1.วิชาเศรษฐศาสตร์เป็นศาสตร์ในสาขาใด เพราะเหตุใด
1. สังคมศาสตร์
เพราะศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์
2. วิทยาศาสตร์ประยุกต์
เพราะสามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดข้นจริงได้
3. ศึกษาศาสตร์
เพราะไม่ต้องใช้คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์
4. ตรรกวิทยา เพราะผลการศึกษาต้องสอดคล้องกับหลักเหตุและผล
2.เหตุใดวิชาเศรษฐศาสตร์จึงมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์
1. มนุษย์มีความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นตลอดเวลา
2. มนุษย์มีรายได้จำกัด
แต่มีความต้องการสินค้าและบริการไม่จำกัด
3. ทรัพยากรมีอยู่อย่างจํากัดมนุษย์จึงต้องจัดสรรการใช้ทรัพยากรเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4. ปัจจุบันเป็นยุคโลกไร้พรมแดนมีการค้าขายอย่างเสรีมนุษย์จึงควรมีความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจ
3.การศึกษาวิชาเศรษฐกิจเกิดจากอะไร
1. ความพยายามในการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด
เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอย่างไม่จำกัด
2. การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมากมายให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3. การแบ่งปันทรัพยากรระหว่างประเทศที่มีอยู่อย่างมากมายกับประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัด
4. การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้พอเพียงกับความจำเป็น
ขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์
4.จุดประสงค์หลักของการศึกษาวิชาเศรษฐกิจเพื่อให้ผู้ศึกษาเข้าใจเรื่องใด
1. การกระจายรายได้
2. การเงินการธนาคาร
3. การพัฒนาเศรษฐกิจ
4. การจัดสรรทรัพยากร
5.ข้อใดคือปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของทุกระบบสังคม
1. ปัญหาการว่างงาน
2. ปัญหาความขาดแคลน
3. ปัญหาความยากจน
4. ปัญหาการกระจายรายได้
6.ข้อใดคือสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ
1. การเพิ่มขึ้นของประชากร
2. ความจำกัดของทรัพยากร
3. ความหลากหลายของสินค้าและบริการ
4. ความแตกต่างของประเภทของระบบเศรษฐกิจ
7.ความขาดแคลนที่ปรากฏอยู่ในระบบเศรษฐกิจมีสาเหตุ
พื้นฐานมาจากข้อใด
1. การใช้ทรัพยากรของระบบเศรษฐกิจเป็นไปอย่างไม่เต็มที่
2. ความต้องการของมนุษย์และจำนวนทรัพยากรไม่สมดุลกัน
3. มนุษย์มีความต้องการไม่จำกัดและแสวงหาความพอใจสูงสุด
4. การแสวงหาทรัพยากรใหม่ๆไม่ทันกับการหมดไป
จากทรัพยากร
8.ข้อใดอธิบายความหมายของความขาดแคลนในทางเศรษฐกิจได้ดีที่สุด
1. การที่สังคมไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตรงกับความต้องการที่มี
2. การที่สังคมไม่สามารถผลิตสินค้าได้เพียงพอกับความต้องการที่มีอยู่
3. การที่สังคมไม่สามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ได้หมด
4. การที่สังคมไม่สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
9.ข้อใดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
1. ความไม่สมดุลระหว่างความต้องการกับจำนวนทรัพยากร
2. การที่รัฐบาลเข้าแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจของเอกชน
3. การที่รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนของประชากรได้
4. ความขัดแย้งในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ
10. ปัญหาข้อใดเป็นปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของทุกประเทศ
1. การเลือกผลิตสินค้าและบริการ/ ต้นทุนการผลิต/
และการขาดแคลนเงินทุน
2. คุณภาพของผลผลิต /การกระจายสินค้าและบริการ/
และต้นทุนการผลิต
3. การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ
/การขาดแคลนเงินทุน /และการเลือกวิธีการผลิต
4. การเลือกผลิตสินค้าและบริการ/การเลือกวิธีการผลิต/และการกระจายสินค้าและบริการ
11.การตัดสินใจในข้อใดไม่เกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
1. การปลูกข้าวหรือจะปลูกถั่ว
2. การปักผ้าด้วยมือถือด้วยเครื่องจักร
3. การขุดสระน้ำตอนหน้าแล้งหรือหน้าฝน
4. การสร้างบ้านจัดสรรแบบมาตรฐานราคาต่ำหรือแบบหรูหราราคาสูง
12.ข้อใดไม่เป็นปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
1. มีสินค้าและบริการใดที่ประเทศควรจะผลิตเพื่อสนองความต้องการของประชาชน
2. ผู้ผลิตจะต้องใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆอย่างไรในการผลิตสินค้าเพื่อให้ประหยัดต้นทุน
3. สินค้าที่ผลิตจะมีการกระจายไปสู่ประชาชนในสังคมอย่างไรจึงจะเหมาะสม
4. รัฐบาลควรเลือกใช้นโยบายเศรษฐกิจใดเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนสินค้าในระบบเศรษฐกิจ
13.ข้อใดเป็นเรื่องของเศรษฐศาสตร์มหภาค
1. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารส่งเคราะห์มีแนวโน้มจะต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ทั่วทั่วไป
2. ราคาจำหน่ายข้าวในประเทศในปีนี้มีระดับค่อนข้างสูงเนื่องจากได้เกิดอุทกภัยขึ้นในหลายพื้นที่
3. อัตราว่างงานในช่วงหลายปีนี้มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นสูงกว่าอัตรา
ว่างงานในช่วงต้นปีประมาณ 0.5 -1 เปอร์เซ็นต์
4. การเรียกร้องค่าจ้างเพิ่มสูงขึ้นของคนงานในโรงงานทอผ้าส่งผลให้พนักงานจำนวนหนึ่งต้องว่างงานลง
14.ข้อใดเป็นเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์จุลภาค
1. ประเทศไทยประสบปัญหาความตกต่ำทางเศรษฐกิจตั้งแต่พ.ศ.
2540 เป็นต้นมา
2. ประเทศไม่สามารถผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคได้
3. นโยบายของรัฐบาลในการลดการว่างงานคือการกระตุ้นให้เอกชนลงทุนมากขึ้น
4. ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศลดอัตราดอกเบี้ยให้ธนาคารเพื่อป้องกันเงินทุนระยะสั้นไหลเข้ามามากเกินไป
15.การศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจใดไม่ใช่เป็นการศึกษาตามแนวเศรษฐศาสตร์มหภาค
1. การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมีอิทธิพลต่อภาวะการบริโภคมวลรวม
2. การกำหนดอัตราดอกเบี้ยและรายได้ประชาชาติ
3. การเพิ่มขึ้นของระดับราคาและการจ้างงานของประเทศ
4. การกำหนดราคาประกันรับซื้อข้าวเปลือกของรัฐบาล
16.ข้อใดเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์จุลภาค
1. อัตราการว่างงานในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น
2. ชาวนาผลิตข้าวเกินความต้องการของผู้บริโภคทำให้ราคาลดลง
3. ระดับราคาสินค้าในท้องตลาดเพิ่มสูงขึ้นเพราะธนาคารพาณิชย์ปล่อยเงินกู้เพิ่มขึ้น
4. ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินนโยบายทางด้านการเงินเพื่อลดอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด
17.ข้อใดต่อไปนี้ไม่เกี่ยวข้องกับมหเศรษฐศาสตร์
1. นายโกศลตัดสินใจใช้เงิน 50 บาทที่เขามีอยู่ซื้ออาหารว่างรับประทานแทนที่จะใช้ซื้อเสื้อยืด
2. ในเขตประกาศขึ้นราคาน้ำมันพืชที่ผลิตจากโรงงานของเขาภายหลังที่รัฐบาลประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
3. เมื่อราคาเนื้อหมูแพงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50
บาทเป็น 60 บาทมีผลทำให้คนกรุงเทพฯหันไปบริโภคเนื้อไก่กันมากขึ้น
4. ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินและเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์
ทั้งนี้เพื่อแก้ไขสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์
18.เรื่องใดเป็นเศรษฐศาสตร์จุลภาค
1. ปีนี้คนไทยออกไปทำงานต่างประเทศน้อยกว่าปีที่แล้ว
2. คาดว่าแรงงานไทยจะมีงานทำมากขึ้นภายหลังภาวะน้ำท่วม
3. ได้มีการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำสูงขึ้นเพื่อบรรเทาภาวะค่าครองชีพ
4. อัตรากำไรของธนาคารกรุงไทยลดลงเงินโบนัสพนักงานจึงต่ำกว่าปีก่อน
19.ข้อใดเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค
1. ปีนี้โรงสีรับซื้อข้าวเปลือกในราคาตันละ 9500
บาทต่ำกว่าราคาที่รัฐบาลรับจํานํา
2. ร้านทองขายทองคำแท่งในราคาที่สูงกว่าเมื่อเดือนที่แล้วร้อยละ
5
3. สินค้าออกของไทยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ
10
4. ผลผลิตเงาะปีนี้เพิ่มขึ้นมากทำให้ราคาจบเหลือเพียงกิโลกรัมละ
5 บาท
20.ข้อใดเกี่ยวข้องกับวิชาเศรษฐศาสตร์มากที่สุด
1. นาย ก
การตัดสินใจไปว่ายน้ำแทนที่จะไปลงคะแนนเลือกตั้ง
2. นาย ข ออกจากบ้านตั้งแต่ 5.00 นเพื่อหลีกเลี่ยงรถติด
3. นาย ค ดูโทรทัศน์ดึกเกินไปจึงนอนตื่นสาย
4. นาย ง ทำข้อสอบข้อสุดท้ายก่อนทำข้อแรก
21.การศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาคจะทําให้บุคคลมีความรู้เรื่องใด
1. การผลิตโดยใช้ต้นทุนต่ำที่สุด
2. การอธิบายสาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อได้
3. การเลือกซื้อสินค้าต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. การกำหนดราคาและปริมาณการผลิตที่จะทำให้ได้กำไรสูงสุด
22.ข้อใดเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐศาสตร์มหภาค
1. การส่งออกสิ่งทอมีแนวโน้มลดลง
2. การลงทุนในประเทศลดลง
3. ยอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นมาก
4. ราคาข้าวเปลือกตกต่ำ
23.ข้อใดไม่ใช่เศรษฐศาสตร์จุลภาค
1. ศึกษาภาวะและการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้าหมดอาหาร
2. ศึกษาพฤติกรรมการนั่งรถยนต์รับจ้างของคนกรุงเทพมหานคร
3. ศึกษาพฤติกรรมของเจ้าของรถบรรทุกรับจ้างระหว่างจังหวัด
