วันอังคาร, มกราคม 01, 2556

GIS (ม.6)


GIS

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  (Geographic Informations System) หมายถึง  ระบบการทำงานในการจัดเก็บ จัดการ วิเคราะห์และแสดงผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์ด้วยcomputer

ข้อมูลเชิงพื้นที่Spatial Data   เป็นข้อมูลที่อ้างอิงตำแหน่งหรือส่วนที่ปรากฏบนผิวโลก
ข้อมูงเชิงคุณลักษณะAttribute Data เป็นข้อมูลที่บอกคุณลักษณะต่างๆของพื้นที่ เช่น แม่น้ำ ถนน เป็นต้น

ลักษณะของการแสดงข้อมูลมีอยู่3ประเภทคือ

1.จุด(Point) ใช้บอกตำแหน่ง
2.เส้น(Line) ลักษณะข้อมูลที่เป็นเส้นเป็นสาย
3.รูปหลายเหลี่ยม(polygon) ข้อมูลที่เป็นพื้นที่

องค์ประกอบของGIS

1.People บุคลากร
2.Hardware เครื่องมือที่สามารถจับต้องได้
3.Software โปรแกรมปฏิบัติการต่างๆ
4.Data ข้อเท็จจริงที่ป้อนเข้าสู่Computer
5.Process กระบวนการทำงาน การจัดเก็บ จัดการ วิเคราะห์และแสดงผลข้อมูล

ประโยชน์ของGIS

1)  การดำเนินชีวิตประจำวัน  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สามารถบอกตำแหน่งของสถานที่ชื่อสถานที่  พิกัดทางภูมิศาสตร์  ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปใช้ตัดสินใจในการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ  ได้
2)  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  สามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการหาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว  การจัดระบบน้ำชลประทาน  เป็นต้น
3) การจัดการภัยธรรมชาติ  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นเครื่องมือที่สำคัญมากในการเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงภัย  การประเมินพื้นที่เสี่ยงภัย  ความรุนแรง  ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับทรัพย์สินและชีวิตมนุษย์  ตลอดจนการจัดทำพื้นที่หลบภัย  และวางแผนการเข้าช่วยเหลือในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
4)   การจัดการด้านเศรษฐกิจและสังคม  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทำให้ทราบข้อมูลต่างๆเช่น  ที่ตั้งของโรงงานประเภทต่างๆ  ความหนาแน่นของประชากร  เพศ  อายุ  เป็นต้น  เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนด้านเศรษฐกิจและสังคมได้

Remote Sensing (ม.6)


Remote Sensing

   การรับรู้จากระยะไกล  (Remote  Sensing)  หมายถึง  ระบบสำรวจบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับพื้นผิวโลกด้วยกล้อง  ซึ่งติดไปกับยานดาวเทียมหรือเครื่องบิน  กล้องสามารถตรวจจับคลื่นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าที่สะท้อนจากวัตถุบนผิวโลก  หรือตรวจจับคลื่นที่ส่งไปและสะท้อนกลับมา  หลังจากนั้นมีการแปลงข้อมูลเชิงตัวเลขซึ่งนำไปใช้แสดงเป็นภาพและทำแผนที่
1.ภาพถ่ายทางอากาศ
การถ่ายภาพในช่วงคลื่นที่เรามองเห้นตามปกติโดยการนำกล้องถ่ายรูปติดไว้กับอากาศยาน โดยการใช้ภาพถ่ายทางอากาศสามารถทำได้2วิธี คือ
1.1มองได้ตาเปล่า ต้องอาศัยความชำนาญถึงได้แปลความหมายได้คลาดเคลื่อนน้อยที่สุด
1.2ใช้กล้องStereo Scope โดยการนำภาพถ่ายทางอากาศ2ภาพที่มีส่วนที่ซ้อนทับกัน(Overlap) สามารถมองเป็นภาพสามมิติได้เพื่อความสะดวกในการแปลความหมาย
2.ภาพถ่ายดาวเทียม
อาศัยการบันทึกพลังงานที่สะท้อนจากวัตถุโดยอาศัยหลักคุรสมบัติวัตถุแต่ละชนิดที่สะท้อนพลังงานต่างกัน
Passive Remote Sensing Satellite – ใช้ดวงอาทิตย์เป็นต้นกำเนิดพลังงาน

Active Remote Sensing Satellite – ตัวดาวเทียมกำเนิดพลังงานเอง


ประโยชน์ของRemote Sensing
1) การพยากรณ์อากาศ  กรมอุตุนิยมวิทยาใช้ข้อมูลจากดาวเทียมเพื่อพยากรณ์
2)  สำรวจการใช้ประโยชน์ที่ดิน  เนื่องจากข้อมูลจากดาวเทียมมีรายละเอียดภาคพื้นดิน  และช่วงเวลาการบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน  จึงใช้ประโยชน์ในการทำแผนที่การใช้ประโยชน์จากที่ดินและการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี
3) การสำรวจทรัพยากรดิน  ข้อมูลจากดาวเทียมและรูปถ่ายทางอากาศเป็นอุปกรณ์สำคัญในการสำรวจและจำแนกดิน  ทำให้ทราบถึงชนิด  การแพร่กระจาย  และความอุดมสมบูรณ์ของดิน  จึงใช้จัดลำดับความเหมาะสมของดินได้
4)  การสำรวจด้านธรณีวิทยา  และธรณีสัณฐานวิทยา  เนื่องจากข้อมูลดาวเทียมครอบคลุมพื้นที่กว้าง  มีรายละเอียดภาคพื้นดินสูงและยังมีหลายช่วงคลื่นแสง  จึงเป็นประโยชน์อย่างมากที่ใช้ในการสำรวจและทำแผนที่ธรณีวิทยา

5)  การเตือนภัยจากธรรมชาติ  เมื่อนำเอาข้อมูลจากดาวเทียมร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  และระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกจะเป็นประโยชน์ในการเตือนภัยก่อนที่จะเกิดภัย  ขณะเกิดภัย  และหลังเกิดภัยธรรมชาติ

ภูมมิสารสนเทศ+GPS (ม.6)


ภูมิสารสนเทศ (Geomatic)
เทคโนโลยีที่เน้นการบูรณาการเทคโนโลยีทางด้านการสำรวจ  การทำแผนที่  และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เข้าด้วยกัน  เพื่อศึกษาเกี่ยวกับพื้นที่บนโลก 
- ระบบกำหนดตำแหน่งบนผิวโลก  (GPS:Global Positioning System) 
- การรับรู้จากระยะไกล  (RS:Remote Sensing) 
- ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  (GIS: Geographic informations System ) 

GPS
ระบบที่กำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกจากกลุ่มดาวเทียมGPSที่โคจรอยู่รอบโลก
เป็นระบบที่ใช้ฟรีและไม่จำกัดผู้ใช้ ริเริ่มโดยกลาโหมUSAในปี ค..1978
องค์ประกอบของGPS
1.ส่วนอวกาศหรือดาวเทียมGPS มีทั้งหมด24ดวง
6วงโคจร แต้ละดวงใช้เวลาโคจรรอบโลก 12 ช.ม./รอบ
2.ส่วนควบคุมภาคพื้นดิน
มีหน้าที่ คำนวนผลเพื่อบอกตำแหน่งของดาวเทียมที่เป็นปัจจุบัน
3.ส่วนผู้ใช้
เครื่องมือGPSต้องอาศัยดาวเทียมอย่างน้อย 3ดวงในระยะเพื่อบอกตำแหน่งในแนวราบ และ4ดวงเพื่อบอกตำแหน่งในแนวดิ่ง
ประโยชน์ของGPS
1)  ใช้ในกิจกรรมทางทหาร  โดยเฉพาะในช่วงการทำสงคราม  เนื่องจากระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา  เพื่อกิจการด้านทหารโดยเฉพาะ  แต่ในปัจจุบันได้มีการเผยแพร่ให้มีการใช้ในกลุ่มประชาชนทั่วไปในระดับหนึ่ง
2) ใช้ในการกำหนดจุดพิกัดผิวโลก  เพื่องานด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์หรือข้อมูลดาวเทียมและรังวัดที่ดินเพื่อแสดงชนิดของข้อมูลลงในสนาม 
3) ใช้ในการสำรวจทิศทาง  เครื่องมือGPSมีขนาดเล็กใหญ่ตามความต้องการใช้งานและสามารถพกพาติดตัวได้  ดังนั้น  เราสามารถใช้งานได้สะดวก  โดยสามารถใช้เพื่อแสดงเส้นทางที่สำรวจได้แม้จะอยู่ในรถยนต์ 
4)  ใช้ในการสำรวจตำแหน่งที่เกิดภัยธรรมชาติ  อุบัติเหตุบนทางหลวง  ตำแหน่งเรือในทะเลหรือการหลงป่า
5)  ใช้ในกิจการอื่นๆ  เช่น  ด้านการบิน  

เงินเฟ้อ/เงินผืด (ม.6)


เงินเฟ้อ Inflation
เงินเฟ้อ คือ อะไร
•         ภาวะที่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นเรื่อยๆ (Rising Prices)
•         การที่สินค้ามีระดับราคาสูง (High Prices) ไม่ถือว่าเป็นเงินเฟ้อ จำเป็นต้องสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงจะเป็นเงินเฟ้อ

ประเภทของเงินเฟ้อ
1. เงินเฟ้ออย่างอ่อน คือ อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นไม่เกินร้อยละ 5 ซึ่งถือว่าเป็นภาวะปกติและไม่มีผลเสียหายต่อภาวะเศรษฐกิจ ทำให้มีการกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจทางด้านการลงทุน การผลิต การจ้างงาน และรายได้ประชาชาติ
2. เงินเฟ้อปานกลาง คือ อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเกินร้อยละ 5 ~ 20 %
รัฐบาลจะยื่นมือเข้ามาช่วยแก้ไขโดยใช้มาตรการทางการเงินและการคลัง
3. เงินเฟ้ออย่างรุนแรง คือ การที่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นไปอย่างกว้างขวาง โดยระดับราคาจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 20 % ต่อปี ทำให้อำนาจการซื้อของเงินลดลงอย่างรวดเร็วมาก
เช่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเยอรมัน จีนและประเทศไทย ได้พิมพ์ธนบัตรออกใช้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด จึงเกิดเงินเฟ้ออย่างรุนแรง

สาเหตุที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ
1. เงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น (Demand Pull Inflation)
คือการปริมาณสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ไม่เพียงพอตอบสนองต่อการเพิ่มขึ้นในอุปสงค์มวลรวม
2. เงินเฟ้อที่เกิดจากต้นทุนสูงขึ้น (Cost-Push Inflation)
สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประการคือ
2.1 การเรียกร้องค่าจ้างแรงงานเพิ่มของปัจจัยแรงงาน(Wage-Push Inflation)
2.2 เงินเฟ้อที่เกิดจากการเพิ่มกำไรของผู้ผลิต
3. เงินเฟ้อที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง(Structural Inflation)
กรณีที่ประเทศเกิดภาวะสงคราม ทำให้รัฐบาลต้องใช้จ่ายเงินในการสงครามและจำกัดขอบเขตการบริโภคของประชาชนทั่วไป เพื่อนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้การผลิตอาวุธ ในช่วงสงคราม

ผลกระทบของเงินเฟ้อ
1. ผลต่อความต้องการถือเงิน ภาวะเงินเฟ้อจะทำให้ค่าของเงินลดลง เพราะเมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น เงินเท่าเดิมจะซื้อของได้น้อยลง
2. ผลกระทบต่อรัฐบาล รัฐบาลมักจะได้รับประโยชน์จากภาวะเงินเฟ้อ นั่นคือ ภาวะเงินเฟ้อจะทำให้ประชาชนมีรายได้ที่เป็นตัวเงินเพิ่มสูงขึ้น ถ้ารัฐเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า ก็จะเก็บภาษีได้มากขึ้น มีรายได้มากขึ้น ส่วนทางด้านรายจ่ายของรัฐนั้นถ้าเป็นจำนวนที่คงที่ เช่น เงินเดือน, บำนาญ, เงินสงเคราะห์ต่าง ๆ รัฐก็จะได้ประโยชน์เพราะเงินนั้นมีค่าน้อยลง
3. ผลที่มีต่อการกระจายรายได้
1) ผู้มีรายได้เป็นจำนวนเงินคงที่ตายตัวหรือรายได้ประจำจะเสียเปรียบ เพราะค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จะสูงขึ้น
2) ลูกหนี้จะได้เปรียบในขณะที่เจ้าหนี้
3) ผู้ถือทรัพย์สินที่เป็นตัวเงินแน่นอน เช่น เงินสด เงินฝากประจำ หุ้นกู้ พันธบัตรจะเสียเปรียบ เพราะเงินลดค่าลง


เงินฝืด Deflation
ความหมาย
ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลงเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องทำให้อำนาจซื้อของเงินเพิ่มขึ้น ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมีน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับความต้องการถือเงิน

รูปแบบของเงินฝืด


ภาวะเงินฝืดอย่างอ่อน
ระดับราคาสินค้าและบริการลดลงไม่เกิน 5%ต่อปี
กระตุ้นการใช้จ่าย
เพิ่มอุปสงค์มวลรวม
เศรษฐกิจขยายตัว
ภาวะเงินฝืดปานกลาง
ระดับราคาสินค้าและบริการลดลงเกิน 5%แต่ไม่ถึง20%ต่อปี
กำไรของผู้ผลิตลดลง
ลดกำลังการผลิต
รายได้ของประชาชนลด
เศรษฐกิจถดถอย
ภาวะเงินฝืดอย่างรุนแรง
ระดับราคาสินค้าและบริการลดลงเกินกว่า 20%ต่อปี
การผลิตหยุดชะงัก
คนว่างงาน
เศรษฐกิจตกต่ำ

ผลกระทบ
ผู้ประกอบการคาดคะเนว่าราคาสินค้าลด >>>การผลิตลด >>>ชะลอการลงทุน>>>จ้างงานลด >>>ว่างงานเพิ่ม >>>รายได้ประชาชนลด >>>เศรษฐกิจถดถอย/ซบเซา>>>เศรษฐกิจตกต่ำ

นโยบายการเงิน (ม.6)


นโยบายการเงิน Monetary policy

เงิน คือ อะไร
ตัวกลางการแลกเปลี่ยนในสิ่งที่เราต้องการและพอใจจากคนสองคนขึ้นไป

นโยบายการเงิน คือ อะไร
นโยบายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงิน ได้แก่
·       ปริมาณเงิน (Money supply)
·       อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate)
·       อัตราดอกเบี้ย (Interest rate)

ทำไมต้องมีนโยบายการเงิน
ธนาคารกลางสามารถดูแลปริมาณเงินเพื่อความมีเสถียรภาพและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

หน้าที่ของเงิน
1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
2. เป็นมาตรฐานในการวัดค่า
3. เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ในอนาคต
4. เป็นเครื่องเก็บรักษามูลค่า

วิวัฒนาการของเงิน
ระยะแรก >>> ใช้สิ่งหายาก (ไม่คงทน,ติดตัวลำบาก,ย่อยยาก)
ต่อมา >>> โลหะมีค่า
ต่อมาอีกที >>> ธนบัตร

ตลาดการเงิน
1.ตลาดเงิน (money Market)
ระดมเงินทุนและให้สินเชื่อไม่เกิน 1 ปี
2.ตลาดทุน (Capital Market)
ระดมเงินออมและสินเชื่อระยะยาว