บล็อคนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่เนื้อหาที่ใช้สอนในรายวิชาต่างๆ ของครูเจตน์จรัส ประสพทรัพย์นะครับ
วันอาทิตย์, ธันวาคม 15, 2567
วันศุกร์, ธันวาคม 13, 2567
ตัวอย่างข้อสอบ กลางภาค
1.วิชาเศรษฐศาสตร์เป็นศาสตร์ในสาขาใด เพราะเหตุใด
1. สังคมศาสตร์
เพราะศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์
2. วิทยาศาสตร์ประยุกต์
เพราะสามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดข้นจริงได้
3. ศึกษาศาสตร์
เพราะไม่ต้องใช้คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์
4. ตรรกวิทยา
เพราะผลการศึกษาต้องสอดคล้องกับหลักเหตุและผล
2. ปัญหาข้อใดเป็นปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของทุกประเทศ
1. การเลือกผลิตสินค้าและบริการ/ ต้นทุนการผลิต/
และการขาดแคลนเงินทุน
2. คุณภาพของผลผลิต /การกระจายสินค้าและบริการ/
และต้นทุนการผลิต
3. การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ
/การขาดแคลนเงินทุน /และการเลือกวิธีการผลิต
4. การเลือกผลิตสินค้าและบริการ/การเลือกวิธีการผลิต/และการกระจายสินค้าและบริการ
3. การตัดสินใจในข้อใดไม่เกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
1. การปลูกข้าวหรือจะปลูกถั่ว
2. การปักผ้าด้วยมือถือด้วยเครื่องจักร
3. การขุดสระน้ำตอนหน้าแล้งหรือหน้าฝน
4. การสร้างบ้านจัดสรรแบบมาตรฐานราคาต่ำหรือแบบหรูหราราคาสูง
4. ข้อใดไม่เป็นปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
1. มีสินค้าและบริการใดที่ประเทศควรจะผลิตเพื่อสนองความต้องการของประชาชน
2. ผู้ผลิตจะต้องใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆอย่างไรในการผลิตสินค้าเพื่อให้ประหยัดต้นทุน
3. สินค้าที่ผลิตจะมีการกระจายไปสู่ประชาชนในสังคมอย่างไรจึงจะเหมาะสม
4. รัฐบาลควรเลือกใช้นโยบายเศรษฐกิจใดเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนสินค้าในระบบเศรษฐกิจ
5. ข้อใดเป็นเรื่องของเศรษฐศาสตร์มหภาค
1. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารส่งเคราะห์มีแนวโน้มจะต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ทั่วทั่วไป
2. ราคาจำหน่ายข้าวในประเทศในปีนี้มีระดับค่อนข้างสูงเนื่องจากได้เกิดอุทกภัยขึ้นในหลายพื้นที่
3. อัตราว่างงานในช่วงหลายปีนี้มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นสูงกว่าอัตรา
ว่างงานในช่วงต้นปีประมาณ 0.5 -1 เปอร์เซ็นต์
4. การเรียกร้องค่าจ้างเพิ่มสูงขึ้นของคนงานในโรงงานทอผ้าส่งผลให้พนักงานจำนวนหนึ่งต้องว่างงานลง
6. การศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาคจะทําให้บุคคลมีความรู้เรื่องใด
1. การผลิตโดยใช้ต้นทุนต่ำที่สุด
2. การอธิบายสาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อได้
3. การเลือกซื้อสินค้าต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. การกำหนดราคาและปริมาณการผลิตที่จะทำให้ได้กำไรสูงสุด
7. ข้อใดเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐศาสตร์มหภาค
1. การส่งออกสิ่งทอมีแนวโน้มลดลง
2. การลงทุนในประเทศลดลง
3. ยอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นมาก
4. ราคาข้าวเปลือกตกต่ำ
8. ข้อใดไม่ใช่เศรษฐศาสตร์จุลภาค
1. ศึกษาภาวะและการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้าหมดอาหาร
2. ศึกษาพฤติกรรมการนั่งรถยนต์รับจ้างของคนกรุงเทพมหานคร
3. ศึกษาพฤติกรรมของเจ้าของรถบรรทุกรับจ้างระหว่างจังหวัด
4. ศึกษาภาวการณ์ผลิตและตลาดข้าวเปลือกในประเทศ
9. ข้อใดเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐศาสตร์จุลภาค
1. จำนวนคนว่างงานในประเทศเพิ่มขึ้น
2. แรงงานขาดทักษะที่จะรับเทคโนโลยีใหม่
3. ราคายางพาราในประเทศในปีนี้ตกต่ำกว่าปีที่แล้ว
4. เกษตรกรมีรายได้ต่ำกว่าผู้ผลิตในโลกในภาค
อุตสาหกรรม
10. ข้อใดเป็นเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์จุลภาค
1. การมีผลผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดจำนวนมากทำให้ราคาทุเรียนที่ถูกต่ำ
2. วิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ส่งผลกระทบให้เกิดการว่างงานจำนวนมาก
3. รัฐบาลเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณเพื่อกระตุ้นสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจ
4. รัฐบาลใช้นโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
11. ปัจจัยการผลิตในทางเศรษฐศาสตร์หมายถึงอะไร
1. ที่ดิน แรงงาน เงินทุน และผู้ประกอบการ
2. วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต แรงงาน
เครื่องมือเครื่องจักรและผู้ประกอบการ
3. ที่ดินรวมถึงทรัพยากรที่อยู่ใต้ดิน
บนดิน และ เหนือพื้นดิน แรงงาน ทุน และผู้ประกอบการ
4. ที่ดินรวมถึงทรัพยากรที่อยู่ใต้ดิน บนดิน
และเหนือพื้นดิน เครื่องจักร เงินทุน
12.ข้อใดเป็นทุนในทางเศรษฐศาสตร์
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในสำนักงาน
2. ลูกหนี้ของบริษัท
3. มูลค่าหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัท
4. เงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจ
13. ข้อใดไม่จัดว่าเป็นปัจจัยการผลิตประเภททุนตามความหมายของเศรษฐศาสตร์
1. นาที่พ่อยกให้ 30 ไร่
2. คันไถที่ชาวนาทำขึ้นเอง
3. เงินกู้จากสหกรณ์การเกษตร
4. ชาวนาที่กำลังเรียนอาชีวะเกษตร
14. สิ่งใดไม่ถือว่าเป็นปัจจัยในทางเศรษฐศาสตร์
1. เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้า
2. โรงงานที่ใช้ในการผลิตสินค้า
3. ยานยนต์ที่ใช้ในการขนส่งสินค้า
4. เงินกู้ยืมหมุนเวียนที่ใช้ในการผลิตสินค้า
15.ข้อใดไม่รวมอยู่ในปัจจัยการผลิตประเภทที่ดิน
1. น้ำมันปิโตรเลียม
2. โรงเรือนเลี้ยงไก่
3. ลมฝนและพายุ
4. ป่าโกงกาง
16.นายดำออกทะเลไปจับปลาทูเมื่อได้แล้วส่วนหนึ่งเก็บไว้รับประทานเองอีกส่วนหนึ่งให้เพื่อนบ้าน
ที่นำกะปิมาให้ส่วนที่เหลือนำไปขายในตลาดข้อใดแสดงพฤติกรรมทั้งหมดของนายดำในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
1. การหารายได้ การกระจาย การบริโภค การแลกเปลี่ยน
2. การยังชีพ การแลกเปลี่ยน การหารายได้ การบริโภค
3. การผลิต การยังชีพ การบริโภค การกระจาย
4. การบริโภค การกระจาย การแลกเปลี่ยน การผลิต
17.นายแดงซื้อสินค้าจากโรงงาน และนำมาขายที่ตลาดแสดงว่าเขาประกอบกิจกรรม ทางเศรษฐกิจในข้อใด
1. การผลิต การบริโภค การแลกเปลี่ยน
2. การบริโภค การผลิต การกระจายสินค้า
3. การแลกเปลี่ยน การกระจายสินค้า การบริโภค
4. การกระจายสินค้า การแลกเปลี่ยน การผลิต
18.จุดประสงค์ขั้นสุดท้ายของกิจกรรมทางเศรษฐกิจคือข้อใด
1. การผลิต
2. การบริโภค
3. การแลกเปลี่ยน
4. การกระจายหรือการแบ่งสรร
19.สินค้าใดเป็นสินค้าขั้นสุดท้าย
1. อะไหล่รถยนต์ที่นาย ก ซื้อไปใช้
2. อะไหล่รถยนต์ที่บริษัทรถยนต์ผลิตออกมาขาย
3. อะไหล่รถยนต์ที่อู่ซ่อมรถของนายขอซื้อไปใช้
4. อะไหล่รถยนต์ที่โรงงานประกอบรถยนต์ซื้อไปใช้
20.ข้อใดไม่เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
1. นาย ก ซื้อจีวรไปถวายพระ
2. นาย ข
นำผลไม้ไปแลกข้าวของนาย ง
3. นาย ค ให้อุปกรณ์การศึกษาแก่เด็กนักเรียนยากจน
4. นาย ง ปลูกผักสวนครัวหลังบ้าน
21.กิจกรรมใดไม่ใช่การผลิต
1. นาย ก ขึ้นชกมวยหารายได้บนเวทีต่างๆ
2. นาย ข
เป็นนายหน้าขายกรมธรรม์ประกันภัย
3. นาย ค ร้องเพลงทุกวันเพื่อหวังเป็นนักร้องอาชีพ
4. นาย ง ตั้งโต๊ะรับซื้อสลากกินแบ่งที่ถูกรางวัล
1. การชักชวนให้ชาวยุโรปกินข้าว
2.
