วันศุกร์, ธันวาคม 12, 2557

M.1

การก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย

ขอมมีอำนาจในการปกครองดินแดนไทย
          สุโขทัยมีฐานะเป็นเมืองที่รวมกับศรีสัชนาลัย เรียกว่า เมืองหรือแว่นแคว้นสุโขทัย เจ้าเมืองคือพ่อขุนศรีนาวนำถมเป็นเจ้าเมือง เป็นประเทศราช (เมืองขึ้น) ของอาณาจักรขอม (เขมร)แต่ปกครองอย่างละมุนละม่อม
หลังพระเจ้าชัยวรมันที่7สิ้นพระชนม์ ขอมจึงเริ่มเสื่อมใช้ระบบเครือญาติผูกมิตรโดยการแต่งตั้งบุตรพ่อขุนนาวนำถม คือ พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ให้เป็น ขุนศรีอินทรบดินทร์ทราทิตย์ มอบพระขรรค์ไชยศรี เป็นเครื่องแสดงอำนาจ แล้วยังแถมพระราชธิดาขอม สิงขรมหาเทวี ให้อภิเษกด้วย
จุดพลิกผันที่ทำให้คนไทยตั้งตัว 
พ่อขุนนาวนำถมสิ้นพระชนม์ ข้าหลวงขอม ชื่อ ขอมสบาดโขลญลำพง ยึดสุโขทัย พ่อขุนผาเมือง(ราด)+พ่อขุนบางกลางหาว(บางยาง) เพื่อนกันร่วมกันขับไล่ ตั้งตนเป็นอิสระ
พ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ใช้ชื่อ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ในที่สุดก็สถาปนาอาราจักรสุโขทัยโดยมีแว่นแคว้นอื่นๆมาสวามิภักดิ์
 ขอมเสื่อมอำนาจลงเรื่อยๆ
 
- ต้องคอยสู้รบกับมองโกลที่มารุกราน
- รบกับพวกจามปา(ตอนใต้เวียดนาม)เสียคน+เงิน
- สร้างปราสาทหินมากเกินไป
- ประชาชนไม่สนับสนุนเนื่องจากนโยบายเรื่อง เกณฑ์ไปรบกับการก่อสร้าง

รายนามพระมหากษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักรสุโขทัย

1. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์   1792-???       
- สถาปนาสุโขทัย+ราชวงศ์พระร่วง
- นามเดิม  พ่อขุนบางกลางหาว
- โอรส 3(องค์ใหญ่,พ่อขุนบานเมือง,พ่อขุนรามคำแหง)ธิดา 2(ไม่ปรากฏนาม)
2. พ่อขุนบานเมือง ????-1822    
3. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช 1822-1841 
- นามเดิม พระราม อายุ19 ไปช่วยพระบิดารบกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ชนช้างชนะได้พระราชทานนาม พระรามคำแหง
- ส่งเสริมการค้า ไม่เก็บจังกอบ (ค่าผ่านด่าน)
- สร้างเขื่อนเก็บน้ำ ทำนบพระร่วง (สรีดภงส์ )
- เป็นทั้งนักรบ (ขยายอาณาเขตกว้างที่สุด)
- นักปกครอง(เอาใจใส่ประชาชน แขวนกระดิ่งร้องทุกข์)
- นักทูต (กระชับมิตรดินแดนใกล้เคียง)
- นักปราชญ์ (ประดิษฐ์อักษรลายสือไท 1826 บำรุงศาสนา สร้างแท่นมนังคศิลาบาตร และศาลาพระมาส ให้ภิกษุแสดงธรรมในวันพระ และอบรมขุนนาง+ประชาชนวันธรรมดา)
4. พระยาเลอไทย 1841-????     
เมืองต่างๆแยกตัวเป็นอิสระ
5. พระยางั่วนำถม ????-1890    
- เป็นอนุชาของพระเจ้าเลอไทย
- หลังสิ้นพระชนม์เกิดการแย่งชิงอำนาจ
6. พระมหาธรรมราชาที่1 (พระเจ้าลิไทย) ลือไทย    1890-1911/1916      
- โอรสของพระยาเลอไทย
- 1893 พระเจ้าอู่ทองสถาปนาอยุธยา เป็นอิสระจากสุโขทัย
- ปราบจลาจล+รวบรวมเมืองต่างๆที่แยกไป ได้เกือบครึ่งของพ่อขุนรามคำแหง
- ปกครองแบบธรรมราชา - ทศพิธราชธรรม
- ปกครองด้วยธรรมานุภาพ(พระคุณ)มากกว่าเดชานุภาพ(พระเดช)
- แตกฉานในพระไตรปิฎก - นิพนธ์ ไตรภูมิพระร่วง (เตภูมิกถา ) วรรณกรรมทางพุทธศาสนาเล่มแรก
- ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา โดย
ส่งเสริมการศึกษาพุทธศาสนา จนกลายเป็นศูนย์กลาง
ส่งพระสงฆ์ไปเผยแผ่ พุทธ(ลังกาวงศ์)แคว้นใกล้เคียง ล้านนา
ให้จำลองรอยพระพุทธบาท จากลังกามาวัดเขาพระบาทใหญ่
จัดสร้าง พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศากยมุนี
- กษัตริย์องค์แรกที่บวชระหว่างครองราชย์ (วัดป่ามะม่วง )
ปรับปรุงการเขียนหนังสือไทย วางสระเช่นเดียวกับปัจจุบัน
7. พระมหาธรรมราชาที่ 2 1911-1942   
- ไม่มีใครพูดถึงอาจเพราะโกธรที่ยอมแพ้อยุธยา
- 1921-1931 สุโขทัยเป็นประเทศราชอยุธยา
8. พระมหาธรรมราชาที่ 3 (พระเจ้าไสลือไทย) 1942-1962  
- เป็นหลานปู่พระเจ้าลิไทย แต่ไม่ใช่โอรสพระมหาธรรมราชาที่ 2
- ทำสัญญาพันธมิตรกับเจ้าเมืองน่านว่าจะช่วยกันหากถูกรุกราน
9. พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)(พระยาบานเมือง) 1962-1981 
- ครองเมืองพิษณุโลก (เมืองหลวงของสุโขทัย)
- พี่สาวของพระยาบานเมืองเป็นแม่ของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ 
 

