เมโสโปเตเมีย
แหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในสมัยโบราณ หมายถึง ดินแดนระหว่างแม่น้ำ
2 สาย คือ แม่น้ำไทกริส และ ยูเฟรทิส ปัจจุบันคือประเทศอิรัก
เมโสโปเตเมีย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ใกล้กับอ่าวเปอร์เซีย มีความอุดมสมบูรณ์ เรียกว่า บาบิโลเนีย ส่วนบนซึ่งค่อนข้างแห้งแล้ง เรียกว่า อัสซีเรีย มีชนชาติหลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ มีการรบพุ่งกันอยู่เสมอ เมื่อชาติใดมีอำนาจก็เข้าไปยึดครองและกลายเป็นชนชาติเดียวกัน แบ่งเป็น 6 กลุ่ม คือ
เมโสโปเตเมีย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ใกล้กับอ่าวเปอร์เซีย มีความอุดมสมบูรณ์ เรียกว่า บาบิโลเนีย ส่วนบนซึ่งค่อนข้างแห้งแล้ง เรียกว่า อัสซีเรีย มีชนชาติหลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ มีการรบพุ่งกันอยู่เสมอ เมื่อชาติใดมีอำนาจก็เข้าไปยึดครองและกลายเป็นชนชาติเดียวกัน แบ่งเป็น 6 กลุ่ม คือ
1. ซูเมเรียน (Sumerians)
2. อัคคาเดียน (Akkadians)
3. อะมอไรต์ (Amorites)
4. คัสไซต์ (Kassites)
5. อัสซีเรียน (Assyrians)
6. คาลเดียน (Chaldeans)
ชาวซูเมเรียน
เมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวซูเมเรียนได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทิส ซึ่งเรียกว่า ดินแดนซูเมอร์ ในระยะแรกชุมชนเป็นหมู่บ้านยุคหินใหม่ ต่อมาพัฒนาขึ้นเป็นเมืองที่สำคัญ ได้แก่ เมืองอูร์ (Ur) เมืองอิเรค (Ereck) เมืองอิริดู (Eridu) เมืองลากาซ (Lagash) และเมืองนิปเปอร์ (Nippur) แต่ละเมืองมีชุมชนเล็กๆ ที่รายรอบอยู่เป็นบริวาร ทำให้มีลักษณะเป็นรัฐขนาดเล็กที่เรียกว่า นครรัฐ (City State) นครรัฐเหล่านี้ต่างปกครองเป็นอิสระแก่กัน
เมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวซูเมเรียนได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทิส ซึ่งเรียกว่า ดินแดนซูเมอร์ ในระยะแรกชุมชนเป็นหมู่บ้านยุคหินใหม่ ต่อมาพัฒนาขึ้นเป็นเมืองที่สำคัญ ได้แก่ เมืองอูร์ (Ur) เมืองอิเรค (Ereck) เมืองอิริดู (Eridu) เมืองลากาซ (Lagash) และเมืองนิปเปอร์ (Nippur) แต่ละเมืองมีชุมชนเล็กๆ ที่รายรอบอยู่เป็นบริวาร ทำให้มีลักษณะเป็นรัฐขนาดเล็กที่เรียกว่า นครรัฐ (City State) นครรัฐเหล่านี้ต่างปกครองเป็นอิสระแก่กัน
คนกลุ่มแรกที่สร้างสรรค์อารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือ
ชาวซูเมเรียน ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก อารยธรรมที่ชาวซูเมเรียนสร้างขึ้นเป็นพื้นฐานสำคัญของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยกรรม
ตัวอักษร วรรณกรรม ศิลปกรรมอื่นๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวซูเมเรียน ได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ
ซูเมเรียนและอัคคาเดียน ซูเมเรียนอาศัยอยู่ตอนล่างของเมโสโปเตเมีย สร้างอารยธรรม (Sumerian and Akkadian) ขึ้นโดยเฉพาะการประดิษฐ์ตัวอักษร ทำให้เมโสโปเตเมียเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ และได้ให้แนวทางแก่พวกอัคคาเดียนซึ่งอยู่ทางตอนเหนือขึ้นไปของเมโสโปเตเมีย เข้ามาครอบครองและเจริญขึ้นแทน ซูเมเรียน
อะมอไรต์
(Amorite) พวกอะมอไรต์อพยพมาจากทะเลทรายซีเรีย
เข้าครอบครองเมโสโปเตเมีย สร้างอาณาจักรบาบิโลเนียขึ้นภายใต้การปกครองของพระเจ้าฮัมมูราบี สมัยนี้กรุงบาบิโลเนียเป็น เมืองหลวง
ฮิตไตต์และคัสไซต์ พวกฮิตไตต์
อยู่ในเอเชียไมเนอร์ ได้ขยายอาณาจักรออกเป็นจักรวรรดิใหญ่
รุกรานเข้ามาในเมโสโปเตเมีย ได้ยึดครองปล่อยให้พวกคัสไซต์ซึ่งอยู่ทางเทือกเขาด้าน ตะวันออกของแม่น้ำไทกริสเข้ายึดครองกรุงบาบิโลน
อัสซีเรียน (Assyrian) อยู่ทางตอนเหนือของเมโสโปเตเมียค่อยเจริญขึ้นแทนตอนล่างของเมโสโปเตเมีย
และกลายเป็นจักรวรรดิครั้งแรกเมื่อเข้ายึดครองกรุงบาบิโลนได้
คาลเดียน
(Chaldeam) อยู่บริเวณทะเลทรายตอนใต้ของบาบิโลเนีย ได้แยกตัวออกจากการปกครองของอัสซีเรียได้สำเร็จ
และมีความเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ อาณาจักรคาลเดียสิ้นสุดลงเมื่อถูกเปอร์เซียเข้ายึดครองอินโด-ยูโรเปียน พวกอินโด-ยูโรเปียน
(Indo-European)
อยู่ทางตอนเหนือ
เข้ามา มีอำนาจในเมโสโปเตเมีย ตั้งแต่ 550 ปี
ก่อนคริสต์ศักราช โดยปราบพวกที่มีอำนาจอยู่ก่อนได้สำเร็จจึงสร้างอาณาจักรเปอร์เซียขึ้นขยายอำนาจปกครองในดินแดนเมโสโปเตเมียทั้งหมดรวมทั้งอียิปต์และหัวเมืองกรีก ในเอเชียไมเนอร์ เมื่อทำสงครามกับกรีก
ก็ตกอยู่ใต้การปกครองของกรีกในปี 332 ปี ก่อนคริสต์ศักราช
วัฒนธรรมเมโสโปเตเมีย
1.
การประดิษฐ์อักษรคูนิฟอร์ม หรืออักษรลิ่มบนแผ่นดินเหนียว ใช้ของมีคมกรีดลงบนหิน แต่เนื่องจากหินหายากและไม่มีกระดาษปาปิรุสจึงต้องเขียนลงบนดินเหนียวแล้วนำไปผึ่งแดด หรือเผาไฟให้แห้งแข็ง
เครื่องมือที่ใช้ คือ ไม้ หรือกก หรือเหล็กแหลม กดเป็นรูปลิ่มอักษร
จึงถูกเรียกว่า “คูนิฟอร์ม” หรือตัวอักษรรูปลิ่ม
2. การสร้างสถาปัตยกรรม “ซิกกูแรต” ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างลักษณะคล้ายพิระมิด สร้างบนฐานที่ยกระดับจากพื้นดินข้างบน ทำเป็นวิหารเทพเจ้ามีบันไดทอดยอดขึ้นไป
3. การทำปฏิทินจันทรคติ กำหนดปีหนึ่งมี 12 เดือน ปีของสุเมเรียนทางจันทรคติมีเพียง 354 วัน ขณะที่ปีทางสุริยคติมี 366 วัน
2. การสร้างสถาปัตยกรรม “ซิกกูแรต” ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างลักษณะคล้ายพิระมิด สร้างบนฐานที่ยกระดับจากพื้นดินข้างบน ทำเป็นวิหารเทพเจ้ามีบันไดทอดยอดขึ้นไป
3. การทำปฏิทินจันทรคติ กำหนดปีหนึ่งมี 12 เดือน ปีของสุเมเรียนทางจันทรคติมีเพียง 354 วัน ขณะที่ปีทางสุริยคติมี 366 วัน
4.