การเก็บข้าวไว้ขายในเดือนหน้า
3.
การนำเข้าจากต่างจังหวัดมาขายที่กรุงเทพ
4.
การนำเข้ามาปลุกเสกเป็นเครื่องราง
23. ข้อใดไม่ถือว่าเป็นการผลิต
1. การขายของในร้านชำข้างบ้าน
2. การวาดลายดอกไม้บนจานกระเบื้อง
3. 24การเข้าอบรมวิธีใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
4. การส่งน้ำอัดลมไปจำหน่ายในต่างจังหวัด
24. ข้อใดที่ไม่ใช่การผลิต
1. การเป็นนายหน้าขายที่ดิน
2. การซื้อหุ้นไว้ขายเมื่อราคาสูงขึ้น
3. การนำกล้วยไม้จากยอดดอยมาขายในตลาด
4. การเก็บรักษาข้าวเปลือกไว้ขายเมื่อราคาสูง
25. ข้อใดไม่ใช่การผลิต
1. การรับหนังสือพิมพ์ไปวางขาย
2. การนำผลไม้สดมาตากแห้ง
3. การขี่จักรยานไปทำงาน
4. การปลูกผักโดยไม่ใช้ดิน
26. ครูที่สอนหนังสือนักเรียนประกอบกิจกรรมเศรษฐกิจใด
1. ผลิตบริการให้นักเรียน
2.
บริโภคเพราะความพอใจ
3. ผลิตนักเรียนให้มีความรู้
4.
ลงทุนโดยสละเวลาเพื่ออนาคตของนักเรียน
27.
ถ้านายมีไปซื้อเส้นก๋วยเตี๋ยวจากตลาดมาผัดขายเป็นก๋วยเตี๋ยวราดหน้าการผลิตดังกล่าวเป็นการสร้าง
ประโยชน์ทางด้านใด
1. การเปลี่ยนแปลงรูป
2. การเปลี่ยนสถานที่
3. การเลื่อนเวลา
4. การให้บริการ
28. ข้อใดแสดงวิวัฒนาการในการผลิต
1. นายแดงปลูกพริกบนที่ดินอุดมสมบูรณ์เชิงเขา
2. นายดำหันมาปลูกหน่อไม้ฝรั่งแทนการปลูกข้าว
3. นายเขียวยึดอาชีพประมงเหนือเขื่อนหลังถูกเวนคืนที่ดิน
4. นายขาวเก็บสับปะรดในไร่มาทำสับปะรดกวนจำหน่าย
29. การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็นการผลิตในข้อใด
1. คาบเกี่ยวระหว่างชั้นปฐมภูมิกับชั้นทุติยภูมิ
2. ชั้นปฐมภูมิ
3. คาบเกี่ยวระหว่างชั้นทุติยภูมิกับชั้นตติยภูมิม
4. ชั้นทุติยภูมิ
30. การผลิตใดเป็นการผลิตขั้นทุติยภูมิ
1. การผลิตปลาในกระชัง
2. การผลิตยางรถยนต์
3. การเดินเรือขนส่ง
4. การประกันวินาศภัย
31. ข้อใดเป็นกิจกรรมการผลิตขั้นที่ 2 หรือขั้นทุติยภูมิ
1. การทำเหมืองแร่
2. การทำสวนส้ม
3. การสีข้าว
4. การสอนหนังสือ
32. ข้อใดมีเนื้อความถูกต้อง
1. การบริโภคเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการสูญเปล่าในทางเศรษฐกิจ
2. การผลิตเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะในระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่
3.
การกระจายรายได้ที่เป็นการแบ่งปันผลผลิตที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ
4. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเป็นการแลกเปลี่ยนสิ่งของและบริการด้วยเงิน
33. ข้อความใดผิด
1. การแลกเปลี่ยนเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของกระบวนการการผลิต
2. การผลิตเป็นกระบวนการทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดในระบบทุนนิยม
3. การบริโภคเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีประโยชน์ในทุกระบบเศรษฐกิจ
4. การกระจายเป็นเรื่องของการแบ่งปันรายได้ระหว่างเศรษฐกิจในระบบ
34. ข้อใดเป็นพฤติกรรมในการบริโภคของมนุษย์ ในความหมายทางเศรษฐศาสตร์
1.
การเลือกบริโภคสินค้าและบริการให้ได้รับความพอใจสูงสุดของงบประมาณรายจ่ายที่มีอยู่
2. การเลือกบริโภคสินค้าและบริการที่มีคุณภาพดีจากรายได้ทั้งหมดที่มีอยู่
3. การเรียนแบบการบริโภคของบุคคลอื่นเพื่อความเท่าเทียมกันทางสังคม
4. การบริโภคสินค้าที่ผลิตขึ้นเองให้มากที่สุดเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
35. ค่าใช้จ่ายในการบริโภคของนายกจะขึ้นอยู่กับปัจจัยใดมากที่สุด
1. วงเงินสินเชื่อตามบัตรเครดิตที่ นาย ก ได้รับจากธนาคารพาณิชย์
2. เงินเดือนที่ นาย ก ได้รับจากการประกอบอาชีพร้องเพลง
3. ที่ดินย่านสุขุมวิทที่ นาย ก ได้รับมรดกจากคุณยาย
4. รายได้ที่ นาย ก คาดว่าจะได้รับจากการจำหน่ายเทปเพลง
36.
ผู้บริโภคที่มีเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์จะใช้หลักเกณฑ์ใดในการตัดสินใจซื้อสินค้า
1. ซื้อสินค้าที่มีคุณภาพดีที่สุด
2. สินค้าที่บริโภคได้ดีที่สุด
3. ซื้อสินค้าที่ให้ความพอใจสูงสุด
4. ซื้อสินค้าที่ราคาต่ำสุด
37.การลงทุนที่มีสภาพคล่องสูงหมายถึงการลงทุนในลักษณะใดมากที่สุด
1. สามารถลงทุนผลิตสินค้าที่มีราคาและให้กำไรสูง
2. สามารถให้ผลตอบแทนสูงอย่างรวดเร็ว
3. สามารถโยกย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ง่าย
4. สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย
38.สินค้าได้เปล่าหรือสินค้าไร้ราคาหมายถึงอะไร
1. บริการสาธารณะที่รัฐบาลจัดสรรแก่ประชาชนโดยไม่มีโดยไม่เรียกเก็บค่าบริการ
2. สินค้าและบริการที่เอกชนจัดสรรแก่ประชาชน เพื่อการกุศลแบบให้เปล่า
3.
