บล็อคนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่เนื้อหาที่ใช้สอนในรายวิชาต่างๆ ของครูเจตน์จรัส ประสพทรัพย์นะครับ
วันจันทร์, ธันวาคม 07, 2563
วันอังคาร, ธันวาคม 01, 2563
งาน ม.6 เทอม2/1
1.
ในการพิจารณากฎของอุปสงค์สินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งกำหนดให้ปัจจัยใดเปลี่ยนแปลงได้
1. ราคาของสินค้าชนิดนั้น
2.
รายได้ของผู้ซื้อสินค้าชนิดนั้น
3.
การคาดคะเนราคาสินค้าในอนาคต
4.
รสนิยมของผู้บริโภคสินค้าชนิดนั้น
2.
ข้อใดอธิบายความสัมพันธ์ตามกฎของอุปสงค์
1. การที่ปริมาณเสนอซื้อแก๊สหุงต้มต่ำลงเป็นผลจากการประกาศขึ้นราคาแก๊สของรัฐ
2.
การที่กลุ่มประเทศโอเปกเข้าควบคุมปริมาณการผลิตน้ำมันเป็นผลให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น
3.
การที่ผลไม้ชนิดอื่น ๆได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติเป็นผลทำให้ราคาเงาะสูงขึ้น
4.
การที่ปริมาณเสนอซื้อกาแฟ A ลดต่ำลงเป็นผลจากการที่ราคากาแฟ B
ลดต่ำลง
3.
ข้อความใดเป็นข้อความที่ถูกต้องโดยหลักเศรษฐศาสตร์
1.
เนื่องจากจำนวนผู้ซื้อสินค้ามีมากขึ้นการเพิ่มจำนวนประชากรให้สูงขึ้นจึงมีผลทำให้อุปสงค์ต่อสินค้าเพิ่มมากขึ้น
2.
เนื่องจากเป็นระบบที่มีการวางแผนจากส่วนกลางระบบสังคมนิยมจึงเป็นระบบที่ไม่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ
3.
เนื่องจากสังคมประกอบด้วยบุคคลต่างๆรวมเข้ากันด้วยแล้วผลประโยชน์ของสังคมจึงมีค่าสูงสุดเมื่อผลประโยชน์ของแต่ละบุคคลสูงสุด
4.
เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณซื้อกับสินค้าเป็นปฏิภาคส่วนกับเส้นอุปสงค์โดยปกติจึงเป็นเส้นที่ลากจากซ้ายลงมาทางขวา
4. ตามกฎของอุปสงค์ถ้ากำหนดให้สิ่งอื่นๆคงที่ปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้ซื้อต้องการจะผันแปรตรงข้ามกับระดับราคาหมายถึงอะไร
1. ถ้าราคาสินค้าเพิ่มขึ้น
ปริมาณการเสนอซื้อจะสูงขึ้น
2. ถ้าราคาสินค้าเพิ่มขึ้น
ปริมาณการเสนอขายจะเพิ่มขึ้น
3. ถ้าราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ปริมาณการเสนอซื้อจะลดลง
4. ถ้าราคาสินค้าเพิ่มขึ้น
ปริมาณการเสนอขายจะลดลง
5.
ข้อใดเป็นไปตามกฎของอุปสงค์
1.
เมื่อผู้บริโภคมีความต้องการสินค้ามากขึ้น ผู้ผลิตจะผลิตสินค้าออกจำหน่ายเพิ่มขึ้น
2.
เมื่อภาวะเศรษฐกิจดีขึ้นผู้บริโภคจะใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
3.
เมื่อผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มขึ้น จะมีความต้องการบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพดีขึ้น
4. เมื่อราคาสินค้าลดลง ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าในปริมาณมากขึ้น
6.
ข้อใดเป็นไปตามกฎอุปสงค์
1.
แดงซื้อหนังสือเพราะต้องใช้เรียน
2.
ดำซื้อเสื้อ 3 ตัวเพราะชอบสีสดใส
3. เขียวซื้อกระเป๋า 2 ใบเพราะร้านขายลดราคา
4.
เหลืองซื้อโทรศัพท์ใหม่เพราะทันสมัยกว่าของเดิม
7.
ข้อใดเป็นไปตามกฎของอุปสงค์
1. ลองกองปีนี้ราคาไม่แพงจึงนิยมซื้อมาบริโภคกันมาก
2.
แก้วมังกรเป็นผลไม้สุขภาพที่คนนิยมรับประทานเกษตรจึงปลูกกันมาก
3.
พ่อค้าส่งทุเรียนไปขายต่างประเทศมาก แต่ไม่ทำให้ราคาทุเรียนในประเทศแพงขึ้น
4.
น้ำมันราคาแพง รัฐบาลจึงมีนโยบายรณรงค์ให้ประชาชนช่วยลดการใช้พลังงาน
8.
ข้อใดเป็นไปตามกฎของอุปสงค์
1.
นายสมชายตั้งใจจะเลิกสูบบุหรี่จึงเริ่มซื้อบุหรี่สูบน้อยลง
2. นายสมสุขซื้อทุเรียนบริโภคในโลกในปีนี้เพราะราคาแพงขึ้นกว่าเดิม
3.
นายสมบูรณ์ต้องการมีรถยนต์แต่ไม่มีเงินพอจึงเก็บเงินสะสมไว้ซื้อในปีหน้า
4.
นางสมศรีญาติจากต่างจังหวัดมาอาศัยอยู่ด้วยจึงต้องใช้จ่ายซื้ออาหารมากขึ้น
9.
ถ้าเนื้อหมูและเนื้อวัวเป็นสินค้าที่ใช้แทนกันได้เป็นอย่างดีการที่ราคาเนื้อวัวลดลงจะเป็นเหตุทำให้เกิดอะไร
1. อุปสงค์ในเนื้อหมูลดลง
2.
ราคาเนื้อหมูเพิ่มขึ้น
3.
อุปสงค์ในเนื้อหมูเพิ่มขึ้น
4.
อุปทานในเนื้อวัวเพิ่มขึ้น
10.
ข้อใดก่อให้เกิดอุปสงค์ต่อสินค้า
1. นาย ก
มีเงิน 30,000
บาทเพียงพอที่จะซื้อตู้เย็นรุ่นใหม่ได้แต่เนื่องจากมีของเดิมอยู่แล้ว
จึงเลื่อนการซื้อออกไปก่อน
2. นาย ข
มีเงิน 20,000 บาทต้องการซื้อโทรศัพท์มือถือในราคา 30,000 บาทจึงขอให้มีการลดราคาเสียก่อน
3. นาย ค ไม่มีเงินสดเพียงพอที่จะซื้อรถยนต์ซึ่งมีราคา 900,000 จึงตกลงซื้อในระบบเงินผ่อน
4. นาย ง
กำลังเก็บเงินเพื่อซื้อแหวนหมั้นในราคา 100,000 บาท
11.
ในทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ถ้าเสื้อเชิ้ตเป็นเสื้อปกติการที่ในก่อนซื้อเสื้อเชิ้ตเพิ่มมากขึ้นกว่าที่เคยซื้อในรอบ
1 ปีอาจเกิดจากสาเหตุใด
1.
ราคาเสื้อเชิ้ตเพิ่มสูงขึ้น
2.
รายได้ของนาย ก ลดต่ำลง
3. รสนิยมของนาย ก เปลี่ยนไปใช้เสื้อเชิ้ตมากขึ้น
4.
ราคาเสื้อเชิ้ตและรายได้ของนาย ก เพิ่มสูงขึ้น
12.
เส้นอุปสงค์ต่อสินค้าจะบอกให้รู้สิ่งต่างๆต่อไปนี้ยกเว้นข้อใด
1.
จำนวนสินค้าที่ผู้บริโภคซื้อได้จากเงินทั้งหมดที่มีอยู่
2.
ราคาสูงสุดที่ผู้บริโภคยินดีจ่ายสำหรับสินค้าแต่ละหน่วย
3.
จำนวนเงินที่ผู้บริโภคต้องจ่ายสำหรับการซื้อสินค้าแต่ละจำนวน
4. ความพอใจสูงสุดที่ผู้บริโภคได้รับจากสินค้าแต่ละหน่วย
13.
กฎของอุปทานคือข้อใด
1.
เมื่อปริมาณเสนอซื้อสินค้าชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้น
ปริมาณเสนอขายสินค้าชนิดนั้นจะเพิ่มขึ้น
2.
เมื่อปัจจัยที่ใช้ในการผลิตสินค้าชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้น
ปริมาณเสนอขายสินค้าชนิดนั้นจะเพิ่มขึ้น
3. เมื่อราคาสินค้าชนิดหนึ่งสูงขึ้น ปริมาณเสนอขายสินค้าชนิดนั้นจะเพิ่มขึ้น
4.
เมื่อรายได้ของผู้บริโภคสูงขึ้น ปริมาณเสนอขายสินค้าจะเพิ่มขึ้น
14.
ข้อใดเป็นไปตามกฎของอุปทาน
1.
ผู้ผลิตจะผลิตสินค้าออกจำหน่ายเพิ่มขึ้น ถ้าผู้บริโภคมีความต้องการมากขึ้น
2. ผู้ผลิตจะผลิตสินค้าออกจำหน่ายเพิ่มขึ้น ถ้าราคาสินค้าสูงขึ้น
3.
ผู้ผลิตจะผลิตสินค้าออกจำหน่ายเพิ่มขึ้น ถ้าราคาปัจจัยการผลิตลดลง
4.
ปริมาณการผลิตสินค้าจะผันแปรตามความต้องการของผู้บริโภคและราคาปัจจัยการผลิต
15.
การเปลี่ยนแปลงของสินค้าในข้อใดเป็นไปตามกฎของอุปทาน
1.
ผลิตผลผักลดลงมากเพราะอุทกภัยทำให้สวนผักเสียหาย ราคาผักจึงสูงขึ้น
2. ราคาน้ำมันปาล์มสูงขึ้น
พ่อค้าจึงสั่งน้ำมันปาล์มจากต่างประเทศเข้ามาขายมากขึ้น
3.
ยอดจำหน่ายน้ำส้มคั้นสูงขึ้นเพราะมีผู้นิยมบริโภคเพิ่มขึ้น
4.
บ้านจัดสรรปรับราคาสูงขึ้น เพราะต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น
16.
สาเหตุข้อใดไม่ทำให้ราคาไอศกรีมกะทิสูงขึ้น
1.
อากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้นมาก
2. ผลผลิตมะพร้าวล้นตลาด
3.
มีการควบคุมมาตรฐานการผลิตไอศกรีม
4.
เด็กวัยรุ่นนิยมรับประทานไอศกรีมมากขึ้น
17.
ปัจจัยอะไรที่มีอิทธิพลต่อความต้องการเสนอขายของผู้ผลิต
1.
จำนวนประชากร
2.
รายได้ของบุคคล
3. การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล
4.
แฟชั่นตามสมัยนิยม
18.
อาศัยกฎของอุปทาน อุปทานของเครื่องปรับอากาศสัมพันธ์กับปัจจัยใด
1. ราคาเครื่องปรับอากาศ
2.
ภาษีสรรพสามิต
3.
ต้นทุนการผลิต
4.
จำนวนผู้ผลิต
19.
ภาวะดุลยภาพของตลาดจะเกิดขึ้นเมื่อใด
1.
จำนวนผู้ซื้อเท่ากับจำนวนผู้ขาย
2.
ปริมาณเสนอซื้อสมดุลกับราคาเสนอขาย
3. อุปสงค์ส่วนเกินและอุปทานส่วนเกินมีค่าเท่ากับศูนย์
4.