วันจันทร์, ธันวาคม 08, 2557

สอนเสริมก่อนสอบกลางภาค(M.6)

เรียน นักเรียนระดับชั้น ม.6
ในวันพุธที่ 10 ธันวาคม 2557นี้(วันหยุดวันรัฐธรรมนูญ) ผมจะจัดการสอนเสริมให้ในเวลา 13:00-16:00 น. ที่ห้องมัลติมีเดียของโรงเรียนปลวกแดงพิทยาคม ซึ่งจะเป็นการสอนทบทวนเนื้อหาให้ตั้งแต่ต้น ไม่ได้สอนอะไรเพิ่มเติมนอกจากจะมีแรงและเวลาเหลืออธิบายเรื่องเงินเฟ้อเงิน ฝืดที่พวกเราทำรายงานการค้นคว้ามาส่งแล้วนำไปออกสอบ โดยจะไม่เก็บค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ดังนั้นจึงมีระเบียบในการเข้าร่วมการเรียนการสอนในครั้งนี้เยอะหน่อย
1. มาสายกว่า 13:00 น.(ยึดตามนาฬิกาข้อมือผม) ไม่อนุญาตให้เข้าร่วม
2. หากมีการอ้างการเรียนการสอนในครั้งนี้ไปเที่ยวเตร่หรือไปไหนก็ตาม ติด0วิชานี้ทันที
3. มีพฤติกรรมก่อกวน ไม่สนใจและทำให้ครูหรือเพื่อนเสียสมาธิ ไล่ออกนอกห้องโดยไม่มีข้อแม้
4. แต่งกายชุดนักเรียนถูกระเบียบ อนุโลมให้ชุดพละที่ถูกระเบียบเช่นกัน
5. ห้ามนำอาหารและเครื่องดื่มเข้าห้องมัลติฯเด็ดขาด อนุโลมน้ำเปล่า
ใครสนใจแจ้งที่ผมได้โดยลงชื่อได้ที่ผม เพื่อสำรวจจำนวนถ้าคนน้อยจะเปลี่ยนไปใช้ห้องเรียนปกติ(ห้องไหนจะแจ้งอีกครั้ง)

วันพุธ, กันยายน 10, 2557

วิวัฒนาการของอาณาจักร(ม.1)

วิวัฒนาการของอาณาจักร

 ชุมชนกลายเป็นเมือง

ชุมชนขยายตัวจากการติดต่อสื่อสารกัน

โครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมซับซ้อนขึ้น มีการแบ่งหน้าที่และชนชั้นแล้ว