สินค้าและบริการที่ผู้บริโภคได้มาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
4. ของขวัญของแจกหรือของรางวัล
39.การที่หน่วยธุรกิจหน่วยใดหน่วยหนึ่งก่อให้เกิดมลพิษทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนความเสียหายดังกล่าวนี้คือต้นทุนประเภทใด
1. ต้นทุนดำเนินการ
2. ต้นทุนทางสังคม
3. ต้นทุนสารสนเทศ
4. ต้นทุนค่าเสียโอกาส
40.
การผลิตที่ตนเองเป็นเจ้าของคนเดียว ไม่มีการจ่ายค่าจ้างแรงงานให้ตนเองหรือไม่มีการจ่ายค่าเช่าในกรณีใช้บ้านของตนเป็นสถานที่ผลิตและสำนักงานหมายถึงลักษณะของต้นทุนในทางเศรษฐศาสตร์
1. ต้นทุนชัดแจ้ง
2. ต้นทุนเอกชน
3. ต้นทุนแอบแฝง
4. ต้นทุนสังคม
วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 10, 2567
วันพฤหัสบดี, กันยายน 05, 2567
ปลายภาค1/67
121. ปลายฤดูฝนของประเทศไทยจะไม่แรงฝนด้วยเหตุใด
1.
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือนำความเย็นและฝนโปรยมาสู่พื้นที่
2.
ร่องความกดอากาศต่ำก่อให้เกิดฝนตกเป็นบริเวณกว้าง
3.
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้นำฝนมาตกในพื้นที่
4.
พายุหมุนจากทะเลจีนใต้พัดผ่าน
122.
พายุหมุนที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยส่วนใหญ่จะมาจากทิศทางใด
1. ทิศตะวันตกเฉียงใต้
2.
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
3. ทิศเหนือ
4. ทิศตะวันออก
123
ข้อใดคือประโยชน์ของการเรียกพายุหมุนเขตร้อนให้แตกต่างกันเป็นพายุดีเปรสชั่น พายุโซนร้อนหรือพายุไต้ฝุ่น
1.
เพื่อให้ทราบแหล่งกำเนิดของพายุ
2.
เพื่อใช้ในการตั้งชื่อพายุอย่างเหมาะสม
3.
เพื่อให้ทราบทิศทางและการเคลื่อนที่ของพายุ
4.
เพื่อให้ทราบกำลังความแรงและการป้องกัน
124.
เพราะเหตุใดภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าภาคกลางตอนบน
1.
เพราะมีโอกาสได้รับผลจากพายุดีเปรสชั่น
2.
เพราะได้รับผลทางมรสุมฤดูร้อนและมรสุมฤดูหนาว
3.
เพราะได้รับผลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพัดมาจากทะเลจีนใต้
4.
เพราะปัจจัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือปลูกป่าและสวนยางพารามากขึ้นจึงทำให้มีปริมาณฝนสูงกว่าภาคกลางตอนบน
125.
เหตุใดจังหวัดนครพนมจึงได้รับปริมาณน้ำฝนมาก
1.
ทำเลที่ตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของดีเปรสชั่น
2.
เทือกเขาภูพานช่วยรับลมมรสุม
3. เป็นที่ราบสูงไอน้ำในอากาศกลั่นตัวได้สะดวก
4.
ได้รับอิทธิพลมาจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
126.
เพราะเหตุใดพื้นที่ทางตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าทางตะวันตกของภาค
1.
มีระยะทางอยู่ใกล้ทะเลมากกว่า
2.
ได้รับอิทธิพลจากพายุหมุนเขตร้อน
3.
ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
4.
มีเทือกเขาในประเทศลาวเป็นแนวปะทะลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
127.
จังหวัดนครพนมมีปริมาณน้ำฝนใกล้เคียงกับจังหวัดในภาคใต้เพราะสาเหตุข้อใด
1.
ที่ตั้งอยู่บนแนวพายุโซนร้อน
2.
ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากทะเล
3. ที่ตั้งอยู่บนแนวฝนพาความร้อน
4.
ที่ตั้งอยู่ด้านรับลม
128.
เหตุใดพายุไต้ฝุ่นจึงมีกำลังอ่อนลงเมื่อพัดเข้าสู่ประเทศไทย
1.
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เคลื่อนตัวมาปะทะ
2.
ทิวเขาในประเทศเวียดนามและลาวเป็นแนวปะทะ
3.
ขณะที่พายุนี้เคลื่อนที่ได้มีฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง
4. แหล่งกำเนิดอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งมีระยะห่างจากประเทศไทยมาก
129.
ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย
1.
ไม่เคยก่อตัวในอ่าวไทย
2.
หากก่อตัวในอ่าวเบงกอลจะมาไม่ถึงประเทศไทย
3.
มีแหล่งกำเนิดในทะเลจีนใต้มากกว่าในทะเลอันดามัน
4.
ที่ก่อตัวในอ่าวตังเกี๋ยจะส่งผลต่อสภาพอากาศในประเทศไทยมากที่สุด
130.
ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับพายุแคทรีนา
ที่สร้างความเสียหายอย่างมากเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2548
1.
เป็นพายุไต้ฝุ่นที่ก่อตัวในจีนใต้ ขึ้นฝั่งใกล้กรุงฮานอย
2. เป็นพายุ
โซนร้อนที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกขึ้นฝั่งในประเทศเม็กซิโก
3.
เป็นพายุไซโคลนที่ก่อตัวในมหาสมุทรอินเดีย ขึ้นฝั่งใกล้เมืองโกลกาตา
4.
เป็นพายุเฮอร์ริเคนที่ก่อตัวในมหาสมุทรแอตแลนติก ขึ้นฝั่งใกล้เมืองนิวออร์ลีนส์
131.
ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องมรสุมเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ใดในประเทศไทยมากที่สุด
1. การเปลี่ยนอุณหภูมิตามอิทธิพลลมมรสุม
2.
ชมฝนตกชุกในเดือนพฤษภาคมและเดือนกันยายน
3.
ได้รับแสงอาทิตย์เข้มข้นในเดือนเมษายนและเดือนสิงหาคม
4.
การเปลี่ยนแปลงทางเดินของพายุหมุนจากมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย
132.
ช่วงฝนชุกสองช่วงในประเทศไทยระหว่างเดือนพฤษภาคมและเดือนกันยายนเกิดจากอะไร
1.
การเปลี่ยนทิศทางของลมมรสุม
2.
การเคลื่อนที่ของร่องความกดอากาศต่ำ
3.
การเคลื่อนที่ของแนวตั้งฉากของแสงอาทิตย์
4.
การเคลื่อนที่ของพายุหมุนจากทะเลจีนใต้สลับกับทะเลอันดามัน
133.
ฝนชุกในภูมิภาคส่วนใหญ่ของประเทศไทยเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด
1.
ช่วงที่ร่องมรสุมพัดผ่านประเทศเกิดจากแนวปะทะของมวลอากาศทั้งสองฝ่าย
2.
ช่วงเปลี่ยนแปลงฤดูมรสุม ลมเปลี่ยนทิศทางเกิดความแปรปรวนของอากาศ
3.
ช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ลมพัดมาจากมหาสมุทรอินเดียและทะเลจีนใต้
4.
ช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ลมพัดผ่านพื้นน้ำในอ่าวไทยเข้าสู่แผ่นดิน
134. การที่ฝนตกหนักลมแรงบางครั้งมีฟ้าผ่าและลูกเห็บตกเกิดเป็นบริเวณแคบๆ
เป็นลักษณะของพายุฤดูฝนฤดูใด
1.
พายุดีเปรสชั่น-ต้นฤดูฝน
2.
