วันพุธ, กุมภาพันธ์ 14, 2567

ตัวอย่างปลายภาค รอบสุดท้าย

 

1. ความหมายโดยทั่วไปของกฎหมายคืออะไร

1. ข้อบังคับของรัฐ

2. บรรทัดฐานในสังคม

3. จารีตประเพณี

4. บรรทัดฐานที่ศาลใช้ในการตัดสินคดี

2. ข้อใดคือลักษณะทั่วไปของกฎหมาย

1. ข้อบังคับซึ่งมุ่งหมายให้มนุษย์เป็นพลเมืองดี

2. ข้อบังคับซึ่งกำหนดไว้เพื่อให้มนุษย์กระทำในสิ่งที่ถูกต้อง

3. ข้อบังคับซึ่งกำหนดให้กระทำหรืองดเว้นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง

4. ข้อบังคับกำหนดความประพฤติของมนุษย์เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ

3. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะโดยทั่วไปของกฎหมาย

1. กฎหมายจะต้องเป็นกฎเกณฑ์ที่จะต้องบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดแจ้ง

2. กฎหมายจะต้องเกิดจากหรือเป็นกฎเกณฑ์ที่ผู้มีอำนาจในการปกครองสังคมยอมรับ

3. กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่ควบคุมความประพฤติของบุคคลในสังคม

4. กฎหมายจะต้องมีข้อบังคับที่เป็นผลร้ายต่อผู้ที่ฝ่าฝืน

4. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของกฎหมาย

1. องค์ประกอบต้องเป็นข้อบังคับของรัฐ

2. กฎหมายต้องมีบทลงโทษ

3. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ

4. กฎหมายเป็นข้อกำหนดความประพฤติและจิตใจของมนุษย์

5. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะทั่วไป

1. ข้อบังคับซึ่งมาจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ผู้มีอำนาจสูงสุดในบ้านเมือง

2. ข้อบังคับซึ่งถ้าผู้ใดไม่ประพฤติตามย่อมได้รับผลร้ายอย่างใดอย่างหนึ่ง

3. ข้อบังคับซึ่งใช้ควบคุมการกระทำของมนุษย์ ไม่ครอบคลุมถึงการกระทำของสัตว์

4. ข้อบังคับซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการกล่อมเกลาจิตใจและมีบทลงโทษเมื่อคิดที่จะฝ่าฝืน

6. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสำคัญของกฎหมาย

1. จะต้องมีสภาพบังคับ

2. จะต้องมีกระบวนการในการจัดทำกฎหมายศาล 

3. จะต้องมีผลบังคับเป็นการทั่วไป

4. จะต้องมีประสิทธิภาพในการบังคับที่ดีกว่ากลไกอื่นๆของสังคม

7. วัตถุประสงค์ที่สำคัญของกฎหมายคือข้อใด

1. การควบคุมความประพฤติของคนในสังคม                                 

2. การประสานประโยชน์

3. การพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้า                                                             

4. การระงับข้อพิพาท

8. ลักษณะเด่นของกฎหมายคือข้อใด

1. การป้องกัน

2. การกำหนดพฤติกรรม

3. การบังคับ

4. การลงโทษ

9. จุดมุ่งหมายหลักของการออกกฎหมาย เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อใด

1. บุคคล        ความประพฤติ      หน้าที่

2. บุคคล         สิทธิ                  หน้าที่

3. ประชาชน    สิทธิ                   หน้าที่

4. ประชาชน    ความประพฤติ       การลงโทษ

10. ข้อใดแสดงว่ากฎหมายแตกต่างจากศีลธรรมมากที่สุด

1. กฎหมายเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแต่ศีลธรรมไม่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร

2. กฎหมายควบคุมมนุษย์ทางกาย แต่ศีลธรรมควบคุมมนุษย์ทางกายและจิตใจ

3. กฎหมายมีบทกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนแต่ศีลธรรมไม่มีบทกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืน

4. กฎหมายเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความจำเป็นทางสังคมแต่จะได้ทำเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากธรรมชาติ

11. ข้อแตกต่างที่สำคัญประการหนึ่งระหว่างกฎหมายและจารีตประเพณีคืออะไร

1. กฎหมายมีสภาพบังคับเสมอแต่จารีตประเพณีไม่มีสภาพบังคับ

2. กฎหมายเกิดจากรัฐเป็นผู้กำหนดขึ้นแต่จารีตประเพณีเกิดจากการปฏิบัติของประชาชน

3. กฎหมายตราขึ้นโดยรัฐสภาแต่จารีตประเพณีตราขึ้นเองโดยสังคม

4. กฎหมายมีการกำหนดความผิดแต่จารีตประเพณีไม่มีการกำหนดความผิด

12. กฎหมายมีลักษณะแตกต่างจากกฎเกณฑ์ข้อบังคับในสังคมอื่นๆคืออะไร

1. เป็นกฎเกณฑ์ที่ผู้ฝากเงินต้องได้รับผลร้ายตามมา

2. เป็นกฎเกณฑ์ที่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

3. เป็นกฎเกณฑ์ที่ผู้ปฏิบัติตามยอมทำด้วยความสมัครใจ

4. เป็นกฎเกณฑ์ที่บุคคลมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามโดยไม่มีทางเลือก

13. ลักษณะใดที่ทำให้กฎหมายแตกต่างจากกฎและระเบียบอื่นๆ

1. เป็นกฎเกณฑ์ที่มีสภาพบังคับ

2. เป็นกฎเกณฑ์ที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติตาม

3. เป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้ควบคุมความประพฤติของมนุษย์

4. เป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม

14. การกระทำในข้อใดที่ผิดศีลธรรมแต่ไม่เป็นความผิดอาญา

1. การดื่มสุราจนเมามายในงานเลี้ยง

2. การจอดรถในที่ห้ามจอด

3. การขับรถเร็วเกินอัตรา

4. การมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต

15. คำกล่าวที่ว่า "ความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว" หมายความว่าอย่างไร

1. ทุกคนจำเป็นต้องรู้กฎหมาย

2. กฎหมายบังคับให้ทุกคนรู้กฎหมาย

3. ถึงไม่รู้กฎหมายก็ไม่เป็นไรแต่อย่าทำผิดกฎหมายก็แล้วกัน

4. เมื่อมีการทำผิดกฎหมายจะอ้างว่าไม่รู้ว่ามีกฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้นไม่ได้