ผู้ซื้อสามารถซื้อสินค้าได้ตามจำนวนที่ต้องการ
20.
ราคาดุลยภาพ (equilibrium Price) หมายถึงข้อใด
1.
ราคาที่ทำให้อุปสงค์ส่วนเกินและอุปทานส่วนเกินมีค่ามากกว่าศูนย์
2.
ราคาที่ทำให้ปริมาณเสนอซื้อเท่ากับราคาเสนอขาย
3.
ราคาที่เป็นธรรมต่อทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
4. ราคาที่มีการซื้อขายเกิดขึ้นจริง
21.
ราคาที่ทำให้ปริมาณอุปสงค์มากกว่าปริมาณอุปทานคือราคาใด
1.
ราคาดุลยภาพ
2. ราคาที่ต่ำกว่าดุลยภาพ
3.
ราคาตลาด
4.
ราคาที่สูงกว่าดุลยภาพ
22.
ข้อใดทำให้เกิดอุปสงค์ส่วนเกินขึ้น
1.
ปริมาณการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น
2.
ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น
3.
จำนวนผู้ผลิตสินค้าลดลง
4. ราคาสินค้าต่ำกว่าราคาดุลยภาพ
23.
ถ้าจุด a อยู่บนเส้นอุปสงค์ และอยู่ใต้จุดดุลยภาพ
โดยกำหนดให้เส้นอุปทานคงที่ ข้อใดเป็นคำอธิบายจุด a ได้ดีที่สุด
1.
ปริมาณเสนอขายจะลดลง ปริมาณเสนอซื้อจะเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มที่สินค้าจะเหลือ
2.
ปริมาณเสนอขายจะเพิ่มขึ้น ปริมาณเสนอซื้อจะลดลง และมีแนวโน้มที่สินค้าจะเหลือ
3. ปริมาณเสนอขายจะลดลง ปริมาณเสนอซื้อจะเพิ่มขึ้น
และมีแนวโน้มที่สินค้าจะขาดแคลน
4.
ปริมาณเสนอขายจะเพิ่มขึ้น ปริมาณเสนอซื้อจะลดลง และมีแนวโน้มที่สินค้าจะขาดแคลน
24.
ภาวะที่เกิดอุปสงค์ส่วนเกินถ้าราคาสินค้าเพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดอะไร
1. ปริมาณเสนอซื้อลดลง
2.
ปริมาณเสนอขายมีมากกว่าปริมาณเสนอซื้อ
3.
ปริมาณเสนอซื้อมีน้อยกว่าปริมาณเสนอขาย
4.
ปริมาณเสนอขายมีมากกว่าปริมาณเสนอซื้อที่จุดดุลยภาพ
25. เมื่อเกิดมีอุปสงค์ส่วนเกินในตลาด
ตลาดจะมีการปรับตัวอย่างไร
1. ราคาสินค้าจะสูงขึ้น ปริมาณเสนอซื้อจะลดลง ปริมาณเสนอขายจะสูงขึ้น
2. ราคาสินค้าจะสูงขึ้น
ปริมาณเสนอซื้อจะสูงขึ้นปริมาณเสนอขายจะลดลง
3. ราคาสินค้าจะลดลง
ปริมาณเสนอซื้อจะลดลง ปริมาณเสนอขายจะสูงขึ้น
4. ราคาสินค้าจะลดลง
ปริมาณเสนอซื้อจะสูงขึ้น ปริมาณเสนอขายจะลดลง
26.
ข้อความใดไม่ถูกต้อง
1.
ปริมาณเสนอขอและปริมาณเสนอขาย
จะเป็นตัวปรับราคาสินค้าที่ไม่สมดุลให้เข้าสู่ดุล
2.
ราคาเสนอซื้อและราคาเสนอขาย
จะเป็นตัวปรับปริมาณสินค้าที่ไม่สมดุลให้เข้าสู่ดุล
3.
อุปสงค์ส่วนเกินและอุปทานส่วนเกิน
จะเป็นตัวปรับราคาสินค้าที่ไม่สมดุลให้เข้าสู่ดุล
4. อุปสงค์ส่วนเกินจะเป็นตัวปรับราคาสินค้าที่ไม่สมดุล
และอุปทานส่วนเกินจะเป็นตัวปรับปริมาณสินค้าที่ไม่สมดุลให้เข้าสู่ดุล
27.
ข้อใดแสดงถึงการทํางานของกลไกราคา
1.
การลดลงของราคาสินค้า เมื่อเกิดอุปสงค์ส่วนเกิน
2. การลดลงของราคาสินค้า เมื่อเกิดอุปทานส่วนเกิน
3.
การลดลงของปริมาณการผลิต เมื่อเกิดอุปสงค์ส่วนเกิน
4.
การลดลงของราคาและปริมาณการผลิตพร้อมๆ กัน เมื่อเกิดอุปสงค์ส่วนเกิน
28.
การที่ราคาสูงกว่าราคาดุลยภาพจะส่งผลอย่างไร เพราะเหตุใด
1. ราคาลดลง เพราะเกิดอุปทานส่วนเกิน
2.
ราคาเพิ่ม เพราะเกิดอุปสงค์ส่วนเกิน
3.
ราคาดุลยภาพลด เพราะเกิดอุปทานส่วนเกิน
4.
ราคาดุลยภาพลด เพราะเกิดอุปสงค์ส่วนเกิน
29.
การที่กระเทียมจากประเทศจีนทะลักเข้ามาในประเทศไทยจํานวนมากจะทําให้
ตลาดกระเทียมในประเทศไทยเปลี่ยนไปอย่างไร
1.
ราคาดุลยภาพเพิ่มขึ้น ปริมาณดุลยภาพเพิ่มขึ้น
2.
ราคาดุลยภาพคงเดิม ปริมาณดุลยภาพลดลง
3. ราคาดุลยภาพลดลง ปริมาณดุลยภาพเพิ่มขึ้น
4.
ราคาดุลยภาพเพิ่มขึ้น ปริมาณดุลยภาพลดลง
30.
การใช้จ่ายอุปโภคบริโภคขึ้นอยู่กับปัจจัยข้อใดน้อยที่สุด
1.
ทรัพย์สินของผู้บริโภค
2.
การโฆษณา
3.
การเลียนแบบตามแฟชั่น
4. ต้นทุนการผลิต
31.
การที่ผู้บริโภคตัดสินใจผิดพลาดในการซื้อสินค้า
เกิดจากอิทธิพลของข้อใดมากที่สุด
1.
การได้รับแจกสินค้าตัวอย่าง
2.
การสาธิตวิธีการใช้สินค้า
3.
การแนะนําของเพื่อน
4. การโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ
32.
ปัจจัยข้อใดจะส่งผลให้เจ้าของธุรกิจตัดสินใจเพิ่มปริมาณการผลิต
1.
ราคาของสินค้าที่ทดแทนกันได้ลดต่ำลง
2. ราคาของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตลดต่ำลง
3.
อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเพิ่มขึ้น
4.
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้น
33.
ผู้บริโภคที่ฉลาดและเท่าทัน
ควรตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการโดยใช้หลักเกณฑ์ใด
1.
เลือกซื้อสินค้าที่สามารถต่อรองราคาได้ต่ำที่สุด
2.
เลือกซื้อสินค้าโดยพิจารณาจากกระแสนิยมของสังคม
3.
เลือกซื้อสินค้าที่มีการรับประกันและมีบริการหลังการขาย
4. เลือกซื้อสินค้าที่ตอบสนองความพึงพอใจมากที่สุด
34.
กรณีใดทําให้ราคาข้าวสารในตลาดปรับตัวสูงขึ้น
1.
อุปสงค์ต่อข้าวสารน้อยกว่าอุปทานของข้าวสาร
2. อุปสงค์ต่อข้าวสารมากกว่าอุปทานของข้าวสาร
3.
อุปทานส่วนเกินของข้าวสารมากกว่าอุปสงค์ส่วนเกินต่อข้าวสาร
4.
อุปทานส่วนเกินของข้าวสารเพิ่มขึ้นมากกว่าอุปสงค์ส่วนเกินต่อข้าวสาร
35.
เมื่อมีอุปทานส่วนเกินเกิดขึ้น ณ. ระดับราคาที่เป็นอยู่ในตลาด
การขจัดอุปทานส่วนเกินจะทําได้ในกรณีใด
1.
เพิ่มราคาสินค้า
2.
เพิ่มปริมาณเสนอขาย
3. ลดราคาสินค้า
4.
เพิ่มปริมาณเสนอซื้อ
36. เหตุใดรัฐบาลต้องกําหนดค่าจ้างขั้นต่ำ
1.
เพราะไม่ต้องการให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงาน
2.
เพราะไม่ต้องการให้เกิดอุปทานส่วนเกินของแรงงาน
3. เพราะต้องการให้ระดับค่าจ้างสูงกว่าระดับดุลยภาพ
4.
เพราะต้องให้กลไกราคาทำงานได้อย่างสมบูรณ์
37.
เพราะเหตุใดรัฐบาลจึงกําหนดราคาขั้นสูงของน้ำมันถั่วเหลืองในตลาด
1.
เพราะไม่ต้องการให้มีการใช้ถั่วเหลืองผลิตน้ำมันมากเกินไป
จนทําให้ถั่วเหลืองมีราคาสูงกว่าราคาที่สมดุก
2.
เพราะไม่ต้องการให้ผู้ผลิตเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันถั่วเหลืองมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค
3.
เพราะต้องการให้ผู้ผลิตเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแทนการหากําไรโดยตั้งราคาขายสูง
4. เพราะต้องการให้ผู้บริโภคซื้อน้ำมันถั่วเหลืองในราคาที่ต่ำกว่าดุลยภาพ
38.
การปรับค่าจ้างขั้นผ่าสูงขึ้น
จะทําให้เกิดผลกระทบต่อตลาดแรงงานอย่างไร
1.
ระดับค่าจ้างตุลยภาพต่ำลง
2. อุปทานแรงงานส่วนเกินเพิ่มขึ้น
3.
ความต้องการจ้างงานเพิ่มขึ้น
4.
ปัญหาการขาดแคลนแรงงานลดลง ปัญหาการว่ายาน
39.
ข้อใดไม่ใช่ผลกระทบจากการกําหนดค่าจ้างขั้นต่ำของรัฐบาล
1.
อุปทานสินค้ามีแนวโน้มลดลง
2.
อุปทานแรงงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
3. อุปสงค์สินค้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
4.
อุปสงค์แรงงานมีแนวโน้มลดลง
40.ในตลาดแรงงาน ค่าแรงดุลยภาพเท่ากับ 110 บาทต่อวัน
และปริมาณแรงงานดุลยภาพเท่ากับ 100,000 คน
เมื่อรัฐบาลประกาศค่าแรงขั้นต่ไไว้ ณ 130 บาทต่อวัน
โดยมีผลบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพจะก่อให้เกิดผลอย่างไร
1.
อุปสงค์แรงงานส่วนเกิน และนายจ้างจะจ้างแรงงานได้มากกว่า 100,000 คน
2.
อุปทานแรงงานส่วนเกิน และนายจ้างจะจ้างแรงงานได้มากกว่า 100,000 คน
3.
