บล็อคนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่เนื้อหาที่ใช้สอนในรายวิชาต่างๆ ของครูเจตน์จรัส ประสพทรัพย์นะครับ
วันพุธ, กุมภาพันธ์ 20, 2556
วันพุธ, กุมภาพันธ์ 13, 2556
อารยธรรมอิสลาม(ม.2)
อารยธรรมอิสลาม
หมายถึง ความก้าวหน้าที่ได้รับแรงดลใจมาจากอิทธิพลของศาสนาอิสลาม สร้างขึ้นโดยชาวมุสลิมเชื้อชาติต่าง
ๆ แต่เนื่องจากศาสดามุฮัมมัดผู้ประกาศศาสนาเป็นชาวอาหรับ ดังนั้น กลุ่มอาหรับ จึงมีบทบาทสำคัญในการให้กำเนิดอารยธรรมอิสลาม
คาบสมุทรอาหรับในช่วงระยะที่อารยธรรมอิสลาม
ถือกำเนิดเป็นดินแดนซึ่งประชากรแบ่งแยกออก
เป็นเผ่านักรบหลายเผ่า
ต่างก็มีวิถีชีวิตที่อาจแบ่งออกเป็นสองแบบ คือ พวกที่เร่ร่อนตามทะเลทรายซึ่งเรียกกันว่า
พวกเบดูอิน (Bedouins) มีอาชีพเลี้ยงสัตว์
จึงต้องเดินทางเร่ร่อนเพื่อแสวงหาทุ่งหญ้าและบ่อน้ำ ทำให้ไม่สามารถหยุดตั้งหลักแหล่งได้
พวกเร่ร่อนบางกลุ่มทำการเกษตร จึงตั้งถิ่นฐานชั่วคราวตามบริเวณโอเอซิส (Oasis) ซึ่งเป็นแหล่งน้ำในทะเลทราย
การดำเนินชีวิตอีกแบบหนึ่งคือพวกตั้งหลักแหล่งในเมืองยึดการค้าเป็นอาชีพ
ด้วยเหตุที่เมืองในคาบสมุทรอาหรับสมัยนั้นมักตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าและเป็นเมืองท่าที่จอดพักของกองคาราวาน
ชาวเมืองเหล่านี้จึงแสวงหาผลประโยชน์จากการค้าจนมั่งคั่งร่ำรวย เช่น ชาวเมืองมักฮ์
(เมกกะ) เป็นต้น
แม้ว่าอารยธรรมอิสลามจะถือกำเนิดจากชนเผ่าที่ตั้งหลักแหล่งอยู่ในเมืองก็ตาม
แต่อิทธิพลของวัฒนธรรมของชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทราย
ก็ปรากฏเด่นชัดอยู่ในพัฒนาการของอารยธรรมอิสลาม
ทั้งนี้เพราะความผูกพันกันทางสายเลือด และขนบธรรมเนียมประเพณีของหมู่ชนทั้งสองพวก
ด้วยเหตุที่วัฒนธรรมของชนเผ่าเร่ร่อนมีความสำคัญต่อพัฒนาการของอารยธรรมอิสลาม
เนื่องจากความแห้งแล้งของทะเลทราย มีอิทธิพลต่อระบบความคิด
สังคม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชาวอาหรับ
การอยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นกิจกรรมในทะเลทรายตลอดระยะเวลาอันยาวนาน
ทำให้ชนเผ่าเร่ร่อนรักอิสรภาพและยาก ที่จะปกครองหรือบังคับบัญชา
ประวัติศาสตร์ของการสร้างจักรวรรดิอาหรับ
แสดงให้เห็นว่าผู้นำที่สามารถพิสูจน์ตนเองว่า เป็นผู้เคร่งศาสนา
สามารถดึงดูดความศรัทธาได้ เป็นนักรบที่เข้มแข็งและเป็นนักบริหาร ที่ประสบความสำเร็จเท่านั้น
จึงจะได้รับความจงรักภักดีจากชนเผ่าอาหรับและรักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของจักรวรรดิไว้ได้
หากเมื่อใดที่ฐานอำนาจจากศูนย์กลางเสื่อมลง จักรวรรดิก็จะเริ่มแตกแยกออกจากกันและทำสงครามเข่นฆ่ากันเอง
ความแห้งแล้งทุรกันดารของทะเลทรายก็ดี
การมีชีวิตยากลำบากต้องสู้เพื่ออยู่รอดก็ดี
ทำให้ชนเผ่าเร่ร่อนเหล่านั้นมีความกล้าหาญ อดทน เป็นนักรบที่เข้มแข็ง
ครั้นเมื่อยอมรับศาสนาอิสลาม มีผู้นำที่สามารถและเข้มแข็ง เป็นนายทัพ
ประกอบกับมีความเชื่อว่าทำการสงครามปกป้องศาสนาจะทำให้ได้ไปสู่ชีวิตที่มีความสุขในสวรรค์
กองทัพอาหรับจึงได้ชัยชนะในการรบและขยายอำนาจได้อย่างรวดเร็ว
จึงเห็นได้ว่าแรงศรัทธา ในศาสนาอิสลาม
ประกอบกับความกล้าหาญ แข็งแกร่ง อดทน และชนเผ่าเร่ร่อนชาวอาหรับ
ทำให้เกิดจักรวรรดิอิสลาม ซึ่งสร้างขึ้นด้วยการชนะสงคราม
ความจำเป็นที่จะต้องรักษาตัวให้รอดพ้นจากการฆ่าฟันทำลายล้างกัน
และเพื่อดำรงชีพในทะเลทรายอันประกอบด้วยภัยอันตรายได้ทำให้ชนเผ่าเร่ร่อนชาวอาหรับรู้จักสร้างขนบธรรมเนียมประเพณีขึ้น
และยึดถือราวกับเป็นกฎหมายของตน ขนบธรรมเนียมประเพณีเหล่านี้
ประกอบกับภาษาอาหรับซึ่งแต่ละเผ่าสามารถใช้และเข้าใจกันได้
นับเป็นรากฐานของวัฒนธรรม
และความเป็นชาติหนึ่งชาติเดียวกันของชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทรายอาหรับ
ตัวอย่างของขนบธรรมเนียมประเพณีของชนเผ่าเร่ร่อน เช่น การดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในกระโจมเพื่อสะดวกแก่การอพยพ
ครอบครัวหนึ่งจะอาศัยอยู่ในกระโจมหนึ่ง หลายๆ
ครอบครัวจะเดินทางเร่ร่อนไปด้วยกันเป็นกลุ่ม สมาชิกทุกคนของกลุ่ม
ซึ่งมีความสัมพันธ์ ทางสายเลือดหรือนับญาติกันได้
นับว่าอยู่ในสกุลเดียวกัน มีผู้อาวุโสของสกุลเป็นหัวหน้า สกุลต่างๆ
ที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกัน หรือมีความปรารถนาจะรวมกัน
ก็สามารถรวมกันเป็นเผ่ามีหัวหน้าเผ่า เป็นผู้ปกครอง
ผู้ที่อยู่ในสกุลเดียวกันหรือสังกัดเผ่าใดเผ่าหนึ่ง
ย่อมจะได้รับความพิทักษ์ปกป้องอันตรายด้วย
ก่อนเกิดศาสนาอิสลาม
ชาวอาหรับนับถือเทพเจ้าหลายองค์ แต่ละเผ่าจะมีเทพเจ้าประจำเผ่า
มีศาลเทพารักษ์สำหรับเทพเจ้าของตน เพื่อให้สมาชิกเผ่าเดินทางมานมัสการประจำปี
นอกจากเทพเจ้าประจำเผ่าแล้ว แต่ละเผ่าก็ยับนับถือเทพเจ้าอีกมากมายหลายองค์
รวมทั้งยังนับถือธรรมชาติแวดล้อม เช่น น้ำพุ ต้นไม้ และหิน เป็นต้น
เทพเจ้าบางองค์และปูชนียสถานบางแห่งอาจเป็นที่ที่ชนทุกเผ่าในอาหรับนับถือเหมือนกันหมดก็ได้
เช่น หินดำทรงกลมในปูชนียสถานกะฮ์บรอที่เมืองเมกกะ
เป็นสถานที่ที่ชนเผ่านับถือว่าศักดิ์สิทธิ์
เป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้าหลายองค์และพากันเดินทางมานมัสการเป็นประจำปี
ในบรรดาเทพเจ้าทั้งหลาย ชนเผ่าต่างๆ ในอาหรับนับถือพระอัลลอฮ์ เป็นเทพเจ้าสูงสุด
เพราะเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ในการทำพิธีบูชาเทพเจ้านั้น
ชาวอาหรับมักใช้เลือดบูชายัญ เพราะเชื่อว่าเพื่อสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างเทพเจ้ากับเผ่าของตนโดยทั่วๆ
ไป การปฏิบัติศาสนาก็ดูจะเป็นเรื่องของขนบธรรมเนียมประเพณีของเผ่ามากกว่า
จึงปรากฏอิทธิพลของอารยธรรมต่างๆ ในดินแดนอาหรับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพลของคริสต์ศาสนา และศาสนายิว ประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17
อิทธิพลของศาสนาที่นับถือพระเจ้าองค์เดียวมีพลังรุนแรงขึ้น กลุ่มชาวอาหรับผู้ใฝ่ฝันที่จะคิดเกี่ยวกับศาสนาให้ลึกซึ้งเห็นว่าศาสนาที่ตนนับถืออยู่
ไม่อาจตอบสนองความต้องการของตนได้ ในช่วงระยะนี้มักมีเรื่องเกี่ยวกับศาสดาผู้พยากรณ์เกิดขึ้นบ่อยๆ
ชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของการนับถือพระเจ้าองค์เดียว
และแสดงว่าชาวอาหรับเริ่มแสวงหาทางไปสู่การนับถือพระเจ้าองค์เดียว
แทนการนับถือเทพเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายดังแต่ก่อน ในวาระนั้นเองศาสดาก็ปรากฏตัวขึ้นเพื่อตอบสนองสิ่งที่ชาวอาหรับแสวงหา
อารยธรรมของอิสลาม
จักรวรรดิมุสลิมมีความเจริญรุ่งเรืองในแถบตะวันออกกลาง เพราะอิทธิพล ของการนับถือพระจ้าพระองค์เดียว
ชาวมุสลิมมาประดิษฐ์เลขอารบิกที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน
ผลงานเด่นของอารยธรรมอิสลามที่มีต่อโลก คือ เรื่องการแพทย์ ซึ่งเป็นต้นฉบับตำราแพทย์ปัจจุบัน โดยมหาวิทยาลัย เลอลาโนในประเทศสเปน
เป็นมหาวิทยาลัยแพทย์แห่งแรกของโลก นอกจากนี้ชาวมุสลิมยังมีผลงานด้านฟิสิกส์และเป็นเค้าโครงทางวรรณคดียุโรปปัจจุบัน
นักวิชาการทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า “อารยธรรมอิสลามเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมอารยธรรมตะวันตกและตะวันออกให้ประสานกัน”
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย(ม.2)
เมโสโปเตเมีย
แหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในสมัยโบราณ หมายถึง ดินแดนระหว่างแม่น้ำ
2 สาย คือ แม่น้ำไทกริส และ ยูเฟรทิส ปัจจุบันคือประเทศอิรัก
เมโสโปเตเมีย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ใกล้กับอ่าวเปอร์เซีย มีความอุดมสมบูรณ์ เรียกว่า บาบิโลเนีย ส่วนบนซึ่งค่อนข้างแห้งแล้ง เรียกว่า อัสซีเรีย มีชนชาติหลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ มีการรบพุ่งกันอยู่เสมอ เมื่อชาติใดมีอำนาจก็เข้าไปยึดครองและกลายเป็นชนชาติเดียวกัน แบ่งเป็น 6 กลุ่ม คือ
เมโสโปเตเมีย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ใกล้กับอ่าวเปอร์เซีย มีความอุดมสมบูรณ์ เรียกว่า บาบิโลเนีย ส่วนบนซึ่งค่อนข้างแห้งแล้ง เรียกว่า อัสซีเรีย มีชนชาติหลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ มีการรบพุ่งกันอยู่เสมอ เมื่อชาติใดมีอำนาจก็เข้าไปยึดครองและกลายเป็นชนชาติเดียวกัน แบ่งเป็น 6 กลุ่ม คือ
1. ซูเมเรียน (Sumerians)
2. อัคคาเดียน (Akkadians)
3. อะมอไรต์ (Amorites)
4. คัสไซต์ (Kassites)
5. อัสซีเรียน (Assyrians)
6. คาลเดียน (Chaldeans)
ชาวซูเมเรียน
เมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวซูเมเรียนได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทิส ซึ่งเรียกว่า ดินแดนซูเมอร์ ในระยะแรกชุมชนเป็นหมู่บ้านยุคหินใหม่ ต่อมาพัฒนาขึ้นเป็นเมืองที่สำคัญ ได้แก่ เมืองอูร์ (Ur) เมืองอิเรค (Ereck) เมืองอิริดู (Eridu) เมืองลากาซ (Lagash) และเมืองนิปเปอร์ (Nippur) แต่ละเมืองมีชุมชนเล็กๆ ที่รายรอบอยู่เป็นบริวาร ทำให้มีลักษณะเป็นรัฐขนาดเล็กที่เรียกว่า นครรัฐ (City State) นครรัฐเหล่านี้ต่างปกครองเป็นอิสระแก่กัน
เมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวซูเมเรียนได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทิส ซึ่งเรียกว่า ดินแดนซูเมอร์ ในระยะแรกชุมชนเป็นหมู่บ้านยุคหินใหม่ ต่อมาพัฒนาขึ้นเป็นเมืองที่สำคัญ ได้แก่ เมืองอูร์ (Ur) เมืองอิเรค (Ereck) เมืองอิริดู (Eridu) เมืองลากาซ (Lagash) และเมืองนิปเปอร์ (Nippur) แต่ละเมืองมีชุมชนเล็กๆ ที่รายรอบอยู่เป็นบริวาร ทำให้มีลักษณะเป็นรัฐขนาดเล็กที่เรียกว่า นครรัฐ (City State) นครรัฐเหล่านี้ต่างปกครองเป็นอิสระแก่กัน
คนกลุ่มแรกที่สร้างสรรค์อารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือ
ชาวซูเมเรียน ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก อารยธรรมที่ชาวซูเมเรียนสร้างขึ้นเป็นพื้นฐานสำคัญของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยกรรม
ตัวอักษร วรรณกรรม ศิลปกรรมอื่นๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวซูเมเรียน ได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ
ซูเมเรียนและอัคคาเดียน ซูเมเรียนอาศัยอยู่ตอนล่างของเมโสโปเตเมีย สร้างอารยธรรม (Sumerian and Akkadian) ขึ้นโดยเฉพาะการประดิษฐ์ตัวอักษร ทำให้เมโสโปเตเมียเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ และได้ให้แนวทางแก่พวกอัคคาเดียนซึ่งอยู่ทางตอนเหนือขึ้นไปของเมโสโปเตเมีย เข้ามาครอบครองและเจริญขึ้นแทน ซูเมเรียน
อะมอไรต์
(Amorite) พวกอะมอไรต์อพยพมาจากทะเลทรายซีเรีย
เข้าครอบครองเมโสโปเตเมีย สร้างอาณาจักรบาบิโลเนียขึ้นภายใต้การปกครองของพระเจ้าฮัมมูราบี สมัยนี้กรุงบาบิโลเนียเป็น เมืองหลวง
ฮิตไตต์และคัสไซต์ พวกฮิตไตต์
อยู่ในเอเชียไมเนอร์ ได้ขยายอาณาจักรออกเป็นจักรวรรดิใหญ่
รุกรานเข้ามาในเมโสโปเตเมีย ได้ยึดครองปล่อยให้พวกคัสไซต์ซึ่งอยู่ทางเทือกเขาด้าน ตะวันออกของแม่น้ำไทกริสเข้ายึดครองกรุงบาบิโลน
อัสซีเรียน (Assyrian) อยู่ทางตอนเหนือของเมโสโปเตเมียค่อยเจริญขึ้นแทนตอนล่างของเมโสโปเตเมีย
และกลายเป็นจักรวรรดิครั้งแรกเมื่อเข้ายึดครองกรุงบาบิโลนได้
คาลเดียน
(Chaldeam) อยู่บริเวณทะเลทรายตอนใต้ของบาบิโลเนีย ได้แยกตัวออกจากการปกครองของอัสซีเรียได้สำเร็จ
และมีความเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ อาณาจักรคาลเดียสิ้นสุดลงเมื่อถูกเปอร์เซียเข้ายึดครองอินโด-ยูโรเปียน พวกอินโด-ยูโรเปียน
(Indo-European)
อยู่ทางตอนเหนือ
เข้ามา มีอำนาจในเมโสโปเตเมีย ตั้งแต่ 550 ปี
ก่อนคริสต์ศักราช โดยปราบพวกที่มีอำนาจอยู่ก่อนได้สำเร็จจึงสร้างอาณาจักรเปอร์เซียขึ้นขยายอำนาจปกครองในดินแดนเมโสโปเตเมียทั้งหมดรวมทั้งอียิปต์และหัวเมืองกรีก ในเอเชียไมเนอร์ เมื่อทำสงครามกับกรีก
ก็ตกอยู่ใต้การปกครองของกรีกในปี 332 ปี ก่อนคริสต์ศักราช
วัฒนธรรมเมโสโปเตเมีย
1.
การประดิษฐ์อักษรคูนิฟอร์ม หรืออักษรลิ่มบนแผ่นดินเหนียว ใช้ของมีคมกรีดลงบนหิน แต่เนื่องจากหินหายากและไม่มีกระดาษปาปิรุสจึงต้องเขียนลงบนดินเหนียวแล้วนำไปผึ่งแดด หรือเผาไฟให้แห้งแข็ง
เครื่องมือที่ใช้ คือ ไม้ หรือกก หรือเหล็กแหลม กดเป็นรูปลิ่มอักษร
จึงถูกเรียกว่า “คูนิฟอร์ม” หรือตัวอักษรรูปลิ่ม
2. การสร้างสถาปัตยกรรม “ซิกกูแรต” ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างลักษณะคล้ายพิระมิด สร้างบนฐานที่ยกระดับจากพื้นดินข้างบน ทำเป็นวิหารเทพเจ้ามีบันไดทอดยอดขึ้นไป
3. การทำปฏิทินจันทรคติ กำหนดปีหนึ่งมี 12 เดือน ปีของสุเมเรียนทางจันทรคติมีเพียง 354 วัน ขณะที่ปีทางสุริยคติมี 366 วัน
2. การสร้างสถาปัตยกรรม “ซิกกูแรต” ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างลักษณะคล้ายพิระมิด สร้างบนฐานที่ยกระดับจากพื้นดินข้างบน ทำเป็นวิหารเทพเจ้ามีบันไดทอดยอดขึ้นไป
3. การทำปฏิทินจันทรคติ กำหนดปีหนึ่งมี 12 เดือน ปีของสุเมเรียนทางจันทรคติมีเพียง 354 วัน ขณะที่ปีทางสุริยคติมี 366 วัน
4.
ประมวลกฎหมายฮัมบูราบี เป็นบทบัญญัติที่รวบรวมกฎหมายต่าง ๆ และพระราชกฤษฎีกา
ของกษัตริย์ฮัมมูราบี
ราชาแห่งบาบิโลเนีย และเป็นประมวลกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุด คัดลอกไว้โดยการแกะสลักลงบนหินบะซอลต์สีดำสูง
2.40 เมตร ซึ่งต่อมาทีมนักโบราณคดีฝรั่งเศสขุดพบที่ประเทศอิรัก
ปัจจุบันเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
กฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายอาญาโดยยึดหลัก
“ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” อันหมายถึงทำผิดอย่างไร
ได้โทษอย่างนั้น ซึ่งแม้บทลงโทษตามกฎหมายฮัมมูราบีจะดูว่าโหดเหี้ยม
แต่การทำกฎหมายให้เป็นลายลักษณ์อักษรและใช้บังคับอย่างเป็นระบบกับทุกคน และการ “ถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับการพิสูจน์
ว่าผิด” นับเป็นหลักการสำคัญที่เป็นวิวัฒนาการทางอารยธรรมของมนุษย์
5. ซิกกูแรต (Ziggurat) เป็นสิ่งก่อสร้างของอารยธรรมซูเมเรียน (Sumerians) ในบริเวณเมโสโปเตเมีย มีลักษณะคล้ายพีระมิดแบบขั้นบันไดแต่ไม่ก่อสร้างสูงจนเป็นยอดแหลม ด้านบนของซิกกูแรตซึ่งเป็นพื้นที่ราบกว้างจะสร้างเป็นวิหาร ในระยะแรกการสร้างซิกกูแรตมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา แต่ต่อมาซิกกูแรตนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังกษัตริย์
เช่น ซิกกูแรตที่เมืองอูร์ (Ur)
ซิกกูแรตสร้างขึ้นด้วยวัสดุจำพวกอิฐและไม้ ความแข็งแรงคงทนจึงสู้งานสถาปัตยกรรมยุคต่อมา
เช่น พีระมิดอียิปต์ที่สร้างด้วยวัสดุจำพวกหินไม่ได้ ซิกกูแรตเก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบมีชื่อว่า “The White
Temple” พบที่เมืองอูรุค (Uruk) หรือวาร์กา (Warka) บริเวณพื้นที่ประเทศอิรักในปัจจุบัน
มีอายุประมาณ 3,500 – 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล
ซึ่งเก่าแก่กว่าพีระมิดของอียิปต์หลายร้อยปี
6. มหากาพย์กิลกาเมช (Gilgamesh) เป็นตำนานน้ำท่วมโลกที่เก่าแก่ของบาบิโลน กษัตริย์กิลกาเมชกับเหตุการณ์น้ำท่วมโลก
จารึกไว้ในแผ่นดินเหนียวจำนวน 12 แท่ง ในหอเก็บจารึกของกษัตริย์แห่งอัสซีเรีย เมื่อราวศตวรรษที่
7 ก่อนคริสตกาล
7. สวนลอยแห่งบาบิโลน สร้างขึ้นประมาณศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล
โดยคำบัญชาของกษัตริย์
“เนบูคัดเนซซาร์”
เพื่อเป็นของขวัญแก่นางอามิธีส ราชินีชาวเปอร์เซียของพระองค์ สวนแห่งนี้สร้างขึ้น
ในเขตพระราชฐาน
มีลักษณะคล้ายพิระมิด โดยสร้างซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ ใช้อิฐและน้ำมันดินเป็นส่วน ประกอบสำคัญในการก่อสร้างและเพื่อให้กันน้ำได้ดีนั้น ชาวเมืองจะใช้หญ้าประเภทอ้อหรือกกผสมน้ำมันดินปูพื้นชั้นแรก แล้วปูทับด้วยอิฐเผาที่ตรึงไว้ด้วยปูน
ก่อนจะวางตะกั่วทับลงไปบนชั้นบนสุด หลังจากนั้นจึงลงดินที่มีปริมาณมากพอที่จะปลูกต้นไม้ทุกประเภท นับแต่ไม้พุ่มไปจนถึงไม้ยืนต้น น้ำที่ใช้เลี้ยงต้นไม้ในสวนลอยสูบขึ้นมาจากแม่น้ำยูเฟรทีสเบื้องล่างมาตามท่อที่ฝังซ่อนไว้อย่างมิดชิดในแต่ละส่วนของระเบียง
ทำให้ต้นไม้ที่ปลูกที่นี่เขียวชอุ่ม ให้ดอกและผลได้เป็นอย่างดีแม้ในช่วง
ที่แล้งที่สุดกลางฤดูร้อนในทะเลทราย
อารยธรรมอินเดียโบราณ(ม.2)
อินเดีย
เป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก บางทีเรียกว่า
แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ อาจแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของอินเดีย ดังนี้
1.
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นอารยธรรมของชนพื้นเมืองเผ่าดราวิเดียน พบหลักฐานเป็นซากเมือง
โบราณ 2
แห่งในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ คือ เมืองโมเฮน-โจดาโร ทางตอนใต้ของประเทศปากีสถาน เมืองฮารัปปา ในแคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน
2.
สมัยประวัติศาสตร์
เริ่มเมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้โดยชนเผ่าอินโด-อารยัน
ซึ่งตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำคงคา แบ่งได้ 3 ยุค
2.1 ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ
เริ่มตั้งแต่กำเนิดตัวอักษร บรามิ ลิปิ สิ้นสุดสมัยราชวงศ์คุปตะ
เป็นยุคที่ศาสนาพราหมณ์
- ฮินดู และพุทธศาสนาได้ถือกำเนิดแล้ว
1) สมัยพระเวท เป็นอารยธรรมชนเผ่าอารยัน
ที่เข้ายึดครองดราวิเดียนหรือชาวทราวิฑที่ถูกขับไล่ให้ถอยร่นลงทางใต้ ชาวอารยันให้กำเนิดศาสนาพราหมณ์ และระบบวรรณะ 4 วรรณกรรมสำคัญในยุคนี้ ได้แก่
ก.
คัมภีร์พระเวท เป็นบทสวดของพวกพราหมณ์ ใช้วิธีท่องจำต่อๆ กันมา ประกอบด้วย 4 คัมภีร์คือ
ฤคเวท ยชุรเวท ไตรเวท และอาถรรพเวท
ข.
มหากาพย์รามายณะ สันนิษฐานว่า แสดงถึงการต่อสู้ระหว่างชาวอารยัน (พระราม)
กับชาวทราวิฑ
(ทศกัณฑ์) แต่งโดยฤษีวาลมิกิ
ค. มหากาพย์มหาภารตยุทธ
ว่าด้วยการต่อสู้ของพี่น้องสองตระกูล (ปานฑพ-เการพ)
ง. คัมภีร์ธรรมศาสตร์
ซึ่งเป็นทั้งกฎหมาย ศาสนบัญญัติ จารีตประเพณี หลักศีลธรรม
2) สมัยพุทธกาล เกิดพระพุทธศาสนา และมีการใช้ภาษาบาลี (มคธ) เกิดศาสนาเชน
ผู้ก่อตั้งคือ
วรรธมาน
มหาวีระ
3) สมัยราชวงศ์เมารยะ พระเจ้าจันทรคุปต์
ได้รวบรวมแว่นแคว้นในดินแดนชมพูทวีปให้เป็นปึกแผ่น
เริ่มการปกครองโดยรวบอำนาจไว้ที่กษัตริย์และเมืองหลวง พระเจ้าอโศกมหาราช ส่งสมณทูตไป เผยแผ่พุทธศาสนาในแว่นแคว้นต่างๆ
หลังราชวงศ์เมารยะล่มสลาย เกิดการแตกแยกเป็นแว่นแคว้น
4) สมัยราชวงศ์กุษาณะ พวกกุษาณะเป็นชนต่างชาติที่เข้ามารุกราน
และตั้งอาณาจักรปกครองอินเดียทางตอนเหนือ ด้านการแพทย์เจริญมากในสมัยพระเจ้ากนิษกะ
ส่งสมณทูตไปเผยแผ่พุทธศาสนานิกายมหายานที่จีนและธิเบต
5)
สมัยราชวงศ์คุปตะ พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1
ทรงรวบรวมอินเดียให้เป็นจักรวรรดิอีกครั้งหนึ่ง
เป็นยุคทองของอินเดียทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม
การเมือง ปรัชญา ศาสนา
2.2 ประวัติศาสตร์สมัยกลาง ราชวงศ์โมกุลเข้าปกครองอินเดีย สมัยจักรวรรดิโมกุล พระเจ้าบาบูร์
ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุล นับถือศาสนาอิสลาม เป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดีย
พระเจ้าอักบาร์มหาราช ทรงทะนุ
บำรุงอินเดียให้มีความเจริญรุ่งเรืองทุกด้าน
และทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา สร้างสามัคคีให้เกิดขึ้นในชาติ พระเจ้าชาร์
จะฮาน ทรงเป็นมุสลิมที่เคร่งครัดและศรัทธาในศาสนาอิสลาม
เป็นผู้สร้างทัชมาฮาลที่มีความงดงามยิ่ง
2.3 ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ปลายราชวงศ์โมกุลจนถึงการได้รับเอกราชจากอังกฤษ
ปลายสมัยอาณาจักรโมกุล
กษัตริย์ทรงใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ต้องเพิ่มภาษีและเพิ่มการเกณฑ์แรงงานทำให้ราษฎรอดอยาก
และยังกดขี่ทำลายล้างศาสนาฮินดูและชาวฮินดูอย่างรุนแรง เกิดความแตกแยกภายในชาติ
เป็นเหตุให้อังกฤษค่อยๆ เข้าแทรกแซงและครอบครองอินเดียทีละเล็กละน้อย ในที่สุดอังกฤษล้มราชวงศ์โมกุลและครอบครองอินเดียในฐานะอาณานิคมอังกฤษ
สิ่งที่อังกฤษวางไว้ให้กับอินเดียคือ
รากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย แบบรัฐสภา การศาล การศึกษา ยกเลิกประเพณีบางอย่าง
เช่น พิธีสตี (การเผาตัวตายของหญิงฮินดูที่สามีตาย)
-
การสังคายนาครั้งที่ 1 สาเหตุ พระภิกษุสุภัททะ กล่าววาจาในทำนองดูหมิ่นพระพุทธองค์และแสดงความดีใจเมื่อได้ข่าวว่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ผู้เ...
-
1.วิชาเศรษฐศาสตร์เป็นศาสตร์ในสาขาใด เพราะเหตุใด 1. สังคมศาสตร์ เพราะศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ 2. วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เพราะสามารถใช้อธิบายป...
-
ห้องไหนที่ไม่ได้ใบงานลอกโจทย์แล้วจดใส่สมุดด้วยนะครับ ใบงานเรื่อง การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี...