วันพุธ, กุมภาพันธ์ 13, 2556

อารยธรรมเมโสโปเตเมีย(ม.2)


เมโสโปเตเมีย    แหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในสมัยโบราณ หมายถึง ดินแดนระหว่างแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำไทกริส และ ยูเฟรทิส  ปัจจุบันคือประเทศอิรัก   
            
เมโสโปเตเมีย   แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ใกล้กับอ่าวเปอร์เซีย  มีความอุดมสมบูรณ์ เรียกว่า       บาบิโลเนีย  ส่วนบนซึ่งค่อนข้างแห้งแล้ง เรียกว่า อัสซีเรีย  มีชนชาติหลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ มีการรบพุ่งกันอยู่เสมอ เมื่อชาติใดมีอำนาจก็เข้าไปยึดครองและกลายเป็นชนชาติเดียวกัน แบ่งเป็น 6 กลุ่ม คือ
1. ซูเมเรียน (Sumerians)
2. อัคคาเดียน (Akkadians)
3.  อะมอไรต์ (Amorites)
4.  คัสไซต์ (Kassites)
5.  อัสซีเรียน (Assyrians)
6. คาลเดียน (Chaldeans)

ชาวซูเมเรียน
        
   เมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวซูเมเรียนได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทิส ซึ่งเรียกว่า ดินแดนซูเมอร์ ในระยะแรกชุมชนเป็นหมู่บ้านยุคหินใหม่   ต่อมาพัฒนาขึ้นเป็นเมืองที่สำคัญ ได้แก่ เมืองอูร์ (Ur) เมืองอิเรค (Ereck) เมืองอิริดู (Eridu) เมืองลากาซ (Lagash) และเมืองนิปเปอร์ (Nippur)  แต่ละเมืองมีชุมชนเล็กๆ ที่รายรอบอยู่เป็นบริวาร ทำให้มีลักษณะเป็นรัฐขนาดเล็กที่เรียกว่า นครรัฐ (City State) นครรัฐเหล่านี้ต่างปกครองเป็นอิสระแก่กัน 
คนกลุ่มแรกที่สร้างสรรค์อารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือ ชาวซูเมเรียน  ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก อารยธรรมที่ชาวซูเมเรียนสร้างขึ้นเป็นพื้นฐานสำคัญของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยกรรม ตัวอักษร วรรณกรรม ศิลปกรรมอื่นๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวซูเมเรียน          ได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ
ซูเมเรียนและอัคคาเดียน  ซูเมเรียนอาศัยอยู่ตอนล่างของเมโสโปเตเมีย  สร้างอารยธรรม (Sumerian and Akkadian) ขึ้นโดยเฉพาะการประดิษฐ์ตัวอักษร  ทำให้เมโสโปเตเมียเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ และได้ให้แนวทางแก่พวกอัคคาเดียนซึ่งอยู่ทางตอนเหนือขึ้นไปของเมโสโปเตเมีย เข้ามาครอบครองและเจริญขึ้นแทน     ซูเมเรียน
อะมอไรต์ (Amorite) พวกอะมอไรต์อพยพมาจากทะเลทรายซีเรีย เข้าครอบครองเมโสโปเตเมีย           สร้างอาณาจักรบาบิโลเนียขึ้นภายใต้การปกครองของพระเจ้าฮัมมูราบี  สมัยนี้กรุงบาบิโลเนียเป็น เมืองหลวง
ฮิตไตต์และคัสไซต์ พวกฮิตไตต์ อยู่ในเอเชียไมเนอร์ ได้ขยายอาณาจักรออกเป็นจักรวรรดิใหญ่ รุกรานเข้ามาในเมโสโปเตเมีย ได้ยึดครองปล่อยให้พวกคัสไซต์ซึ่งอยู่ทางเทือกเขาด้าน ตะวันออกของแม่น้ำไทกริสเข้ายึดครองกรุงบาบิโลน
อัสซีเรียน (Assyrian) อยู่ทางตอนเหนือของเมโสโปเตเมียค่อยเจริญขึ้นแทนตอนล่างของเมโสโปเตเมีย และกลายเป็นจักรวรรดิครั้งแรกเมื่อเข้ายึดครองกรุงบาบิโลนได้
คาลเดียน (Chaldeam)  อยู่บริเวณทะเลทรายตอนใต้ของบาบิโลเนีย ได้แยกตัวออกจากการปกครองของอัสซีเรียได้สำเร็จ และมีความเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ อาณาจักรคาลเดียสิ้นสุดลงเมื่อถูกเปอร์เซียเข้ายึดครองอินโด-ยูโรเปียน พวกอินโด-ยูโรเปียน (Indo-European) อยู่ทางตอนเหนือ เข้ามา             มีอำนาจในเมโสโปเตเมีย ตั้งแต่ 550 ปี ก่อนคริสต์ศักราช โดยปราบพวกที่มีอำนาจอยู่ก่อนได้สำเร็จจึงสร้างอาณาจักรเปอร์เซียขึ้นขยายอำนาจปกครองในดินแดนเมโสโปเตเมียทั้งหมดรวมทั้งอียิปต์และหัวเมืองกรีก           ในเอเชียไมเนอร์ เมื่อทำสงครามกับกรีก ก็ตกอยู่ใต้การปกครองของกรีกในปี 332 ปี ก่อนคริสต์ศักราช

วัฒนธรรมเมโสโปเตเมีย 
1. การประดิษฐ์อักษรคูนิฟอร์ม  หรืออักษรลิ่มบนแผ่นดินเหนียว ใช้ของมีคมกรีดลงบนหิน แต่เนื่องจากหินหายากและไม่มีกระดาษปาปิรุสจึงต้องเขียนลงบนดินเหนียวแล้วนำไปผึ่งแดด หรือเผาไฟให้แห้งแข็ง เครื่องมือที่ใช้ คือ ไม้ หรือกก หรือเหล็กแหลม กดเป็นรูปลิ่มอักษร จึงถูกเรียกว่า คูนิฟอร์มหรือตัวอักษรรูปลิ่ม
        
   2. การสร้างสถาปัตยกรรม ซิกกูแรตซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างลักษณะคล้ายพิระมิด สร้างบนฐานที่ยกระดับจากพื้นดินข้างบน ทำเป็นวิหารเทพเจ้ามีบันไดทอดยอดขึ้นไป
        
   3. การทำปฏิทินจันทรคติ กำหนดปีหนึ่งมี 12 เดือน ปีของสุเมเรียนทางจันทรคติมีเพียง 354 วัน ขณะที่ปีทางสุริยคติมี 366  วัน
4. ประมวลกฎหมายฮัมบูราบี เป็นบทบัญญัติที่รวบรวมกฎหมายต่าง ๆ และพระราชกฤษฎีกา
ของกษัตริย์ฮัมมูราบี ราชาแห่งบาบิโลเนีย และเป็นประมวลกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุด คัดลอกไว้โดยการแกะสลักลงบนหินบะซอลต์สีดำสูง 2.40 เมตร ซึ่งต่อมาทีมนักโบราณคดีฝรั่งเศสขุดพบที่ประเทศอิรัก ปัจจุบันเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
กฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายอาญาโดยยึดหลัก “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” อันหมายถึงทำผิดอย่างไร
ได้โทษอย่างนั้น ซึ่งแม้บทลงโทษตามกฎหมายฮัมมูราบีจะดูว่าโหดเหี้ยม แต่การทำกฎหมายให้เป็นลายลักษณ์อักษรและใช้บังคับอย่างเป็นระบบกับทุกคน และการ ถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ ว่าผิดนับเป็นหลักการสำคัญที่เป็นวิวัฒนาการทางอารยธรรมของมนุษย์
5. ซิกกูแรต (Ziggurat) เป็นสิ่งก่อสร้างของอารยธรรมซูเมเรียน (Sumerians) ในบริเวณเมโสโปเตเมีย มีลักษณะคล้ายพีระมิดแบบขั้นบันไดแต่ไม่ก่อสร้างสูงจนเป็นยอดแหลม ด้านบนของซิกกูแรตซึ่งเป็นพื้นที่ราบกว้างจะสร้างเป็นวิหาร ในระยะแรกการสร้างซิกกูแรตมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา แต่ต่อมาซิกกูแรตนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังกษัตริย์ เช่น ซิกกูแรตที่เมืองอูร์ (Ur)
ซิกกูแรตสร้างขึ้นด้วยวัสดุจำพวกอิฐและไม้ ความแข็งแรงคงทนจึงสู้งานสถาปัตยกรรมยุคต่อมา เช่น พีระมิดอียิปต์ที่สร้างด้วยวัสดุจำพวกหินไม่ได้  ซิกกูแรตเก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบมีชื่อว่า “The White Temple” พบที่เมืองอูรุค (Uruk) หรือวาร์กา (Warka) บริเวณพื้นที่ประเทศอิรักในปัจจุบัน มีอายุประมาณ 3,500 – 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล ซึ่งเก่าแก่กว่าพีระมิดของอียิปต์หลายร้อยปี
6. มหากาพย์กิลกาเมช  (Gilgamesh) เป็นตำนานน้ำท่วมโลกที่เก่าแก่ของบาบิโลน กษัตริย์กิลกาเมชกับเหตุการณ์น้ำท่วมโลก จารึกไว้ในแผ่นดินเหนียวจำนวน 12 แท่ง ในหอเก็บจารึกของกษัตริย์แห่งอัสซีเรีย เมื่อราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล  
7. สวนลอยแห่งบาบิโลน  สร้างขึ้นประมาณศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล โดยคำบัญชาของกษัตริย์
“เนบูคัดเนซซาร์” เพื่อเป็นของขวัญแก่นางอามิธีส ราชินีชาวเปอร์เซียของพระองค์  สวนแห่งนี้สร้างขึ้น
ในเขตพระราชฐาน มีลักษณะคล้ายพิระมิด โดยสร้างซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ  ใช้อิฐและน้ำมันดินเป็นส่วน ประกอบสำคัญในการก่อสร้างและเพื่อให้กันน้ำได้ดีนั้น ชาวเมืองจะใช้หญ้าประเภทอ้อหรือกกผสมน้ำมันดินปูพื้นชั้นแรก แล้วปูทับด้วยอิฐเผาที่ตรึงไว้ด้วยปูน ก่อนจะวางตะกั่วทับลงไปบนชั้นบนสุด หลังจากนั้นจึงลงดินที่มีปริมาณมากพอที่จะปลูกต้นไม้ทุกประเภท นับแต่ไม้พุ่มไปจนถึงไม้ยืนต้น น้ำที่ใช้เลี้ยงต้นไม้ในสวนลอยสูบขึ้นมาจากแม่น้ำยูเฟรทีสเบื้องล่างมาตามท่อที่ฝังซ่อนไว้อย่างมิดชิดในแต่ละส่วนของระเบียง ทำให้ต้นไม้ที่ปลูกที่นี่เขียวชอุ่ม ให้ดอกและผลได้เป็นอย่างดีแม้ในช่วง ที่แล้งที่สุดกลางฤดูร้อนในทะเลทราย 

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ดีมากๆ

แสดงความคิดเห็น