อุปสงค์แลงานส่วนเกิน และนายจ้างจะจ้างแรงงานได้น้อยกว่า 100,000 คน
4. อุปทานแรงงานส่วนเกิน
และนายจ้างจะจ้างแรงงานได้น้อยกว่า 100,000 คน
41. ณ ระดับราคาดุลยภาพ ปรากฏว่าชาวไร่อ้อยเดือดร้อน
จึงทําให้รัฐบาลจำเป็นต้องเข้าช่วยเหลือโดยกําหนดราคาประกัน ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง
1. โรงงานน้ำตาลจะซื้ออ้อยได้ในราคาที่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพ
2. รัฐบาลจะต้องรับซื้ออ้อยส่วนเกินจากชาวไร่อ้อย
3. โรงงานน้ำตาลจะรวมตัวกันที่รองราคารับซื้ออ้อยใน
4. ชาวไร่อ้อยจะต้องจัดสรรโควตาขายให้โรงงานน้ำตาล
42. ราคาที่ชาวไร่มันสําปะหลังเรียกร้องให้รัฐบาลรับประกัน
1. ราคาดุลยภาพที่สูงกว่าราคาที่เจ้าของลานมันต้องการ
2. ราคาดุลยภาพที่สูงกว่าราคาที่เกษตรกรต้องการขาย
3. ราคาที่มีอุปสงค์ส่วนเกิน
4. ราคาที่มีอุปทานส่วนเกิน
43. นโยบายประกันราคาข้าวของรัฐบาลช่วยแก้ปัญหาข้อใด
1. ความเสมอภาค
2. การกระจายรายได้
3. เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
4. ประสิทธิภาพทางการผลิต
44. ช้อใดคือเหตุผลที่ทําให้รัฐบาลเข้ามาควบคุมราคาขายสินค้า ก.
1. เพราะต้องการให้ราคาขายต่ำกว่าราคาดุลยภาพ
2. เพราะต้องการให้ต้นทุนการผลิตสินค้า ก. ลดลง
3. เพราะต้องการลดอุปสงค์สินค้าก. ในตลาด
4. เพราะต้องการให้เกิดความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานของสินค้า
ก.
45. ข้อใดคือผลของการที่รัฐบาลประกาศให้ราคาน้ำมันลอยตัว
1. ทําให้ราคาน้ำมันมีเสถียรภาพมากขึ้น ไม่เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำมัน
2. ทําให้ผู้ขายสามารถกําหนดราคาน้ำมันที่ทําให้ตนเองมีกําไรตามที่ต้องการได้
3. ทําให้ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นลงได้ตามสภาพของตลาด
4. ทําให้ผู้บริโภคปรับการซื้อน้ำมันให้สอดคล้องกับราคาน้ำมันได้
46.การที่รัฐบาลออกกฎกระทรวงบังคับให้โรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายต้องมีเครื่องบำบัดน้ำเสียจะส่งผลกระทบต่อราคาและปริมาณดุลยภาพของน้ำตาลทรายอย่างไร
1. ทั้งราคาและปริมาณดุลยภาพลดลง
2. ทั้งราคาและปริมาณดุลยภาพเพิ่มขึ้น
3. ราคาดุลยภาพลดลง แต่ปริมาณดุลยภาพเพิ่มขึ้น
4. ราคาดุลยภาพเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณดุลยภาพลดลง
47. เพราะเหตุใดจึงต้องมีการคุ้มครองผู้บริโภค
1. ผู้บริโภคใช้จ่ายอย่างไม่ประหยัด
2. ผู้ผลิตผลิตสินค้าโดยไม่คํานึงถึงตลาด
3. ตลาดมีการแข่งขันไม่สมบูรณ์
4. รัฐต้องการให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าในราคาต่ำ
48. เหตุใดจึงต้องมีการคุ้มครองผู้บริโภค
1. ให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกซื้อสินค้าตามที่ต้องการ
2. ให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกซื้อสินค้าในราคาถูก
3. ให้ผู้บริโภคได้รับความพอใจในการบริโภค
4. ให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยในการบริโภค
49.ข้อความใดเป็นไปตามกฎอุปสงค์
1. เมื่อราคาปลาทูกิโลกรัมละ 8 บาท
ผู้บริโภคต้องการเสนอซื้อปลาทู 5
กิโลกรัมผู้ขายปลาทูต้องการเสนอขาย 1 กิโลกรัม
2. เมื่อราคาปลาทูกิโลกรัมละ 8 บาท
ผู้ขายต้องการเสนอขายปลาทู 1 กิโลกรัม
3. เมื่อราคาปลาทูกิโลกรัมละ 8 บาท
ผู้บริโภคต้องการเสนอซื้อปลาทู 1
กิโลกรัมเมื่อราคาปลาทูกิโลกรัมละ 12 บาท
ผู้บริโภคต้องการซื้อปลาทู 4 กก.
4. เมื่อราคาปลาทูกิโลกรัมละ 8 บาท
ผู้บริโภคต้องการเสนอซื้อปลาทู5 กิโลกรัม
เมื่อราคาปลาทูกิโลกรัมละ 12 บาท ผู้บริโภคต้องการซื้อปลาทู 4 กิโลกรัม
50. เมื่อระดับราคาปลาทูกิโลกรัมละ 12 บาท
ผู้เสนอขายปลาทูต้องการเสนอขายปลาทูกี่กิโลกรัม
1. 1 กิโลกรัม
2. 2 กิโลกรัม
3. 4 กิโลกรัม
4. 6 กิโลกรัม
51. ที่ระดับราคาปลาทูกิโลกรัมละ 25 บาท จะเกิดผลอะไร
1. ปริมาณความต้องการเสนอซื้อ 6 กิโลกรัม
ความต้องการเสนอขาย 2 กิโลกรัมมีปลาทูขาดแคลน 4 กิโลกรัม
2. ปริมาณความต้องการเสนอซื้อ 6 กิโลกรัม
ความต้องการเสนอขาย 2 กิโลกรัมมีปลาทูเหลือ 4 กิโลกรัม
3. ปริมาณความต้องการเสนอซื้อ 2
กิโลกรัม ความต้องการเสนอขาย 6 กิโลกรัม มีปลาทูเหลือ 4 กิโลกรัม
4. ปริมาณความต้องการเสนอซื้อ 2 กิโลกรัม
ความต้องการเสนอขาย 6 กิโลกรัมมีปลาทูขาดแคลน 4 กิโลกรัม
52. ระดับราคาและปริมาณของปลาทูในระดับดุลยภาพเป็นอย่างไร
1. ราคากิโลกรัมละ 4 บาท ปริมาณ 12 กิโลกรัม
2. ราคากิโลกรัมละ 8 บาท ปริมาณ 1 กิโลกรัม
3. ราคากิโลกรัมละ 8 บาท ปริมาณ 5 กิโลกรัม
4. ราคากิโลกรัมละ 12 บาท ปริมาณ 4 กิโลกรัม
53. ข้อใดคือการกําหนดราคาขั้นต่ำของรัฐบาล
1. การควบคุมราคาค่าโดยสารรถประจําทางในช่วงเทศกาลปีใหม่
2. การควบคุมราคาสัตว์ปีกในช่วงเทศกาลตรุษจีน
3. การรับจํานองมันสําปะหลังในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว
4.การกําหนดราคามิเตอร์ของรถแทกซี่ใน 3 กิโลเมตรแรก
54.นางสมศรีซื้อน้ำตาลทราย 5 ถุง ขนาดบรรจุถุงละ 1 กิโลกรัมจากห้างสะดวกซื้อแห่งหนึ่ง
แต่เมื่อกลับไปบ้านและทดสอบชั่งน้ำหนักใหม่ ปรากฏว่ามีน้ำตาลทราย 2 ถุง มีน้ำหนักเพียง 0.8 กิโลกรัมเท่านั้น
นางสมศรีต้องการรักษาสิทธิของตน
จะต้องนําเรื่องและหลักฐานไปร้องเรียนหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงหน่วยงานใด
1. สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
2. สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
3. สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
4. กรมการค้าภายใน
55. ข้อใดไม่ใช่สิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง
ผู้บริโภค
1. สิทธิได้รับการโฆษณาและแสดงฉลากตามความเป็นจริง
2. สิทธิจะได้รับพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
3. สิทธิในการจําหน่ายสินค้าที่มีความปลอดภัยได้โดยเสรี
4. สิทธิในการเลือกซื้อสินค้าบริการตามความสมัครใจและเป็นธรรม
56. ผู้ผลิตเครื่องสําอางในข้อใดไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องสําอาง
พ.ศ.2535
1. เครื่องสําอางที่ใช้ชื่อไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมอันดีงามของไทย
2. เครื่องสําอางที่ใช้ส่วนประกอบมากกว่าที่ระบุไว้ในฉลาก
3. เครื่องสําอางที่ระบุราคาขายสูงกว่าราคาสินค้าชนิดเดียวกัน
4. เครื่องสําอางที่ระบุชื่อผู้ผลิต แต่ไม่มีสถานที่ผลิต
57. ข้อใดไม่ใช่สิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคพ.
ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2541
1. การได้ซื้อสินค้าในราคาที่เป็นธรรม
2. การได้รับค่าชดเชยความเสียหาย
3. การได้รับความปลอดภัยจากการใช้บริการ
4. การได้รับข่าวสารรวมทั้งคําพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้อง
58. ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฉลากเขียวแสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้นผ่านการประเมินใด
1. มาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร
2. มาตรฐานคุณภาพและสิ่งแวดล้อม
3. มาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหาร
4.
มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม
59. ข้อใดตรงกับความหมายของ “รายได้ประชาชาติ”
1. รายได้จากผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติในรอบ 1 ปี
2. รายได้รวมจากปัจจัยที่ทําการผลิตของชาติในรอบ 1 ปี
3. รายได้รวมจากการขายสินค้าและบริการของชาติในรอบ 1
ปี
4. รายได้จากแรงงานและผลตอบแทนของผู้ประกอบการของประชาชนในชาติในรอบ 1 ปี
60. ข้อใดอธิบายความหมายของรายได้ประชาชาติของประเทศไทยในรอบปีใดปีหนึ่งได้ถูกต้องที่สุด
1. ผลรวมของรายได้ของคนไทยที่อยู่ในประเทศไทยในรอบปีนั้น
2. ผลรวมรายได้ของบุคคลต่างๆ ที่อยู่ในประเทศไทยในรอบปีนั้น
3. ผลรวมของค่าเช่า ดอกเบี้ย ค่าจ้าง
และกําไรที่คนไทยได้รับในปีนั้น
4. ผลรวมของมูลค่าผลผลิตที่คนไทยสามารถก่อให้เกิดขึ้นได้ในรอบปีนั้น
61. รายได้เฉลี่ยต่อหัว (PCI: Per Capita Income) หมายถึงข้อใด
1. รายได้ทั้งหมดหารด้วยประชากรทั้งหมด
2. รายได้ทั้งหมดหารด้วยประชากรที่อยู่ในวัยทํางาน
3. รายได้ทั้งหมดหารด้วยประชากรที่ทํางานและมีรายได้
4. รายได้ทั้งหมดหารด้วยประชากรทั้งหมดยกเว้นคนว่างงาน
62. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น [GROSS NATIONAL PRODUCT: GNP] คือข้อใด
1. มูลค่าของสินค้าและบริการที่ผลิตได้ภายในประเทศ
2. มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตได้ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
3. ปริมาณของสินค้าและบริการที่ผลิตได้ภายในประเทศ
4. ปริมาณของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตได้ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
63. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ [GNP] คือข้อใด
1. มูลค่า ณ ราคาตลาดของสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในประเทศในรอบหนึ่งปี
2. มูลค่า ณ
ราคาตลาดของสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นด้วยทรัพยากรไทยในรอบหนึ่งปี
3. มูลค่า ณ
ราคาตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นด้วยทรัพยากรไทยในรอบหนึ่งปี
4. มูลค่า ณ
ราคาคงที่ของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นในประเทศในรอบหนึ่งปี
64. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น [GNP] ของไทยคือข้อใด
1. มูลค่าปัจจัยการผลิตที่ใช้ผลิตสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายในประเทศไทยเท่านั้น
2. มูลค่าสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายและบริการขั้นสุดท้ายผลิตโดยทรัพยากรไทย
ซึ่งผลิตในประเทศไทยเท่านั้น
3. มูลค่าสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายผลิตโดยทรัพยากรไทย
ซึ่งผลิตในประเทศไทยหรือต่างประเทศก็ได้
4.มูลค่าสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายผลิตโดยประชากรของประเทศใดก็ได้
แต่ต้องผลิตในเขตแดนไทย
65.