4. ศึกษาภาวการณ์ผลิตและตลาดข้าวเปลือกในประเทศ
24.ข้อใดเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐศาสตร์จุลภาค
1. จำนวนคนว่างงานในประเทศเพิ่มขึ้น
2. แรงงานขาดทักษะที่จะรับเทคโนโลยีใหม่
3. ราคายางพาราในประเทศในปีนี้ตกต่ำกว่าปีที่แล้ว
4. เกษตรกรมีรายได้ต่ำกว่าผู้ผลิตในโลกในภาค
อุตสาหกรรม
25.ข้อใดเป็นเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์จุลภาค
1. การมีผลผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดจำนวนมากทำให้ราคาทุเรียนที่ถูกต่ำ
2. วิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ส่งผลกระทบให้เกิดการว่างงานจำนวนมาก
3. รัฐบาลเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณเพื่อกระตุ้นสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจ
4. รัฐบาลใช้นโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
26.ปัจจัยการผลิตในทางเศรษฐศาสตร์หมายถึงอะไร
1. ที่ดิน แรงงาน เงินทุน และผู้ประกอบการ
2. วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต แรงงาน
เครื่องมือเครื่องจักรและผู้ประกอบการ
3. ที่ดินรวมถึงทรัพยากรที่อยู่ใต้ดิน
บนดิน และ เหนือพื้นดิน แรงงาน ทุน และผู้ประกอบการ
4. ที่ดินรวมถึงทรัพยากรที่อยู่ใต้ดิน บนดิน
และเหนือพื้นดิน เครื่องจักร เงินทุน
27.ข้อใดเป็นทุนในทางเศรษฐศาสตร์
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในสำนักงาน
2. ลูกหนี้ของบริษัท
3. มูลค่าหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัท
4. เงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจ
28.ข้อใดไม่จัดว่าเป็นปัจจัยการผลิตประเภททุนตามความหมายของเศรษฐศาสตร์
1. นาที่พ่อยกให้ 30 ไร่
2. คันไถที่ชาวนาทำขึ้นเอง
3. เงินกู้จากสหกรณ์การเกษตร
4. ชาวนาที่กำลังเรียนอาชีวะเกษตร
29.สิ่งใดไม่ถือว่าเป็นปัจจัยในทางเศรษฐศาสตร์
1. เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้า
2. โรงงานที่ใช้ในการผลิตสินค้า
3. ยานยนต์ที่ใช้ในการขนส่งสินค้า
4. เงินกู้ยืมหมุนเวียนที่ใช้ในการผลิตสินค้า
30.ข้อใดไม่รวมอยู่ในปัจจัยการผลิตประเภทที่ดิน
1. น้ำมันปิโตรเลียม
2. โรงเรือนเลี้ยงไก่
3. ลมฝนและพายุ
4. ป่าโกงกาง
31.นายดำออกทะเลไปจับปลาทูเมื่อได้แล้วส่วนหนึ่งเก็บไว้รับประทานเองอีกส่วนหนึ่งให้เพื่อนบ้าน
ที่นำกะปิมาให้ส่วนที่เหลือนำไปขายในตลาดข้อใดแสดงพฤติกรรมทั้งหมดของนายดำในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
1. การหารายได้ การกระจาย การบริโภค การแลกเปลี่ยน
2. การยังชีพ การแลกเปลี่ยน การหารายได้ การบริโภค
3. การผลิต การยังชีพ การบริโภค การกระจาย
4. การบริโภค การกระจาย การแลกเปลี่ยน การผลิต
32.นายแดงซื้อสินค้าจากโรงงาน
และนำมาขายที่ตลาดแสดงว่าเขาประกอบกิจกรรม ทางเศรษฐกิจในข้อใด
1. การผลิต การบริโภค การแลกเปลี่ยน
2. การบริโภค การผลิต การกระจายสินค้า
3. การแลกเปลี่ยน การกระจายสินค้า การบริโภค
4. การกระจายสินค้า การแลกเปลี่ยน การผลิต
33.จุดประสงค์ขั้นสุดท้ายของกิจกรรมทางเศรษฐกิจคือข้อใด
1. การผลิต
2. การบริโภค
3. การแลกเปลี่ยน
4. การกระจายหรือการแบ่งสรร
34.สินค้าใดเป็นสินค้าขั้นสุดท้าย
1. อะไหล่รถยนต์ที่นาย ก ซื้อไปใช้
2. อะไหล่รถยนต์ที่บริษัทรถยนต์ผลิตออกมาขาย
3. อะไหล่รถยนต์ที่อู่ซ่อมรถของนายขอซื้อไปใช้
4. อะไหล่รถยนต์ที่โรงงานประกอบรถยนต์ซื้อไปใช้
35.ข้อใดไม่เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
1. นาย ก ซื้อจีวรไปถวายพระ
2. นาย ข
นำผลไม้ไปแลกข้าวของนาย ง
3. นาย ค ให้อุปกรณ์การศึกษาแก่เด็กนักเรียนยากจน
4. นาย ง ปลูกผักสวนครัวหลังบ้าน
36.กิจกรรมใดไม่ใช่การผลิต
1. นาย ก ขึ้นชกมวยหารายได้บนเวทีต่างๆ
2. นาย ข
เป็นนายหน้าขายกรมธรรม์ประกันภัย
3. นาย ค ร้องเพลงทุกวันเพื่อหวังเป็นนักร้องอาชีพ
4. นาย ง ตั้งโต๊ะรับซื้อสลากกินแบ่งที่ถูกรางวัล
37.
ข้อใดไม่ใช่การผลิต
1. การชักชวนให้ชาวยุโรปกินข้าว
2. การเก็บข้าวไว้ขายในเดือนหน้า
3. การนำเข้าจากต่างจังหวัดมาขายที่กรุงเทพ
4. การนำเข้ามาปลุกเสกเป็นเครื่องราง
38.
ข้อใดไม่ถือว่าเป็นการผลิต
1. การขายของในร้านชำข้างบ้าน
2. การวาดลายดอกไม้บนจานกระเบื้อง
3. การเข้าอบรมวิธีใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
4. การส่งน้ำอัดลมไปจำหน่ายในต่างจังหวัด
39.ข้อใดที่ไม่ใช่การผลิต
1. การเป็นนายหน้าขายที่ดิน
2. การซื้อหุ้นไว้ขายเมื่อราคาสูงขึ้น
3. การนำกล้วยไม้จากยอดดอยมาขายในตลาด
4. การเก็บรักษาข้าวเปลือกไว้ขายเมื่อราคาสูง
40.ข้อใดไม่ใช่การผลิต
1. การรับหนังสือพิมพ์ไปวางขาย
2. การนำผลไม้สดมาตากแห้ง
3. การขี่จักรยานไปทำงาน
4. การปลูกผักโดยไม่ใช้ดิน
41.ครูที่สอนหนังสือนักเรียนประกอบกิจกรรมเศรษฐกิจใด
1.
ผลิตบริการให้นักเรียน
2.
บริโภคเพราะความพอใจ
3. ผลิตนักเรียนให้มีความรู้
4. ลงทุนโดยสละเวลาเพื่ออนาคตของนักเรียน
42.ถ้านายมีไปซื้อเส้นก๋วยเตี๋ยวจากตลาดมาผัดขายเป็นก๋วยเตี๋ยวราดหน้าการผลิตดังกล่าวเป็นการสร้าง
ประโยชน์ทางด้านใด
1. การเปลี่ยนแปลงรูป
2. การเปลี่ยนสถานที่
3. การเลื่อนเวลา
4. การให้บริการ
43.ข้อใดแสดงวิวัฒนาการในการผลิต
1. นายแดงปลูกพริกบนที่ดินอุดมสมบูรณ์เชิงเขา
2. นายดำหันมาปลูกหน่อไม้ฝรั่งแทนการปลูกข้าว
3. นายเขียวยึดอาชีพประมงเหนือเขื่อนหลังถูกเวนคืนที่ดิน
4. นายขาวเก็บสับปะรดในไร่มาทำสับปะรดกวนจำหน่าย
44.การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็นการผลิตในข้อใด
1. คาบเกี่ยวระหว่างชั้นปฐมภูมิกับชั้นทุติยภูมิ
2. ชั้นปฐมภูมิ
3. คาบเกี่ยวระหว่างชั้นทุติยภูมิกับชั้นตติยภูมิม
4. ชั้นทุติยภูมิ
45.การผลิตใดเป็นการผลิตขั้นทุติยภูมิ
1. การผลิตปลาในกระชัง
2. การผลิตยางรถยนต์
3. การเดินเรือขนส่ง
4. การประกันวินาศภัย
46.ข้อใดเป็นกิจกรรมการผลิตขั้นที่
2 หรือขั้นทุติยภูมิ
1. การทำเหมืองแร่
2. การทำสวนส้ม
3. การสีข้าว
4. การสอนหนังสือ
47.ข้อใดมีเนื้อความถูกต้อง
1. การบริโภคเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการสูญเปล่าในทางเศรษฐกิจ
2. การผลิตเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะในระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่
3. การกระจายรายได้ที่เป็นการแบ่งปันผลผลิตที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ
4. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเป็นการแลกเปลี่ยนสิ่งของและบริการด้วยเงิน
48.ข้อความใดผิด
1.
การแลกเปลี่ยนเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของกระบวนการการผลิต
2. การผลิตเป็นกระบวนการทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดในระบบทุนนิยม
3. การบริโภคเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีประโยชน์ในทุกระบบเศรษฐกิจ
4. การกระจายเป็นเรื่องของการแบ่งปันรายได้ระหว่างเศรษฐกิจในระบบ
49.ข้อใดเป็นพฤติกรรมในการบริโภคของมนุษย์
ในความหมายทางเศรษฐศาสตร์
1. การเลือกบริโภคสินค้าและบริการให้ได้รับความพอใจสูงสุดของงบประมาณรายจ่ายที่มีอยู่
2. การเลือกบริโภคสินค้าและบริการที่มีคุณภาพดีจากรายได้ทั้งหมดที่มีอยู่
3. การเรียนแบบการบริโภคของบุคคลอื่นเพื่อความเท่าเทียมกันทางสังคม
4. การบริโภคสินค้าที่ผลิตขึ้นเองให้มากที่สุดเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
50.ค่าใช้จ่ายในการบริโภคของนายกจะขึ้นอยู่กับปัจจัยใดมากที่สุด
1. วงเงินสินเชื่อตามบัตรเครดิตที่ นาย ก ได้รับจากธนาคารพาณิชย์
2. เงินเดือนที่ นาย ก ได้รับจากการประกอบอาชีพร้องเพลง
3. ที่ดินย่านสุขุมวิทที่ นาย ก ได้รับมรดกจากคุณยาย
4. รายได้ที่ นาย ก คาดว่าจะได้รับจากการจำหน่ายเทปเพลง
51.ผู้บริโภคที่มีเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์จะใช้หลักเกณฑ์ใดในการตัดสินใจซื้อสินค้า
1. ซื้อสินค้าที่มีคุณภาพดีที่สุด
2. สินค้าที่บริโภคได้ดีที่สุด
3. ซื้อสินค้าที่ให้ความพอใจสูงสุด
4. ซื้อสินค้าที่ราคาต่ำสุด
52.ผู้ใดทำหน้าที่เป็นหน่วยธุรกิจในความหมายของเศรษฐศาสตร์
1. นายเก๋งตัดแผ่นหนังอยู่ในโรงงานผลิตรองเท้าได้รับค่าตอบแทนวันละ 250 บาท
2. นายกล้าตกกุ้งปลา
มาทำอาหารทุกวันทำให้ไม่ต้องเสียเงินซื้อกุ้งปลาอย่างน้อยวันละ 30 บาท
3. นายโชคแบ่งห้องพักให้เพื่อนคนงานเช่าโดยคิดค่าเช่าเพียงวันละ 80 บาท
4. นายสุขใช้กล้วยน้ำว้าในสวนมาทำเป็นกล้วยทอดขายที่หน้าบ้านได้รายได้วันละ
200 บาท
53.เศรษฐศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับอะไร
1. การเลือกใช้ทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค
2. การวิเคราะห์ความขาดแคลนของทรัพยากร
3. การเลือกวิธีและรูปแบบการใช้ทรัพยากรที่ขาดแคลน
4. การใช้ทรัพยากรเพื่อบำบัดความต้องการ
54.ในปีที่แล้วนายประกอบมีรายรับจากแหล่งต่างๆดังนี้
ขายรถเก่า 500,000 บาทดอกเบี้ยเงินฝาก 200,000 บาทค่าเช่าที่ดิน 100,000 บาทเงินค่าหุ้นธนาคารพาณิชย์
50,000 บาทและกำไรจากกิจการที่ทำอยู่ 80,000 บาท ให้คำนวณหาผลตอบแทน ที่ได้รับฐานะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
1. 930,000 บาท
2. 430,000 บาท
3. 380,000 บาท
4. 350,000 บาท
55.เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่เน้นการตัดสินใจในข้อใด
1. การใช้ทรัพยากรเพื่อประโยชน์สูงสุดในปัจจุบันและอนาคต
2. การใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุดเพื่อผลิตสินค้าและบริการให้มากที่สุด
3.
การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่ไม่จำกัด
4.
การใช้ทรัพยากรเพื่อการผลิตและการแจกจ่ายสินค้าต่างๆสนองความต้องการของมนุษย์
56.ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์คืออะไร
1. ทำให้ตัดสินใจเลือกประกอบธุรกิจที่ทำกำไรมากที่สุด
2. ทำให้เข้าใจบทบาทของกลไกราคาในการจัดสรรทรัพยากร
3. ทำให้เข้าใจว่าความต้องการใช้ทรัพยากรของมนุษย์ไม่สิ้นสุด
4.
ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด
57.ข้อใดเป็นความสำคัญของการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์
1. ทำให้สามารถเลือกซื้อสินค้าและบริการราคาถูก
2. ทำให้สามารถเข้าใจปัญหาต่างๆทางเศรษฐกิจได้
3. ทำให้สามารถป้องกันและป้องกันการถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ผลิต
4. ทำให้สามารถเลือกบริโภคสินค้าที่เป็นผลดีต่อสังคม
58.ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของการเข้าใจหลักเศรษฐศาสตร์คืออะไร
1. สามารถใช้สิ่งที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2. เป็นหลักในการตัดสินใจผลิตสินค้าและบริการ
3. เป็นหลักในการกำหนดราคาสินค้าเพื่อแสวงหากำไร
4. สามารถใช้เงินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
59.ข้อใดไม่ใช่ความหมายของเศรษฐศาสตร์
1. นักเรียนเลือกทำข้อสอบในเวลาจำกัดเพื่อให้คะแนนเพื่อให้ได้คะแนนสูงสุด
2. คนขับรถรับจ้างนอกเวลาทำงานเพื่อเพิ่มรายได้ให้ครอบครัวอยู่ดีกินดี
3. โรงงานใช้น้ำในแม่น้ำได้อย่างเสรีเพื่อผลิตสินค้า สนองความต้องการของผู้บริโภค
4. แม่ทำบัญชีค่าใช้จ่ายในบ้านประจำเดือน เพื่อให้มีเงินออมสำหรับลูกๆได้ซื้อของที่ต้องการ
60.วิชาเศรษฐศาสตร์ไม่มีความจำเป็นในสังคมลักษณะใด
1. ในสังคมที่มีทรัพยากรเหลือเฟือทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีราคา
2. ในสังคมที่มีการปกครองโดยผู้เผด็จการเพราะเขาจะได้ไม่ฟังนักเศรษฐศาสตร์
3. ในสังคมที่เป็นระบบสังคมนิยมเพราะทุกอย่างกำหนดมาจากรัฐบาลส่วนรวม
4. ในสังคมที่มีความต้องการอย่างไม่มีขีดจำกัดเพราะเราจะไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างทั่วถึง
61.ข้อความใดเป็นข้อความที่ถูกต้อง
1. ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมีความอุดมสมบูรณ์จนถึงกับมีคำที่กล่าวว่า“ในน้ำมีปลาในนามีข้าว” ดังนั้นคนไทยในสมัยนั้นจึงไม่ประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจ
2. ในสมัยปัจจุบันประเทศไทยขาดแคลนทรัพยากรอย่างมากจึงทำให้ต้องศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์เพื่อจัดสรรทรัพยากร
3. การศึกษาเศรษฐศาสตร์ เกิดขึ้นจากการมีทรัพยากรจำกัดเมื่อเปรียบเทียบ
กับความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีอยู่อย่างไม่จำกัด
4. การศึกษาเศรษฐศาสตร์เกิดจากเกิดขึ้นจาก เราต้องการนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่ใต้ดินมาใช้ให้เป็นประโยชน์
62.ข้อใดกล่าวถึงวิชาเศรษฐศาสตร์ได้ถูกต้อง
1. เป็นประโยชน์กับบุคคลที่อยู่ในวงการธุรกิจและรัฐบาลเท่านั้น
2. เป็นประโยชน์กับบุคคล ทุกคนไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นมนุษย์เศรษฐกิจพอเพียง
3. มีความสำคัญสำหรับประเทศที่ต้องการใช้ทรัพยากรมากกว่า ปริมาณที่มีอยู่
4.
ให้ความสำคัญกับการนำทรัพยากรมาใช้เพื่อผลิตสินค้าเอกชนมากกว่าสินค้าสาธารณะ
63.การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์จะมีความสำคัญต่อกรณีใดมากที่สุด
1. เมื่อทรัพยากรลดลง
2. เมื่อแต่ละคนหรือแต่ละสังคมร่ำรวยมีกินมีใช้อย่างเพียงพอ
3.
เมื่ออัตราการเพิ่มของประชากรสูงกว่าอัตราการเพิ่มของสินค้า
4. เมื่อรัฐบาลต้องการเพิ่มรายได้
64.หลังจากเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์จบแล้วนักเรียนคิดว่าข้อใดมีเนื้อหาที่ถูกต้องที่สุด
1. ความต้องการบริโภคในระบบเศรษฐกิจมีขีดจำกัดเสมอ
2.
การตอบสนองความต้องการบริโภคในระบบเศรษฐกิจเกิดขึ้นได้เสมอ
3. ทรัพยากรมีจำนวนพอเพียงที่จะตอบสนองความต้องการบริโภคได้เสมอ
4. ความต้องการที่จะถูกนำมาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคมีจำนวนจำกัดเสมอ
65.ข้อใดแสดงถึงปัญหาความขาดแคลนในทางเศรษฐศาสตร์
1. ทรัพยากรของประเทศมีน้อยเมื่อเทียบกับทรัพยากรของประเทศอื่น
2. ทรัพยากรของประเทศ อยู่ในความครอบครองของคนกลุ่มน้อย
3. สินค้าและบริการของประเทศมีน้อยเมื่อเทียบกับความต้องการ
4.
สินค้าและบริการของประเทศมีน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนปัจจัยการผลิตที่ใช้
66.ปัญหาทางเศรษฐกิจมูลฐานเกิดจากสาเหตุใดเป็นสำคัญ
1. นักเศรษฐศาสตร์ไม่รู้เศรษฐศาสตร์อย่างแท้จริง
2. ผู้นำประเทศไม่มีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์เพียงพอ
3. ทรัพยากรมีจํากัดแต่ความต้องการของมนุษย์มีไม่จํากัด
4. ทรัพยากรมีไม่จำกัดแต่การจัดการไม่มีประสิทธิภาพดีพอ
67.ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นในประเทศที่มีลักษณะใด
1. ประเทศที่ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญต่อเศรษฐศาสตร์
2. ประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ
3. ประเทศต่างๆไม่ว่าร่ำรวยหรือยากจน
4. ประเทศด้อยพัฒนาเศรษฐกิจ
68.ข้อใดไม่เกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
1. นายแย้มตกลงขายส้มโอให้นายจอมเพราะไม่ต่อราคา
2. นายทองรับตัดเสื้อผ้าอยู่กับบ้านแทนการเปิดร้านเสื้อ
3. นายสุขกำลังตัดสินใจว่าจะปลูกข้าวโพดหรือปลูกถั่วลิสงในที่ดินของตน
4. นายดีตัดสินใจไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าแทนการซื้อที่ร้านขายปลีกข้างบ้าน
69.ข้อใดไม่ใช่วิธีการที่ผู้ผลิตใช้แก้ปัญหาพื้นฐานในทางเศรษฐศาสตร์
1. เลือกใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิต
2. เลือกขายสินค้าให้แก่ผู้ที่ให้ราคาสูง
3. เลือกใช้ปัจจัยการผลิตในสัดส่วนที่ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ
4. เลือกผลิตสินค้าที่มีราคาโดยเปรียบเทียบสูง
70.การตัดสินใจเลือกซื้อตู้เย็นแทนการไปเที่ยวถือเป็นการตัดสินใจทางเศรษฐศาสตร์เพราะเหตุใด
1. ตู้เย็นใช้งานได้หลายปีเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า
2. การไปเที่ยวเป็นการใช้เงินที่ไม่เกิดประโยชน์
3. ตู้เย็นเป็นของใช้ที่จำเป็นในครอบครัว
4. ผู้บริโภคมีเงินจำนวนจำกัด
71.ข้อใดระบุความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทางเศรษฐศาสตร์กับภูมิศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง
1. ความรู้ทางภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ เป็นประโยชน์ในการวางแผนการใช้ทรัพยากร
2.
ความรู้ทางภูมิศาสตร์เศรษฐกิจเป็นประโยชน์ในการเพิ่มทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ
3. ความรู้ทางเศรษฐกิจความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ช่วยกำหนดว่าทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่ที่ใดในประเทศ
4.
ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ช่วยกำหนดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจใดเกี่ยวพันกับปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์
72.วิชาเศรษฐศาสตร์มีความสําคัญและเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานรัฐอย่างไร
1. วิเคราะห์ปัญหาทางเศรษฐกิจเพื่อใช้ประโยชน์ เพื่อใช้กำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจที่เหมาะสม
2. วิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภคเพื่อกำหนดการผลิตในปริมาณที่เหมาะสม
3.
วิเคราะห์ปัญหาทางเศรษฐกิจให้ประชาชนทราบเพื่อให้ประชาชนร่วมมือต่อส่วนรวม
4. วิเคราะห์ปัญหาเศรษฐกิจเพื่อกำหนดแนวทาง การจัดบริการสาธารณูปโภคให้เหมาะสม
73.ข้อใดเป็นแนวความคิดของ โทมัส โรเบิร์ต มัลธัส
1.
