มาตรา26เป็นเรื่องเรื่องการจำหน่ายทรัพย์สิน มาตรา27ยาวหน่อยเรื่องการประกอบธุรกิจของผู้เยาว์เอาตัวแดงแทรกอธิบายไว้ในแต่ละวรรคนะอย่างงกันล่ะ
มาตรา 26 ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ผู้เยาว์จำหน่าย ทรัพย์สินเพื่อการอันใดอันหนึ่งอันได้ระบุไว้ ผู้เยาว์จะจำหน่ายทรัพย์สิน นั้นเป็นประการใดภายในขอบของการที่ระบุไว้นั้นก็ทำได้ตามใจสมัคร อนึ่งถ้าได้รับอนุญาตให้จำหน่ายทรัพย์สินโดยมิได้ระบุว่าเพื่อการอันใด ผู้เยาว์ก็จำหน่ายได้ตามใจสมัคร
การจำหน่ายทรัพย์เป็นนิติกรรมเช่นกัน ดังนั้นผู้เยาว์จึงจำต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมเสียก่อน โดยความยินยอมตามมาตรานี้แบ่งเป็น
1. ความยินยอมให้จำหน่ายทรัพย์สินเพื่อการอันใดอันหนึ่งอันได้ระบุไว้ เช่น ผู้แทนฯ ให้ผู้เยาว์นำเงิน 2000 บาทไปซื้อเสื้อผ้า ผู้เยาว์ต้องนำเงินไปซื้อเสื้อผ้าตามที่ระบุไว้ แต่ผู้เยาว์จะซื้อแบบใดร้านใดก็ได้แล้วแต่ผู้เยาว์เนื่องจากไม่ได้มีการระบุเงื่อนไขไว้
2. ความยินยอมให้จำหน่ายทรัพย์สินโดยมิได้ระบุว่าเพื่อการอันใดเช่น ผู้แทนฯ ให้เงินผู้เยาว์ 2000 โดยไม่ได้ระบุว่าให้เอาไปจำหน่ายอย่างไร ผู้เยาว์สามารถนำเงินไปซื้ออะไรก็ได้ อย่างไรก็ได้
มาตรา 27 ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ ในการประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่น หรือในการทำสัญญา เป็นลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงานได้ ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรม ไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาล ให้สั่งอนุญาตได้
เรื่องนี้เป็นเรื่องผู้เยาว์ต้องการจะทำธุรกิจหรือการงานตามสัญญาจ้างแรงงานซึ่งการทำธุรกิจหรือการงานก็เป็นการทำนิติกรรมอย่างหนึ่งเช่นกันผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมเสียก่อน ซึ่งในกรณีที่ผู้เยาว์สามารถประกอบธุรกิจหรือการงานได้แล้วแต่ผู้แทนฯ ไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ผู้เยาว์สามารถร้องขอต่อศาลได้ หากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์ไม่มีผลเสียและกรณีมีความจำเป็นศาลอาจจะอนุญาตได้ ซึ่งการอนุญาตหรือไม่เป็นดุลยพินิจศาล
ในความเกี่ยวพันกับการประกอบธุรกิจ หรือการจ้างแรงงานตาม วรรคหนึ่งให้ผู้เยาว์มีฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว
เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ผู้เยาว์มีฐานนะเสมือนบุคคลผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว เฉพาะนิติกรรมที่เกี่ยวกับธุรกิจนะที่เสมือนผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว เรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องยังเหมือนเดิม
ถ้าการประกอบธุรกิจ หรือการทำงานที่ได้รับความยินยอมหรือ ที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ก่อให้เกิดความเสียหายถึงขนาดหรือ เสื่อมเสียแก่ผู้เยาว์ ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจบอกเลิกความยินยอม ที่ได้ให้แก่ผู้เยาว์เสียได้หรือในกรณีที่ศาลอนุญาต ผู้แทนโดยชอบธรรม อาจร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการอนุญาตที่ได้ให้แก่ผู้เยาว์นั้นเสียได้
ผู้แทนฯ สามารถบอกเลิกความยินยอมได้เพราะเป็นกรณีที่ผู้เยาว์ประกอบธุรกิจเสียหายหรือเกิดความเสื่อมเสียแก่ผู้เยาว์อย่างมาก ในกรณีที่ความยินยอมได้รับอนุญาตจากศาลผู้แทนก็อาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนความยินยอมได้ กรณีนี้ผู้แทนฯจะเพิกถอนเองไม่ได้
ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมบอกเลิกความยินยอมโดยไม่มีเหตุ อันสมควรผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาล ให้เพิกถอนการบอกเลิกความ ยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมได้
ความหมายตามนั้น
การบอกเลิกความยินยอมโดยผู้แทนโดยชอบธรรม หรือการเพิก ถอนการอนุญาตโดยศาล ย่อมทำให้ฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุ นิติภาวะแล้วของผู้เยาว์สิ้นสุดลง แต่ไม่กระทบกระเทือนการใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้กระทำไปแล้วก่อนมีการบอกเลิกความยินยอมหรือเพิก ถอนการอนุญาต
เมื่อมีการบอกเลิกหรือเพิกถอนความยินยอมแล้ว ฐานะเสมือนบรรลุนิติภาวะของผู้เยาว์ก็จะสิ้นสุดลง ผู้เยาว์จะกลับมาเป็นผู้เยาว์อีก ดังนั้นหลังจากนี้ผู้เยาว์จะไปซื้อเสื้อผ้ามาขายไม่ได้แล้ว หากไปซื้อมาอีกผู้แทนฯ สามารถบอกล้างนิติกรรมนั้นได้ตามมาตรา 21 แต่หากเผอิญว่าผู้เยาว์ยังมีหนี้เก่าที่ไม่ได้ชำระค่าเสื้อที่ซื้อมาขายก่อนหน้านี้ หนี้นั้นก็สมบูรณ์ทุกอย่าง ต้องชำระหนี้ไปจะอ้างว่าเมื่อบอกเลิกหรือเพิกถอนความยินยอมแล้วหนี้เป็นโมฆะไม่ได้เพราะการสิ้นสุดในเรื่องความบรรลุนิติภาวะของผู้เยาว์นั้นไม่กระทบกระเทือนถึงนั่นเอง
4 ความคิดเห็น:
เรื่องผู้เยาว์ท่าจะออกยากนะครับ= ='
หน้านี้ออกหรือเปล่าครับ??
ออกสิ
ขอบพระคุนคับ
แสดงความคิดเห็น