กิจกรรมทางเศรษฐกิจประเภทใดที่นับอยู่ในผลิตภัณฑ์ประชาชาติ
1. ปลูกผักสวนครัว เพื่อรับประทานในครัวเรือน
2. เส้นไหมที่เกษตรกรผลิตได้
3. รับจ้างกวาดถนนให้กับเทศบาล
4. เป็นเจ้ามือหวยเถื่อน
66. รายรับใดไม่เป็นส่วนหนึ่งของรายได้ประชาชาติ
1. เงินได้ของนาย ก. จากการไปทํางานในต่างประเทศ
2. เงินได้ของนาย ข. จากการทํางานเป็นบริกรในโรงแรม
3. เงินได้ของนาย ค. จากการให้โรงงานเช่าที่ดินมรดก
4. เงินได้ของนาย ง. จากการให้พ่อค้ากู้ยืมเงิน
67. ข้อใดเป็นส่วนหนึ่งของรายได้ประชาชาติ
1. เงินบํานาญข้าราชการ
2. ค่าโดยสารรถประจําทาง
3. รางวัลที่ได้จากสลากกินแบ่งรัฐบาล
4. ดอกเบี้ยจากเงินฝากธนาคาร
68. รายการใดที่นํามาคิดรวมในรายได้ประชาชาติ
1. เงินค่านายหน้าจากการเป็นตัวแทนขายกรมธรรม์ประกันชีวิตจํานวน
20,000 บาท
2. เงินค่าขายบ้านและที่ดินที่ได้รับมรดกมาเป็นมูลค่า 5 ล้านบาท
3. เงินจากการจับเด็กไปเรียกค่าไถ่จํานวน 300,000 บาท
4. เงินรางวัลที่จ่ายให้ผู้ถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลจํานวน 50,000 บาท
69. ข้อใดนับรวมอยู่ในผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น (GDP) ของประเทศไทย
1. นายทองดีได้รับเงิน 3,500 บาท
จากเจ้าของสุนัขที่นําสุนัขมาฝากเลี้ยง
2. นายชูวิทย์จ่ายเงิน 100,000 บาท
ซื้อหุ้นสามัญธนาคารพาณิชย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
3. มารดาให้เงินบุตรเพิ่มขึ้นอีกเดือนละ 500 บาท
ตามค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น
4.
รัฐบาลอนุมัติให้จ่ายเงิน 100 ล้านบาท
ช่วยผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดต่างๆ
70. รายการใดต่อไปนี้ไม่รวมไว้ในการคํานวณผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ (GDP) ของไทย
1. รัฐบาลไทยส่งเงินไปช่วยบรรเทาทุกข์ในบังกลาเทศ
2. กลุ่มเกษตรกรเพชรบุรีส่งกุ้งกุลาดําไปขายประเทศญี่ปุ่น
3. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จากสหรัฐอเมริกา
4. นักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์จ่ายเงินซื้อบัตรเข้าไปเที่ยวชมสวนสัตว์ดุสิต
71. ผลิตภัณฑ์มวลรวมของชาติ (GNP) และผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ
(GDP)จะแตกต่างกันเท่ากับมูลค่าของรายการใด
1. รายได้ของชาวต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศ
2. รายได้จากการไปทํางานในต่างประเทศ
3. รายได้จากการลงทุนในต่างประเทศ
4. รายได้สุทธิจากต่างประเทศ
72. กําหนดให้ GDP คือผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และ GNP
คือ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติถ้ารายได้ของคนไทยและบริษัทไทยในต่างประเทศไทย
กลับเข้าประเทศเท่ากับ T ต่อปี
และรายได้ของชาวต่างประเทศและบริษัท ต่างประเทศส่งออกเท่ากับ F ต่อปี ข้อใดถูกต้องที่สุด
1. GNP GDP + F - T
2. GDP = GNP + F 4 T
3. GNP = GDP - F - T
4. GDP = GNP + F - T
73. ถ้าในรอบปีหนึ่งผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น [GDP) ของประเทศไทยมีมูลค่าเท่ากับ
500 ล้านบาท
มีชาวต่างประเทศเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยได้รับรายได้ 50 ล้านบาท มีคนไทยไปทํางานในต่างประเทศได้รับรายได้ 30 ล้านบาท และ มีค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ของประเทศเท่ากับ 10 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น [GNPJ เท่ากับข้อใด
1. 420 ล้านบาท
2. 450 ล้านบาท
3. 470 ล้านบาท
4. 480 ล้านบาท
74. ถ้าในปี พ.ศ.2545
สินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิตขึ้นได้ในประเทศมีมูลค่า 1,800
ล้านบาท ซึ่งในจํานวนนี้เป็นของผู้ลงทุนต่างชาติ 200 ล้านบาท
ในขณะเดียวกัน คนไทยในต่างประเทศได้โอนรายได้กลับเข้าประเทศ 100 ล้านบาท มูลค่าผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นของประเทศ (GNP) จะเป็นเท่าใด
1. 1,800 ล้านบาท
2. 1,700 ล้านบาท
3. 1,800 ล้านบาท
4. 1,000 ล้านบาท
75. ในปี 2545
ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นของประเทศหนึ่งเท่ากับ 500
ล้านบาทในปีเดียวกันถ้ามีคนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศนี้ก่อให้เกิดผลผลิตมูลค่า
รวม 50 ล้านบาท
และคนของประเทศนี้ไปลงทุนในประเทศอื่นก่อให้เกิดผลผลิต คิดเป็นมูลค่ารวม 30 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น (GDP) ของประเทศนี้
จะเท่ากับข้อใด
1. 420 ล้านบาท
2. 480 ล้านบาท
3. 520 ล้านบาท
4. 580 ล้านบาท
76. สมมติว่าในปี 2545
สินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นได้ในประเทศไทยมีมูลค่า 1,000
ล้านบาท ในจํานวนนี้เป็นสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายมูลค่า 900ล้านบาทซึ่งต้องโอนให้เจ้าของในต่างประเทศ 100
ล้านบาท แต่คนไทยที่ไปทำงานต่างประเทศโอนรายได้กลับเข้าประเทศ 40 ล้านบาท ข้อใดระบุมูลค่าผลิตภัณฑ์ประชาชาติได้ถูกต้อง
1. 1,000 ล้านบาท
2. 940 ล้านบาท
3. 900 ล้านบาท
4. 840 ล้านบาท
77. ถ้าเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (GNP) กับกับผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น
[GDP] ในปีเดียวกันของประเทศไทยในรอบ 10
ปีที่ผ่านมา ข้อใดถูกต้อง
1.
GNP มากกว่า GDP ทุกปี
2.
GNP น้อยกว่า GDP ในบางปี
3. GNP น้อยกว่า GDP ทุกปี
4. GNP มากกว่า GDP ในบางปี
78.
ถ้ารายได้จากการลงทุนในต่างประเทศของคนไทยน้อยกว่ารายได้ของชาวต่างชาติที่มาลงทุนในประเทศไทย
จะเกิดผลอย่างไร
1. ประเทศไทยจะมีดุลบัญชีทุนสูงกว่าดุลบัญชีเดินสะพัด
2. ประเทศไทยจะมี GDP ลดลง
3. ประเทศไทยจะมีการลงทุนในประเทศสูงขึ้น
4. ประเทศไทยจะมี GDP สูงกว่า GNP
79.
สาขาของบริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่งประกอบธุรกิจในประเทศไทยมีกําไรในรอบปีที่แล้ว
จํานวน 10 ล้านบาท ซึ่งยังมิได้มีการโอนให้บริษัทแม่
กําไรดังกล่าวจะรวมอยู่ในรายการใด
1. ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) ของประเทศไทย
2. ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) ของประเทศญี่ปุ่น
3. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ [GNP] ของประเทศไทย
4. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ [GNP] ของประเทศญี่ปุ่น
80. ปัจจัยใดไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
1. การบริโภคของครัวเรือน
2. การชําระหนี้ต่างประเทศ
3. การลงทุนของหน่วยธุรกิจ
4. การใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการของรัฐบาล
81.
ข้อใดเป็นสมการที่แสดงมูลค่าของผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น
1. GNE = C + 1 + G + (x + M)
2. GNE = C + 1 + G - (x - M)
3. GNE = C+ + G - (x + M)
4. GNE = C + + G + (x - M)
82. รายการใดไม่ได้รวมอยู่ในประชาชาติของไทย
1. วิศวกรไทยได้รับค่าจ้างตอบแทนการควบคุมงานก่อสร้างในประเทศซาอุดิอาระเบียจากบริษัทรับเหมาของญี่ปุ่น
2. เจ้าของที่ดินบนเกาะภูเก็ตไดรับค่าเช่าจากการให้เช่าที่ดินเพื่อสร้างสนามกอล์ฟจากนักลงทุนชาวยุโรป
3. บริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้รับดอกเบี้ยจากการเปิดบัญชีเงินฝากในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
4. นักธุรกิจไทยจ่ายเงินส่วนหนึ่งจากผลกําไรเพื่ออุดหนุนพรรคการเมืองไทยที่สนับสนุนการลงทุนในประเทศจีน
83. ข้อใดคือผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในลําดับแรกจากการนํานโยบายกองทุนหมู่บ้านมาใช้ในประเทศไทย
1. มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเพิ่มขึ้น
2. มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในภูมิภาคเพิ่มขึ้น
3. มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดเพิ่มขึ้น
4. มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในตําบลเพิ่มขึ้น
84. ถ้ารายได้ประชาชาติสูงขึ้น
ในขณะที่ประชากรในประเทศมีจํานวนเท่าเดิมข้อใดถูกต้อง
1. รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลสูงขึ้น และคุณภาพชีวิตของประชากรดีขึ้น
2. รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลสูงขึ้น และระดับการพัฒนาเศรษฐกิจดีขึ้น
3. รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลสูงขึ้น และผลิตภัณฑ์มวลรวมเพิ่มขึ้น
4. รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลสูงขึ้น และการกระจายรายได้ดีขึ้น
85. ถ้ารายได้ประชาชาติของประเทศ ก. เท่ากับรายได้ประชาชาติของประเทศ ข. สวัสดิการ
ทางสังคมของประเทศ ก. จะสูงกว่าประเทศ ข. ในกรณีใด
1. จํานวนประชากรของประเทศ ก. สูงกว่าประเทศ ข.
2. อัตราภาษีเงินได้ของประเทศ ก. ต่ำกว่าประเทศ ข.
3. อัตราการว่างงานของประเทศ ก. ต่ำกว่าประเทศ ข.
4. อายุขัยเฉลี่ยของประชากรในประเทศ ก. สูงกว่าประเทศ ข.