การเพิ่มจำนวนประชากรเป็นอัตราเรขาคณิตส่วนการเพิ่มปริมาณผลผลิตอาหารเป็นอัตราเลขคณิต
2. การเปลี่ยนแปลงภาวะเจริญพันธุ์เป็นผลมาจาก การมีเพศสัมพันธ์การตั้งครรภ์และการคลอด
3. ทรัพยากรมนุษย์หมายถึงคุณลักษณะทุกอย่างที่เกี่ยวกับคนไม่ว่าจะเป็นกายภาพชีวภาพจิตใจและวัฒนธรรม
4. การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนหมายถึงการเปลี่ยนสภาพจาก ภาวะเจริญพันธุ์ที่สูงมาสู่ภาวะเจริญพันธุ์ที่ต่ำ
74.การเกิดปัญหาจราจรติดขัดเป็นประจำในกรุงเทพมหานครในทางเศรษฐศาสตร์บ่งบอกข้อใด
1. ประชาชนผู้ใช้รถและใช้ถนนมีวินัยจราจรต่ำกว่ามาตรฐาน
2. จำนวนรถสาธารณะและลดขนาดเล็กมีน้อยกว่ารถขนาดใหญ่
3. รายได้เฉลี่ยของคนในกรุงเทพฯสูงกว่ารายได้เฉลี่ยของคนจังหวัดอื่น
4. พื้นที่ผิวถนนมีจำนวนน้อยกว่าความต้องการใช้ถนน
75.การลงทุนที่มีสภาพคล่องสูงหมายถึงการลงทุนในลักษณะใดมากที่สุด
1. สามารถลงทุนผลิตสินค้าที่มีราคาและให้กำไรสูง
2. สามารถให้ผลตอบแทนสูงอย่างรวดเร็ว
3. สามารถโยกย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ง่าย
4. สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย
76.ข้อใดต่อไปนี้ไม่เป็นเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์
1. ราคาสินค้าสูงขึ้นเพราะกรรมกรเรียกร้องค่าแรงเพิ่มขึ้น
2. กรรมกรเรียกร้องค่าแรงเพิ่มขึ้นเพราะราคาสินค้าสูงขึ้น
3. คนตื่นซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นยิ่งทำให้ราคาสินค้าถีบตัวสูงขึ้น
4. ราคาสินค้าสูงขึ้น คนยิ่งพากันตื่นซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น
77.ถ้าซื้อเส้นใหม่มูลค่า 10,000 บาท มาทอเป็นผ้าไหม โดยเสียค่าใช้จ่ายในการทอ
2,000 บาท ทำให้ได้ผ้าไหมมูลค่าหมื15,000 บาท มูลค่าเพิ่มของการผลิตผ้าไหมคือข้อใด
1. 2,000 บาท
2. 3,000 บาท
3. 5,000 บาท
4. 7,000 บาท
78.ร้านป้าลิลลี่ ทำเค้กกล้วยหอมขายโดยใช้แป้ง 500 บาท ไข่
300 บาท น้ำตาล 700 บาท กล้วย 200 บาท ทำเค้กกล้วยหอมขายได้ 100 กล่องขายกล่องละ
30 บาทจงหามูลค่าเพิ่มในการผลิต
1. 1,200 บาท
2. 1,300 บาท
3. 1,400 บาท
4. 1,500 บาท
79.ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจในหัวข้อที่ว่าจะผลิตสินค้าและบริการต่างๆเพื่อใครหมายถึงอะไร
1. การจัดสรรทรัพยากร
2. การกระจายรายได้ประชาชาติ
3. การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
4. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
80.สมมุติว่านักเรียน สอบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยได้และเรียนจบออกมาสิ่งที่นักเรียนได้จากมหาวิทยาลัยนั้นในทางเศรษฐศาสตร์เป็นอะไร
1. บริการ
2. สินค้าทุน
3. สินค้าได้เปล่า
4. สินค้า
81.ผู้บริโภคสินค้าหรือบริการใดจัดว่าเป็นสินค้าสาธารณะ
1. รถโดยสาร ระหว่างจังหวัด
2. สถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ
3. มหาวิทยาลัยของรัฐ
4. การป้องกันประเทศ
82.สินค้าได้เปล่าหรือสินค้าไร้ราคาหมายถึงอะไร
1. บริการสาธารณะที่รัฐบาลจัดสรรแก่ประชาชนโดยไม่มีโดยไม่เรียกเก็บค่าบริการ
2. สินค้าและบริการที่เอกชนจัดสรรแก่ประชาชน เพื่อการกุศลแบบให้เปล่า
3.
สินค้าและบริการที่ผู้บริโภคได้มาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
4. ของขวัญของแจกหรือของรางวัล
83.ข้อใดแสดงการบริโภคสินค้าทางเศรษฐกิจ
1. นาย ก ไปออกกำลังกายที่สวนสาธารณะเพราะมีต้นไม้มาก
2. นาย ข ไปอาบน้ำที่แม่น้ำเจ้าพระยาใกล้บ้านเพราะน้ำสะอาด
3. นาง ค เก็บก้อนหินบริเวณลำธารเพื่อนำมาขัดผิว
4. นาง ง นำพาลูกๆไปเก็บหน่อไม้ในป่าเพื่อบริโภค
84.การที่หน่วยธุรกิจหน่วยใดหน่วยหนึ่งก่อให้เกิดมลพิษทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนความเสียหายดังกล่าวนี้คือต้นทุนประเภทใด
1. ต้นทุนดำเนินการ
2. ต้นทุนทางสังคม
3. ต้นทุนสารสนเทศ
4. ต้นทุนค่าเสียโอกาส
85.“มือที่มองไม่เห็น”
ในทัศนะของนักทฤษฎีการเมืองแนวเสรีนิยมหมายถึงข้อใด
1. มือที่สาม
2. กลไกของราคา
3. พลังมวลชน
4. กลยุทธ์ของสหภาพแรงงาน
86.ข้อใดหมายถึงต้นทุนการผลิตในทัศนะของนักเศรษฐศาสตร์
1.
รายได้ที่มีหลักฐานบันทึกไว้ในบัญชีของกิจกรรมซึ่งรวมทั้งที่ได้มีการจ่ายจริงและไม่ได้จ่ายจริง
2. ค่าตอบแทนต่างๆที่จ่ายให้เจ้าของปัจจัยการผลิตซึ่งรวมทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน
3. รายจ่ายทุกชนิดที่กิจการจ่ายออกไปจริงและมีหลักฐานการจ่ายอย่างชัดแจ้ง อย่างแจ้งชัด
4. ค่าเสียโอกาสในการผลิต
ค่าเสียโอกาสในการใช้ปัจจัยการผลิตนั้นไปในทางเลือกอื่น
87.การผลิตที่ตนเองเป็นเจ้าของคนเดียว ไม่มีการจ่ายค่าจ้างแรงงานให้ตนเองหรือไม่มีการจ่ายค่าเช่าในกรณีใช้บ้านของตนเป็นสถานที่ผลิตและสำนักงานหมายถึงลักษณะของต้นทุนในทางเศรษฐศาสตร์
1. ต้นทุนชัดแจ้ง
2. ต้นทุนเอกชน
3. ต้นทุนแอบแฝง
4. ต้นทุนสังคม
88.ข้อใดแสดงถึงการกระจายรายได้ที่ดี
1. ประชาชนทุกพื้นที่มีโอกาสทำงานที่มีรายได้เท่าเทียมกัน
2. ประชาชนทุกคนมีรายได้เท่าเทียมกันตามวิทยฐานะ
3. ประชาชนทุกคนมีรายได้โดยเฉลี่ยใกล้เคียงกัน
4. ประชาชนทุกคนมีเงินออมใกล้เคียงกัน
89.เงินทุนทางสังคมในทางเศรษฐศาสตร์หมายถึงข้อใด
1. ต้นทุนเอกชนบวกผลสุทธิของผลกระทบภายนอก
2. ต้นทุนชัดแจ้งบวกผลสุทธิของต้นทุนไม่ชัดแจ้ง
3. ต้นทุนคงที่บวกผลสุทธิกับต้นทุนผันแปร
4. ต้นทุนทางบัญชีบวกผลสุทธิของต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์
90.“สินค้าด้อย”
ในความหมายทางเศรษฐศาสตร์หมายถึงสินค้าประเภทใด
1. มีคุณภาพต่ำ
2. ผู้บริโภคจะซื้อน้อยลงเมื่อรายได้เพิ่มขึ้น
3. ราคาถูก
4. ไม่มีสินค้าอื่นสามารถใช้แทนได้เลย
91.การที่อัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยคือข้อใด
1. เงินฝืด
2. เงินเฟ้อ
3. เงินดึงตัว
4. สภาพคล่องสูง
92.ข้อใดเป็นกฏของ เองเกล
1. เมื่อครัวเรือนมีรายจ่ายสูงขึ้นสัดส่วนของรายได้ เพื่อการบริโภคจะน้อยลง
2. เมื่อปริมาตรสินค้าเกษตรกรรมในตลาดโลกลดลงราคาสินค้าย่อมจะต่ำไปด้วย
3. เมื่อรัฐบาลสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมมากขึ้นภาคเกษตรกรรมย่อมลดบทบาทลง
4. เมื่อการขยายตัวทางเกษตรถูกจำกัดโดยปัจจัยการผลิต ทำให้ภาคเกษตรกรรมมีความสำคัญลดลงด้วย
93.“เงินคงคลัง” มีความหมายตรงกับข้อใด
1. เงินที่เหลือจากการใช้จ่ายตามงบประมาณของรัฐบาล
2. เงินรายได้ของแผ่นดินที่รัฐบาลจะต้องเก็บสำรองไว้ในคลัง
3. เงินรายได้ของรัฐบาลที่เก็บไว้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
4. เงินสดที่อยู่ในมือและที่ฝากไว้ในที่ต่างๆของกระทรวงการคลัง
94.เงินโอนในทางเศรษฐศาสตร์คืออะไร
1. การโอนเงิน ที่ผู้รับได้ไปแล้วต้องเสียดอกเบี้ยให้ผู้อื่นภายหลัง
2.
เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่าโดยไม่ได้รับสินค้าบริการใดๆเป็นการตอบแทน
3. การโอนทรัพย์สินของผู้ย้ายถิ่นที่อยู่
4. การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ ของรัฐบาลและเอกชน
95.ครอบครัวของชาวนาครอบครัวหนึ่งมีที่นาอยู่แปลงหนึ่งเมื่อใช้แรงงานของสมาชิกในครอบครัวซึ่งมีทั้งหมด
6 คนสามารถผลิตข้าวได้ปีละ1,000ถังต่อมาสมาชิกบางคนในครอบครัวเลิกทำนาโดยออกไปรับจ้างเป็นคนงานในโรงงานทอผ้าซึ่งในปีนี้ครอบครัวก็ยังทำนาได้ข้าว
1,000 ถังเหมือนปีก่อนๆมา จากสภาพดังกล่าวนี้แสดงถึงสภาวะการว่างงานแบบใด
1. การว่างงานโดยสมัครใจ
2. การว่างงานแอบแฝง
3. การว่างงานตามฤดูกาล
4. การว่างงานเนื่องจากวัฏจักรธุรกิจ
96.นายชูวิทย์จบการศึกษาด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์มีบริษัทหลายแห่งมาติดต่อว่าจ้างแต่ในชีวิตไม่สนใจที่จะเข้าทำงานเพราะลักษณะงานที่บริษัทเหล่านั้นเสนอยังไม่เป็นที่ถูกใจของนายชูวิทย์
จากลักษณะดังกล่าวนี้แสดงถึงสภาวะการว่างงานแบบใด
1. การว่างงานโดยสมัครใจ
2. การว่างงานแอบแฝง
3. การว่างงานตามฤดูกาล
4. การว่างงานชั่วคราว
97.สถานการณ์ในข้อใดที่อธิบายถึงการว่างงานแฝง
1. นายมีเห็นว่าบุตรชายนั่งอยู่เฉยๆจึงให้ลงไปช่วยทำนา ถึงจะไม่ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นก็ถือเป็นการฝึกนิสัยไม่ให้เกียจคร้าน
2. นายมาเห็นว่าการทำนาอยู่ในนา วันละ 8
ชั่วโมงเป็นระยะเวลาเป็นระยะเวลาที่นานเกินไปจึงลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 5
ชั่วโมงและใช้เวลาที่เหลือในการพักผ่อน
3.