พายุโซนร้อน-ปลายฤดูฝน
3.
พายุฝนฟ้าคะนอง-ฤดูร้อน
4.
พายุหมุนเขตร้อน-ช่วงเปลี่ยนฤดู
135.
เราจะไม่เห็นปรากฏการณ์ธรรมชาติในช่วงเกิดพายุฝนฟ้าคะนองข้อใด
1.
ฝนตกเป็นบริเวณแคบ
2.
ฝนตกเป็นระยะเวลาสั้นๆ
3. ลมแรง กรรโชก
4. ฟ้าผ่าและฟ้าแลบ
136.
เพราะเหตุใดลมตะเภาจึงพัดไปตามลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
1.
เนื่องจากมีศูนย์ความกดอากาศต่ำเกิดขึ้นในที่ราบภาคกลางความกดอากาศสูงเกิดขึ้นในอ่าวไทย
2. เนื่องจากมีสูงความกดอากาศสูงเกิดขึ้นในที่ราบภาคกลาง
3.
แม่น้ำเจ้าพระยามีความกดอากาศต่ำตามแนวแม่น้ำยมจึงคัดตามแนวความกดอากาศต่ำนั้น
4.
เป็นลมก่อนมรสุมฤดูร้อนที่พัดไปตามอิทธิพลของมรสุมฤดูร้อน
137. ชาวกรุงเทพฯ
นิยมเล่นว่าวที่ท้องสนามหลวงระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายนลมที่พัดอยู่ในช่วงเวลานี้คือลมอะไร
1. ลมข้าวเบา
2.
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
3. ลมตะเภา
4.
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
138. ถ้าลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เปลี่ยนทิศทางมาเป็นลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้จังหวัดใดที่อยู่ด้านรับลม
1. เพชรบุรี
2. ฉะเชิงเทรา
3. ตรัง
4. บุรีรัมย์
139.
เมื่อลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เปลี่ยนทิศทางเป็นลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ข้อใดไม่ถูกต้อง
1.
นครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานีจะมีฝนตกมากขึ้น
2.
เพชรบูรณ์และพิษณุโลกจะมีฝนตกน้อยลง
3. ราชบุรีและเพชรบุรีจะมีฝนตกมากขึ้น
4.
ตากและสุโขทัยจะมีฝนตกมากขึ้น
140.
ถ้าลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เป็นทิศทางการเป็นลมมรสุมตะวันออก ลักษณะภูมิอากาศข้อใดที่ถูกต้อง
1
ประจวบคีรีขันธ์ จะมีฝนมากกว่าระนอง
2. จันทบุรี ตราด
ฝนตกมากขึ้น
3. กาญจนบุรี
เป็นเขตรับฝน
4. แม่สอด
อำเภอแม่สอดอยู่ในจังหวัดตาก
141.
ท่าบริเวณประเทศเวียดนามและลาวยุบลงเป็นอ่าวตังเกี๋ยลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยจะเป็นอย่างไร
1. ไม่เปลี่ยนแปลงเพราะได้รับอิทธิพลจากมรสุมฤดูหนาว
2. ไม่เปลี่ยนแปลงเพราะยังตั้งอยู่ในเขตร้อนเหมือนเดิม
3. เปลี่ยนแปลงเพราะภูมิอากาศคล้ายชายฝั่งจันทบุรีและตราด
4.
เปลี่ยนแปลงเพราะภูมิอากาศคล้ายชายฝั่งตะวันออกของภาคใต้
142.
ถ้ามีนักท่องเที่ยวขอคำแนะนำด้านการท่องเที่ยวบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันท่านคิดว่าสมควรแนะนำให้ไปเที่ยวสถานที่ใดและในช่วงเวลาใดที่เหมาะสมที่สุด
1. ฝั่งอ่าวไทย กันยายน
- ธันวาคม
2.
เกาะตะรุเตา ตุลาคม-มกราคม
3. ฝั่งอ่าวไทย ธันวาคม
- กุมภาพันธ์
4. เกาะสิมิลัน
พฤษภาคม-กรกฎาคม
143.
ท่าทางจะเดินทางไปท่องเที่ยวหมู่เกาะสิมิลันในเขตทะเลอันดามันท่านควรจะเลือกช่วงเวลาใดจึงเหมาะสมที่สุด
1. พฤษภาคม-มิถุนายน
2. สิงหาคม-กันยายน
3. ตุลาคม
-พฤศจิกายน
4. มีนาคม - เมษายน
144.
นางสาวมัลลิกาเตรียมตัวเดินทางไปพักผ่อนที่เรียนแห่งชาติเกาะตะรุเตาจังหวัดสตูล
ได้ทราบข้อมูลว่าสามารถไปได้เฉพาะในช่วงเวลาที่ไม่มีลมมรสุมท่านคิดว่าช่วงเวลาใดต่อไปนี้เหมาะสมที่สุด
1. มกราคม-พฤษภาคม
2. มีนาคม-กรกฎาคม
3. มิถุนายน-กันยายน
4.
ตุลาคม-กุมภาพันธ์
145.
เหตุใดอุณหภูมิในรอบปีของภาคเหนือจึงแตกต่างกันมาก
1.
อากาศโปร่งแจ่มใสพื้นดินคายความร้อนได้เร็ว
2.
อิทธิพลจากมหาสมุทรเข้าถึงน้อย
3. ป่าไม้ส่วนมากเป็นป่าเบญจพรรณดูดซับความร้อนได้เร็ว
4.
พื้นที่เป็นภูเขาสูงฤดูหนาวจึงมีอุณหภูมิต่ำ
146.
การเคลื่อนไหวของเปลือกโลกในบริเวณที่เป็นประเทศไทยทำให้เกิดผลต่างๆยกเว้นข้อใด
1.
การยกตัวทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ราบสูง
2.
การยุบตัวทำให้ภาคกลางเป็นแหล่งรองรับตะกอน
3.
การบีบอัดตัวและยกตัวกลายเป็นทิวเขาสลับหุบเขาของภาคเหนือ
4.
การยกตัวของภูเขาภาคใต้เป็นแนวจากเหนือถึงใต้
147.
ข้อความใดที่อธิบายลักษณะภูมิประเทศไม่ถูกต้อง
1.
ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของภาคใต้เกิดจากการจมตัว
2.
ดินดอนสามเหลี่ยมของที่ราบภาคกลางเกิดจากดินตะกอนแม่น้ำ
3.
การโก่งงอของเปลือกโลกในภาคเหนือทำให้เกิดเทือกเขาขนานในแนวเหนือใต้
4.
การยกตัวของแผ่นดินทั้งทางด้านตะวันตกและด้านใต้ทำให้ภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือลาดเอียงไปทางตะวันออก
148. เพราะเหตุใดที่ราบสูงโคราชจึงไม่จัดอยู่ในภูมิประเทศแบบที่ราบสูงอย่างแท้จริง
1.
มีความชันทางด้านตะวันตกและใต้
2.
มีความสูงเฉลี่ย 150 - 180 เมตร
3. ไม่มีภูเขาล้อมรอบ
4. มีขนาดเล็ก
149.
ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของไทยมีลักษณะภูมิประเทศเป็นแบบใด
1. เป็นที่ราบลูกคลื่นหรือที่ราบลูกระนาด
(Rolling plain)
2.
เป็นที่ราบสูงซึ่งมีความสูงตั้งแต่ 500 - 2000 ฟุต
ลาดเอียงจากเหนือไปถึงใต้
3.
เป็นที่ราบดินตะกอนแต่ถูกยกตัวสูงขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งจากแรงดันภายในโลก
4.
เป็นที่ราบซึ่งมีลักษณะคล้ายที่ราบสูง นั่งจากวิภาชันหรือผาตั้ง (escapement)
ทางตะวันตกและทางใต้ แล้วลาดเอียงไปทางตะวันออก
150.
ภูมิประเทศภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความลาดเอียงไปทางไหน
1. สูงจากตะวันออก
แล้วค่อยๆลาดมาทางตะวันตก
2. สูงทางเหนือ
แล้วค่อยๆลาดมาทางใต้
3.
สูงทางตะวันตก แล้วค่อยๆลาดมาทางตะวันออก
4. สูงทางใต้
แล้วค่อยๆลากมาทางเหนือ
151.
การเกิดแผ่นดินไหวในภาคเหนือและภาคตะวันตกของไทยมีผลมาจากข้อใด
1.
พื้นที่เป็นเขตภูเขาไฟมาก่อน
2.
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตหินเก่าและหินกลางเก่ากลางใหม่
3.
เป็นเขตที่เปลือกโลกถูกแรงกดทับจากภูเขามากที่สุด
4.
พื้นที่อยู่ใกล้เขตภูเขาหินใหม่ซึ่งทอดตัวผ่านทางตะวันตกของพม่า
152.
เพราะเหตุใดประเทศไทยจึงไม่มีปรากฎการณ์เกี่ยวกับภูเขาไฟและแผ่นดินไหว
1.
เพราะตั้งอยู่ในเขตโครงสร้างหินยุคเก่า
2.
เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ
3.
เพราะตั้งอยู่ในเขตโครงสร้างหินยุคใหม่
4. เพราะมีภูเขาสูงๆกระจายอยู่น้อย
153.
ข้อใดตรงกับลักษณะภูมิประเทศของภาคกลาง
1.
ภาคกลางตอนล่างเป็นพื้นที่ราบใหญ่กว้างขวางเกิดจากการทับถมของแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ถึงอ่าวไทย
2. ภาคกลางตอนล่างเป็นพื้นที่ราบลูกฟูกและมีที่ราบดินตะกอนรูปพัดขนาบข้าง
3.
ภาคกลางตอนบนโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำและพื้นที่ราบลูกฟูก
4.
ภาคกลางตอนบนเป็นเนินเขาเตี้ย สลับกับที่ราบลูกฟูก
154.
ปัจจัยข้อใดที่ใช้อธิบายข้อแตกต่างระหว่างภาคกลางตอนบนกับภาคกลางตอนล่างได้ถูกต้อง
1.
ภูมิประเทศและภูมิอากาศ
2.
ภูมิอากาศและระบบแม่น้ำลำธาร
3.
ระบบแม่น้ำลำธารและชนิดของดิน ความหนาของตะกอนดิน
4.
ชนิดของดิน ความหนาของตะกอนดินและภูมิประเทศ
155.
หลักฐานที่บ่งชี้ว่าที่ราบภาคกลางเคยเป็นทะเลมาก่อนคือข้อใด
1.
ลักษณะภูมิประเทศที่มีความต่างระดับน้อย
2.
การพบแร่ยิปซัมที่พิจิตร
3.
ลักษณะภูมิประเทศดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ
4.
การพบซากไดโนเสาร์ที่นครสวรรค์
156.
ข้อใดแสดงถึงลักษณะของพื้นที่ราบภาคกลางตอนล่าง
1.
เป็นดินดอนสามเหลี่ยม
2.
เป็นที่ราบลุ่มน้ำขังบางบริเวณ
3.
เป็นพื้นที่ราบน้ำท่วมบางปี
4. เป็นสันดอนปากแม่น้ำ
157 ข้อใดบ่งชี้ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ราบภาคกลางตอนล่างได้อย่างชัดเจน
1.
การปลูกผักและผลไม้ต้องยกร่อง
2.
การสร้างบ้านต้องให้มีใต้ถุนสูง
3.
การเกิดแผ่นดินทรุดเมื่อสูบน้ำบาดาล
4.
การที่มีถนนและทางหลวงเป็นเส้นตรง
158. ข้อใดตรงกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ของภาคกลางมากที่สุด
1. ได้รับอิทธิพลจากทะเลเพียงด้านเดียวคือจากด้านทิศใต้หรืออ่าวไทย
2. มีภูมิอากาศทุ่งหญ้าเมืองร้อนปริมาณฝนจึงขึ้นอยู่กับอิทธิพลของลมมรสุม
3. มีระบบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ระบบเดียวคือแม่น้ำเจ้าพระยา
4.
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบดินตะกอนที่เกิดมาไม่นานเนื่องจากเคยเป็นทะเลมาก่อน
159.
ลักษณะภูมิประเทศในภาคกลางตอนล่างมีผลต่อสภาพน้ำอย่างไร
1.
น้ำเกิดเน่าเสียได้ง่าย
2.
น้ำจะไปน้ำท่วมทุกปี
3.
น้ำทะเลหนุนทำให้น้ำเค็ม
4.
น้ำท่วมขังบริเวณนี้ระบายออกช้า
160.
เพราะเหตุใดภาคกลางตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีอยุธยาไปจดอ่าวไทยจึงมีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน
1.
บริเวณนี้พื้นที่สุดต่ำมาก
2.
บริเวณนี้สูงจากระดับน้ำทะเลเล็กน้อย
3.
บริเวณนี้คู่ครองถูกทับถมแทบหมด
4.
บริเวณนี้มีน้ำทะเลขึ้นลงวันละ 2 ครั้ง
161. สมมุติว่ามีการรื้อเขื่อนใหญ่ๆในภาคเหนือให้หมดจะมีผลกระทบที่สำคัญต่อภาคกลางอย่างไร
1. ทำนาปรังไม่ได้
2.
การประมงในแม่น้ำทำไม่ได้
3.
มีน้ำท่วมเป็นประจำ
4.
ปริมาณไฟฟ้ามีไม่พอใช้
162.
ข้อใดเป็นลักษณะภูมิประเทศของภาคเหนือ
1.
ที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบเก่ายุคพรีแคมเบรียน
2.
ที่ราบดินตะกอนน้ำพากระจายอยู่ทั่วๆไป
3.
ที่ราบลุ่มแม่น้ำเป็นดินเหนียวสลับที่ราบดินตะกอน
4.
ที่ราบดินตะกอนน้ำพัดพาและมีทิวเขาสูงรอบชายขอบ
163.
อุณหภูมิในภาคตะวันตกโดยเฉพาะที่ทองผาภูมิจังหวัดกาญจนบุรีและอุ้มผางจังหวัดตาก
ระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาวแตกต่างกันมากเป็นเพราะเหตุใด
1.
พื้นที่ส่วนใหญ่ยังเป็นป่าไม้
2.
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาหุบเขา
3.
พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ด้านชายแดน
4.
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินปูน
164.
ทำไมจังหวัดตากและจังหวัดกาญจนบุรีจึงมีอุณหภูมิสูงมากทั้งๆที่สองจังหวัดมีภูเขาและอุทยานแห่งชาติ
1. ป่าไม้ส่วนใหญ่ถูกคนทำลาย
2. ตั้งอยู่ในเขตเงาฝน
3.
ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบแคบๆสลับภูเขา
4. อยู่ห่างไกลจากทะเล
165.
ลักษณะเด่นของภาคตะวันตกในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้แก่อะไร
1.
มีแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์มากกว่าภาคอื่น
2.
มีเขื่อนเก็บน้ำขนาดใหญ่อยู่มาก
3. มีป่าไม้อยู่มากกว่าภาคอื่น
4.
มีผลิตผลทางการเกษตรสูง
166.
ทำไมภาคตะวันตกจึงมีเขื่อนเก็บกักน้ำขนาดใหญ่อยู่มากกว่าภาคอื่นๆ
1.
เพื่อแก้ไขการขาดแคลนน้ำ
2. เพื่อป้องกันอุทกภัย
3.
มีแหล่งน้ำตกขนาดใหญ่มาก
4.
มีองค์ประกอบธรรมชาติเหมาะสม
167.
ศักยภาพทางเศรษฐกิจของภาคตะวันตกที่ปรากฏชัดเจนในขณะนี้ได้แก่อะไร
1. ป่าไม้
2. แร่ธาตุ
3. เกษตรอุตสาหกรรม
4.