ประมวลกฎหมายฮัมบูราบี เป็นบทบัญญัติที่รวบรวมกฎหมายต่าง ๆ และพระราชกฤษฎีกา
ของกษัตริย์ฮัมมูราบี
ราชาแห่งบาบิโลเนีย และเป็นประมวลกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุด คัดลอกไว้โดยการแกะสลักลงบนหินบะซอลต์สีดำสูง
2.40 เมตร ซึ่งต่อมาทีมนักโบราณคดีฝรั่งเศสขุดพบที่ประเทศอิรัก
ปัจจุบันเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
กฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายอาญาโดยยึดหลัก
“ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” อันหมายถึงทำผิดอย่างไร
ได้โทษอย่างนั้น ซึ่งแม้บทลงโทษตามกฎหมายฮัมมูราบีจะดูว่าโหดเหี้ยม
แต่การทำกฎหมายให้เป็นลายลักษณ์อักษรและใช้บังคับอย่างเป็นระบบกับทุกคน และการ “ถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับการพิสูจน์
ว่าผิด” นับเป็นหลักการสำคัญที่เป็นวิวัฒนาการทางอารยธรรมของมนุษย์
5. ซิกกูแรต (Ziggurat) เป็นสิ่งก่อสร้างของอารยธรรมซูเมเรียน (Sumerians) ในบริเวณเมโสโปเตเมีย มีลักษณะคล้ายพีระมิดแบบขั้นบันไดแต่ไม่ก่อสร้างสูงจนเป็นยอดแหลม ด้านบนของซิกกูแรตซึ่งเป็นพื้นที่ราบกว้างจะสร้างเป็นวิหาร ในระยะแรกการสร้างซิกกูแรตมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา แต่ต่อมาซิกกูแรตนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังกษัตริย์
เช่น ซิกกูแรตที่เมืองอูร์ (Ur)
ซิกกูแรตสร้างขึ้นด้วยวัสดุจำพวกอิฐและไม้ ความแข็งแรงคงทนจึงสู้งานสถาปัตยกรรมยุคต่อมา
เช่น พีระมิดอียิปต์ที่สร้างด้วยวัสดุจำพวกหินไม่ได้ ซิกกูแรตเก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบมีชื่อว่า “The White
Temple” พบที่เมืองอูรุค (Uruk) หรือวาร์กา (Warka) บริเวณพื้นที่ประเทศอิรักในปัจจุบัน
มีอายุประมาณ 3,500 – 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล
ซึ่งเก่าแก่กว่าพีระมิดของอียิปต์หลายร้อยปี
6. มหากาพย์กิลกาเมช (Gilgamesh) เป็นตำนานน้ำท่วมโลกที่เก่าแก่ของบาบิโลน กษัตริย์กิลกาเมชกับเหตุการณ์น้ำท่วมโลก
จารึกไว้ในแผ่นดินเหนียวจำนวน 12 แท่ง ในหอเก็บจารึกของกษัตริย์แห่งอัสซีเรีย เมื่อราวศตวรรษที่
7 ก่อนคริสตกาล
7. สวนลอยแห่งบาบิโลน สร้างขึ้นประมาณศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล
โดยคำบัญชาของกษัตริย์
“เนบูคัดเนซซาร์”
เพื่อเป็นของขวัญแก่นางอามิธีส ราชินีชาวเปอร์เซียของพระองค์ สวนแห่งนี้สร้างขึ้น
ในเขตพระราชฐาน
มีลักษณะคล้ายพิระมิด โดยสร้างซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ ใช้อิฐและน้ำมันดินเป็นส่วน ประกอบสำคัญในการก่อสร้างและเพื่อให้กันน้ำได้ดีนั้น ชาวเมืองจะใช้หญ้าประเภทอ้อหรือกกผสมน้ำมันดินปูพื้นชั้นแรก แล้วปูทับด้วยอิฐเผาที่ตรึงไว้ด้วยปูน
ก่อนจะวางตะกั่วทับลงไปบนชั้นบนสุด หลังจากนั้นจึงลงดินที่มีปริมาณมากพอที่จะปลูกต้นไม้ทุกประเภท นับแต่ไม้พุ่มไปจนถึงไม้ยืนต้น น้ำที่ใช้เลี้ยงต้นไม้ในสวนลอยสูบขึ้นมาจากแม่น้ำยูเฟรทีสเบื้องล่างมาตามท่อที่ฝังซ่อนไว้อย่างมิดชิดในแต่ละส่วนของระเบียง
ทำให้ต้นไม้ที่ปลูกที่นี่เขียวชอุ่ม ให้ดอกและผลได้เป็นอย่างดีแม้ในช่วง
ที่แล้งที่สุดกลางฤดูร้อนในทะเลทราย
1 ความคิดเห็น:
ดีมากๆ
แสดงความคิดเห็น