ปัจจัยทางเศรษฐกิจ  คมนาคมสะดวก ศูนย์กลางการค้า ทรัพยากร

ปัจจัยทางภูมิศาสตร์  ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ทะเล ที่ราบสูง เทือกเขา

หลักฐานปรากฏชัดเจนสมัยพุทธศตวรรษที่ 18 ได้แก่ หลักฐานทางโบราณคดีและบันทึก

มีการรับอารยธรรมจากต่างชาติแล้ว

เมืองกลายเป็นแคว้น

การปกครองเป็นแบบรวมศูนย์  เพราะจำนวนของประชากร

มีกษัตริย์เป็นผู้นำโดยได้รับอิทธิพลจากอินเดีย

มีการแบ่งหน้าที่และระบบวรรณะคล้ายกับอินเดีย

บันทึกของชาวจีนกล่าวถึง

โถโลโปตี้

อี้เซียนน้าโป้(อิศานปุระ)

แคว้นกลายเป็นอาณาจักร

พื้นที่ขยายขึ้น กษัตริย์จึงต้องการผู้ช่วย ได้แก่ ขุนนาง

กษัตริย์ที่เป็นเทพ (เทวราชา) ผู้มีคุณธรรม

ปัจจัยที่ทำให้แคว้นเติบโต

เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ

ความเข้มแข็งทางการทหาร


วันจันทร์, สิงหาคม 25, 2557

วิธีการทางประวัติศาสตร์ (ม.1)

วิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนหรือวิธีการที่นักประวัติศาสตร์ใช้เพื่อศึกษา ค้นคว้า และเรียบเรียงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์จากหลักฐานที่มีเพื่อให้มีความถูกต้อง ชัดเจนมากที่สุด
ความสำคัญของวิธีการทางประวัติศาสตร์
การเลือกใช้หลักฐาน
ความน่าเชื่อถือ
ความถูกต้อง
ผู้ศึกษา
เป็นกลาง
ไม่นำปัจจุบันไปประเมินอดีต
วิธีการ
ไม่สามารถใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ได้(เกิดครั้งเดียวทดลองซ้ำไม่ได้)

ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
1.            ตั้งประเด็นที่จะศึกษา
2.            รวบรวมข้อมูลหลักฐาน
3.            วิเคราะห์และประเมินคุณค่าของหลักฐาน
4.            เลือกสรรและจัดความสัมพันธ์ของข้อมูล
5.            สังเคราะห์ข้อมูล

1. การตั้งประเด็นที่จะศึกษา(กำหนดหัวข้อ)
            ใคร เรื่องราวของใคร เกี่ยวข้องกับใคร
            อะไร สิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร
            ที่ไหน เหตุการณ์นั้นๆเกิดขึ้นที่ไหน
            เมื่อไหร่ เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่
            ทำไม ทำไมจึงเกิดขึ้น
            อย่างไร ส่งผลอย่างไรกับปัจจุบัน

2. รวบรวมข้อมูลหลักฐาน
ควรศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรงก่อน(หนังสืออ้างอิง บุคคล) เพื่อทำความเข้าใจพื้นฐานเรื่องที่เราต้องการศึกษา
จากนั้นจึงหาข้อมูลจากหลักฐานขั้นต้น เพื่อให้ได้ถึงรายละเอียดของเรื่องราวที่เราต้องการศึกษาโดยตรง

3. วิเคราะห์และประเมินคุณค่าของหลักฐาน(ตรวจสอบ)
การวิเคราะห์หลักฐานภายนอก
            ตรวจสอบสภาพปรากฏว่าถูกต้องหรือไม่
การวิเคราะห์หลักฐานภายใน
            ตรวจสอบเนื้อหาภายในว่าเชื่อถือได้หรือไม่

4. การเลือกสรรและจัดความสัมพันธ์ของข้อมูล(ตีความ)
การตีความขั้นต้น(แนวราบ)
            ตามตัวอักษรหรือตามรูปลักษณ์ภายนอก
การตีความขั้นลึก(แนวดิ่ง)
            ความหมายที่ซ่อนอยู่ภายใน
หลังจากนั้นต้องแยกประเภท จัดความสัมพันธ์ จัดลำดับก่อนหลัง

5. สังเคราะห์ข้อมูล(เรียบเรียง นำเสนอ)
            การนำข้อมูลที่ผ่านกระบวนการในขั้นตอนที่ 2 3 4 มาทำให้เกิดข้อมูลใหม่เพื่อตอบปัญหาข้อแรก

หลักธรรมทางพุทธศาสนา(ต่อ) (ม.6)