การท่องเที่ยว
168.
อัตราส่วนที่ใกล้เคียงที่สุดระหว่างความยาวชายฝั่งทะเลในทะเลใต้ตั้งแต่ชุมพรถึงนราธิวาสกับตั้งแต่ระนองถึงสตูลมีอย่างไร
1. 4 ต่อ 3
2. 5 ต่อ 4
3. 7 ต่อ 6
4. 9 ต่อ 8
169.
สาเหตุที่ชายฝั่งตะวันตกของประเทศเว้าแหว่งมากและไม่ค่อยมีที่ราบและชายฝั่งตะวันออกมีที่ราบมากและไม่ค่อยเว้าแหว่งเพราะเหตุใด
1.
ชายฝั่งทั้งสองมีการยกตัวสูงขึ้นต่างกัน
2.
มีกำเนิดโครงสร้างทางธรณีต่างกัน
3.
ชายฝั่งตะวันตกจมลงในขณะที่ทางตะวันออกยกตัวสูงขึ้น
4.
ชายฝั่งทั้งสองมีการยุบจมลงต่างกัน
170. เพราะเหตุใดทะเลด้านฝั่งอันดามันจึงมีความเหมาะสมในการทำประมงน้อยกว่าฝั่งอ่าวไทย
1.
มีลักษณะเป็นชายฝั่งแบบยกตัวน้ำตื้นเกินไป
2.
มีน้ำลึกมากและคลื่นลมแรงกว่า
3.
มีลักษณะเป็นชายฝั่งแบบยุบจมสร้างท่าเทียบเรือยากกว่า
4.
มีปริมาณสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์น้อยกว่า
171 การสลายตัวของหินบะซอลต์
แอนดีไซต์และทัปต์ ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับการผลิตในข้อใด
1.
อุตสาหกรรมซีเมนต์จังหวัดสระบุรี
2.
อุตสาหกรรมเซรามิกที่จังหวัดลำปาง
3.
การปลูกพืชไร่ที่จังหวัดกาญจนบุรี
4.
การปลูกมะขามหวานที่จังหวัดเพชรบูรณ์
172. เขาหินปูนที่พบในภาคเหนือและภาคตะวันตกมีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างไร
1.
เป็นแหล่งวัตถุดิบอุตสาหกรรมก่อสร้างและเป็นแหล่งท่องเที่ยว
2.
เป็นบริเวณที่อากาศดีเหมาะสำหรับการนันทนาการ
3.
เป็นเขตที่มีแร่โลหะต่างๆเหมาะสำหรับการตั้งโรงงาน
4.
เป็นเขตแร่รัตนชาติทำให้เกิดอุตสาหกรรมอัญมณี
173.
เหตุใดจังหวัดสระบุรีจึงเป็นแหล่งอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ที่สำคัญของประเทศไทย
1.
มีแหล่งหินปูนมากและห่างไกลชุมชน
2.
มีแหล่งหินปูนมากและตั้งอยู่ไม่ไกลจากตลาดผู้ใช้
3.
ตั้งอยู่ใกล้กับตลาดผู้ชายและทำการขนส่งทางถนนดี
4.
มีโรงโม่หินหลายแห่งและตั้งอยู่ไม่ไกลจากตลาดผู้ใช้
174.
เหตุใดทิวเขาภูเก็ตและทิวเขานครศรีธรรมราชจึงมีแร่ดีบุกและวุลแฟรมมาก
1.
เพราะมีหินปูนอยู่มาก
2.
เพราะมีหินแกรนิตแทรกอยู่มาก
3.
เพราะมีหินบะซอลต์กระจายอยู่ทั่วไป
4. เพราะมีหินตกตะกอนทับถมอยู่มาก
175
ปัจจัยใดทำให้ภาคตะวันตกแห้งแล้ง
1.
เป็นพื้นที่เขตเงาฝนและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
2.
เป็นพื้นที่อยู่ใต้อิทธิพลของลมข้าวเบาซึ่งเป็นลมแล้ง
3.
เป็นพื้นที่ด้านรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งเป็นลมแล้ง
4.
เป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลจุดกำเนิดของพายุหมุนจากทะเลจีนใต้มากที่สุด
176.
ความแห้งแล้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกิดจากสาเหตุใด
1.
มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยน้อยกว่าภูมิภาคอื่นๆ
2.
ฤดูฝนสั้นมีช่วงฤดูแล้งขั้นสลับเป็นเวลานาน
3.
มีแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้
4. พายุไต้ฝุ่นซึ่งนำฝนมาตกได้อ่อนกำลังลงเมื่อขึ้นฝั่งประเทศเวียดนาม
177.
ถ้าท่านจะคิดถึงปัญหาความแห้งแล้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ท่านจะมองถึงสาเหตุใหญ่เบื้องต้นในข้อใดก่อน
1. ป่าไม้เหลือน้อย
2.
ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง
3.
พื้นดินไม่สามารถอุ้มน้ำไว้ได้
4. ปริมาณฝนตกน้อยกว่าภาคอื่นๆ
178.
สาเหตุที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยแห้งแล้งเพราะอะไร
1.
อัตราการระเหยของน้ำและการคายน้ำของพืชมีมาก
2.
ความสามารถที่เก็บกักน้ำไว้บนผิวดินมีน้อย
3.
ปริมาณน้ำที่ได้จากแหล่งอื่นๆนอกจากฝนตกมีน้อย
4.
ปริมาณน้ำฝนที่ตกมีจำนวนน้อย
179.
ข้อใดคือสาเหตุที่ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือแห้งแล้งและมีผลผลิตต่ำ
1. ทำการเกษตรผิดวิธี
2.
เป็นบริเวณที่ได้รับปริมาณน้ำฝนต่ำ
3.
ดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย
4. ลำน้ำส่วนใหญ่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง
180.
ปัญหาความแห้งแล้งโดยทั่วไปของภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งยากต่อการแก้ไขมีมูลเหตุสำคัญมาจากอะไร
1.
ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยา
2.
หินดินดานและลักษณะหินในภูมิภาค
3.
ลักษณะการเป็นที่ราบสูงด้านอับลม
4. ระยะห่างไกลจากทะเล
181.
ข้อใดเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ดินส่วนใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความอุดมสมบูรณ์น้อย
1.
เพราะดินส่วนใหญ่เกิดจากหินชั้น ทำให้ระบบระบายน้ำไม่ดี
2.
เพราะดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายไม่มีอินทรีย์วัตถุ
3.
เพราะดินส่วนใหญ่เกิดจากหินชั้น มีเกลือแทรกตามชั้นหิน
4.
เพราะดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ
182.
ปัญหาที่สำคัญที่สุดของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยคือข้อใด
1. ระดับรายได้ต่ำ
2. การขาดที่ดินทำกิน
3.
การขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูก
4.
การขาดแคลนเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ
183.
ภาคเหนือมีปริมาณฝนเฉลี่ยน้อยกว่าภาคอื่นแต่ทำไมภาคเหนือจึงไม่ค่อยขาดแคลนน้ำ
1.
พื้นดินสามารถเก็บน้ำได้ดี
2.
มีป่าไม้และภูเขาสูงเป็นต้นน้ำ
3.
มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่หลายแห่ง
4.
พบน้ำบาดาลมีอยู่ทั่วไป
184
สาเหตุการสูญเสียป่าไม้ในภาคเหนือข้อใดที่ร้ายแรงที่สุด
1.
การทำไร่เลื่อนลอยทั่วไปและการลักลอบตัดไม้ผิดกฎหมายของนายทุน
2.
การทำไร่เลื่อนลอยของชาวไทยภูเขาและการถากถางป่าเพื่อทำกินของประชาชน
3.
การทำไร่เลื่อนลอยของชาวไทยภูเขาและการลักลอบตัดไม้โดยผิดกฎหมายของนายทุน
4.
การถากถางป่าเพื่อทำกินของชาวบ้านและการลักลอบตัดไม้โดยผิดกฎหมายของนายทุน
185.
