วันอังคาร, กรกฎาคม 26, 2554

กฎหมายลายลักษณ์อักษร (ม.3)

ที่มาของกฎหมายในระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร
สืบทอดมาตั้งแต่สมัยโรมัน
มีที่มาอยู่ 3 ประการ
1) กฎหมายลายลักษณ์อักษร
2) จารีตประเพณี
        3) หลักกฎหมายทั่วไป

กฎหมายลายลักษณ์อักษรของไทย
1) ประมวลกฎหมาย
        - รวมกฎหมายเรื่องเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกันมาบัญญัติไว้ รวมกันเป็นเรื่อง เป็นหมวด เป็นหมู่ อย่างเป็นระบบ เพื่อความสะดวกในการใช้การศึกษา
2) รัฐธรรมนูญ
        - เป็นกฎหมายแม่บท/หลักสำคัญในการกำหนดระเบียบแห่งอำนาจสูงสุด กติกา
3) พระราชบัญญัติ
        - มีศักดิ์สูงรองจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่ต้องอยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ
        - ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
        - บัญญัติขึ้นเฉพาะเรื่องผิดจากประมวลกฎหมาย
4) พระราชกำหนด
        - เป็นกฎหมายที่ฝ่ายบริหารได้รับมอบหมายให้ออกกฎหมายได้ยามฉุกเฉินเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติโดยส่วนรวม  เป็นกฎหมายชั่วคราว
        - ต้องนำเข้ารัฐสภา > > ฝ่ายนิติบัญญัติได้อนุมัติเป็นพระราชบัญญัติ
        - หากรัฐสภาพไม่อนุมัติ > > พระราชกำหนดเป็นอันตกไป
5) พระราชกฤษฎีกา
        - เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร มีศักดิ์ต่ำกว่ากฎหมายข้างต้น
        - ต้องอาศัยอำนาจที่ได้รับมอบหมายตามพระราชบัญญัติ จึงจะออกกฎหมายได้
6) กฎกระทรวง
        - ออกโดยฝ่ายบริหาร
        - นำหลักการในกฎหมายหลัก มาขยายต่อในรายละเอียดในการปฏิบัติ
        - ออกโดยรัฐมนตรี ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด
7) เทศบัญญัติและกฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
        - จะออกได้ต้องมีพระราชบัญญัติซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทกำหนดอำนาจไว้
                เช่น พรบ.เทศบาล, พรบ.สุขาภิบาล, พรบ.ระเบียบบริหารส่วนราชการ      ส่วนจังหวัด หรือกฎหมายพิเศษจัดตั้งองค์กรปกครองตนเอง
                        เช่น พรบ.กทม.หรือ พรบ.เมืองพัทยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น