16. ข้อใดเกี่ยวกับความไม่รู้กฎหมายอย่างถูกต้อง

1. ความไม่รู้กฎหมายอาจเป็นความผิดในบางครั้ง

2. ความไม่รู้กฎหมายทำให้รับโทษน้อยลง

3. ความไม่รู้กฎหมายเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นผิดได้

4. ความรู้กฎหมายย่อมใช้อ้างเหตุผลผิดได้

17. บุคคลจะยกความไม่รู้กฎหมายขึ้นแก้ตัวให้พ้นผิดได้เพียงใด

1. แก้ตัวว่าไม่มีความผิดได้

2. แก้ตัวยกเว้นโทษได้

3. แก้ตัวให้พ้นผิดไม่ได้

4. แก้ตัวไม่ต้องรับผิดชอบได้

18. ข้อใดมีความหมายตรงกับลักษณะของกฎหมายที่ว่ากฎหมายใช้ได้เสมอไป

1. กฎหมายนอนหลับแต่ไม่ตาย

2. กฎหมายจะนำมาใช้ได้เมื่อไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายเก่า

3. กฎหมายสามารถใช้บังคับได้จนกว่าจะมีกฎหมายใหม่

4. กฎหมายประกาศใช้แล้วสามารถบังคับใช้กับทุกคน ทุกสถานที่เท่าเทียมกัน

19. บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันข้อใดมีความหมายใกล้เคียงกับข้อความข้างต้นมากที่สุด

1. ลูกชายและลูกสาวจะต้องได้รับเงินค่าขนมไปโรงเรียนเท่ากันและได้รับความคุ้มครองจากพ่อแม่เท่าๆกัน

2. บุคคลทุกคนมีสิทธิ์เป็นทหารได้รับการตรวจคัดเลือก

3. แรงมีสิทธิเรื่องรถรับส่งของโรงเรียนได้เท่าเท่ากับขาว

4. รัฐจะใช้กฎหมายแก่บุคคลทุกคนเท่าเทียมกัน

20. ข้อความใดที่กล่าวถึงกฎหมายไม่ถูกต้อง

1. กฎหมายคือสิ่งที่ศาลใช้ในการตัดสิน

2. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับและบทลงโทษ

3. กฎหมายเป็นข้อบังคับความประพฤติพลเมือง

4. กฎหมายเป็นข้อบังคับของประเทศซึ่งดูประเทศได้มาจากพลเมือง

21. การปฏิรูปกฎหมายและระบบศาลของไทยเกิดขึ้นอย่างจริงจังในรัชสมัยใด

1. รัชกาลที่ 4

2. รัชกาลที่ 5

3. รัชกาลที่ 6

4. รัชกาลที่ 7

22. ประมวลกฎหมายที่ได้ชื่อว่าเป็นประมวลกฎหมายที่ทันสมัยฉบับแรกของไทยคือฉบับใด

1. กฎหมายลักษณะอาญารศ. 127

2. กฎหมายตราสามดวง

3. กฎหมายลักษณะผัวเมีย

4. ประมวลกฎหมายอาญา

23. พินัยกรรมข้อใดไม่อาจดำเนินการได้ตามกฎหมาย

1. ยกเงินให้บุตรที่ไม่บรรลุนิติภาวะ

2. ยกบ้านให้แมวตัวโปรด

3. ยกที่ดินให้สมาคมนักเรียนเก่า

4. ยกตึกแถวให้คนวิกลจริต

24. ประโยคต่อไปนี้"ผู้ใดวางสิ่งของกีดขวางบนทางเท้า..........." ยังไม่มีลักษณะเป็นกฎหมายอาญาจะต้องเติมข้อความในข้อใดจึงจะทำให้ประโยคดังกล่าวมีลักษณะเป็นกฎหมายอาญาได้

1. ต้องใช้ต้องชดใช้ค่าเสียหายห้าร้อยบาท

2. ต้องระวางโทษจำคุก

3. ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

4. ต้องระวางโทษกักกันไม่เกินหนึ่งเดือน

25. คำอธิบายเกี่ยวกับกฎหมายข้อใดไม่ถูกต้อง

1. กฎหมายเกิดจากผู้มีอำนาจในรัฐกฎหมายเกิดจากผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐที่เรียกว่ารัฏฐาธิปัตย์

2. กฎหมายมีผลบังคับใช้จนกว่าจะยกเลิก

3. กฎหมายเป็นกฎที่ประชาชนต้องปฏิบัติตาม

4. กฎหมายเป็นกฎที่รวมถึงกฎเกณฑ์ทางศาสนาและศีลธรรม

26. กฎหมายอิสลามนำมาใช้ในเขตสี่จังหวัดภาคใต้แทนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนที่ว่าด้วยเรื่องอะไร

1. หนี้และทรัพย์สิน

2. หลักทั่วไปและเอกเทศสัญญา

3. ครอบครัวและมรดก

4. พินัยกรรมและการสมรส

27. ระบบกฎหมายที่ใช้อยู่ในประเทศไทยคือข้อใด

1. ระบบกฎหมายมหาชน

2. ระบบประมวลกฎหมาย (civil law)

3. ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (common law)

4. ระบบกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

28. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับระบบกฎหมายคอมมอนลอว์

1. ผู้พิพากษาเป็นผู้สร้างกฎหมาย

2. เป็นระบบที่ไม่มีกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร

3. ประเทศที่เป็นต้นกำเนิดของระบอบนี่คือประเทศอังกฤษ

4. จารีตประเพณีและคำพิพากษาของศาลเป็นที่มาของกฎหมาย

29. ลักษณะสำคัญของกฎหมายสกุลโรมาโน-เยอรมันนิค คือข้อใด

1. ยึดถือจารีตประเพณีเป็นใหญ่

2. ยึดถือคำพิพากษาเป็นใหญ่

3. ยึดถือตัวบทกฎหมายเป็นใหญ่

4. ยึดถือผลประโยชน์ของสังคมเป็นใหญ่

30. ข้อใดเป็นตัวอย่างของกฎหมายจารีตประเพณีในประเทศไทย

1. การชกมวยตามกติกา

2. การแต่งชุดดำไปงานศพ

3. การที่แพทย์ผ่าตัดคนไข้

4. การที่บิดามารดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตร

31. หลักที่ว่า"แพทย์ทำการผ่าตัดคนไข้ไม่มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น"จะถือว่าเป็นกฎหมายหรือที่มาของกฎหมายซึ่งศาลใช้ในการตัดสินคดีได้หรือไม่