ปัจจัยหลักที่ทำให้ภาคตะวันออกเป็นเขตปลูกไม้ผลคือข้อใด
1.
เป็นที่ราบดินตะกอนน้ำทะเลมีอาหารพืชสูง
2.
เป็นที่ราบลอนลาดมีดินอุดมสมบูรณ์
3.
อุณหภูมิเฉลี่ยในระดับปานกลางตลอดปี
4. มีฝนตกชุก
น้ำไม่ท่วมขัง
186.
การเลือกสถานที่เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมในข้อใด
สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพมากที่สุด
1.
การทำสวนผลไม้ในเขตฝนชุกของภาคตะวันออก
2.
ปลูกพืชไร่เพื่อการค้าบริเวณที่ราบภาคกลางตอนบน
3.
ทำฟาร์มโคนมในเขตอากาศหนาวทางภาคเหนือ
4. เพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำบริเวณป่าชายเลน
187.
ข้อใดเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยให้บางจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถปลูกเงาะและทุเรียนได้
1.
มีการชลประทานดีขึ้น
2.
ดินมีแร่ธาตุที่เหมาะสม
3.
ความชื้นในดินพอเหมาะ
4.
มีการปรับปรุงพันธุ์ขึ้นใหม่
188.
เหตุผลสำคัญที่ไม่สามารถสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเนื่องมาจากอะไร
1.
พื้นที่ส่วนใหญ่มีเกลือ
2. ดินไม่สามารถเก็บน้ำ
3. ภูมิประเทศไม่อำนวย
4. มีปริมาณน้ำน้อย
189.
ภาคอีสานมีการสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำหลายโครงการ
แต่กระนั้นยังคงประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำอยู่ เพราะเหตุใด
1.
พื้นที่เป็นที่ราบสูง น้ำไหลลงสู่แม่น้ำโขงอย่างรวดเร็ว
2.
วิกฤตการณ์แล้งซ้ำซากและปริมาณฝนน้อยกว่าภาคอื่น
3.
สภาพของพื้นผิวเป็นแบบที่ราบลูกฟูกหรือลูกระนาดทั่วไป
4.
ดินเหนียวที่สายจากหินดินดานมีพื้นที่มากจึงแตกระแหง
190.
การสร้างเขื่อนในภาคเหนือเพื่อการชลประทานและผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ
เป็นโครงการในลักษณะใด เพราะเหตุใด
1. โครงการขนาดใหญ่
เพราะเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีน้ำมาก
2. โครงการขนาดใหญ่
เพราะภูมิประเทศเป็นภูเขา เหมาะแก่การสร้างเขื่อน
3.
โครงการขนาดกลาง เพราะมีเพียงแม่น้ำสายเล็กๆ
4. โครงการขนาดกลาง
เพราะเป็นภาคที่มีประชากรน้อยไม่จำเป็นต้องลงทุนมาก
191. บริเวณฉนวนไทย [ Thai
Corridor] หมายถึงอะไร
1.
ดินแดนในอดีตที่เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
2.
พื้นที่ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศแถบอินโดจีน
3.
พื้นที่ราบเชื่อมที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยากับที่ราบต่ำเขมร
4.
ช่องเขาในเทือกเขาสันกำแพงทางใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
192.
พรมแดนลักษณะใดที่ก่อให้เกิดปัญหาการล่วงล้ำดินแดนอยู่เสมอๆใน 3 จังหวัดภาคตะวันออกของไทย
1.
กำหนดโดยวิธีการเรขาคณิต [geometric boundary]
2.
กำหนดโดยข้อตกลงระหว่างไทยกับกัมพูชา
3. กำหนดตามแนวธรรมชาติ
[Natural Boundary]
4.
กำหนดตามแผนที่อากาศของทางทหาร
193.
ข้อใดเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดบริเวณพรมแดนด้านตะวันตกของไทยที่ติดต่อกับพม่าในปัจจุบัน
1.
การทำลายป่าไม้และความมั่นคงของประเทศ
2.
การขาดแคลนพื้นที่ทำกิน ทำให้มีการบุกรุกป่าสงวน
3.
ชาวไทยภูเขาหลายเผ่ายังคงนิยมปลูกฝิ่นเป็นพืชสำคัญควบคู่กับพืชไร่
4.
การพังทลายของดินอย่างรุนแรงเนื่องจากการทำไร่เลื่อนลอยของชาวไทยภูเขา
194. ภาคภูมิศาสตร์ของประเทศไทยได้แบ่งออกเป็น
6 ภูมิภาคนั้นใช้หลักเกณฑ์ในข้อใด
1.
ลักษณะทางด้านกายภาพและวัฒนธรรม
2. ลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิอากาศ ดิน พืชและสัตว์
3. ลักษณะภูมิอากาศ
ทรัพยากรธรรมชาติและการประกอบอาชีพ
4.
ลักษณะทั่วไปของประชากร ด้านเชื้อสาย ภาษาและขนบธรรมเนียม
195.
ที่ตั้งของประเทศไทยก่อให้เกิดผลดีในด้านใด
1.
ยุทธศาสตร์และการเมือง
2. สถานที่ท่องเที่ยวและวัฒนธรรมประเพณี
3.
ภูมิอากาศและการคมนาคม
4.
ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และภาษาศาสตร์
196 ดินตะกอนใหม่ยุคควอเทอร์นารีปกคลุมพื้นที่ประมาณเท่าไหร่ของภาคกลาง
1. ร้อยละ 25
2. ร้อยละ 60
3. ร้อยละ 40
4. ร้อยละ 75
197.
ข้อใดเป็นลักษณะที่ถูกต้องของแต่ละภูมิภาค
1.
ภาคตะวันออกมีภูมิประเทศตอนเหนือเป็นที่ราบลุ่มฝนตกชุกดินไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์
2.
ภาคตะวันตกมีภูมิประเทศเป็นทิวขาวสลับหุบเขาปริมาณน้ำฝนน้อยทรัพยากรธรรมชาติค่อนข้างอุดมสมบูรณ์
3.
ภาคกลางมีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบเป็นแหล่งเกษตรกรรม ทรัพยากรน้ำอุดมสมบูรณ์แต่มีปัญหาดินเปรี้ยว
4.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีภูมิประเทศเป็นแอ่งที่ราบทรัพยากรน้ำอุดมสมบูรณ์
แต่มีปัญหาดินเค็ม
198.
ถ้านักเรียนต้องการศึกษาหินที่เกิดจากภูเขาไฟต้องไปที่ใด
1. ภูกระดึง ภูพาน
2. เขาหลวง เขาสอยดาว
3..
ภูพระอังคาร เขาพนมรุ้ง
4. ดอยอินทนนท์
ดอยอ่างขาง
199. ข้อใดไม่ถูกต้อง
1.
ที่ราบแคบๆภาคเหนือเกิดจากการกัดเซาะและทับถมทำให้ดินอุดมสมบูรณ์
2.
ที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลางอุดมสมบูรณ์จากตะกอนน้ำพามาเหมาะแก่การเกษตร
3.
ลุ่มแม่น้ำชีถึงมูลภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สามารถเลี้ยงดูคนเป็นจำนวนมากตั้งแต่อดีต
4.
ที่ราบชายฝั่งทะเลภาคใต้อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรแร่ธาตุ จึงมีการตั้งถิ่นฐานสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
200.
พื้นที่ในข้อใดตั้งอยู่ที่ขอบนอกสุดของประเทศไทย
1. แม่สาย
เบตง แม่สะเรียง โขงเจียม
2. แม่อาย สะเดา
คลองใหญ่ แม่ละเมาะ
3. เชียงแสน ตากใบ
สังขละบุรี อรัญประเทศ
4. โขงเจียม อุ้มผาง
เชียงคาน ด่านพระเจดีย์สามองค์
201.
