วันอังคาร, กรกฎาคม 26, 2554

บุคลล (ม.3)

กฎหมายว่าด้วยความสามารถของบุคคล

ประเภทของบุคคล
Ø บุคคลในทางกฎหมาย หมายถึง สิ่งซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายจำแนกเป็น ๒ ประเภท คือ
                  1. บุคคล คือ มนุษย์ คือ มนุษย์เราโดยทั่วไป
                  2. นิติบุคล คือ สิ่งที่กฎหมายสมมติว่าเป็นบุคคลหรือยกขึ้นเป็นบุคคลเพื่อให้มีสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ ได้ตามกฎหมาย

บุคคลธรรมดา
การเริ่มสภาพบุคคล
สภาพบุคคลเริ่มตั้งแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
            1. ทารกพ้นจากคลอดของมารดา
            2. อยู่รอดเป็นทารก

ทารกในครรภ์มารดาปกติยังไม่ถือว่ามีสภาพบุคคล โดยหลักจึงไม่อาจมีสิทธิใด ๆ ในทางกฎหมาย แต่
.แพ่งฯ มาตรา ๑๕ วรรคสอง บัญญัติว่า ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่าง ๆ ได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
เช่น สิทธิในการรับมรดกจากบิดาที่ตายในระหว่างที่ทารกนั้นยังอยู่ในครรภ์มารดาโดยการคลอดนี้จะต้องคลอดภายในระยะเวลา ๓๑๐ วัน นับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย

การสิ้นสุดสภาพบุคคล
สภาพบุคคลสิ้นสุดลงเมื่อตาย ( มาตรา ๑๕ ) การตายตามกฎหมายนั้นมีอยู่ ๒ กรณี คือ
การตายตามธรรมชาติ
            หมายถึง คนสิ้นชีวิต โดยหลักจะได้แก่ ระบบการทำงานของร่างกาย ๓ ระบบ ไม่ทำงาน คือ
            1. ระบบประสาทกลาง ได้แก่ สมอง
            2. ระบบไหลเวียนโลหิต ได้แก่ หัวใจและหลอดเลือด
            3. ระบบหายใจ ได้แก่ หลอดลมและปอด
การตายโดยผลของกฎหมาย
            คือ บุคคลที่ศาลสั่งแสดงว่าเป็นคนสาบสูญ
                        การที่บุคคลถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังชีวิตอยู่ หรือไม่ตลอดระยะเวลาห้าปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ แต่ในกรณีที่มีเหตุภยันตรายจากการรบหรือสงคราม ยานพาหนะสูญหาย ระยะเวลาจะลดเหลือ ๒ ปี

นิติบุคคล
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สมาคม มูลนิธิ  ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด
กฎหมายอื่น
กระทรวงและกรมในรัฐบาล ราชการบริหารส่วนภูมิภาค วัด

กฎหมายลายลักษณ์อักษร (ม.3)

ที่มาของกฎหมายในระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร
สืบทอดมาตั้งแต่สมัยโรมัน
มีที่มาอยู่ 3 ประการ
1) กฎหมายลายลักษณ์อักษร
2) จารีตประเพณี
        3) หลักกฎหมายทั่วไป

กฎหมายลายลักษณ์อักษรของไทย
1) ประมวลกฎหมาย
        - รวมกฎหมายเรื่องเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกันมาบัญญัติไว้ รวมกันเป็นเรื่อง เป็นหมวด เป็นหมู่ อย่างเป็นระบบ เพื่อความสะดวกในการใช้การศึกษา
2) รัฐธรรมนูญ
        - เป็นกฎหมายแม่บท/หลักสำคัญในการกำหนดระเบียบแห่งอำนาจสูงสุด กติกา
3) พระราชบัญญัติ
        - มีศักดิ์สูงรองจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่ต้องอยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ
        - ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
        - บัญญัติขึ้นเฉพาะเรื่องผิดจากประมวลกฎหมาย
4) พระราชกำหนด
        - เป็นกฎหมายที่ฝ่ายบริหารได้รับมอบหมายให้ออกกฎหมายได้ยามฉุกเฉินเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติโดยส่วนรวม  เป็นกฎหมายชั่วคราว
        - ต้องนำเข้ารัฐสภา > > ฝ่ายนิติบัญญัติได้อนุมัติเป็นพระราชบัญญัติ
        - หากรัฐสภาพไม่อนุมัติ > > พระราชกำหนดเป็นอันตกไป
5) พระราชกฤษฎีกา
        - เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร มีศักดิ์ต่ำกว่ากฎหมายข้างต้น
        - ต้องอาศัยอำนาจที่ได้รับมอบหมายตามพระราชบัญญัติ จึงจะออกกฎหมายได้
6) กฎกระทรวง
        - ออกโดยฝ่ายบริหาร
        - นำหลักการในกฎหมายหลัก มาขยายต่อในรายละเอียดในการปฏิบัติ
        - ออกโดยรัฐมนตรี ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด
7) เทศบัญญัติและกฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
        - จะออกได้ต้องมีพระราชบัญญัติซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทกำหนดอำนาจไว้
                เช่น พรบ.เทศบาล, พรบ.สุขาภิบาล, พรบ.ระเบียบบริหารส่วนราชการ      ส่วนจังหวัด หรือกฎหมายพิเศษจัดตั้งองค์กรปกครองตนเอง
                        เช่น พรบ.กทม.หรือ พรบ.เมืองพัทยา

วันจันทร์, กรกฎาคม 25, 2554

สหกรณ์ (ม.5)

สหกรณ์
ความหมาย
การรวมตัวของกลุ่มบุคคลที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ด้วยความสมัครใจ ร่วมกันรับผิดชอบและดำเนินการให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ โดยยึดหลักประชาธิปไตย ไม่มุ่งแสวงหาผลกำไร และแบ่งปันผลประโยชน์กันอย่างยุติธรรม

ลักษณะสำคัญ
1. เป็นธุรกิจ ใช้ปัจจัยการผลิต
2. รวมคนและรวมทุนด้วยความสมัครใจ
3. เพื่อช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือกันและกัน
4. เป็นนิติบุคคล
5. มีกฎหมายสหกรณ์และข้อบังคับสหกรณ์

ความเป็นมา
ช่วงปฎิวัติอุตสาหกรรม 18>เครื่องจักรแทนคน >ว่างงาน >เกิดความขัดแย้ง>เกิดแนวคิดการรวมกลุ่มเยอะ
ใช้อย่างจริงจังโรเบิร์ต โอเวน>ผลิตของใช้กันเอง>สภาพสังคมไม่เอื้อย้าย>ไปอินเดียนนา-อเมริกา>เลิกเพราะค่าใช้จ่ายและการต่อต้านจากสถาบัน
นายแพทย์วิลลเลี่ยม คิง>รวมกลุ่มลงทุนขายของ เจ๊งแต่ได้เป็นต้นแบบสหกรณ์ร้านค้า
เฮอร์มัน ชูลซ์>ตั้งสหกรณ์กับช่างฝีมือและพ่อค้า
ฟรีดรริก วิลเฮล์ม ไรฟ์ไฟเซน>สหกรณ์หาทุนและให้กู้ยืมกับเกษตรกร>สหกรณ์ต้นแบบของโลก

หลักการณ์ของสหกรณ์
1. ต้นแบบ มาจากสหกรณ์รอชเดล กลุ่มทอผ้าเมืองรอชเดล
2. เปิดรับสมาชิกทั่วไป
3. 1man 1vote
4. ได้เงินปันผลตามหุ้น
5. ดอกเบี้ยอัตราจำกัดตามหุ้น
6. เป็นกลางทางศาสนาและการเมือง
7. ขายตามราคาตลาดด้วยเงินสด
8. ส่งเสริมการศึกษาอบรม