86. ข้อใดจัดว่าเป็นจุดอ่อนของการใช้ตัวเลขรายได้เฉลี่ยต่อหัวเป็นเครื่องชี้วัดการพัฒนาเศรษฐกิจ
1. ไม่สามารถบอกกําลังผลิตของประเทศได้
2. ไม่สะท้อนลักษณะการกระจายรายได้ของประชาชน
3. ไม่สามารถเปรียบเทียบรายได้จากการผลิตภายในประเทศและจากต่างประเทศได้
4. ไม่สามารถเปรียบเทียบการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่จํานวนประชากรต่างกันได้
87. รายได้ประชาชาติ (National Income) วัดอะไร
1. การกระจายรายได้ของประชากรในประเทศ
2. อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
3. อัตราความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของประเทศ
4. มาตรฐานการครองชีพของประชาชนในประเทศ
88. การเปรียบเทียบฐานะทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศต่างๆ ควใช้ตัวเลขประเภทใด
1. รายได้ประชาชาติที่แท้จริง
2. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติต่อหัว
3. รายจ่ายประชาชาติในปีฐาน
4. ผลิตภัณฑ์ของประเทศเบื้องต้น
89. ตัวเลขในหน่วยเงินสกุลเดียวกันข้อใดใช้เปรียบเทียบฐานะเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
1. ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ
2. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติต่อหัว
3. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติที่แท้จริง
4. ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศที่แท้จริงต่อหัว
90. เครื่องมือที่เหมาะสมที่สุดที่ใช้วัดระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศคืออะไร
1. รายได้ต่อบุคคล
2. ดัชนีสังคม
3. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น
4.
ระดับราคาที่มีเสถียรภาพ
91. ถ้ารายได้ประชาชาติที่เป็นตัวเงินในปี พ.ศ.2525
เท่ากับ 360,000 บาท และดัชนีราคาของปี พ.ศ.2525 เท่ากับ 120 โดยมีปี พ.ศ.2519
เป็นปีฐาน รายได้ประชาชาติที่แท้จริงของปี พ.ศ.2525
จะเท่ากับเท่าใด
1. 288,000 บาท
2. 300,000 บาท
3. 360,000 บาท
4. 432,000 บาท
92. การมี “รายได้ประชาชาติที่แท้จริงเฉลี่ยต่อบุคคล”
สามารถใช้วัดอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้ดีที่สุด
เพราะได้ขจัดปัญหาเรื่องใด
1. ความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมที่เกิดจากการผลิตและการบริโภค
2. ความสิ้นเปลืองของการใช้ปัจจัยการผลิต และทรัพยากรธรรมชาติ
3. ความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้และทรัพย์สิน
4. การเปลี่ยนแปลงของราคาและจํานวนประชากร
93. ข้อใดแสดงถึงอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
1. รายได้ประชาชาติที่แท้จริงเฉลี่ยต่อบุคคล
2. สมรรถภาพการผลิตของประเทศ
3. ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
4. การกระจายรายได้ที่เท่าเทียมกัน
94. เพื่อให้เศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ มาตรการการพัฒนาควรเป็นอย่างไร
1. เพิ่มรายได้ประชาชาติในอัตราที่ต่ำกว่าอัตราการเพิ่มของระดับราคา
2. เพิ่มรายได้ประชาชาติในอัตราที่สูงกว่าอัตราการเพิ่มของระดับราคา
3. เพิ่มรายได้ประชาชาติในอัตราที่ต่ำกว่าอัตราการจ้างงาน
4. เพิ่มรายได้ประชาชาติในอัตราที่สูงกว่าอัตราการจ้างงาน
95. ข้อความใดถูกต้องตามหลักเศรษฐศาสตร์
1. เมื่อระดับราคาและรายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น
ครัวเรือนจะมีอำนาจซื้อสูงขึ้นเสมอ
2. เมื่อระดับราคาและอํานาจซื้อของครัวเรือนเพิ่มขึ้น
รายได้ประชาชาติจะสูงขึ้นเสมอ
3. เมื่อระดับราคาและค่าครองชีพสูงขึ้น
ครัวเรือนจะมีระดับความเป็นอยู่สูงขึ้นเสมอ
4. เมื่อระดับราคาและรายได้ประชาชาติสูงขึ้น
ครัวเรือนจะมีระดับความเป็นอยู่สูงขึ้นเสมอ
96. ประเทศ ก. มีรายได้ประชาชาติมากกว่าประเทศ ข. หมายความว่าอย่างไร
1. อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ก. สูงกว่าของประเทศ ข.
2. คนในประเทศ ก. มีความกินดีอยู่ดีสูงกว่าคนในประเทศ ข.
3. ประเทศ ก. ผลิตสินค้าและบริการได้มากกว่าประเทศ ข.
4. ประเทศ ก. มีรายได้ต่อหัวสูงกว่าประเทศ ข.
97. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย
1. รับฝากเงินจากประชาชน
2. รักษาทุนสํารองระหว่างประเทศ
3. ควบคุมตรวจสอบสถาบันการเงิน
4.
ออกธนบัตร
98. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของธนาคารกลาง
1. ออกธนบัตร
2. รับฝากเงินจากประชาชน
3. ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
4.
ควบคุมปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ
99. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย
1. เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์
2. เป็นนายธนาคารของรัฐบาล
3. ออกและพิมพ์เหรียญกษาปณ์
4.
ออกและพิมพ์ธนบัตร
100. หน้าที่ใดต่อไปนี้ไม่ใช่หน้าที่ของธนาคารกลาง
1. รับฝากเงินจากธนาคารพาณิชย์
2. รับฝากเงินจากรัฐบาล
3. รักษาทุนสํารองเงินตราของประเทศ
4. ผลิตเหรียญกษาปณ์ออกใช้หมุนเวียน
101. หน้าที่หลักที่สําคัญของธนาคารกลางของประเทศไทยได้แก่อะไร
1. ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
2. เป็นนายธนาคารของรัฐบาล
3. ควบคุมสถานการณ์ทางการเงินของประเทศ
4. เป็นผู้พิมพ์ธนบัตร
102. ธนาคารแห่งประเทศไทยทําหน้าที่อะไรในระบบเศรษฐกิจ
1. ขายพันธบัตรรัฐบาล
2. โอนเงินระหว่างธนาคารกับเอกชน
3. ควบคุมปริมาณเงินของประเทศ เพื่อให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
4. ดำเนินนโยบายทางด้านการเงิน ควบคุมอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ
103. การที่ธนาคารกลางควบคุมดูแลปริมาณเงินของประเทศให้เหมาะสมเป็นการทําหน้าที่ใด
1. การกํากับดูแลสถาบันการเงิน
2. การรักษาเสถียรภาพทางการเงิน
3. การบริหารทุนสํารองเงินตรา
4. การกระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
104. ธนาคารแห่งประเทศไทยรับผิดชอบกํากับดูแลสถาบันการเงินใด
1. ธนาคารอาคารสงเคราะห์
2. บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
3. บริษัทหลักทรัพย์
4. บริษัทประกันชีวิต
105. ข้อใดเป็นสถาบันการเงิน
1. ธนาคารข้าว
2. บริษัทประกันภัย
3. บริษัทบัตรเครดิต
4. บริษัทเงินออม
106. ข้อใดไม่นับว่าเป็นสถาบันทางการเงินตามความหมายทางเศรษฐศาสตร์
1. บรรษัทเงินทุนและหลักทรัพย์
2. บริษัทธุรกิจการเช่าซื้อ
3. สหกรณ์การเกษตร
4. สถานธนานุเคราะห์
107. สถาบันการเงินในข้อใดไม่ได้ให้บริการทางการเงินแก่บุคคลทั่วไป
1. ธนาคารกลาง
2. ธนาคารอาคารสงเคราะห์
3. บริษัทหลักทรัพย์
4. บริษัทเครดิตฟองซิเออร์
108. สถาบันการเงินใดที่เป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐ
1. ธนาคารกรุงไทย ธนาคารทหารไทย
2. ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์
3. ธนาคารนครหลวงไทย ธนาคารกรุงไทย
4. ธนาคารทหารไทย ธนาคารกสิกรไทย
109. สถาบันการเงินใดไม่ได้อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย
1. บริษัทบริหารสินทรัพย์ บริษัทรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
2. ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย
3. บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
4.
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
110. “ตลาดเงิน” หมายถึงข้อใด
1. ตลาดที่มีการระดมเงินทุนและการให้สินเชื่อระยะสั้นไม่เกิน
1 ปี
2. ตลาดที่มีการระดมเงินออมและการให้สินเชื่อระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี
3. ตลาดที่มีการระดมเงินออมระยะยาวและการให้สินเชื่อระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
4. ตลาดที่มีการระดมเงินทุนระยะยาวและการให้สินเชื่อระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
111. ข้อใดไม่ถูกต้อง
1. กองทุนประกันสังคม กํากับดูแลโดยกระทรวงแรงงาน
2. โรงรับจํานํา กํากับดูแลโดยกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย
3. บริษัทประกันชีวิต กํากับดูแลโดยกระทรวงการคลัง
สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
4. บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ กํากับดูแลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
112. สหกรณ์ประเภทใดไม่ให้บริการเงินกู้แก่สมาชิก
1. สหกรณ์บริการ
2. สหกรณ์ร้านค้า
3. สหกรณ์การเกษตร
4. สหกรณ์ออมทรัพย์
113. สหกรณ์ประเภทใดเปิดกว้างให้ผู้ประกอบอาชีพใดก็ได้เข้าเป็นสมาชิก
1. สหกรณ์นิคม
2. สหกรณ์ร้านค้า
3. สหกรณ์บริการ
4. สหกรณ์ออมทรัพย์
114. สหกรณ์ประเภทใดที่ถือว่าเป็นต้นแบบสหกรณ์ทั่วโลก
1. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
2. สหกรณ์ร้านค้า
3. สหกรณ์บริการ
4. สหกรณ์ออมทรัพย์
115. สถาบันการเงินใดใช้หลักประชาธิปไตยควบคุมการบริหารงาน
1. ธนาคารพาณิชย์
2. บริษัทประกันชีวิต
3. กองทุนประกันสังคม
4. สหกรณ์ออมทรัพย์
116. ข้อใดไม่ใช่หลักการที่สําคัญของสหกรณ์
1. การให้การศึกษาฝึกอบรม และสารสนเทศแก่สมาชิก
2. การเป็นสมาชิกที่เปิดกว้างแก่บุคคลในกลุ่มอาชีพเดียวกัน
3. การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจแก่สมาชิก
4. การควบคุมสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย
117. ข้อความเกี่ยวกับสหกรณ์ร้านค้าในข้อใดไม่ถูกต้อง
1. สมาชิกทุกคนร่วมลงทุนเป็นเจ้าของสหกรณ์
