วันอังคาร, มกราคม 01, 2556

Remote Sensing (ม.6)


Remote Sensing

   การรับรู้จากระยะไกล  (Remote  Sensing)  หมายถึง  ระบบสำรวจบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับพื้นผิวโลกด้วยกล้อง  ซึ่งติดไปกับยานดาวเทียมหรือเครื่องบิน  กล้องสามารถตรวจจับคลื่นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าที่สะท้อนจากวัตถุบนผิวโลก  หรือตรวจจับคลื่นที่ส่งไปและสะท้อนกลับมา  หลังจากนั้นมีการแปลงข้อมูลเชิงตัวเลขซึ่งนำไปใช้แสดงเป็นภาพและทำแผนที่
1.ภาพถ่ายทางอากาศ
การถ่ายภาพในช่วงคลื่นที่เรามองเห้นตามปกติโดยการนำกล้องถ่ายรูปติดไว้กับอากาศยาน โดยการใช้ภาพถ่ายทางอากาศสามารถทำได้2วิธี คือ
1.1มองได้ตาเปล่า ต้องอาศัยความชำนาญถึงได้แปลความหมายได้คลาดเคลื่อนน้อยที่สุด
1.2ใช้กล้องStereo Scope โดยการนำภาพถ่ายทางอากาศ2ภาพที่มีส่วนที่ซ้อนทับกัน(Overlap) สามารถมองเป็นภาพสามมิติได้เพื่อความสะดวกในการแปลความหมาย
2.ภาพถ่ายดาวเทียม
อาศัยการบันทึกพลังงานที่สะท้อนจากวัตถุโดยอาศัยหลักคุรสมบัติวัตถุแต่ละชนิดที่สะท้อนพลังงานต่างกัน
Passive Remote Sensing Satellite – ใช้ดวงอาทิตย์เป็นต้นกำเนิดพลังงาน

Active Remote Sensing Satellite – ตัวดาวเทียมกำเนิดพลังงานเอง


ประโยชน์ของRemote Sensing
1) การพยากรณ์อากาศ  กรมอุตุนิยมวิทยาใช้ข้อมูลจากดาวเทียมเพื่อพยากรณ์
2)  สำรวจการใช้ประโยชน์ที่ดิน  เนื่องจากข้อมูลจากดาวเทียมมีรายละเอียดภาคพื้นดิน  และช่วงเวลาการบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน  จึงใช้ประโยชน์ในการทำแผนที่การใช้ประโยชน์จากที่ดินและการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี
3) การสำรวจทรัพยากรดิน  ข้อมูลจากดาวเทียมและรูปถ่ายทางอากาศเป็นอุปกรณ์สำคัญในการสำรวจและจำแนกดิน  ทำให้ทราบถึงชนิด  การแพร่กระจาย  และความอุดมสมบูรณ์ของดิน  จึงใช้จัดลำดับความเหมาะสมของดินได้
4)  การสำรวจด้านธรณีวิทยา  และธรณีสัณฐานวิทยา  เนื่องจากข้อมูลดาวเทียมครอบคลุมพื้นที่กว้าง  มีรายละเอียดภาคพื้นดินสูงและยังมีหลายช่วงคลื่นแสง  จึงเป็นประโยชน์อย่างมากที่ใช้ในการสำรวจและทำแผนที่ธรณีวิทยา

5)  การเตือนภัยจากธรรมชาติ  เมื่อนำเอาข้อมูลจากดาวเทียมร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  และระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกจะเป็นประโยชน์ในการเตือนภัยก่อนที่จะเกิดภัย  ขณะเกิดภัย  และหลังเกิดภัยธรรมชาติ

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

อาจารย์เจนตร์คะแนนของม.6/5อยู่ส่วนไหนค่ะ

แสดงความคิดเห็น