1. เป็นกฎหมาย            เพราะสอดคล้องกับ หลักศีลธรรมที่แพทย์ควรช่วยเหลือคนไข้

2. เป็นกฎหมาย            เพราะเป็นหลักจารีตประเพณีที่ปฏิบัติติดต่อกันมาเช่นนั้น

3. ไม่เป็นกฎหมาย          เพราะเป็นเรื่องความพอใจที่คนไข้ทำข้อตกลงกับแพทย์ยกเว้นความผิดกันเอง

4. ไม่เป็นกฎหมาย          เพราะไม่ใช่ข้อบังคับของรัฐที่ออกโดยรัฐสภา

32. กฎหมายจารีตประเพณีหมายถึงอะไร

1. กฎหมายจารีตประเพณีท้องถิ่นที่ยอมรับกันเฉพาะท้องถิ่นนั้น

2. กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่สหประชาชาติประมวลเป็นกฎหมาย

3. จารีตประเพณีที่ปฏิบัติมานานและประมวลเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้ว

4. กฎหมายที่ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่ประชาชนยึดถือปฏิบัติเป็นกฎหมาย

33. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสำคัญของกฎหมายจารีตประเพณี

1. กำหนดแบบแผนความประพฤติของมนุษย์

2. เป็นคำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์

3. เมื่อฝ่าฝืนต้องได้รับโทษ

4. ใช้บังคับต่อพลเมืองทั่วไป

34. ข้อใดเป็นจารีตประเพณีที่ไม่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่ได้รับการยอมรับประพฤติปฏิบัติตามกันมานานจนเป็นที่ยอมรับกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์เสมอด้วยกฎหมายในประเทศไทย

1. การที่คนในสังคมสามารถพาปศุสัตว์ของตนผ่าน หรือเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นซึ่งมิได้กันเพื่อให้ปศุสัตว์กินหญ้า

2. การที่นักมวยไทยได้ไปชกมวยสากลแล้วใช้เท้าเตะอีกฝ่ายจนถึงแก่ความตาย

3. การที่บิดามารดาเครียดบุตรตามสมควรเพื่ออบรมสั่งสอนให้บุตรเป็นคนดี

4. การที่แพทย์ตัดแขนขาคนไข้เพื่อช่วยชีวิตโดยไม่ได้รับความยินยอมจากญาติของคนไข้พ่อไม่อาจรอช้าได้อีกต่อไป

35. เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีกฎหมายไทยให้นำสิ่งใดมาปรับกับคดีแทน

1. จารีตประเพณีของท้องถิ่น

2. คำพิพากษาของศาล

3. ศีลธรรมจรรยา

4. วิถีชาวบ้าน

36. การอุดช่องว่างของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้ใช้กฎหมายตามลำดับก่อนหลังในข้อใด

1. จารีตประเพณี          การใช้กฎหมายที่ใกล้เคียง     หลักกฎหมายทั่วไป

2. จารีตประเพณี          หลักกฎหมายทั่วไป             การใช้กฎหมายที่ใกล้เคียง

3. หลักกฎหมายทั่วไป      การใช้กฎหมายที่ใกล้เคียง    จารีตประเพณี

4. หลักกฎหมายทั่วไป      จารีตประเพณี                  การใช้กฎหมายที่ใกล้เคียง

37. การนำหลักจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นมาใช้บังคับได้ในกรณีใด

1. ไม่สามารถของความมุ่งหมายแห่งบทบัญญัติที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในเรื่องนั้นได้

2. ไม่มีกฎหมายบัญญัติในเรื่องนั้นไว้

3. ไม่มีบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งบัญญัติในเรื่องนั้นไว้

4. มีหลักกฎหมายทั่วไปบัญญัติในเรื่องนั้นไว้

38. การใช้บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งนั้นในกฎหมายไทยยอมรับหรือไม่

1. ไม่ยอมรับ     เพราะจะไม่เป็นธรรมกับผู้ไม่รู้

2. ไม่ยอมรับ      เพราะกฎหมายจะบังคับได้ต้องมีบัญญัติไว้โดยตรง

3. ไม่ยอมรับ     เพราะกฎหมายต้องใช้ตามตัวอักษร

4. ยอมรับ       โดยบัญญัติไว้ในการอุดช่องว่างในกฎหมายแพ่ง

39. การแบ่งประเภทกฎหมายตามหน้าที่ของกฎหมายคือข้อใด

1. กฎหมายเอกชน/ กฎหมายมหาชน

2. กฎหมายสารบัญญัติ/ กฎหมายวิธีสบัญญัติ

3. รัฐธรรมนูญ/พระราชบัญญัติ/พระราชกฤษฎีกา

4. กฎหมายแพ่ง/กฎหมายอาญา/กฎหมายปกครอง

40. ประเภทของกฎหมายในข้อใดเกิดจากการแบ่งประเภทตามลักษณะความสัมพันธ์ของคู่กรณี

1. กฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่ง

2. กฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ

3. กฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายจารีตประเพณี

4. กฎหมายเอกชนกฎหมายมหาชนและกฎหมายระหว่างประเทศ

41. การแบ่งกฎหมายออกเป็นกฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญานั้นเป็นการแบ่งโดยยึดถืออะไรและเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง

1. เนื้อหาสาระของกฎหมาย

2. บทบาทของกฎหมาย

3. ลักษณะของกฎหมาย

4. สภาพบังคับ

42. กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองกับพลเมืองด้วยกันหรือความสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองกับรัฐโดยรัฐรวมอยู่ในฐานะเท่าเทียมกับพลเมืองคือข้อใด

1. กฎหมายเอกชน

2. กฎหมายพลเรือน

3. กฎหมายมหาชน

4. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

43. กฎหมายใดควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคล

1. กฎหมายอาญา

2. กฎหมายปกครอง

3. กฎหมายรัฐธรรมนูญ

4. กฎหมายแพ่งและพาณิชย์

44. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมากที่สุดคือข้อใด

1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ

2. กฎหมายแพ่ง

3. กฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา

4. กฎหมายอาญา

45. กฎหมายอะไรได้กำหนดสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคล

1. กฎหมายสารบัญญัติ

2. กฎหมายมหาชน

3. กฎหมายวิธีสบัญญัติ

4. กฎหมายเอกชน

46. กฎหมายบัญญัติว่าผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่แล้วไปโดยทุจริตผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีและปรับไม่เกินหกพันบาทกฎหมายดังกล่าวจัดอยู่ในประเภทใด

1. กฎหมายสารบัญญัติ

2. กฎหมายสบัญญัติ

3. กฎหมายวิธีสารบัญญัติ

4. กฎหมายวิธีสบัญญัติ

47. ประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ประมวลกฎหมายอาญาจัดเป็นกฎหมายประเภทใด

1. กฎหมายมหาชน

2. กฎหมายตามแบบพิธี

3. กฎหมายสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคล

4. กำหนดวิธีการบังคับให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายสารบัญญัติ

48. ข้อใดคือคำอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญ

1. กฎหมายมหาชนเพราะจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

2. กฎหมายมหาชนเพราะเป็นกฎหมายที่จัดความสัมพันธ์ของการใช้อำนาจอธิปไตย

3. กฎหมายเอกชนเพราะบัญญัติซึ่งสิทธิเสรีภาพและความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกชนบุคคล

4. กฎหมายเอกชนเพราะเป็นกฎหมายบัญญัติถึงสถานะและความสามารถของประชาชน

49. ข้อใดไม่ใช่กฎหมายมหาชน

1. รัฐธรรมนูญ

2. กฎหมายแพ่ง

3. กฎหมายอาญา

4. กฎหมายปกครอง

50. ข้อใดจัดอยู่ในประเภทกลุ่มกฎหมายมหาชน

1. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายที่ดิน

2. กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายว่าด้วยครอบครัวประมวล กฎหมายอาญา

3. รัฐธรรมนูญ กฎหมายว่าด้วยมรดก กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

4. รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายที่ดิน กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

51. พฤติกรรมใดไม่ได้เกี่ยวข้องกับกฎหมายมหาชน

1. นาย ก ถูกศาลตัดสินจำคุกเท่าฐานลักทรัพย์ผู้อื่น

2. รัฐสภาได้ร่วมกันบัญญัติกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งซ่อม

3. นาย ค ได้ฟ้องร้องต่อศาลในกรณีที่ถูกเจ้าหน้าที่กักขังโดยไม่ได้ทำผิดใดๆ

4. รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ขอให้ไทยส่งชาวอเมริกาที่ค้ายาเสพติดไปรับโทษในประเทศนั้น

52. ข้อใดจัดลำดับความสำคัญของกฎหมายลายลักษณ์อักษรของไทยได้ถูกต้อง

1. รัฐธรรมนูญ/พระราชกำหนด/พระราชกฤษฎีกา/พระราชบัญญัติ/เทศบัญญัติ

2. รัฐธรรมนูญ/พระราชกฤษฎีกา/พระราชกำหนด/พระราชบัญญัติ/เทศบัญญัติ

3. รัฐธรรมนูญ/พระราชบัญญัติ/พระราชกำหนด/พระราชกฤษฎีกา/เทศบัญญัติ

4. รัฐธรรมนูญ/พระราชบัญญัติ/พระราชกฤษฎีกา/พระราชกำหนด/เทศบัญญัติ

53. กฎหมายในข้อใดอยู่ในลำดับศักดิ์ของกฎหมายชั้นเดียวกัน

1. พระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัติ

2. พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย

3. พระราชกำหนดและพระราชกฤษฎีกา

4. ประมวลกฎหมายและพระราชกฤษฎีกา

54. ข้อใดแสดงการเรียงลำดับชั้นของกฎหมายได้ถูกต้องที่สุด

1. รัฐธรรมนูญ    พระราชบัญญัติ    พระราชกฤษฎีกา   ประมวลกฎหมาย

2. รัฐธรรมนูญ   พระราชกำหนด   ประมวลกฎหมาย   ประกาศกระทรวง

3. พระราชบัญญัติ   พระราชกฤษฎีกา   กฎกระทรวง   ประกาศกระทรวง 

4. พระราชบัญญัติพระราชกำหนด   ประกาศทบวง   ประมวลกฎหมาย

55. กฎหมายใดมีที่มาแตกต่างจากกฎหมายอื่น

1. ท่าชัยบัญญัติ

2. พระราชกำหนด

3. พระราชกฤษฎีกา

4. กฎกระทรวง

56. กติกาในการเล่นฟุตบอลกำหนดแนวทางการเล่นฟุตบอลตลอดจนโครงสร้างและผู้เล่นของแต่ละทีมอยากทราบว่ากฎหมายในข้อใดที่ทำหน้าที่คล้ายๆกับกติกาดังกล่าว

1. พระราชกำหนด

2. พระราชกฤษฎีกา

3. พระราชบัญญัติ

4. รัฐธรรมนูญ

57. กฎหมายในข้อใดกำหนดรูปแบบองค์กรของรัฐกำหนดกลไกในการปกครองและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

1. รัฐธรรมนูญ

2. กฎหมายปกครอง

3. กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน

4. กฎหมายบริหารราชการแผ่นดิน

58. ในกรณีที่บ้านเมืองตกอยู่ในภาวะฉุกเฉินมีความจำเป็นต้องใช้กฎหมายเพื่อรักษาความปลอดภัยของประชาชนอย่างเร่งด่วนรัฐบาลมีอำนาจออกกฎหมายประเภทใดขึ้นใช้ได้

1. พระราชกำหนด

2. พระราชกฤษฎีกา

3. พระราชบัญญัติ

4. กฎกระทรวง

59. พระราชบัญญัติและพระราชกําหนดมีความคล้ายกันในเรื่องใด

1. เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหาร

2. เป็นระเบียบข้อบังคับใช้ควบคุมการประพฤติปฏิบัติของประชาชน

3. ก่อนที่จะประกาศใช้ต้องได้รับการพิจารณาอนุมัติจากรัฐสภา

4. เป็นกฎหมายที่มีลำดับความสำคัญเทียบได้กับประมวลกฎหมาย

60. ข้อใดเป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร

1. พระราชบัญญัติ    กฎกระทรวง   พระราชกำหนด

2. พระราชบัญญัติ    กฎกระทรวง   กฎมณเฑียรบาล

3. พระราชกฤษฎีกา  กฎกระทรวง   พระราชกำหนด

4. รัฐธรรมนูญ   ธรรมนูญการปกครอง   ประกาศกระทรวง

61. ข้อใดไม่ใช่กฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหาร

1. กฎทบวง

2. พระราชกำหนด

3. พระราชกฤษฎีกา

4. พระราชบัญญัติ

62. กฎหมายชนิดใดไม่ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภาหรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่ว่ากรณีใด

1. พระราชบัญญัติ

2. พระราชกฤษฎีกา

3. รัฐธรรมนูญ

4. พระราชกำหนด

63. คณะรัฐมนตรีมีอํานาจถวายคำแนะนำการบัญญัติกฎหมายใด

1. พระราชบัญญัติ

2. พระราชกฤษฎีกา

3. รัฐธรรมนูญ

4. กฎทบวง

64. กฎหมายประเภทใดอยู่ในลำดับศักดิ์ที่ต่ำที่สุด

1. พระราชกฤษฎีกา

2. พระราชกำหนด

3. พระราชบัญญัติ

4. ประมวลกฎหมาย

65. กฎหมายใดที่มีลักษณะเป็นกฎหมายชั่วคราว

1. พระราชกำหนด

2. กฎกระทรวง

3. พระราชกฤษฎีกา

4. เทศบัญญัติ

66. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับผลการบังคับใช้พระราชบัญญัติ

1. เมื่อประกาศใช้บังคับแล้ว จะสิ้นผลไปก็ต่อเมื่อมีพระราชบัญญัติออกมายกเลิก

2. เมื่อประกาศใช้บังคับแล้ว จะสิ้นผลไปก็ต่อเมื่อมีพระราชบัญญัติฉบับใหม่ในเรื่องเดียวกันออกมาใช้บังคับ

3. เมื่อประกาศใช้บังคับแล้ว จะสิ้นผลไปต่อเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่และพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

4. เมื่อประกาศใช้บังคับแล้ว ปรากฏว่าไม่เคยมีการบังคับใช้ในทางปฏิบัติติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้สิ้นผลไปโดยปริยาย

67. ประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 42 ได้ยกเลิกบางส่วนของพระราชบัญญัติฉบับหนึ่ง ดังนั้นประกาศฯ ดังกล่าวจะมีฐานะเท่ากับกฎหมายใด

1. พระราชบัญญัติ

2. มติของคณะรัฐมนตรี

3. พระราชกฤษฎีกา

4. กฎกระทรวง

68. ข้อใดคือข้อที่แสดงลักษณะสำคัญของกฎกระทรวง

1. ตราขึ้นโดยรัฐมนตรีตามสภาพงานในแต่ละกระทรวง

2. ตราขึ้นโดยรัฐมนตรีตามกฎหมายหลักของแต่ละกระทรวง

3. ตราขึ้นโดยอนุกรรมการข้าราชการพลเรือนประจำกระทรวง

4. ตราขึ้นโดยปลัดกระทรวงตามความเห็นชอบของที่ประชุมกระทรวง

69. การที่กรุงเทพฯ ประกาศห้ามรถที่มีคนนั่งเพียงคนเดียวผ่านถนนที่มีมลพิษมากถ้าจะให้มีผลบังคับต้องตราเป็นกฎหมายใด

1. กฎจราจร

2. เทศบาล

3. กฎกระทรวง

4. ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร

70. กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องใดเป็นสำคัญ

1. การใช้อำนาจอธิปไตย

2. การจัดระเบียบบริหารราชการ

3. การถ่วงดุลอำนาจทางการเมือง

4. การคุ้มครองสิทธิของประชาชน

71. ข้อใดจัดว่าเป็นกฎหมายปกครอง

1. กฎหมายอาญา

2. กฎหมายมหาชน

3. กฎหมายรัฐธรรมนูญ

4. กฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

72. กฎหมายที่ต้องตีความโดยเคร่งครัดคือกฎหมายใด

1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ

2. กฎหมายแพ่ง

3. กฎหมายอาญา

4. กฎหมายมหาชน

73. ข้อใดไม่ใช่กฎหมายวิธีสบัญญัติ

1. กฎหมายอาญา

2. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

3. กฎหมายลักษณะพยาน

4. พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

74. ข้อใดไม่ใช่กฎหมายสารบัญญัติ

1. ประมวลกฎหมายที่ดิน

2. ประมวลกฎหมายรัษฎากร

3. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

4. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

75. องค์กรใดในระบบการปกครองของไทยไม่มีหน้าที่ออกกฎหมาย

1. วุฒิสภา

2. สภาเทศบาล

3. คณะรัฐมนตรี

4. ศาลรัฐธรรมนูญ

76. องค์กรใดมีหน้าที่ควบคุมและดำเนินการจัดการที่มีการออกเสียงประชามติตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

1. ศาลรัฐธรรมนูญ

2. ศาลปกครอง

3. กระทรวงมหาดไทย

4. คณะกรรมการการเลือกตั้ง

77. ข้อใดไม่มีสภาพบังคับที่เด็ดขาดจริงจัง

1. ประมวลกฎหมายรัษฎากร

2. ประมวลกฎหมายที่ดิน

3. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

4. ประมวลวิเคราะห์คำพิพากษาศาลฎีกา

78. การเรียกเบี้ยปรับวันละสองพันบาท จนกว่าจะปฏิบัติตามสัญญาถือว่าเป็นอะไร

1. โทษทางกฎหมายมหาชน

2. สภาพบังคับทางแพ่ง

3. กฎหมายเอกชน

4. ประเพณีทางการการค้าแพ่งและพาณิชย์

79. ได้ปกติแล้วกฎหมายจะสิ้นผลบังคับเมื่อใด

1. ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี

2. ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าขัดกับรัฐธรรมนูญ

3. ออกพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชบัญญัตินั้น

4. มีการออกกฎหมายใหม่มายกเลิกกฎหมายนั้น

80. ข้อใดคือสถานะของคำพิพากษาศาลฎีกาในระบบกฎหมายไทย

1. เป็นกฎหมายจารีตประเพณี

2. เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร

3. ไม่เป็นกฎหมายแต่ผูกมัดว่าสารล่างต้องปฏิบัติตาม

4. ไม่เป็นกฎหมายแต่จงใจศาลร้างให้อาจปฏิบัติตามได้

81. การจัดลำดับศักดิ์ของกฎหมายมีประโยชน์อย่างไร

1. รู้จักความสำคัญของกฎหมายต่างๆ

2. เรียงลำดับความสำคัญของกฎหมายได้อย่างถูกต้อง

3. พิจารณาได้ว่ากฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าย่อมยกเลิกกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่า

4. พิจารณาได้ว่ากฎหมายใดใช้ก่อนหรือหลังอีกฉบับหนึ่ง

82. หลักที่ว่า"พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้"ปรากฎอยู่ในกฎหมายใด

1. กฎหมายตราสามดวง

2. กฎมณเฑียรบาล

3. ประกาศพระบรมราชโองการ

4. รัฐธรรมนูญ

83. ข้อใดเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

1. สมาคม

2. เรือเดินสมุทร

3. สำนักสงฆ์

4. คอนโดมิเนียม

84. ข้อใดไม่ใช่นิติบุคคล

1. อำเภอ

2. ทบวงการเมือง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม

3. ห้างหุ้นส่วนจำกัด

4. วัดวาอาราม

85. ข้อใดไม่ใช่นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

1. บริษัท

2. สมาคม

3. มูลนิธิ

4. การไฟฟ้าแห่งประเทศไทย

86. "นิติบุคคล หมายถึง บุคคลตามกฎหมาย มีสิทธิและหน้าที่ได้เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดาเป็นแต่สิทธิและหน้าที่บางประการซึ่งโดยสภาพแล้วจะมีได้เฉพาะบุคคลธรรมดา" ข้อความนี้หมายความว่าอย่างไร

1. บุคคลธรรมดามีสิทธิได้มากกว่านิติบุคคล

2. นิติบุคคลอาจมีสิทธิได้มากกว่าบุคคลธรรมดา

3. นิติบุคคลและบุคคลธรรมดามีสิทธิและหน้าที่เท่าๆกัน

4. บุคคลธรรมดามีสิทธิและหน้าที่บางอย่างซึ่งนิติบุคคลไม่มี

87. สิทธิของบุคคลเริ่มตั้งแต่เมื่อใด

1. เมื่อบิดามารดารับรองว่าเป็นบุตร

2. ว่าอยู่ในครรภ์มารดานับตั้งแต่มารดาเริ่มตั้งครรภ์

3. เมื่อคลอดจากครรภ์มารดาด้วยความปลอดภัย

4. เมื่อบิดามารดาแจ้งการต่อเจ้าหน้าที่ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

88. บุคคลธรรมดาเริ่มมีสิทธิตามกฎหมายเมื่อใด

1. ตั้งแต่มารดาเริ่มตั้งครรภ์ แม้ว่าได้ตายก่อนเกิดมามีชีวิตรอดอยู่

2. ตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์มารดา หากว่าภายหลังเกิดมามีชีวิตรอดอยู่

3. เมื่อบิดามารดาแจ้งการเกิดต่อเจ้าหน้าที่ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

4. เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกจนมีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์

89. รู้แต่เพียงว่านางปุ๋ยเกิดปีพ.ศ. 2500 แต่พ้นวิสัยที่จะรู้วันเกิดนางปุ๋ยได้ ดังนี้นางปุ๋ยบรรลุนิติภาวะเมื่อใด

1. 1 มกราคม พ. ศ. 2520

2. 2 มกราคม พ. ศ. 2520

3. 1 เมษายน พ.ศ. 2520

4. 2 เมษายน พ.ศ. 2520

90. กฎหมายได้บัญญัติให้บุคคลมีที่อยู่เป็นประจำและเรียกที่อยู่นี้ว่าอะไร

1. สำมะโนครัว

2. ภูมิลำเนา

3. สถานะ

4. ความสามารถ

91. ข้อใดไม่ต้องจดทะเบียนสถานะของบุคคล

1. การบรรลุนิติภาวะ

2. การสมรส

3. การรับรองบุตร

4. การเลิกรับรองบุตรบุญธรรม

92. ข้อใดเป็นผลของการสาบสูญ

1. ต้องจัดให้มีผู้พิทักษ์

2. การสำรวจย่อมสิ้นสุดลง

3. กฎหมายกำหนดภูมิลำเนาให้

4. ทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาท

93. บุคคลใดคือผู้ที่ศาลแต่งตั้งให้เป็นผู้ดูแลคนไร้ความสามารถ

1. ผู้พิทักษ์

2. ผู้อภิบาล

3. ผู้อนุบาล

4. ผู้ปกครอง

94. นิติกรรมใดที่ผู้เยาว์ไม่อาจทำได้โดยลำพังตนเอง

1. การทําพินัยกรรมเมื่อมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์

2. การจดทะเบียนรับรองบุตร

3. การรับทรัพย์ที่มีผู้อื่นให้โดยเสน่หา

4. การซื้อรถยนต์เพื่อขับขี่

95. ผู้เยาว์สามารถกระทำกิจกรรมใดได้ด้วยตนเองอย่างสมบูรณ์และถูกต้องตามกฎหมาย

1. การทําพินัยกรรมเมื่ออายุ 16 ปี

2. หมั้นเมื่ออายุ 17 ปี

3. จดทะเบียนสมรสเมื่ออายุ 18 ปี

4. ซื้อรถยนต์เมื่ออายุ 19 ปี

96. ข้อใดแสดงว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆียกรรม

1. เด็กชายดำไปซื้อโทรศัพท์มือถือ ต่อมาบิดาของเด็กชายดำนำไปคืนผู้ขาย เพราะราคาแพงกว่าปกติ

2. เด็กชายดำไปซื้อโทรศัพท์มือถือ ต่อมาครูของเด็กชายดำนำไปคืนผู้ขาย เพราะราคาแพงกว่าปกติ

3. เด็กชายดำไปซื้อโทรศัพท์มือถือ ต่อมาเด็กชายดำนำไปคืนผู้ขาย เพราะราคาแพงกว่าปกติ

4. เด็กชายดำไปซื้อโทรศัพท์มือถือ ต่อมาเด็กชายดำนำไปคืนผู้ขาย เพราะบิดาของเด็กชายดำสั่งให้ไปคืน

97. นิติกรรมที่มีผลเป็นโมฆียะหมายความว่าอย่างไร

1. ไม่มีผลบังคับใช้จนกว่าจะมีการให้สัตยาบันไม่มีผลบังคับอย่างใดเลยในทางกฎหมาย

3. ไม่มีผลสมบูรณ์จนกว่าจะมีการบอกล้างโมฆยกรรม

4 มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายหากไม่มีการบอกล้างโมมียกรรม

98. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับผลของพินัยกรรมที่ทำโดยผู้เยาว์

1. มีผลเป็นโมฆยะเพราะไม่เป็นไปตามหลักเรื่องความสามารถในการทำนิติกรรม

2. มีผลเป็นโมฆะเพราะตามหลักกฎหมายมรดกห้ามไม่ให้ผู้เยาว์ทำพินัยกรรม

3. มีผลเป็นโมฆะถ้าหากผู้เยาว์ที่มีอายุต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์เป็นผู้ทำพินัยกรรม

4. มีผลเป็นโมฆยะเพราะการแสดงเจตนาในการทำพินัยกรรมของผู้เยาว์ไม่สมบูรณ์

99. ปัจจุบันเอกมีอายุสิบสีปีสิบเจ็ดเดือนในส่วนที่เกี่ยวกับความสามารถของผู้เยาว์ต่อไปนี้ข้อใดถูกต้องที่สุด

1. เอกสามารถที่จะทำพินัยกรรมได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน

2. ถ้าหากเอกทำพินัยกรรมและไม่ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาก่อนพินัยกรรมจะตกเป็นโมฆี่ยะ

3. เอกยังไม่สามารถที่จะทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเพราะขัดกฎหมาย

4. ถ้าหากเอกต้องการที่จะทำพินัยกรรมเอกจะต้องขอความยินยอมจากบิดามารดาก่อน

100. นางสาวน้ำอ้อยได้ทำพินัยกรรมขณะมีอายุ 14 ปีต่อมานางสาวน้ำอ้อยเสียชีวิตเมื่อมีอายุพินัยกรรมที่ทำขึ้นมีผลใช้ได้หรือไม่

1. พินัยกรรมเป็นโมฆะเพราะอายุไม่ครบที่จะทำพินัยกรรมได้

2. พินัยกรรมเป็นโมฆะเพราะไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมให้ทำได้

3. พินัยกรรมมีผลใช้ได้เพราะเป็นเรื่องที่นางสาวน้ำอ้อยได้ทำเองเฉพาะตัว

4. พินัยกรรมมีผลใช้ได้เพราะนางสาวน้ำอ้อยเสียชีวิตในขณะบรรลุนิติภาวะแล้ว

101. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนเกี่ยวกับเรื่องความสามารถข้อใดผิด

1. ผู้เยาว์อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปสามารถทำพินัยกรรมได้

3. ผู้เยาว์ที่ถูกจำกัดความสามารถไม่สามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้

3. การจำกัดความสามารถในการทำพินัยกรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคนวิกลจริต

4. การตกเป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือบุคคลเสมือนไร้ความสามารถมีผลทันที่ที่ศาลได้มีคำพิพากษา

102. จากหลักเกณฑ์ของกฎหมายแพ่งที่เกี่ยวกับผู้เยาว์ข้อใดผิด

1. ผู้เยาว์ตกอยู่ในฐานะลูกหนี้ได้

2. ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะได้ด้วยการสมรส

3. ผู้เยาว์ถูกจำกัดความสามารถในการทำนิติกรรม

4. ผู้เยาว์ถูกจำกัดความสามารถในการเป็นเจ้าของบ้านและที่ดิน

103. การที่ผู้เยาว์ถูกจำกัดความสามารถในการทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะเป็นการขัดกับหลักความเสมอภาคตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญว่า“ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย.......... "หรือไม่เพราะเหตุใด

1. ขัดเพราะเป็นการจำกัดสิทธิ์อย่างชัดเจน

2. ขัดเพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญย่อมอยู่เหนือกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อ

3. ไม่ขัดเพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้ห้ามผู้เยาว์ทำนิติกรรม

4. ไม่ขัดเพราะนิติกรรมที่ผู้เยาว์ได้ทำลงโดยมิได้รับความยินยอมมีผลเป็นโมฆียะ

104. ประชาอายุปีบริบูรณ์มีสิทธิในการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ 2540 ถ้าประชาต้องการที่จะทำสัญญาซื้อขายที่ดินให้มีผลสมบูรณ์ในทางกฎหมายประชาจะต้องขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมหรือไม่เพราะเหตุใด

1.ไม่ต้องขอความยินยอมเพราะรัฐธรรมนูญรับรองสิทธิดังกล่าวแล้ว

2. ไม่ต้องขอความยินยอมเพราะถือว่าประชาชนบรรลุนิติภาวะแล้ว

3. ต้องขอความยินยอมเพราะการซื้อขายที่ดินเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่กฎหมายบังคับให้ต้องจดทะเบียนจึงต้องได้รับความยินยอมก่อน

4. ต้องขอความยินยอมเพราะประชายังเป็นผู้เยาว์จึงถูกจำกัดความสามารถในการทำนิติกรรม

105. บุคคลใดมีอำนาจทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์

 1. ผู้รับมอบอำนาจจากผู้เยาว์

2. ผู้อนุบาล

3. ผู้แทนโดยชอบธรรม

4. ผู้พิทักษ์

 106. ใครเป็นผู้ให้ความยินยอมแก่คนเสมือนไร้ความสามารถในการทำนิติกรรมบางประเภท

1. ผู้แทนโดยชอบธรรม

2. ผู้พิทักษ์

3. ผู้อนุบาล

4. ผู้ใช้อำนาจปกครอง

107. บุคคลใดอาจถูกศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ

1. ผู้เยาว์

2. คนไร้ความสามารถ

3. คนปัญญาอ่อน

4. คนวิกลจริต

108, คนติดยาบ้าอาจถูกร้องขอให้ศาลสั่งว่าเป็นผู้หย่อนความสามารถประเภทใด

1. ผู้อนุบาล

2. คนวิกลจริต

3. คนไร้ความสามารถ

4. คนเสมือนไร้ความสามารถ

109. คนเสมือนไร้ความสามารถจะทำพินัยกรรมด้วยตนเองได้หรือไม่

1. ทำได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์

2. ทำไม่ได้เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาลแล้ว

3. ทำได้แต่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์

4. ทำไม่ได้ต้องให้ผู้พิทักษ์กระทำแทน

110. กิจการใดที่คนเสมือนไร้ความสามารถทำได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์

1. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล

2. รับชำระหนี้เงินกู้ซึ่งบิดาให้ผู้อื่นยืมไป

3. บอกสละมรดกที่ตกทอดมาถึงตน

4. ทำพินัยกรรม

111. การเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถสิ้นสุดลงเมื่อใด

1. ผู้พิทักษ์ตาย

2. ศาลเพิกถอนคำสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถแล้ว

3. ศาลสั่งถอนผู้พิทักษ์

4. อาการจิตฟันเฟือนหายเป็นปกติ

112. เด็กชายแดงอายุ 6 ขวบผลักเด็กชายเขียวล้มหัวแตกต้องเย็บแผล 5 เข็มเด็กชายแดงต้องรับผิดหรือไม่อย่างไร

1. รับผิดทั้งในทางอาญาและทางแพ่ง

2. รับผิดทางแพ่งแต่ไม่รับผิดทางอาญา

3. รับผิดทางอาญาแต่ไม่รับผิดทางแพ่ง

4. ไม่ต้องรับผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่ง

113. นาย ก. หมั้นกับนางสาวข. ภายหลังนางสาว ข. ไปแต่งงานกับนาย ค. จากเหตุการณ์ข้างต้นข้อความต่อไปนี้ข้อใดถูก

 1. นางสาว ข. ยังมีสิทธิครอบครองของหมั่นโดยไม่ต้องส่งคืนนายก.

 2. นางสาว ข. มีความผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัว

 3. นาย ก. สามารถร้องต่อศาลให้นางสาวข. คืนของหมั้นแก่นายก. ได้

 4. นายสามารถร้องต่อศาลให้การแต่งงานของนางสาว ข. และนาย ค. เป็นโมฆะได้

 114. การผิดสัญญาหมั้นฝ่ายที่เสียหายย่อมมีสิทธิเรียกร้องจากฝ่ายที่ผิดสัญญาได้ยกเว้นเรื่องใด

1. เรียกค่าทดแทนความเสียหาย

2. ร้องขอให้ศาลบังคับให้มีการสมรส

3. ถ้าไม่มีการสมรสอันเนื่องมาจากฝ่ายหญิงผิดสัญญาต้องคืนของหมั้นให้ฝ่ายชาย

4. ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนจากฝ่ายหญิงได้ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง

115. นายสมชายได้หมั้นกับนางสาวสุดสวยด้วยแหวนเพชรและได้ให้สินสอดแก่บิดามารดาฝ่ายหญิงต่อมานายสมชายเปลี่ยนใจไปแต่งงานกับนางสาวกัลยาจากกรณีดังกล่าวข้อใดถูกต้องที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

1. นายสมชายสามารถเรียกสินสอดคืนจากบิดามารดาของนางสาวสุดสวยเพราะมิได้แต่งงานกับนางสาวสุดสวย.

2. นายสมชายสามารถเรียกแหวนคืนจากนางสาวสุดสวยมาให้นางสาวกัลยาเพราะเป็นหญิงที่แต่งงานด้วย.

3. นางสาวสุดสวยสามารถร้องขอให้ศาลสั่งนายสมชายมาสมรสกับตนเพราะได้มีการหมั้นกันแล้ว

4. นายสมชายจะต้องเสียเบี้ยปรับให้กับนางสาวสุดสวยเพราะผิดสัญญาหมั้น

116. ถ้าชายผิดสัญญาหมั้นหญิงคู่หมั้นมีสิทธิอย่างไร

1. เรียกค่าทดแทนความเสียหายต่อกายและจิตใจของหญิงได้การ

2. เรียกค่าทดแทนความเสียหายต่อชื่อเสียงของหญิงได้

3. ริบของหมั้นแต่จะเรียกค่าทดแทนอีกไม่ได้

4. ริบของหมั้นและร้องขอให้ศาลบังคับสมรสได้

117. นายช้างหมั้นนางสาวไก่โดยมีแหวนเพชรน้ำงาม 5 กะรัตเป็นประกันพอใกล้วันสมรสนางสาวไก่เกิดเปลี่ยนใจไม่ต้องการสมรสกับนายช้างเพราะหลงรักคนอื่นเธอได้หลบหนีออกจากบ้านไปจงพิจารณาปัญหานี้โดยอาศัยเหตุผลความเป็นไปได้และหลักกฎหมายนายช้างควรใช้วิธีใดจึงจะดีที่สุด

1. ติดตามหานางสาวไก่แล้วอ้อนวอนขอแต่งงานด้วย

2. ฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจขอให้บังคับนางสาวไก่คืนแหวนหมั้น

3. ฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจขอให้บังคับนางสาวไก่แต่งงานกับตน

4. ขอให้ผู้ปกครองนางสาวไก่ยกน้องสาวชื่อเก้งซึ่งมีความงามพอๆกันให้แต่งงานกับตนแทน

118. นายแผนสมรสกับนางวันทองโดยชอบด้วยกฎหมายนายแผนไปต่างประเทศนางวันทองถูกนายช้างข่มขืนบุตรที่เกิดขึ้นระหว่างนางวันทองและนายช้างจะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของใคร

1. เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนางวันทองและนายแผน

2. เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายช้างโดยไม่จำเป็นต้องดำเนินการใดๆ

3. เมื่อพิสูจน์ได้ว่าเป็นบุตรของนายช้างย่อมเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายช้าง

4. แม้นนางวันทองจะสมรสกับนายแผนบุตรนั้นยังคงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนางวันทอง

119. เด็กชายดำเป็นบุตรนอกสมรสของนายเงินและนางทองต่อมานางทองได้สมรสกับนายเพชรและได้นำเด็กชายดำไปเลี้ยงดูด้วยใครเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายดำ

1. นายเงินและนางทอง

2. นางทองและนายเพชร

3. นายเงินหรือนางทอง

4. นางทองคนเดียว

120. ชาย-หญิงคู่ใดสามารถทำการสมรสได้ตามกฎหมาย

1. ชาย-หญิงร่วมบิดาแต่ต่างมารดากัน

2. หญิงหย่ากับคู่สมรสเดิมนับจากวันหย่าก่อน 310 วัน

3. พ่อบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมซึ่งเป็นหญิงบรรลุนิติภาวะแล้ว

4. ฝ่ายชายเป็นลูกของพี่ชายพ่อฝ่ายหญิงเป็นลูกของน้องชายพ่อ