2. ทําธุรกิจกับสมาชิกสหกรณ์และบุคคลทั่วไป
3. จําหน่ายสินค้าตามราคาตลาดเป็นเงินสดและเงินผ่อนโดยไม่มีดอกเบี้ย
4. สินค้าที่จําหน่ายประกอบด้วยสินค้าอุปโภคบริโภคหลากหลายชนิด
118. ข้อใดที่ถือว่าสหกรณ์เป็นประชาธิปไตย
1. เป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นโดยความสมัครใจของสมาชิก
2. สมาชิกเป็นผู้ควบคุมการดําเนินงานและเป็นผู้ใช้บริการสหกรณ์
3. เป็นธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยมิได้มุ่งหวังกําไร
4. สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิออกเสียงได้เพียงคนละเสียง
119. แนวคิดเกี่ยวกับสหกรณ์เริ่มขึ้นในประเทศใดเป็นประเทศแรก
1. อังกฤษ
2. เยอรมนี
3. สวีเดน
4. รัสเซีย
120. หลักการสหกรณ์กับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความสอดคล้องกันในเรื่องใด
1. การบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2. การทํากิจกรรมเศรษฐกิจเฉพาะกับสมาชิกหรือคนในชุมชนเดียวกัน
3. การร่วมมือร่วมใจกันในสังคมระดับท้องถิ่น
4. การยึดแนวทางการพึ่งพาตนเอง
121. การกระทําของบุคคลใดยึดหลักการสร้างภูมิคุ้มกันตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1. น้อยจัดสรรรายจ่ายให้สมดุลกับรายได้
2. หน่อยซื้อรถจักรยานมาใช้ในภาวะที่น้ำมันมีราคาแพง
3. นกใช้จ่ายเงินเดือนที่ได้รับอย่างรอบครอบไว้ส่วนหนึ่ง
4. นิดซื้อสินค้าและบริการเฉพาะที่ต้องการเท่านั้น
122. พฤติกรรมของบุคคลใดสอดคล้องกับแนวพระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียง
1. นางสุขขายไก่สดในตลาดโดยไม่มีวันหยุดเพื่อให้มีเงินพอชําระค่าผ่อนรถจักรยานยนต์ที่ชื่อให้ลูกชายขับขี่ไปโรงเรียน
2. นางจันชวนเพื่อนบ้านที่มีเวลาว่างมารวมกลุ่มกันสานกระบุงไม้ไผ่ส่งขายร้านค้าในเมืองและนํารายได้มาแบ่งปันกัน
3. นายเอกประกาศขายบ้านที่อยู่อาศัยมานาน 25
ปีเพื่อรวบรวมเงินไว้รักษาพยาบาลมารดาที่ป่วยเป็นโรคไต
ต้องเสียค่าใช้จ่ายฟอกไตทุกสัปดาห์
4. นายวิทย์หาเลี้ยงตัวเองด้วยการขับรถแท็กซี่รับจ้าง
สัปดาห์ใดได้รับรายได้มากก็จะหยุคขับรถในบางวันสัปดาห์ใดได้รายได้น้อยไม่พอค่าใช้จ่าย
ก็จะออกขับรถทุกวัน
123. ผู้ใดนําแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้
1. นายเจียมลดรายจ่ายได้มาก เพราะงดการดื่มสุราตามคําแนะนําของแพทย์ประจําตัว
2. นายจิสทําตามสัญญาที่ให้ไว้กับบุตร
โดยหาเงินมาซื้อรถยนต์ให้เป็นรางวัลที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้
3. นายสุขใช้เวลาว่างวันอาทิตย์
ทํางานเป็นพนักงานเสิร์ฟอาหารเพื่อหารายได้พิเศษมาเลี้ยงครอบครัว
4. นายแสงลดการปลูกพืชหลายชนิด หันมาปลูกพืชหลักเพียงชนิดเดียวเพื่อจะได้เกิดความชํานาญในการปลูกพืชชนิดนั้น
124. ข้อใดเป็นคุณลักษณะของเศรษฐกิจพอเพียง
1. พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
2. ประหยัด ทางสายกลาง ประกอบอาชีพสุจริต
3. พึ่งตนเอง ความสามัคคี ชุมชนเข้มแข็ง
4. ความยั่งยืน ความสมดุล มีการบริหารจัดการที่ดี
125. ลักษณะใดไม่ใช่เศรษฐกิจแบบพอเพียง
1. การพึ่งพาตนเองโดยผลิตสินค้าตามจํานวนที่ตนเองต้องการ
2. การสรรพื้นที่เพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจและพืชเพื่อการบริโภคในครัวเรือน
3. การสร้างนิสัยบริโภคสินค้าที่จัดหาได้ในชุมชน
4. การกระจายการผลิตโดยการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ด้วย
126. ข้อใดคือแนวทางปฏิบัติตาม”
ทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”
1. ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เกษตรกรสามารถดำเนินการได้
2. จะแบ่งที่ดินทำกินเป็นสัดส่วน
เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ตลอดปี
3. พัฒนาทรัพยากรดิน น้ำและป่าไม้ให้สามารถทำการเกษตรแบบยั่งยืน
4. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น
127.
การเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นต้นมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาใดให้เกษตรกร
1. การสูญเสียที่ดินทำกิน
2. การพึ่งพาระบบน้ำตามธรรมชาติ
3. การขาดการรวมพลังกันในรูปกลุ่ม
4. การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจน้อยเกินไป
128.
การปฏิบัติตามแนวทฤษฎีใหม่ จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรจากปัญหาใดมากที่สุด
1. การขาดแคลนแหล่งอาหารในการบริโภค
2. การขาดแคลนแหล่งน้ำในการเพาะปลูก
3
การขาดที่ดินในการทำนาและสวน
4. การขาดแคลนเงินทุนในการบำรุงรักษาที่ดิน
129. ตามแนวการเกษตรทฤษฎีใหม่ พื้นที่ทำการเกษตรต้องมีน้ำใช้ในฤดูแล้งประมาณเท่าใดต่อไร่
1. 1,000 ลูกบาศก์เมตร
2.
2,000 ลูกบาศก์เมตร
3. 3,000 ลูกบาศก์เมตร
4. 4,000 ลูกบาศก์เมตร
130. นายเกษตรมีที่ดิน 30 ไร่ต้องการจัดสรรการใช้ที่ดินตามทฤษฎีใหม่เข้าจะต้องจัดสรรที่ดินเพื่อการขุดสระและการทำร้ายอย่างละกี่ไร่
1.
ขุดสระ 6 ไร่ ทำนา 9 ไร่
2. ขุดสระ 9 ไร่
ทำนา 9 ไร่
3. ขุดสระ 10 ไร่ ทำนา 12 ไร่
4. ขุดสระ 12 ไร่ ทำนาย 12 ไร่
131.
สถาบันใดประกอบการโดยเน้นความสามัคคี ความซื่อสัตย์
ความเสมอภาคและความเพื่ออาทรในกลุ่มผู้เป็นเจ้าของมากที่สุด
1. ธนาคารพาณิชย์จำกัด(มหาชน)
2. บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
3. บริษัทประกันภัยและประกันชีวิต
4. สหกรณ์การเกษตร
132. หลักการของสถาบันการเงินใดสอดคล้องกับแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
1. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
2.
ธนาคารแห่งประเทศไทย
3. สหกรณ์ออมทรัพย์
4.
ธนาคารออมสิน
133.“
ร่วมทุน ร่วมใจ ร่วมคิด ร่วมทำ”
เป็นหลักการในการดำเนินการของหน่วยใด
1. ธนาคาร
2. สหกรณ์
3.
ตลาด
4.
บริษัท
134.
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นระบบเศรษฐกิจที่ยึดหลักตรงสํานวนไทยในข้อใด
1.
เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน
2.
ช้าๆได้พร้าเล่มงาม
3. ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
4.
ซื้อกินไม่หมด คดกินไม่นาน
135.
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 อธิบายถึงเรื่องใด
1.
ผลิตอาหารบริโภคเอง เหลือไว้ขาย ทำให้มีกินอิ่ม ไม่ติดหนี้
มีเงินออม
2. มุ่งเน้นแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ
3. รวมตัวกันเป็นองค์กรชุมชน ทำเศรษฐกิจชุมชนในรูปแบบต่างๆ
4.
ติดต่อประสานงานเพื่อจัดหาทุนและแหล่งเงิน
136.
โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริอำเภอเมือง
จังหวัดสระบุรี
เป็นโครงการต้นแบบที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระราชดำริในการทำการเกษตรให้แก่ราษฎรในรูปแบบใด
1. เกษตรอินทรีย์
2. เกษตรทฤษฎีใหม่
3. วนเกษตร
4. เกษตรผสมผสาน
137.
ข้อใดกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการบริหารรายได้และรายจ่ายของภาคเอกชนและภาครัฐบาลได้ถูกต้องที่สุด
1.
ภาคเอกชนเน้นประสิทธิภาพในการใช้จ่าย ภาครัฐบาลเน้นการแสวงหารายได้มาใช้จ่าย
2. ภาคเอกชนเน้นการแสวงหาผลกำไร ภาครัฐบาลเน้นประโยชน์ส่วนรวม
3.
ไก่ชนเน้นการประหยัดรายจ่าย
4.
รายได้เป็นเครื่องกำหนดงบประมาณ
138. การคลังภาครัฐบาลมีการวางแผนดำเนินกิจกรรมข้อใด
1. รายจ่ายเป็นเครื่องกำหนดรายได้
2. รายจ่ายเป็นเครื่องกำหนดภาษีอากร
3. รายได้เป็นเครื่องกำหนดรายจ่าย
4. รายได้เป็นเครื่องกำหนดงบประมาณ
139.
กิจกรรมการคลังของรัฐบาลเกี่ยวข้องกับข้อใด
1. การใช้จ่าย การเก็บภาษีอากร การกู้ยืมเงิน
2.
การกำหนดอัตราดอกเบี้ย การกู้ยืมเงิน การใช้จ่าย
3.
การใช้จ่าย จัดเก็บภาษีอากร การกำหนดอัตราดอกเบี้ย
4.
การเก็บภาษีอากร การกำหนดอัตราดอกเบี้ย การกู้ยืมเงิน
140.
การคลังของรัฐบาลไม่ครอบคลุมกิจกรรมข้อใด
1. การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
2.
การหารายได้จากภาษีอากรและรัฐพาณิชย์
3.
การกำหนดงบประมาณรายจ่ายประจำปี
4.
การจัดการเกี่ยวกับก่อหนี้และการชำระหนี้
141.
งบประมาณแผ่นดินหมายถึงอะไร
1. รายรับทุกชนิดรวมทั้งเงินกู้และรายจ่ายของรัฐบาล
2.
รายรับทุกชนิดรวมทั้งเงินกู้ของรัฐบาล
3. รายรับเฉพาะส่วนภาษีไม่ได้อากรของรัฐบาล
4. รายรับทุกชนิดของรัฐบาล
142.
เงินที่รัฐบาลได้รับจากการออกตั๋วเงินคลังเป็นองค์ประกอบของข้อใด
1.
รายได้
2.รายรับ
3. เงินคงคลัง
4.
เงินกู้ระยะยาว
143. งบประมาณแผ่นดินไม่ได้แสดงอะไร
1. แผนการใช้เงินของรัฐบาลในรอบปี
2. บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจในรอบปี
3.
การกำหนดระดับรายได้ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บในรอบปี
4.
การกำหนดระดับรายจ่ายของรัฐบาลในรอบปี
144.
ข้อใดตรงกับความหมายของงบประมาณเกินดุล
1.
ปริมาณเงินไหลเข้าประเทศมากกว่าปริมาณเงินไหลออก
2.
มูลค่าสินค้าส่งออกมากกว่ามูลค่าสินค้านำเข้า
3. รายได้รัฐบาลมากกว่ารายจ่ายรัฐบาล
4.
รายรับของรัฐบาลมากกว่ารายจ่ายของรัฐบาล
145.งบประมาณขาดดุลหมายถึงข้อใด
1. งบประมาณที่รายรับของรัฐบาลน้อยกว่ารายจ่ายรวมของรัฐบาล
2. งบประมาณที่รายได้ของรัฐบาลน้อยกว่ารายจ่ายรวมของรัฐบาล
3.
งบประมาณที่ได้รับจากการเก็บภาษีอากรน้อยกว่ารายจ่ายรวมของรัฐบาล
4.
งบประมาณที่รายได้จากการเก็บภาษีอากรน้อยกว่ารายจ่ายรวมของรัฐบาล
146.
เงินจำนวนใดไม่รวมอยู่ในงบประมาณรายรับของรัฐบาล
1.
ค่าสัมปทานจากการเก็บรังนก
2.
เงินรายได้จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
3. เงินช่วยเหลือจากรัฐบาลต่างประเทศ
4.
เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินในประเทศ
147.
รายจ่ายใดเป็นรายจ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดผลผลิต
ตามความหมายทางเศรษฐศาสตร์
1.
รายจ่ายในการตัดถนนเพิ่ม เพื่อลดความแออัดของการจราจร
2.
รายจ่ายค่าดอกเบี้ยเงินกู้ของรัฐบาลจากธนาคารโลก
3.
รายจ่ายในการซื้อเครื่องบินของบริษัทการบินไทย
4. รายการในโครงการสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
148.
รายได้หลักของรัฐมาจากการดำเนินการในข้อใด
1.
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
2.
การให้สัมปทาน
3.
การให้บริการสาธารณูปโภค
4. การจัดเก็บภาษี
149.
ภาษีประเภทใดเป็นภาษีทางอ้อม
1.
ภาษีเงินได้
2. ภาษีศุลกากร
3.
ภาษีมรดก
4.
ภาษีโรงเรือน
150.
เจริญงานของรัฐในข้อใดที่จะลดความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้
1.
ลดอัตราภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย
2. จัดเก็บภาษีทางตรงในอัตราก้าวหน้า
3.
เพิ่มเงินอุดหนุนโครงการพัฒนาเมือง
4.
ยกเลิกการควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็น
151.
การเก็บภาษีในข้อใดลดปัญหาความไม่เท่าเทียมกันของการกระจายรายได้
1.
เก็บภาษีศุลกากรขาเข้าในอัตราก้าวหน้า
2.
เก็บภาษีบำรุงท้องที่ในอัตราเท่าเทียมกัน
3.
เก็บภาษีการขายในอัตราเท่าเทียมกัน
4. เก็บภาษีกำไรในอัตราก้าวหน้า
152.
นาฬิกาเป็นเจ้าของอาคารพาณิชย์ 1 คูหาตั้งอยู่ใกล้ตลาดสด
เปิดป้ายร้านขายข้าวแกงที่ “แสงโภชนา” กิจการดำเนินไปด้วยดี
มีรายได้สูงพอส่งลูกศึกษาชั้นอุดมศึกษาทุกคน
และยังทำหน้าที่เป็นพลเมืองดีโดยเสียภาษีต่างๆ ให้แก่รัฐบาลตลอดจนได้แสงไม่ต้องเสียภาษีใด
1.
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
2. ภาษีบำรุงท้องที่
3.
ภาษีเงินได้
4. ภาษีป้าย
153.
การเก็บภาษีชนิดใดมีส่วนช่วยให้การกระจายรายได้มีความเป็นธรรมยิ่งขึ้น
1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.
ภาษีสรรพสามิต
3.
ภาษีศุลกากร
4. ภาษีมรดก
154.
ภาษีชนิดใดช่วยลดความไม่เท่าเทียมกันของการกระจายรายได้
1. ภาษีมรดก
2.
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
3.
ภาษีขาเข้า
4.
ภาษีการขาย
155.
ข้อใดจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้
1. เก็บภาษีมรดก
2.
ขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
3.
ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
4.
ส่งเสริมการตั้งโรงพยาบาลในภูมิภาค
156.
มาตรการหนึ่งที่รัฐบาลลดปัญหาความเหลื่อมล้ำของรายได้ของประชาชนได้แก่อะไร
1.
เก็บภาษีที่ดินสูงขึ้น
2. ขึ้นภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย
3.
ขึ้นภาษีการค้า
4.
เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
157.
รัฐบาลควรหารายได้เพิ่มขึ้นโดยวิธีใดถ้าไม่ต้องการให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยเดือดร้อน
1. ขึ้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
2.
ขึ้นภาษีสุรา เบียร์ เเละเครื่องดื่ม
3.
ขึ้นราคาสลากกินแบ่งของรัฐบาล
4.
ขึ้นค่าปรับประเภทต่างๆ
158.
ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับรัฐบาล
ภาษีเงินได้เป็นภาษีประเภทใดเพราะเหตุใด
1. ภาษีทางตรง เพราะผู้มีเงินได้ต้องรับภาระในการเสียภาษีนั้น
2.
ภาษีทางตรง
ผู้มีเงินได้ต้องไปยื่นแบบฟอร์มในการเสียภาษีที่กรมสรรพากร
3.
ภาษีทางอ้อม
เพราะนายจ้างเป็นผู้เสียภาษีให้โดยไม่ได้หักออกจากเงินได้ของผู้มีเงินได้
4.
ภาษีทางอ้อม เพราะผู้มีเงินได้ไม่ได้จัดส่งเงินภาษีให้กับรัฐบาลโดยตรง
แต่นายจ้าง ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นผู้ส่งเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร
159.
ข้อใดส่งผลให้เงินคงคลังเพิ่มขึ้น
1. รัฐบาลจัดเก็บภาษีอากร
2. ดุลรายได้- รายจ่ายของรัฐบาล
3.
รัฐวิสาหกิจส่งผลกำไรให้รัฐบาลมากขึ้น
4.
รัฐบาลเลื่อนการไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด
160.
ในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลดำเนินนโยบายงบประมาณแผ่นดินแบบใด
1.
งบประมาณได้ดุล
2.
งบประมาณเกินดุล
3. งบประมาณขาดดุล
4.
งบประมาณแบบพิเศษ
161.
เศรษฐกิจจะขยายตัวมากที่สุดในกรณีใด
1. ดุลงบประมาณขาดดุล
2.
ดุลงบประมาณเกินดุล
3.
ดุลงบประมาณสมดุล
4.
ดุลงบประมาณมีขนาดใหญ่
162.
ในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลควรมีมาตรการทางการคลังอย่างไร
1.
เก็บภาษีเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มเงินคงคลัง
2.
ชะลอการปล่อยสินเชื่อ เพื่อลดหนี้ของประชาชน
3. ใช้จ่ายมากขึ้น การ์ตูนการผลิต
4.
กู้ยืมน้อยลง เพื่อลดภาวะงบประมาณ
163.
รัฐบาลควรใช้นโยบายการคลังอย่างไร เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจซบเซา
1. ใช้จ่ายสูงกว่ารายได้จากภาษีอากร
2.
ใช้จ่ายเท่ากับรายได้ที่จัดเก็บได้
3.
ใช้จ่ายเท่ากับรายได้ที่จัดเก็บได้และเงินกู้ยืม
4.
ใช้จ่ายเท่ากับรายได้จากภาษีอากรและจากรัฐวิสาหกิจ
164.
รัฐบาลต้องจัดทำงบประมาณแผ่นดินลักษณะใดในการดำเนินนโยบายการคลังแบบหดตัว
1.
กำหนดรายรับเท่ากับรายจ่าย
2.
กำหนดรายได้เท่ากับรายจ่าย
3.
ลดรายจ่ายต่ำกว่ารายรับ
4. กำหนดรายจ่ายต่ำกว่ารายได้
165.
ข้อใดไม่ใช่วิธีการหาเงินมาใช้จ่ายในกรณีที่รัฐบาลมีงบประมาณขาดดุล
1.
การนำเงินคงคลังออกมาใช้
2.
การกู้ยืมจากต่างประเทศ
3.
การออกพันธบัตรขายชาชน
4. การเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
166.
มีที่เกิดจากการที่รัฐบาลขายพันธบัตรให้ประชาชนเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายเรียกว่าอะไร
1.
หนี้ของกระทรวงการคลัง
2.
หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน
3.
หนี้งบประมาณแผ่นดิน
4. หนี้สาธารณะ
167.
ถ้าปี 2540 หนี้สาธารณะต่อประชากร 1 คนเท่ากับ 30,000 บาท แต่ปี
2544 หนี้สาธารณะต่อประชากร 1 คนเท่ากับ 60,000 บาทก็ได้ถูกต้อง
1.
ไม่มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
2. รัฐบาลมีพันธะชดใช้หนี้เพิ่มขึ้น
3.
ประชาชนต้องจ่ายภาษีในอัตราสูง
4.
เอกชนก่อหนี้เพิ่มขึ้นเท่าตัว
168.
ข้อใดไม่ใช่เหตุผลที่ทำให้รัฐบาลก่อหนี้สาธารณะ
1. เพื่อรักษาเสถียรภาพของรัฐบาล
2.
เพื่อใช้จ่ายในกรณีงบประมาณขาดดุล
3. เพื่อสร้างความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจ
4.
เพื่อใช้จ่ายในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
169.
การก่อหนี้สาธารณะโดยการขายพันธบัตรให้ธนาคารพาณิชย์และเอกชนจะทำให้เกิดผลตามข้อใด
1. การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน
2.
การเพิ่มขึ้น ของการลงทุนของเอกชน
3.
การเพิ่มขึ้นของระดับราคาสินค้าโดยทั่วไป
4.
การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ
170. ถ้ารัฐบาลเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในลักษณะดังนี้
ฐานภาษี(เงินได้)
จำนวนภาษีที่เรียกเก็บ
10,000 บาท 1,000 บาท
20,000 บาท 3,000 บาท
30,000 บาท 5,000
บาท
อยากทราบว่ารัฐบาลเก็บภาษีในอัตราแบบใด
1.อัตราคงที่
2. อัตราก้าวหน้า
3. อัตราถอยหลัง
4. อัตราเหมาจ่าย
171. การที่รัฐบาลกู้เงินจากต่างประเทศลงทุนแทนการกู้เงินจากประชาชนและก่อให้เกิดผลอย่างไร
1. หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นน้อยกว่า
2. อัตราดอกเบี้ยในประเทศสูงขึ้น
3. สภาพคล่องภายในประเทศเพิ่มขึ้น
4. งบประมาณแผ่นดินขาดดุลน้อยลง
172. ข้อใดเป็นคำจำกัดความของ“เงิน” ที่ดีที่สุด
1. เงินคือวัตถุมีค่าที่ใช้ในการซื้อขายสินค้า เเละบริการ
2. เงินคือธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจ
3.
เงินคืออะไรก็ได้ที่สังคมยอมรับว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
4. เงินคือธนบัตร เหรียญกษาปณ์ และบัตรเครดิตที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน
173. คำพูดต่อไปนี้ข้อใดแสดงความหมายของเงินได้ถูกต้องที่สุด
1. เงินคือแก้วสารพัดนึก
2. เงินคือพระเจ้า
3. เงินคือสิ่งรับใช้มนุษย์
4.เงินคือนายของมนุษย์
174. ข้อความใดต่อไปนี้ที่แสดงถึงความหมายของปริมาณเงิน
1. ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ เเละเงินที่อยู่ในมือรัฐบาล
2. ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ และเงินฝากกระแสรายวัน
3. ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ และบัตรเครดิต
4. ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ แลกเงินออมทั้งหมด
175. เพราะเหตุใดเราจึงถือว่า “ เช็ค ”
เป็นเงิน
1. เพราะเช็คมีลักษณะคล้ายคลึงกับธนบัตร
2. เพราะเช็คเป็นตราสารที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์
3. เพราะประชาชนยอมรับเช็คเป็นสื่อกลางของการแลกเปลี่ยน
4. รัฐบาลมีกฎหมายควบคุมการใช้เช็คที่ไม่มีเงินจะรัดกุม
176. ข้อใดเป็นคำกล่าวที่ผิด
1. เงินคือสิ่งที่สังคมยอมรับว่าเป็นหน่วยวัดมูลค่าสินค้าและบริการ
2. นั่นคือสิ่งที่แสดงความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของระบบเศรษฐกิจหนึ่ง
3. เงินคือสิ่งที่ใช้เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้
4. เงินคือสิ่งที่มีสภาพคล่องสูงกว่าสินทรัพย์อื่น
177. ปริมาณเงินหมายถึงข้อใด
1. เงินส่วนที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจที่อยู่ในมือประชาชน
2. เงินในข้อ 1 บวกกับส่วนที่อยู่ในธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
3. เงินในข้อ 1 กับส่วนที่อยู่ในธนาคารในประเทศ
4. งานในข้อ 1 บวกกับส่วนที่อยู่ในคลังและภาครัฐบาล
178.