นายสีหวานข้าวในนาเสร็จแล้วรอเพียงวันที่จะเก็บเกี่ยวในช่วงเวลานี้จึงใช้เวลาว่างแต่ละวันในการพูดคุยกับเพื่อนบ้าน
4. นายสามีอาชีพรับจ้างทำนาไม่พอใจผู้จ้างคนเดิมจึงลาออกและได้รับการว่าจ้างจากผู้จ้างรายใหม่แต่ผู้จังไรใหม่ให้รอถึงต้นเดือนหน้าจึงให้เริ่มงาน
98.สมมติว่าในกล้ามีเงิน 300,000
บาทเขาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายทาง โดยการกล่าวคือถ้านำไปฝากธนาคารจะได้ดอกเบี้ยปีละ
3,000 ถ้านำไปซื้อธนบัตร พันธบัตรรัฐบาลจะได้ดอกเบี้ยปีละ 5,000
หรือถ้านำไปลงทุนกับเพื่อนจะได้ปันผลปีละ 10,000 บาท ถ้านายกล้าตัดสินใจนำเงินไปลงทุนกับเพื่อนจะเกิดค่าเสียโอกาสเท่ากับเท่าใด
1. 3,000 บาท
2. 5,000 บาท
3. 8,000 บาท
4. 18,000 บาท
99.นายแดงจบปริญญาตรี ซึ่งอัตราจ้างขั้นต่ำสำหรับผู้จบปริญญาตรีคือ
7,500 บาทนายแดงได้พยายามไปสมัครงานหลายแห่งแต่ที่แต่ก็หางานทำไม่ได้ทำให้นายแดงต้องว่างงานอยู่เป็นเวลา
3 เดือนในที่สุดในแดงจึงจำเป็นต้องไปรับจ้างเป็นยามเฝ้าบริษัทแห่งหนึ่งได้รับเงินเดือนเดือนละ
5,000 และได้รับเบี้ยเลี้ยงพิเศษอีกเดือนละ 500
ค่าเสียโอกาสของนายแดงในที่นี้เท่ากับเท่าใด
1. 5,000 บาท
2. 5,500 บาท
3. 7500 บาท
4. 0 บาท
100.จงบอกความสัมพันธ์ระหว่างหนี้สาธารณะและการขาดดุลงบประมาณของรัฐ
1. ไปในทิศทางเดียวกัน
2. ไปในทิศทางตรงกันข้าม
3. ไม่มีความสัมพันธ์กัน
4. จะมีความสัมพันธ์กันหากมีเงื่อนไขประกอบ
101.มูลค่าของเงินมีความสัมพันธ์ในลักษณะอย่างไรกับราคาสินค้า
1. ลักษณะในทิศทางเดียวกับราคาสินค้า
2. ลักษณะผกผันตามราคาสินค้า
3. ลักษณะแปรผันตามราคาสินค้า
4. ลักษณะผันผวนตามราคาสินค้า
102.อำนาจซื้อมีความสัมพันธ์ในลักษณะใดกับดัชนีราคาผู้บริโภค
1. เปลี่ยนแปลงในสัดส่วนคงที่
2. เป็นแปลงในสัดส่วนต่างกัน
3. เปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกัน
4. เปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้ามกัน
103.อัตราเงินเฟ้อและอัตราว่างงานมักจะมีความสัมพันธ์กันในลักษณะใด
1. เปลี่ยนแปลงในสัดส่วนคงที่
2. เปลี่ยนแปลงในสัดส่วนต่างกัน
3. เปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกัน
4. เปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้ามกัน
104.ราคาพันธบัตรกับอัตราดอกเบี้ยมักจะมีความสำคัญ การในลักษณะใด
1. ความสัมพันธ์เชิงผกผัน
2. ความสัมพันธ์เชิงแปรผัน
3. ความสัมพันธ์เชิงผันผวน
4. ความสัมพันธ์เชิงสัดส่วน
105.อุปสงค์เงินตราต่างประเทศและอัตราแลกเปลี่ยนมักจะมีความสัมพันธ์กันในลักษณะใด
1. เปลี่ยนแปลงในสัดส่วนคงที่
2. เป็นแปลงในสัดส่วนต่างกัน
3. เปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกัน
4. เปลี่ยนแปลงและทิศทางตรงข้ามกัน
106.อุปทานเงินตราต่างประเทศและอัตราการแลกเปลี่ยนมักมีความสัมพันธ์กันในลักษณะใด
1. เปลี่ยนแปลงในสัดส่วนคงที่
2. เป็นแปลงในสัดส่วนต่างกัน
3. เปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกัน
4. เปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงข้ามกัน
107.ข้อใดแสดงถึงปัจจัยทุนตามความหมายทางเศรษฐศาสตร์
1. นางวิไลนำเงิน 100,000 บาทไปลงทุนซื้อหุ้นบริษัท ชัยชนะ จำกัด
2. นางวิมาลานำเงิน 100,000 บาทไปให้นายเสมอกิตกู้
3. นางวิลาวัลย์นำเงิน 100,000 บาทไปซื้อจักรเย็บผ้า
4. นางวิสาขานำเงิน 10,000 ไปซื้อที่ดินในจังหวัดภูเก็ต
108.การขาดแคลนปัจจัยการผลิตส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจต้องประสบกับเรื่องใด
1.
การจัดสรรปัจจัยการผลิต
2. การแข่งขันกันใช้ปัจจัยการผลิต
3. การเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้
4. เงินเฟ้อจากการสูงขึ้นของราคา
109.ปัจจัยการผลิตผู้สูงอายุถอนเงินฝากประจำจากธนาคารจำนวนหนึ่งล้านเพื่อนำไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลอายุ
5 ปี การนำเงินไปซื้อพันธบัตรดังกล่าวมีต้นทุนหรือไม่เพราะเหตุใด
1. ไม่มี เพราะไม่มีการกู้เงินมาซื้อพันธบัตร
2. ไม่มี เพราะเป็นเงินที่ถอนจากบัญชีของตนเอง
3. มี เพราะทำให้ขาดสภาพคล่องในการใช้จ่าย
4. มี
เพราะไม่ได้รับดอกเบี้ยจากเงินฝากธนาคาร
110.สินค้าในข้อใดเป็นสินค้าที่ได้มาจากการผลิตขั้นปฐมภูมิ
1. ผงซักฟอก
2. แป้งมันสำปะหลัง
3.
ยางพาราแผ่น
4. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
111.สิ่งที่ผู้ผลิตควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรกในการผลิตสินค้าคือข้อใด
1. ต้นทุน
2.
ผู้บริโภค
3. กำไรสูงสุด
4. การแทรกแซงของรัฐบาล
112.ในการผลิตสินค้าและบริการผู้ผลิตต้องคำนึงถึงข้อใดเป็นสำคัญ
1. ผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้มากที่สุดและมีราคาต่ำ
2.
ผลิตโดยคำนึงถึงการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
3. ผลิตให้มีคุณภาพตามมาตรฐานและรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
4. ผลิตให้มีต้นทุนต่ำที่สุดเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด
113.การผลิตสินค้าในข้อใดแสดงถึงการผลิตที่ใช้ปัจจัยการผลิตจำนวนหนึ่งอย่างมี
มีประสิทธิภาพ
1. การผลิตสินค้าที่ประชาชนต้องการบริโภคมากที่สุด
2. การผลิตสินค้าที่ขายในราคาต่ำที่สุด
3.
การผลิตสินค้าที่ให้ผลผลิตสูงที่สุด
4. การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีที่สุด
114.การจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจจะทำให้เกิดผลอย่างไร
1. รัฐบาลเก็บภาษีได้มากที่สุด
2. สังคมได้รับสวัสดิการสูงสุด
3.
ผู้ผลิตเสียต้นทุนในการผลิตต่ำที่สุด
4. ผู้บริโภคซื้อสินค้าได้ในราคาถูกที่สุด
115.ประสิทธิภาพในทางเศรษฐศาสตร์หมายถึงข้อใด
1. ได้ผลผลิตที่ต้องการตรงตามเวลาที่กำหนด
2. ได้ผลผลิตมากที่สุดจากทรัพยากรที่กำหนด
3. ได้ผลผลิตที่ต้องการโดยใช้เวลาน้อยที่สุด
4.
ได้ผลผลิตมากที่สุดโดยการใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด
116.การผลิตสินค้าในข้อใดเป็นการผลิตสินค้าที่มีประสิทธิภาพในแง่ของวิชาเศรษฐศาสตร์
1. การผลิตให้ได้ผลผลิตมากที่สุดจากต้นทุนจำนวนหนึ่ง
2. การผลิตโดยใช้วัตถุดิบที่ราคาถูก
3.
การผลิตที่ประหยัดการใช้ปัจจัยการผลิตได้มากที่สุด
4. การผลิตโดยใช้เทคโนโลยีทันสมัย
117.ในทางเศรษฐศาสตร์การผลิตเพื่อให้ได้รับกำไรสูงสุดจะทำได้โดยวิธีใด
1. เลือกใช้วัตถุดิบในประเทศแทนวัตถุดิบต่างประเทศ
2. ลดการขจัดของเสียจากการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิต
3. ประหยัดการใช้ปัจจัยการผลิตในการผลิตสินค้าจำนวนหนึ่ง
4. ใช้แรงงานที่มีค่าแรงต่ำแทนการใช้เครื่องจักร ที่มีราคาสูง
118.ในการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพนั้นผู้บริหารจะต้องเปรียบเทียบปัจจัยในข้อใด
1. ราคาของทรัพยากรที่ใช้กับราคาตลาดของผลผลิต
2. ทรัพยากรที่มีอยู่ กับความต้องการใช้
3. ต้นทุนที่ประหยัดได้กับกำไรที่เพิ่มขึ้น
4.
ผลได้ที่คาดว่าจะได้รับกับต้นทุนค่าเสียโอกาส
119.ปัญหาข้อใดไม่ได้เกิดจากการที่ผู้ผลิตใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างไรประสิทธิภาพ
1. สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม
2. ทรัพยากรธรรมชาติหมดไป
3. ต้นทุนทางสังคมส่งไป
4.
คุณภาพของสินค้าต่ำกว่ามาตรฐาน
120.การทำงานของนาย ก และนาย ข ควรเป็นลักษณะใดจึงจะได้ปริมาณงานมากที่สุด
1. นาย ก กับนาย ขช่วยกันล้างและช่วยกันเช็ดจาน
2. นาย ก กับนาย ข ผลัดกันล้างจานและผลัดกันเช็ดจาน
3.
นาย ก เป็นคนล้างและนาย ข เป็นคนเช็ดจาน
4. นาย ก และนาย ข ต่างล้างจานและเช็ดจานส่วนของตนเอง
121. ก.เป็นโรงสีข้าวและ ข. เป็นโรงงานทำขนมจีนถ้าจะพิจารณาแหล่งที่ตั้งเป็นหลักและทั้ง
2 โรงงานไม่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมข้อใดถูกต้อง
1. ก.ควรตั้งใกล้ตลาดข.ควรตั้งใกล้กัน
2. ก.ควรอยู่ห่างจากตัวเมือง และข.
ควรตั้งใกล้ตลาด
3. ก.ควรตั้งใกล้กับข.
และไกลจากตัวเมือง
4. ก.ควรตั้งใกล้แหล่งวัตถุดิบและข.ควรตั้งใกล้ตลาด
122.ในการผลิตสินค้าจำนวน 500 หน่วยในประพฤติ มีวิธีการผลิตให้เลือก
4 วิธีด้วยกันถ้าอัตราค่าจ้างในตลาดเท่ากับ 120 บาทต่อชั่วโมงและค่าจ้างเครื่องจักเท่ากับ
200 บาทต่อชั่วโมงวิธีการผลิตที่มีประสิทธิภาพคือข้อใด
1. ใช้แรงงาน 5 ชั่วโมงร่วมกับเครื่องจักร 2 ชั่วโมง
2.
ใช้แรงงาน 3 ชั่วโมงร่วมกับ เครื่องจักร 3 ชั่วโมง
3. ใช้แรงงาน 1 ชั่วโมงร่วมกับเครื่องจักร 5 ชั่วโมง
4. ใช้แรงงานอย่างเดียว 10 ชั่วโมง
123.ผู้ผลิตที่มีคุณภาพผู้ผลิตที่มีคุณธรรมแสวงหากำไรโดยวิธีใด
1.
ผลิตในปริมาณที่ ทำให้เสียทุนเฉลี่ยต่ำที่สุดโดยปรับขนาดการผลิตให้เหมาะสม
2. ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
3. ลดต้นทุนการผลิตโดยเลือกใช้วัตถุดิบที่มีราคาต่ำกว่า แทนวัตถุดิบที่มีราคาแพงกว่า
4. ขยายตลาดสินค้าหรือบริการ โดยตั้ง ราคาขายต่ำกว่าราคาของผู้ผลิตรายอื่นๆในตลาด
124.จากรูป a หมายถึงเรื่องใด ในทางภูมิศาสตร์
1.