เมื่อพิจารณาการแบ่งภูมิภาคของโลกตามอุณหภูมิประเทศไทยควรจัดอยู่ในเขตใด
1. เขตศูนย์สูตร
2. เขตร้อน
3. เขตฝน
4. เขตมรสุม
202. นักท่องเที่ยวในสถานที่ใดจะเห็นดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าหลังสุด
1. ผาแต้ม
2. ดอยแม่สลอง
3. เขื่อนศรีนครินทร์
4. สะพานติณสูลานนท์
203.
ถ้าระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับปัจจุบันอีก 4
เมตรจังหวัดใดจะอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลมากที่สุด
1. ปทุมธานี
2. สระบุรี
3. สุพรรณบุรี
4. พระนครศรีอยุธยา
204.
"วันนี้น้ำทะเลขึ้นสูงสุดเวลา 9.00 น. สูง 1 เมตร"
หมายความว่าน้ำทะเลขึ้นสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางที่ไหน
1. กรมอุทกศาสตร์ กรุงเทพฯ
2. สัตหีบ จังหวัดชลบุรี
3. สะพานพุทธยอดฟ้า กรุงเทพฯ
4. เกาะหลัก
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
205.
ตามปกติการแสดงลักษณะภูมิประเทศที่เป็นภูเขาในแผนที่โดยวิธีการแรเงาเขานิยมแรเงาโดยสมมุติว่ามีแสงส่องมาจากทิศใด
1. ตะวันตกเฉียงเหนือ
2. ตะวันตก
3. ตะวันออกเฉียงเหนือ
4. ตะวันออก
206.
ทิวเขาในแนวเหนือใต้หลายทิวเขาเกือบขนานกัน
มีที่ราบระหว่างหุบเขาบริเวณที่ราบมีลำน้ำไหลผ่านภูมิประเทศเช่นนี้ควรจะเป็นภูมิภาคใดของประเทศไทย
1. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2. ภาคเหนือ
3. ภาคใต้
4. ภาคตะวันตก
207.
เขตภูมิลักษณ์ที่เป็นทิวเขาและที่ราบระหว่างภูเขาหมายถึงภาคใดของประเทศไทย
1. ภาคใต้
2. ภาคเหนือ
3. ภาคตะวันตก
4. ภาคตะวันออก
208.
ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันตกคล้ายคลึงกับภาคใดมากที่สุด
1. ภาคใต้
2. ภาคเหนือ
3. ภาคตะวันออก
4. ภาคกลางตอนบน
209
ภูมิประเทศของประเทศไทยภาคใดคล้ายคลึงกันมากที่สุด
1. ภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2. ภาคใต้กับภาคตะวันออก
3. ภาคเหนือกับภาคตะวันตก
4. ภาคใต้กับภาคตะวันตก
210.
ความคล้ายคลึงกันด้านกายภาพระหว่างภาคเหนือและภาคตะวันตกได้แก่ข้อใด
1. มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเท่าๆกัน
2.
มีแหล่งต้นน้ำซึ่งสามารถเก็บน้ำได้หลายแห่ง
3.
มีทิวเขาสูงหลายทิวเขาขนาดกันในแนวเหนือใต้
4.
มีลักษณะดินเหมาะสมแก่การปลูกพืชเหมือนกัน
211.
ลักษณะทางกายภาพข้อใดที่คล้ายคลึงกันมากที่สุดระหว่างภาคเหนือและภาคตะวันตก
1.
ทิวเขาสูงสลับกันที่ราบหุบเขาและมีแร่ดีบุก
2.
ป่าไม้อุดมสมบูรณ์และมีแร่ธาตุชนิดเดียวกัน
3.
ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาวเหมือนกัน
4. ภูมิอากาศทุ่งหญ้าสะวันนา
ปริมาณฝนมากกว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
212.
ภูมิภาคใดเหมาะสมที่สุดในการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
1. ภาคตะวันตกและภาคใต้
2. ภาคเหนือและภาคตะวันตก
3. ภาคใต้และภาคเหนือ
4. ภาคเหนือและภาคตะวันออก
213.
ภูมิภาคใดของไทยที่มีศักยภาพทางการท่องเที่ยว ทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวหลากหลายและทรัพยากรบริการการท่องเที่ยวสมบูรณ์มากที่สุด
1. ภาคเหนือกับภาคตะวันตก
2. ภาคกลางกับภาคใต้
3.
ภาคตะวันตกกับภาคตะวันออก
4. ภาคใต้กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
214
ถ้าพิจารณาถึงลักษณะภูมิประเทศการตั้งถิ่นฐานของประชากรภาคใดที่คล้ายคลึงกัน
1. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคเหนือ
2. ภาคใต้กับภาคตะวันออก
3. ภาคตะวันออกกับภาคกลาง
4. ภาคเหนือกับภาคตะวันตก
215
ภาคใดมีการจัดการดินและระบบการปลูกพืชคล้ายคลึงกัน
1. ภาคตะวันตกกับภาคเหนือ
2. ภาคกลางตอนบนกับภาคกลางตอนล่าง
3. ภาคใต้กับภาคตะวันออก
4. ภาคกลางตอนล่างกับภาคตะวันออก
216
ภาคที่มีภูมิอากาศแตกต่างจากภาคอื่นมากที่สุดคือภาคใด
1. ภาคใต้
2. ภาคเหนือ
3. ภาคกลาง
4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
217. เมื่อพิจารณาจากลักษณะภูมิประเทศ
การก่อสร้างถนนในภูมิภาคใดจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
1. ภาคกลาง
2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3. ภาคตะวันตก
4. ภาคเหนือ
218
ภาคตะวันออกและภาคใต้มีลักษณะสภาพแวดล้อมคล้ายกัน แต่ยกเว้นข้อใด
1. ความยาวของแม่น้ำ
2. การวางตัวของทิวเขา
3. คุณสมบัติของดิน
4. ลักษณะชายฝั่งและเกาะ
219. ข้อใดเป็นลักษณะที่คล้ายคลึงกันระหว่างภาคตะวันออกและภาคใต้ของไทย
1. ทิศทางการไหลของน้ำไปทางเดียวกัน
2. จำนวนเกาะนอกชายฝั่งใกล้เคียงกัน
3. ตอนบนของภาคเป็นที่ราบลุ่มเหมือนกัน
4. มีแม่น้ำสายสั้นๆ
และหินมีอายุเก่าแก่ใกล้เคียงกัน
220. ภาคตะวันออกและภาคใต้มีความคล้ายคลังกันอย่างไร
1. แม่น้ำส่วนใหญ่เป็นแม่น้ำสายสั้นๆ
และมีป่าชายเลนบริเวณชายฝั่ง
2. อิทธิพลของลมมรสุมนำฝนมาตกในบริเวณใกล้เคียงกัน
3. มีการปลูกพืชและประเภทอุตสาหกรรมคล้ายกัน
4. วิถีชีวิตและการประกอบอาชีพของชนกลุ่มน้อยคล้ายคลึงกัน
แนวข้อสอบปลายภาค เทอม2
1. ความหมายโดยทั่วไปของกฎหมายคืออะไร 1. ข้อบังคับของรัฐ 2. บรรทัดฐานในสังคม 3. จารีตประเพณี 4. บรรทัดฐานที่ศาลใช้ในการตัดสินคด...
-
การสังคายนาครั้งที่ 1 สาเหตุ พระภิกษุสุภัททะ กล่าววาจาในทำนองดูหมิ่นพระพุทธองค์และแสดงความดีใจเมื่อได้ข่าวว่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ผู้เ...
-
1 . ถ้าวัดระยะทางจริงในภูมิประเทศได้ 2.5 กิโลเมตรและจัดระยะทางในแผนที่ได้ 5 เซนติเมตร แผนที่นี้ใช้มาตราส่วนใด 1 . 1 : 5 , 000 2 . 1 ...
-
ห้องไหนที่ไม่ได้ใบงานลอกโจทย์แล้วจดใส่สมุดด้วยนะครับ ใบงานเรื่อง การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี...