมรับ
3. คนที่มีการศึกษาสูงมีโอกาสหางานทําได้
4. คนที่ทําบุญมากจะบรรลุญาณขั้นต้น
44. ผู้ที่จะทําให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ควรเป็นบุคคลลักษณะใด
1. ชอบทดลองและทดสอบ
2. ชอบนั่งคิดและค้นคว้า
3. ชอบสังเกตและคิดแบบอุปมาน
4. ชอบใช้เหตุผลและคิดแบบอนุมาน
45. กลุ่มใดมีอิทธิพลต่อการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ในสมัยโบราณ
1. นักปรัชญา นักการเมือง
2. นักเทววิทยา นักปรัชญา
3. นักการเมือง นักเทววิทยา
4. นักประวัติศาสตร์ นักสังคมวิทยา
46. เพราะเหตุใดประเทศอังกฤษจึงเป็นผู้นําทางเศรษฐกิจโลกในต้นคริสต์ศตวรรษที่
19
1. พลเมืองอังกฤษมีความสามารถในด้านการค้าทางเรือ
2. มีการนําความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการผลิต
3. ลักษณะภูมิประเทศมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์
4. มีความสามารถในการแผ่ขยายอาณานิคม
47. ข้อใดเป็นความหมายของเทคโนโลยีที่ถูกต้องที่สุด
1. เป็นวิทยาการที่นําความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจําวัน
2. เป็นการจัดระเบียบพัฒนาความรู้ในศาสตร์ต่างๆ มาใช้ในอุตสาหกรรม
3. เป็นการนําวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ด้วยวิธีการสังเกต ทดลอง และรวบรวมข้อมูล
เพื่อใช้ในการพัฒนาสังคม
4. เป็นศิลปะการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจ
48. ข้อใดตรงกับความหมายของเทคโนโลยีมากที่สุด
1. การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อประโยชน์ในทางปฏิบัติ
2. การนําวิทยาการมาพัฒนาสังคมเพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันได้
3. การพัฒนารูปแบบการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิตในโรงงาน
4. การนําทรัพยากรมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
49. ข้อใดมีความสัมพันธ์กันอย่างถูกต้องที่สุด
1. ไสยศาสตร์ การจัดระเบียบความรู้สืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง
2. วิทยาการ -การนําเสนอพลังลี้ลับของปรากฏการณ์ธรรมชาติ
3. วิทยาศาสตร์ การทดสอบข้อสงสัยจนประจักษ์ชัด
4. เทคโนโลยี การประยุกต์ความรู้มาใช้ประโยชน์
50. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง
เกี่ยวกับการนําวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในสังคมมนุษย์
1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทําให้ชีวิตมนุษย์ยากลําบากขึ้น
2. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทําให้มนุษย์สามารถควบคุมธรรมชาติได้
3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทําให้เกิดการทําลายสภาพแวดล้อม
4. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถูกมนุษย์นํามาใช้เป็นเครื่องมือรับใช้อุดมการณ์ทางการเมือง
2 ความคิดเห็น:
หู้ยยยย
จารย์ก็ตึงเกิ๊น
แสดงความคิดเห็น