ปริมาณเงินในความหมายกว้างได้รับผลกระทบจากดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินใดมากที่สุด
1. ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร
2. ธนาคารออมสิน และบริษัททรัพย์จัดการกองทุนรวม
3. ธนาคารสงเคราะห์ และบริษัทประกันภัย
4. ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทเงินทุน
179. ข้อใดไม่นับเป็นปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ
1. เครดิตการ์ด
2. เงินคงคลังของรัฐบาล
3.เงินฝากประเภทเผื่อเรียก ออมทรัพย์ และประจำของธนาคาร
4. เช็คของธนาคารพาณิชย์
180. การเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินตามความหมายแคบเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินประเภทใด
1. ธนาคารกลางธนาคารพาณิชย์
2. ธนาคารการตลาดหลักทรัพย์
3. ตลาดหลักทรัพย์และบริษัทเงินทุน
4. บริษัทเงินทุนและธนาคารพาณิชย์
181. เมื่อเปรียบเทียบระหว่างธนบัตรใบละ 1,000
บาทกับสร้อยคอทองคำหนัก 1 บาทสินทรัพย์ใดมีสภาพคล่องสูงกว่าเพราะเหตุใด
1. ธนบัตร เพราะนำไปแลกกับสิ่งอื่นได้ทันที
2. ธนบัตร เพราะเป็นสิ่งที่คนทั่วไปต้องการ
3. สร้อยทองคำ ถ้ามีมูลค่าสูงกว่า 1,000 บาท
4. สร้อยทองคำ เพราะสามารถนำไปขายต่อได้รวดเร็ว
182. เงินมีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจเพราะทำหน้าที่หลายประการยกเว้นข้อใด
1. เป็นมาตรฐานการชำระหนี้
2. เป็นมาตรฐานในการวัดคุณค่า
3. เป็นสื่อกลางในการในการแลกเปลี่ยน
4. เป็นเครื่องบ่งชี้ฐานะทางเศรษฐกิจของบุคคล
183. ก็ได้ที่ไม่ใช่หน้าที่ของเงิน
1. สิ่งจูงใจในการทำงาน
2. มาตรฐานในการวัดมูลค่า
3. สิ่งเก็บรักษามูลค่า
4. มาตรฐานในการชำระหนี้ในอนาคต
184. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของ“เงิน”ในความหมายทางเศรษฐศาสตร์
1. เป็นสิ่งที่เก็บรักษามูลค่า
2. สิ่งที่กำหนดโดยรัฐบาล
3. เป็นมาตรฐานในการวัดมูลค่า
4. เป็นสื่อกลางของการแลกเปลี่ยน
185. ข้อใดแสดงว่าเงินทำหน้าที่ในการวัดมูลค่า
1. วิธีเขียนเช็คส่วนตัวซื้อนาฬิกา ข้อมือ 1 เรือน
ราคาเรือนละ 30,000 บาท
2. พิศาลชื่อโทรทัศน์ 1 เครื่องด้วยการผ่อนชำระ 6 งวดงวดละ 10,000 บาท
3. แอนมีเงินแค่ 20 บาท ซื้อข้าวสารได้ไม่ถึง 1 กิโลกรัม
4. สุรชัยนำธนบัตรไทยชนิดราคา 100 บาทจะได้ธนบัตรชนิดราคา 50 บาทได้ 2 ใบ
186. เมื่อปีกลายนาของนายน้อยร่ม
นายน้อยจึงไปขอยืมข้าวจากนามากมาใช้ในการบริโภคในบ้านจำนวน 10
ถังมากไปนี้ในน้อยทำนาได้ผลดี ได้ราคาจึงนำเงินไปใช้หนี้นางมาก 1000
บาทในกรณีดังกล่าวเงินได้ทำหน้าที่ครบทุกประการนอกจากเป็น
1. สื่อในการแลกเปลี่ยน
2. เครื่องรักษามูลค่า
3. มาตรฐานในการวัดค่า
4. มาตรฐานการชำระหนี้
187. มะลินำสร้อยคอทองคำไปจำนำได้เงิน 10000 2,000 บาทนำไปจ่ายเป็นค่าเล่าเรียนบุตร
7,000 บาทค่าอาหาร 2000 บาทค่าเสื้อผ้านักเรียน 2500 บาทและค่ารองเท้า 500
บาทจากเหตุการณ์ดังกล่าวเงินไม่ได้ทำหน้าที่ข้อใด
1. เครื่องเก็บรักษาค่า
2. มาตรฐานวัดมูลค่า
3. มาตรฐานในการชำระหนี้
4. สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
188. นายหล่อต้องการลงทุนซื้อหุ้นของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง
แต่เนื่องจากตนเองไม่มีเงินสด จึงออกปากขอยืมที่ดิน ซึ่งเป็นมรดกของนางสวยผู้เป็นภรรยาเพื่อนำไปขาย
นางสวยเห็นว่าชอบสิ่งของพยานก็คือทรัพย์สินของสามีจึง ยินยอมให้นายหล่อเอาที่ดินไปขายได้
นายหล่อขายที่ดินได้เงินมา 50,000 บาทแนะนำไปซื้อหุ้นได้ 500
รุ่นในกรณีเช่นนี้เงินได้ทำหน้าที่ใดบ้าง
1. เป็นสื่อกลางของการแลกเปลี่ยน และเป็นเครื่องวัดมูลค่า
2. เป็นสื่อกลางของการแลกเปลี่ยนและเป็นมาตรฐานของการชำระหนี้
3. เป็นเครื่องวัดมูลค่า และเป็นมาตรฐานการชำระหนี้
4. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เป็นเครื่องวัดมูลค่า
และเป็นมาตรฐานการชำระหนี้
189. รัฐบาลจะใช้สถาบันใดเป็นแหล่งเงินทุนตามนโยบาย“ ไทยเข้มแข็ง”
1. เงินกู้ต่างประเทศ
2. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า
3. ธนาคารออมสิน
4. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
190. ข้อใดแสดงว่าอำนาจซื้อของเงินบาทสูงขึ้น
1.เงิน 30 บาท เดิมซื้อไข่ไก่ได้ 15 ฟอง ปัจจุบันเงิน 45 บาท ซื้อไข่ไก่ได้ 15 ฟอง
2. เงิน 45 บาท เริ่มซื้อไข่ไก่ได้ 15 ฟอง ปัจจุบันเงิน
60 บาท ซื้อไข่ไก่ได้ 30 ฟอง
3. เงิน 60 บาท เดินซื้อไข่ไก่ได้ 15 ฟอง ปัจจุบันเงิน 45 บาท ซื้อไข่ไก่ใน
9 ฟอง
4. เงิน 75 บาท อยากซื้อไข่ไก่ได้ 15 ฟอง ปัจจุบันเงิน 50 บาท ซื้อไข่ไก่ได้
10 ฟอง
191. ปี 2535 นางอมรซื้อน้ำมันพืช 1 ขวดด้วยเงิน 30 บาทและซื้อไข่เค็ม
10 ฟองด้วยเงิน 25 บาทและเมื่อสิ้นปี 2536 นางอมรซื้อน้ำมันพืช 1 ขวดด้วยเงิน 29
บาทและซื้อไข่เค็ม 10 ฟองด้วยเงิน 24 บาทค่าของเงินและดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภคในปี
2536 เมื่อเทียบกับปี 2535 เป็นเช่นใด
1. ค่าของเงินลดลง ดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภคลดลง
2. ค่าของเงินลดลง ดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภคเพิ่มขึ้น
3. ค่าของเงินเพิ่มขึ้น ดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภคลดลง
4. ค่าของเงินเพิ่มขึ้น เสือชนีราคาสินค้าผู้บริโภคเพิ่มขึ้น
192.
กรณีที่ดัชนีราคาสินค้าโดยทั่วไปมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆเรียกว่ามีภาวะเป็นอย่างไร
1. เงินตึง
2. สินค้าล้นตลาด
3. เงินเฟ้อ
4. เศรษฐกิจตกต่ำ
193. ข้อใดคือสิ่งที่นิยมใช้ในการวัดภาวะเงินเฟ้อ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภค
2. ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ
3. อัตราการหมุนเวียนของเงินในระบบเศรษฐกิจ
4. อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและดุลการชำระเงิน
194. สิ่งใดบอกให้รู้ว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น
1. ระดับราคาสินค้าสูงขึ้น
2. อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น
3. รับระดับรายได้ของประชาชนสูงขึ้น
4. ถ้าการว่างงานสูงขึ้น
195. ข้อใดแสดงว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในประเทศไทย
1. ราคาไข่ไก่และไข่เป็ดสูงขึ้นมาก
2. อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น
3. ดัชนีราคาสูงขึ้น
4. ค่าจ้างแรงงานสูงขึ้
196. สถานการณ์ใดต่อไปนี้อธิบายสภาวะเงินเฟ้อให้ดีที่สุด
1. ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นมาก
2. ปริมาณสินค้าในระบบเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นมาก
3. ระดับราคาสินค้าในระบบเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นมาก
4. การใช้จ่ายของรัฐบาลและประชาชนเพิ่มสูงขึ้นมาก
197. การที่ดัชนีราคาผู้บริโภคสูงขึ้นทุกปีแสดงอะไร
1. ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศสูงขึ้น
2. อำนาจซื้อของเงินลดลง
3. มาตรฐานการครองชีพของประชาชนสูงขึ้น
4. รายได้เฉลี่ยลดลง
198. สภาพการณ์ใดบ่งบอกว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในระบบเศรษฐกิจ
1. ประชาชนมีรายได้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้น
2. อำนาจซื้อของเงินที่อยู่ในมือของประชาชนลดลง
3.สินค้าและบริการต่างๆมีราคาสูงขึ้น
4. เงินจำนวนเท่าเดิมไม่สามารถซื้อสินค้าและบริการตามที่ต้องการได้
199. สาเหตุหนึ่งของเงินเฟ้อคืออะไร
1. อุปสงค์ของเงินน้อยเกินไป
2. อุปทานของเงินน้อยเกินไป
3. อุปสงค์ของสินค้าน้อยเกินไป
4. อุปทานของสินค้าน้อยเกินไป
200. ปัจจัยใดเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ
1. ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีมากเกินไป
2. อุปทานของสินค้ามีมากเกินไป
3. อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดสูงเกินไป
4. การสั่งสินค้าเข้ามีมากเกินไป
-
การสังคายนาครั้งที่ 1 สาเหตุ พระภิกษุสุภัททะ กล่าววาจาในทำนองดูหมิ่นพระพุทธองค์และแสดงความดีใจเมื่อได้ข่าวว่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ผู้เ...
-
1.วิชาเศรษฐศาสตร์เป็นศาสตร์ในสาขาใด เพราะเหตุใด 1. สังคมศาสตร์ เพราะศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ 2. วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เพราะสามารถใช้อธิบายป...
-
ห้องไหนที่ไม่ได้ใบงานลอกโจทย์แล้วจดใส่สมุดด้วยนะครับ ใบงานเรื่อง การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี...