ผู้เยาว์คือใคร
มาตรา 19 บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์
ต่ำกว่า20=ผู้เยาว์ 20+ = บรรลุนิติภภาวะ
ขอยกเว้นของ19
มาตรา 20 ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรสหากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา 1448
ผู้เยาว์ที่สมรสแล้วต้องดูแลครอบครัวตนต่อไป จึงต้องมีความเป็นผู้ใหญ่ในทางกฎหมาย
การสมรสของผู้เยาว์
มาตรา 1448 การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้
การสมรสจะเริ่มกระทำได้โดยถือว่าชอบด้วยกฎหมายคืออายุ 17 ปี บริบูรณ์แล้วเท่านั้น โดยต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา หรือผู้ปกครองก่อน
หากผู้เยาว์ต้องการสมรสแต่อายุยังไม่ถึง 17 ปี แม้ผู้แทนฯ จะให้การอนุญาตก็ไม่อาจสมรสได้ ต้องร้องขอต่อศาลแต่เพียงประการเดียว โดยศาลจะพิจารณาถึงความ
การทำนิติกรรมของผู้เยาว์
มาตรา 21 ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอม ของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อนการใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจาก ความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อนนิติกรรมที่ผู้เยาว์ทำไปโดยไม่ได้ขอความยินยอมจะเป็นโมฆียะ
นิติกรรมที่ทำเองได้โดยไม่ต้องรับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม(4 มาตรา)
มาตรา 22 ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียงเพื่อ จะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่ อันใดอันหนึ่ง
ผู้เยาว์ได้รับสิทธิ(ประโยชน์)หรือหลุดพ้นจากหน้าที่ แต่ต้องไม่มีเงื่อนไข
มาตรา 23 ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการต้องทำ เองเฉพาะตัว
การที่ต้องทำเองเฉพาะตัวผู้เยาว์ เช่น พินัยกรรม รับรองบุตร
มาตรา 24 ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร
เช่น การซื้อสินค้าอันจำเป็นตามปกติ การใช้จ่ายที่ไม่ฟุ้งเฟ้อตามปกติ การซื้อโทรศัพท์มือถือปัจจุบันอาจเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนได้ แต่การซื้อรถยนต์ ซื้อที่ดิน ยังคงเกินฐานานุรูป
มาตรา 25 ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์
การทำพินัยกรรมนั้นผู้เยาว์จะทำได้เมื่ออายุครบ 15 ปี บริบูรณ์แล้วเท่านั้น แต่ถ้าผู้เยาว์ซึ่งสมรสแล้วถือว่าบรรลุนิติภาวะแล้วแม้อายุเพียง 14 ปี ก็สามารถทำพินัยกรรมได้
1 ความคิดเห็น:
ขอบพระคุนคับ
แสดงความคิดเห็น