เส้นเป็นไปได้ในการผลิต
2. เส้นความพอใจในการผลิต
3. เส้นราคาในการผลิต
4. เส้นแสดงผลผลิตที่เท่ากัน
125.ปัจจัยการผลิตในข้อใดเป็นปัจจัยผันแปรของการผลิตในระยะยาว
ก ที่ดิน ข เครื่องจักร เครื่องมือ ค วัตถุดิบ ง แรงงาน
1. ก-ข
2. ค-ง
3. ข-ค-ง
4. ก-ข-ค-ง
126.สถานการณ์ในข้อใดเป็นสถานการณ์ของการผลิตในระยะสั้น
1.
เนื่องจากมีลูกค้ามาใช้บริการมากขึ้น นายอุทิศจึงขยายเคาน์เตอร์หน้าร้านให้กว้างขึ้นกว่าเดิมโดยใช้เวลาประมาณสองสัปดาห์
2.
ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมายอดขายสินค้าเพิ่มสูงขึ้นมาก
นายอุทิศจึงเพิ่มชั่วโมงการทำงานของพนักงานให้สูงขึ้น
3.
บริการซักผ้าแบบหยอดเหรียญเป็นที่นิยมมากขึ้น นายอุกฤษฏ์จึงซื้อเครื่องซักผ้าเพิ่มอีกหนึ่งเครื่องเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา
4. จะเข้าเรื่องสารตะกั่วในหม้อก๋วยเตี๋ยว
นโยบายจึงตัดสินใจเลิกกิจการและขายก๋วยเตี๋ยวไปเมื่อสัปดาห์ก่อน
127.การผลิตในลักษณะใดจึงเป็นการผลิตในระยะยาว
1.
การผลิตที่ขึ้นอยู่กับฤดูกาลและเป็นการผลิตที่ใช้เวลามากกว่า หนึ่งปี
2.
การผลิตที่ใช้ปัจจัยการผลิตคงที่ร่วมกับปัจจัยการผลิตผันแปร
3.
ปัจจัยการผลิตทุกอย่างมีจำนวนหรือขนาดคงที่ตลอดระยะเวลาที่ทำการผลิต
4. ปัจจัยการผลิตทุกอย่างที่ใช้ในการผลิตเป็นปัจจัยการผลิตผันแปร
128.ในทางเศรษฐศาสตร์
การจ้างงานเต็มที่ (Full employment) หมายความว่าอย่างไร
1. การที่คนต้องการทำงานทุกคนสามารถหางานทำได้
2.
แรงงานทุกคนที่มีงานทำและต้องได้รับสวัสดิการจากรัฐ
3.
กำลังแรงงานทั้งหมดต้องมีงานทำ
4.
สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่มีการว่างงานอยู่เลย
129.ต้นทุนทางสังคม
ในทางเศรษฐศาสตร์หมายถึงข้อใด
1. ต้นทุนเอกชนบวกผลสุทธิของผลกระทบภายนอก
2. ต้นทุนชัดแจ้งบวกผลสุทธิของต้นทุนไม่ชัดแจ้ง
3.
ต้นทุนคงที่บอกผลสุทธิของต้นทุนผันแปร
4.
ต้นทุนทางบัญชีบุคคลสุทธิของต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์
130.ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจได้ถูกต้อง
1.
ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมไม่ประสบปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
2. ทุกระบบเศรษฐกิจประสบปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจเหมือนกัน
3.
ระบบเศรษฐกิจแบบผสมจะใช้กลไกราคาอย่างเดียวในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
4.
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมสามารถแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจได้ดีกว่าระบบเศรษฐกิจอื่น
131.ข้อใดคือปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดว่าในขณะหนึ่งสังคมควรจะผลิตสินค้าต่างๆจำนวนเท่าใดในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
1. กลไกราคา
2.
กำไรของผู้ผลิต
3.
ความพอใจของผู้บริโภค
4.
นโยบายของภาครัฐและเอกชน
132.กลไกใดในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่ทำหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรของระบบเศรษฐกิจ
1.
ระบบภาษี
2. ระบบราคา
3.
ระบบการค้า
4.
ระบบการเงิน
133.ข้อใดเป็นลักษณะที่ถูกต้องที่สุดของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
1.
เป็นระบบที่มีการใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
2.
เป็นโรคที่ให้นายทุนเป็นผู้ตัดสินใจทางเศรษฐกิจ
3.
เป็นระบบที่ภาคเอกชนมีบทบาทอย่างเสรีในการผลิตสินค้าและบริการ
4. เป็นระบบที่กลไกตลาดมีบทบาทต่อมนุษย์ในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจ
134.ข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้องที่สุด
1.
กลไกราคาเป็นสิ่งที่ไม่ดีเพราะทำให้บุคคลเป็นจำนวนมากไม่สามารถซื้อสินค้าสนองความต้องการได้
2.
กลไกราคาเป็นสิ่งที่ช่วยจัดสรรสินค้าและบริการให้แก่บุคคลที่ต้องการซื้อและสามารถซื้อได้
3. กลไกราคาเป็นสิ่งที่ช่วยจัดสรรทรัพยากรในลักษณะที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลในการผลิตและเกิดความเสมอภาคในการจำแนกแจกจ่าย
4.
กลไกราคาเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการจัดสรรสินค้าและบริการอย่างไม่เป็นธรรม
เพราะพูดอยากได้สินค้ามาสนองความต้องการ ไม่มีเงินพอที่จะซื้อ ส่วนผู้ที่ไม่ค่อยอยากได้กับมีเงินมากพอที่จะซื้อสินค้านั้นได้
135.ลักษณะที่สำคัญที่สุดของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเป็นอย่างไร
1.
เป็นระบบที่มีการใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
2.
เป็นระบบเศรษฐกิจเอกชนที่มีการควบคุมและชี้นำโดยรัฐบาล
3. เป็นระบบที่กลไกของตลาดมีบทบาทในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจ
4.
เป็นระบบที่มีการวางแผนจากส่วนกลางแต่เอกชนเป็นผู้ดำเนินการ
136.ลักษณะใดที่เป็นลักษณะที่สำคัญที่สุดของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
1. การทำงานของระบบอาศัยกลไกของราคา
2.
ภาคเอกชนมีความเสมอภาคทางด้านรายได้
3.
ภาคเอกชนมีเสรีภาพในการประกอบการทุกกรณี
4.
การทำงานของระบบอาศัยกลไกของราคาโดยมีการวางแผนจากรัฐบาล
137.ข้อใดเป็นลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
1.
ประชาชนได้รับสวัสดิการอย่างทั่วถึง
2.
มีการดำเนินงานของเอกชนในรูปของสหกรณ์จำนวนมาก
3.
กลไกราคาเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
4.
รัฐเข้าควบคุมและดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคเป็นส่วนใหญ่
138.ข้อใดเป็นปัจจัยที่กำหนดปริมาณผลผลิตสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งในระบบเศรษฐกิจที่ใช้ระบบตลาด
1.
ต้นทุนการผลิต และอัตราภาษี
2.
กำลังการผลิต และกำไรที่ผู้ผลิตจะได้รับ
3. ความต้องการซื้อ และความต้องการขายสินค้า
4.
ตลาดของสินค้า แล้วคุณภาพของสินค้านั้น
139.การกำหนดปริมาณการผลิตในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมขึ้นอยู่กับข้อใด
1.
รสนิยมของผู้บริโภคและกำไรของผู้ผลิต
2.
ต้นทุนการผลิตและจำนวนผู้ผลิต
3.
รายได้ของผู้บริโภคและความสนใจของผู้ผลิต
4. ความต้องการซื้อและความต้องการขาย
140.ข้อใดเป็นจุดเด่นของระบบเศรษฐกิจทุนนิยม
1.
การกระจายรายได้ของประชาชนใกล้เคียงกันเพราะประชาชนมีส่วนในการประกอบอาชีพ
2.
สินค้าและบริการมีราคาถูกเพราะมีการแข่งขันการผลิตสินค้าออกจำหน่าย
3. ประชาชนมีแรงจูงใจทำงานเพราะสามารถถือครองทรัพย์สินที่ทำมาหาได้
4.
การผลิตสินค้าที่มีต้นทุนต่ำเพราะเน้นการใช้ปัจจัยทุนในการผลิต
141.หลักการข้อใดของเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่มีผลในทางการสนับสนุนหลักการของระบอบประชาธิปไตย
1.
การกำหนดให้รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
2.
การส่งเสริมประสิทธิภาพของผู้ผลิตด้วยการส่งเสริมการผูกขาดในอุตสาหกรรม
3. การใช้กลไกราคากำหนดการดำเนินงานของระบบเศรษฐกิจโดยมีกำไรเป็นแรงจูงใจ
4.
รัฐบาลเป็นผู้วางแผนในการแจกจ่ายทรัพยากรในการผลิตและผู้ผลิตจะผลิตสินค้าตามที่รัฐบาลต้องการ
142.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
1.
ประชาชนทุกคนตัดสินปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจโดยเน้นประโยชน์ส่วนบุคคลเป็นสำคัญ
2. กลไกราคาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
3. การจัดสรรทรัพยากรและสินค้าเป็นไปอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมเสมอ
4.
เอกชนมีสิทธิเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ตามกฎหมาย
143.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเฉพาะของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
1. มีการใช้ทุนและวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าในการผลิต
2.
เอกชนมีสิทธิ์เป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ตามกฎหมาย
3.
กิจกรรมทางเศรษฐกิจดำเนินไปโดยอาศัยกลไกราคา
4.
มีการแข่งขันระหว่างผู้ผลิตเพื่อสนองความต้องการของผู้ซื้อ
144.การกำหนดค่าจ้างในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมขึ้นกับปัจจัยในข้อใด
1.
ผู้ผลิตที่ต้องการรับแรงงานเข้าทำงานและจำนวนแรงงานที่ต้องการจ้าง
2.
จำนวนคนว่างงานและคุณสมบัติของผู้สมัครเข้าทำงาน
3.
การทำงานของแรงงานและตำแหน่งงานว่าง
4. ความต้องการจ้างแรงงานและจำนวนแรงงานที่ต้องการทำงาน
145.ข้อใดเป็นปัญหาสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
1.
ความเหลื่อมล้ำระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ
2. ความไม่เท่าเทียมของรายได้ระหว่างครัวเรือนต่างๆ
3.
ความไม่เป็นธรรมที่เกิดจากการเอารัดเอาเปรียบของผู้ผลิต
4.
ความไม่มีประสิทธิภาพในการผลิตอันเกิดจากการแข่งขันกัน
146.ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมกับระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมแตกต่างกันในสาระสำคัญข้อใด
1. ลักษณะการถือครองทรัพย์สิน
2.
ลักษณะการขายแรงงาน
3.
ลักษณะการเลือกสินค้าที่จะบริโภค
4.
ลักษณะการแลกเปลี่ยนสินค้า
147.ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมดีกว่าระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมในเรื่องใด
1. ความเป็นธรรมในสังคม
2.
การกระจายรายได้
3.
การใช้ทรัพยากร
4. แรงจูงใจและความคิดริเริ่ม
148.ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหน่วยเศรษฐกิจใดทำหน้าที่จัดสรรปัจจัยการผลิตต่างๆไปให้ผู้ผลิต
1.
รัฐบาล
2.
ผู้บริโภค
3. ครัวเรือน
4.
หน่วยธุรกิจ
149.ในประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมรัฐใช้วิธีการใดเป็นเครื่องมือในการจัดสรรสินค้าให้กับประชาชน
1.
รัฐบาลกำหนดเท่านั้น ไม่ใช้กลไกราคาเลย
2. กลไกราคาเท่านั้น
รัฐบาลไม่เข้ามาเกี่ยวข้องเลย
3. กลไกราคาเพียงเล็กน้อย รัฐบาลเข้าแทรกแซงเป็นส่วนใหญ่
4.
กลไกราคาเป็นส่วนใหญ่ รัฐบาลเข้าแทรกแซงเพียงเล็กน้อย
150.ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจเกิดกับประเทศต่างๆในระบบสังคมนิยมคือปัญหาใด
1.
ค่าแรงจูงใจในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
2. การขาดเสรีภาพในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
3.
การขาดประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรของระบบเศรษฐกิจ
4.
การขาดแคลนทรัพยากรเมื่อเทียบกับความต้องการในระบบเศรษฐกิจ
151.ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมคือข้อใด
1.
ประชาชนทำงานได้อย่างเต็มที่เพราะรัฐให้ค่าตอบแทนที่แน่นอน
2. การกระจายรายได้ของประชาชนมีความใกล้เคียงกันเพราะรัฐให้การดูแล
3.
ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคถูกเพราะรัฐเป็นผู้จัดจำหน่ายเอง
4.
มีระบบสาธารณูปโภคอย่างเพียงพอเพราะรัฐจัดตามความต้องการของประชาชน
152.ข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม
1.
รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
2. ทำให้เกิดการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม
3.
ลดการทุจริตคอรัปชั่นในการบริหารจัดการ
4.
สร้างแรงจูงใจให้ประชาชนทำงานเพื่อผลประโยชน์ของชาติ
153.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
1.
มีการวางแผนเศรษฐกิจ
2.
เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทุกชนิด
3.
ออกกฎหมายห้ามการผูกขาดการผลิต
4. จำกัดเสรีภาพของประชาชนในการเลือกบริโภค
154.ข้อใดมีลักษณะของระบบสังคมนิยมประชาธิปไตย
1.
รัฐให้ผู้ใช้แรงงานมีเสรีภาพในการซื้อสินค้าในการเลือกงานและไม่มีการบังคับแรงงาน
2.
รัฐเป็นเจ้าของกิจการขนาดใหญ่แต่ปล่อยให้เอกชนควบคุมกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก
3.
รัฐวางแผนให้ประชาชนมีรายได้เท่าเทียมกันด้วยการปล่อยให้มีการแข่งขันกันอย่างเสมอภาค
4.
การอนุญาตให้ประชาชนทำงานตามความรู้ความสามารถเพื่อความเจริญและก้าวหน้าของสังคม
155.ระบบเศรษฐกิจของโลกปัจจุบันคือข้อใด
1.
ทุนนิยม สังคมนิยม คอมมิวนิสต์
2. ทุนนิยม สังคมนิยม ระบบเศรษฐกิจผสม
3.
ทุนนิยมเสรี ทุนนิยมเผด็จการ สังคมนิยม
4.
ทุนนิยม สังคมนิยมประชาธิปไตย สังคมนิยมเผด็จการ
156.แบบเศรษฐกิจแบบผสมหมายถึงแบบเศรษฐกิจที่มีการดำเนินการกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคใดร่วมกัน
1. ภาคเอกชนและภาครัฐบาล
2.
ภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม
3.
ภาพภายในประเทศและภาคต่างประเทศ
4.
ภาคการผลิตเพื่อเลี้ยงตนเองและภาคการผลิตเพื่อการค้า
157.ระบบเศรษฐกิจแบบผสมคือระบบใด
1.
มีการรวมศูนย์การตัดสินใจทางเศรษฐกิจโดยรัฐ
2.
มีหน่วยเศรษฐกิจเอกชนทำหน้าที่ในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจแทนรัฐ
3. มีการกระจาย ตัดสินใจทางเศรษฐกิจให้แก่หน่วยเศรษฐกิจทุกหน่วย
4.
มีหน่วยเศรษฐกิจต่างๆที่มีความสัมพันธ์กันโดยอาศัยศาสนาประเพณีเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ
158.ข้อใดเป็นความได้เปรียบของระบบเศรษฐกิจแบบผสมที่มีเหนือระบบเศรษฐกิจแบบอื่น
1. บทบาทของรัฐบาลและเอกชนในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
2.
รัฐบาลและเอกชนต่างมีบทบาทในการค้าและการลงทุนได้ทัดเทียมกัน
3. ระดับแรกกับชนต่างร่วมกันจัดสวัสดิการความต้องการของประชาชนได้มากขึ้น
4.
รัฐบาลและเอกชนสามารถใช้กลไกราคาเป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดสินใจประกอบธุรกิจ
159.ทำไมเราจึงสามารถกล่าวได้ว่าระบบเศรษฐกิจของไทยเป็นแบบผสม
1.
เพราะเป็นระบบที่ภาคเอกชนและภาครัฐบาลทำงานร่วมกัน
2. เพราะเป็นระบบที่ใช้กลไกราคาและการวางแผนในการดำเนินงาน
3.
เพราะเป็นระบบที่มีการนำเอาปัจจัยการผลิตมาผสมผสานกันอย่างเหมาะสม
4.
เพราะเป็นระบบที่เอกชนมีเสถียรภาพในการเลือกผลิตและการแข่งขันในการดำเนินธุรกิจ
160.ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบผสมเพราะมีลักษณะสำคัญข้อใด
1.
มีกิจกรรมของภาครัฐบาลและของเอกชน
2.
มีการจัดตั้งสหกรณ์ของเอกชนและมีรัฐวิสาหกิจ
3.
มีรายได้ไม่เท่าเทียมกันและมีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ
4. มีการวางแผนและใช้ราคาในการจัดสรรทรัพยากร
161.ข้อใดแสดงว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบผสม
1.
เอกชนดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจทั้งแบบผูกขาดและเสรี
2. รัฐดำเนินการผลิตเฉพาะกิจการที่ส่งผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม
3.
มีกฎหมายควบคุมกิจกรรมเศรษฐกิจในด้านผลิตและการขายของเอกชน
4.
มีตลาดสินค้าและบริการนานาชนิดทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ
162.ในระบบเศรษฐกิจแบบผสมใครเป็นผู้ตัดสินใจดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
1. ครัวเรือน หน่วยผลิต รัฐบาล
2.
ครัวเรือน ผู้ผลิต ต่างประเทศ
3.
ครัวเรือน ธนาคารพาณิชย์ รัฐบาล
4.
ธนาคารพาณิชย์ รัฐบาล ต่างประเทศ
163.ในปัจจุบันประเทศไทยใช้ระบบเศรษฐกิจระบบใด
1. ระบบสังคมนิยมที่รัฐให้เสรีภาพถือครองปัจจัยการผลิต
2. ระบบทุนนิยมที่รัฐไม่แทรกแซงการดำเนินกิจกรรมของเอกชน
3. ระบบทุนนิยมที่รัฐเข้ามาแทรกแซงในระบบเศรษฐกิจเท่าที่จำเป็น
4. ระบบสังคมนิยมอย่างอ่อนโดยรัฐมีบทบาทในระบบเศรษฐกิจน้อย
164.ข้อใดไม่ใช่บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจแบบผสม
1.
รัฐบาลเป็นผู้คุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชน
2. รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะขจัดการแบ่งชนชั้นทางสังคม
3.
รัฐบาลเป็นผู้กำกับเศรษฐกิจให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม
4.
รัฐบาลเป็นผู้กำหนดให้มีการวางแผนเศรษฐกิจและสังคมแบบชี้นำ
165.ถ้ารัฐบาลของประเทศหนึ่งเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของตนจากระบบทุนนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจแบบผสมจะเกิดผลอย่างไร
1. การกระจายรายได้ของประเทศเสมอภาคขึ้น
2.
กลไกราคาจะมีบทบาททางเศรษฐกิจมากขึ้น
3.
ประชาชนจะมีโอกาสเป็นเจ้าของทรัพย์สินมากขึ้น
4.
มีการแข่งขันทางเศรษฐกิจมากขึ้น
166.ในประเทศไทยเอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและมีเสรีภาพในการดำเนินการผลิตสินค้าและบริการในขณะเดียวกันรัฐบาลก็เข้าไปดำเนินการผลิตสินค้าและบริการหลายอย่าง
เช่น การรถไฟ การประปา การโทรศัพท์ เป็นต้น
จากข้อความนี้แสดงให้เห็นว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นแบบใด
1. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
2.
ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
3.
ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม
4.
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
167.ข้อใดเป็นลักษณะสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นแบบผสม
1.
มีผู้ผลิตและขายผูกขาดในกิจการบางประเภทควบคู่ไปกับมีผู้ผลิตและขายโดยเสรีในกิจการอื่น
2. รัฐเข้าดำเนินกิจกรรมการผลิตและขายในกิจการบางประเภท
3.
รัฐควบคุมกิจกรรมการผลิตและการขายของเอกชนโดยใช้ระบบอัตราภาษีที่แตกต่างกัน
4.
มีตลาดหุ้นพร้อมพร้อมไปกลับมีตลาดสินค้าและบริการ
168.ถ้าระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นระบบทุนนิยมรัฐบาลไม่ต้องดำเนินการข้อใดเพราะเหตุใด
1. การผลิตสินค้าและบริการ เพราะปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่เป็นของเอกชน
2.
การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของสินค้า
เพราะผู้ผลิตต้องแข่งขันการปรับปรุงคุณภาพสินค้าอยู่เสมอ
3.
การเก็บภาษีการค้าและภาษีศุลกากร
เพราะไม่ต้องการแทรกแซงการผลิตและการจำหน่ายสินค้าของเอกชน
4. การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจไทยเสรีภาคเอกชนในการตัดสินใจประกอบกิจกรรมเศรษฐกิจ
169.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของระบบเศรษฐกิจไทย
1.
มีการแข่งขันกันบ้างโดยเฉพาะในกิจการขนาดเล็ก
2. มีรัฐบาลเป็นผู้ผูกขาดกิจการทางเศรษฐกิจบางประเภท
3. เป็นระบบที่รัฐบาลยินยอมให้เอกชนกำหนดทิศทางของเศรษฐกิจ
4.
เป็นระบบเศรษฐกิจแบบผสมที่ผู้ประกอบการเอกชนมีบทบาทสำคัญ
170.ข้อใดกล่าวถึงระบบเศรษฐกิจได้ถูกต้อง
1. ข้อสนับสนุนต่อระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมคือความมีเสถียรภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
2.
การจัดสรรสินค้าในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมจะเป็นไปตามความสามารถในการซื้อของผู้บริโภค
3.
ปัจจัยทุนเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญที่สุดในการผลิตสินค้าในระบบเศรษฐกิจทุนนิยม
4.
ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมคือเอกชนขาดเสรีภาพในการผลิตและการบริโภค
171.สรพงษ์
ชาตรี ดาราภาพยนตร์ไทยทำหน้าที่อะไรบ้างในระบบเศรษฐกิจ
1.
ผู้เสนอซื้อในตลาดปัจจัยการผลิตและตลาดสินค้าและบริการ
2.
ผู้เสนอขายในตลาดปัจจัยการผลิตและตลาดสินค้าและบริการ
3.
ผู้เสนอซื้อในตลาดปัจจัยการผลิตและผู้เสนอขายในตลาดสินค้าและบริการ
4. ผู้เสนอขายในตลาดปัจจัยการผลิตและผู้เสนอซื้อในตลาดสินค้าและบริการ
172.ครัวเรือนทำหน้าที่ใดในระบบเศรษฐกิจ
1. เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตบริโภคสินค้า
2.
เป็นผู้ที่ตัดสินใจผลิตสินค้าและบริการ
3.
เป็นผู้นำทรัพยากรมาใช้ในการผลิตสินค้า
4. จำหน่ายสินค้าและบริการที่ผลิตได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
173.การหมุนเวียนของวงจรเศรษฐกิจในความหมายที่ถูกต้องที่สุดได้แก่ข้อใด
1.
การหมุนเวียนของสินค้าจากผู้ผลิตไปยังครัวเรือน
2.
การหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงของราคาและปริมาณสินค้า
3.
การหมุนเวียนสลับเปลี่ยนระหว่างเศรษฐกิจซบเซาและรุ่งเรือง
4. การหมุนเวียนของรายได้จากปัจจัยการผลิตเป็นรายจ่ายในการซื้อสินค้า
174.ข้อใดกล่าวถึงการหมุนเวียนของสินค้าและบริการระหว่างหน่วยเศรษฐกิจต่างๆในระบบเศรษฐกิจต่างๆในระบบเศรษฐกิจได้อย่างถูกต้อง
1.
หมุนเวียนจากเจ้าของปัจจัยการผลิตไปสู่ครัวเรือน
2.
หมุนเวียนจากครัวเรือนไปสู่หน่วยธุรกิจ
3. หมุนเวียนจากหน่วยธุรกิจไปสู่ครัวเรือน
4. หมุนเวียนจากครัวเรือนไปสู่เจ้าของปัจจัยการผลิต
175.ข้อใดไม่จัดเป็นหน่วยธุรกิจ
1.
โรงรับจํานํา
2.
บริษัทผลิตรถยนต์
3. กระทรวงพาณิชย์
4.
ร้านอาหารตามสั่ง
176.ในวงจรเศรษฐกิจที่มีระบบการใช้เงินและตราสารอื่นแทนเงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมีตลาดประเภทใดบ้างเข้ามาเกี่ยวข้อง
1.
ตลาดเงิน และตลาดสินค้า
2.
ตลาดปัจจัยการผลิต และตลาดเงิน
3. ตลาดสินค้า
และตลาดปัจจัยการผลิต
4.
ตลาดแข่งขันสมบูรณ์
และตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์
177.กลไกราคาไม่สามารถใช้ได้อย่างสมบูรณ์กับสินค้าและบริการประเภทใด
1.
เครื่องใช้ไฟฟ้ามีตําหนิ
2. การบริการของรถไฟไทย
3.
เสื้อผ้าที่ผลิตเพื่อส่งออก
4.
เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม
178.ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ระบบราคาไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. สินค้ามีลักษณะเป็นสินค้าอุตสาหกรรม
2.
การผลิตสินค้าก่อให้เกิดผลภายนอกที่เป็นบวก
3. การผลิตสินค้าก่อให้เกิดผลภายนอกที่เป็นลบ
4.
การผลิตสินค้าใช้เงินลงทุนสูงมากๆ
179.การให้รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ลงทุนในกิจการสาธารณูปโภคเป็นลักษณะการดำเนินการทางเศรษฐกิจแบบใด
1. สังคมนิยม
2.
เสรีนิยม
3.
ทุนนิยม
4.
ชาตินิยม
180.แนวความคิดอุปสงค์และอุปทานสามารถนำไปใช้ในตลาดใด
1. ตลาดสินค้า
2.
ตลาดปัจจัยการผลิต
3.
ตลาดเงิน
4. ทุกตลาด
181.เมื่อกล่าวถึงตลาดสินค้าสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับตลาดคืออะไร
1.
สถานที่ สินค้า และผู้ซื้อ
2.
ห้างร้าน สินค้า และราคา
3. สินค้า ผู้ซื้อ และผู้ขาย
4. สินค้า
ผู้ขาย และราคาขาย
182.การซื้อขายสินค้าเกษตรขั้นปฐมจัดอยู่ในตลาดประเภทใด
1.
ตลาดผูกขาด
2.
ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
3.
ตลาดที่มีผู้ซื้อผู้ขายน้อยราย
4. ตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์
183.ตลาดสินค้าและบริการประเภทใดต่อไปนี้ที่ถือว่ามีลักษณะใกล้เคียงกับตลาดแข่งขันสมบูรณ์มากที่สุด
1.
สินค้าถาวร เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์
2. สินค้าเกษตรกรรม เช่น ข้าว ข้าวโพด พืชไร่
3.
สินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ผงซักฟอก สบู่ ยาสีฟัน
4.
สินค้าในห้างสรรพสินค้าที่มีการแข่งขันลดราคา แลก แจก แถม
184.ตลาดสินค้าในข้อใดต่อไปนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับตลาดแข่งขันสมบูรณ์ตามความหมายทางเศรษฐศาสตร์
1.
ตลาดสวนจตุจักร
2. ตลาดข้าวกำนันทรง
3.
ตลาดนัด
4.
ตลาดสี่มุมเมือง
185.ตลาดน้ำมัน
ตลาดหนังสือพิมพ์ ตลาดน้ำอัดลม ตลาดปูนซีเมนต์ ถือว่าเป็นสินค้าอยู่ในตลาดประเภทใด
1. ผู้ขายน้อยราย
2.
แข่งขันสมบูรณ์
3.
กึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
4.
ผูกขาด
186.ข้อดีของการเป็นผู้ผลิตในตลาดผูกขาดคือข้อใด
1.
สามารถกำหนดราคาและปริมาณขายเพื่อให้คนได้รับกำไรสูงสุดได้
2.
สามารถลดค่าใช้จ่ายในการโฆษณาสินค้าจึงทำให้เสียต้นทุนต่ำ
3.
สามารถผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพตอนที่ตนต้องการ
4. สามารถทำการผลิตขนาดที่ใหญ่เพื่อลดต้นทุนการผลิต
187.ข้อใดที่ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดแตกต่างจากตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์
1.
มีผู้ซื้อผู้ขายจำนวนมาก
2. มีการโฆษณาสินค้ารูปแบบต่างๆ
3.
การติดต่อซื้อขายกระทำได้โดยสะดวก
4. การเข้าออกจากตลาดเป็นไปโดยเสรี
188.การผูกขาดทางเศรษฐกิจ
จะก่อให้เกิดผลเสียด้านใดมากที่สุด
1.
มีผู้ประกอบการเพียงไม่กี่ราย
2.
ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
3.
ค่าของชีพสูงขึ้น
4. ลดอำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ
189.ข้อดีของตลาดแบบผูกขาดคือข้อใด
1.
ผู้บริโภคซื้อสินค้าในราคายุติธรรม
2. มีการวิจัยและพัฒนาเทคนิคการผลิต
3.
มีสินค้าหลากหลายให้ผู้บริโภคได้เลือก
4.
ปริมาณการผลิตไม่มากทำให้ประหยัดทรัพยากร
190.ระบบเศรษฐกิจแบบเงินตราก่อให้เกิดผลในขั้นแรกในข้อใด
1.
เป็นการทำลายโครงสร้างสังคม
2. เป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตเพื่อตลาด
3. เป็นการทำลายระบบการผลิตแบบดั้งเดิม
4. เป็นจุดเริ่มต้นของการแตกสลายของชุมชน
191.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของตลาดแข่งขันสมบูรณ์
1.
เป็นตลาดที่มีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากอยู่ตลอดเวลา
2. เป็นตลาดที่มีสถานที่การซื้อขายประจำที่แน่นอนไม่ใช่หาบเร่
3.
ผู้ผลิตทุกรายในตลาดผลิตสินค้าที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการ
4.
ผู้ผลิตและผู้บริโภคต่างมีความรู้เกี่ยวกับข้อมูลการตลาดเป็นอย่างดี
192.ตลาดการซื้อขายสินค้าและบริการในข้อใดเป็นตลาดผู้ซื้อผู้ขายน้อยราย
1. รถยนต์ มอเตอร์ไซค์
2. สบู่ แชมพู
3.
ผลผลิตทางการเกษตร
4.
โรงแรมและที่พักในแหล่งท่องเที่ยว
193.ตลาดแข่งขันสมบูรณ์มีลักษณะอย่างไร
1.
ผู้ผลิตรายใหม่เข้ามาแข่งขันในตลาดได้ยาก
2.
ผู้ผลิตจำนวนมากสามารถกำหนดราคาเองได้
3.
ผู้ผลิตจำนวนน้อยแข่งขันกันทางด้านราคา
4. ผู้ผลิตจำนวนมากขายสินค้าตามราคาตลาด
194.ตลาดประเภทใดที่ไม่มีการแข่งขันของผู้ผลิต
1. ตลาดผูกขาด
2.
ตลาดแข่งขันสมบูรณ์
3.
ตลาดผู้ขายน้อยราย
4.
ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
195.กลไกราคาและตลาดขาดความสำคัญด้านใด
1.
ช่วยทำให้ผู้ผลิตทำการผลิตสินค้าตรงตามความต้องการของผู้บริโภค
2. ช่วยให้การกระจายรายได้ลดความเหลื่อมล้ำลง
3.
ช่วยให้ผู้บริโภคมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเพราะตลาดจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้บริโภคและผู้ผลิต
4.
ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวสูงขึ้นเพราะการแลกเปลี่ยนสินค้ามีมากขึ้น
196.ข้อใดไม่ก่อให้เกิดอุปสงค์ในสินค้า
1.
นายกิจต้องการซื้อตู้เย็นแต่มีเงินเก็บไม่พอจึงตัดสินใจซื้อโดยใช้ระบบเงินผ่อน
2. นางมนต้องการซื้อโทรทัศน์
1 เครื่อง แต่มีเงินสดไม่พอต้องชำระค่าซื้อโดยใช้บัตรเครดิต
3. นายศักดิ์ต้องการซื้อรถจักรยานยนต์คันใหม่
แต่ต้องรอเงินโบนัสที่บริษัทจะจ่ายให้ในปลายปี
4.
หน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่งของงบประมาณแผ่นดินซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องในปีนี้ เมื่อได้รับเงินงบประมาณมาปรากฏว่าสามารถซื้อได้เพียง 1 เครื่องเท่านั้น
197.ข้อใดเป็นไปตามกฎของอุปสงค์
1.
พ่อซื้อกางเกงตัวใหม่ 1 ตัวเพราะถูกใจแบบและสี
2.
พ่อซื้อรถยนต์คันใหม่ เพราะต้องรับส่งลูกไปโรงเรียน
3. แม่ซื้อเสื้อตัวใหม่ 3 ตัว เพราะร้านลดราคาในฤดูร้อน
4.
แม่ซื้อตุ๊กตาตัวใหม่ให้ลูกสาว 1 ตัว
เพราะได้รับเงินเดือนขึ้น
198.ตามกฎของอุปสงค์นั้นเพราะเหตุใดผู้บริโภคจึงซื้อเนื้อหมูเพิ่มขึ้น
1. เพราะราคาเนื้อหมูลดลง
2.
เพราะเนื้อสัตว์ชนิดอื่นลดลง
3.
เพราะผู้บริโภคมีรายได้มากขึ้น
4.
พระผู้บริโภคชอบเนื้อหมูมากขึ้น
199.ถ้าหากอุปสงค์ในการซื้อไข่ไก่มีมากขึ้นจะเกิดผลอย่างไร
1. ราคาไข่ไก่ถูกลง
2. ราคาลูกไก่แพงขึ้น
3.
ปริมาณไข่เป็ดจะขายได้น้อยลง
4.
ปริมาณอาหารไก่จะผลิตน้อยลง
200.ตามกฎอุปสงค์ข้อใดคือปัจจัยในการตัดสินใจซื้อผ้าไหมของนางสาวฟ้า
1.
ความนิยมของสังคมที่มีต่อผ้าไหมไทย
2.
รายได้ของนางสาวฟ้า
3.
ความพอใจในผ้าไหมไทยมากกว่าผ้าชนิดอื่น
4. ราคาผ้าไหมไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น