กฎหมายว่าด้วยความสามารถของบุคคล
ประเภทของบุคคล
Ø “บุคคล” ในทางกฎหมาย หมายถึง สิ่งซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายจำแนกเป็น ๒ ประเภท คือ
1. บุคคล คือ มนุษย์ คือ มนุษย์เราโดยทั่วไป
2. นิติบุคล คือ สิ่งที่กฎหมายสมมติว่าเป็นบุคคลหรือยกขึ้นเป็นบุคคลเพื่อให้มีสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ ได้ตามกฎหมาย
บุคคลธรรมดา
การเริ่มสภาพบุคคล
สภาพบุคคลเริ่มตั้งแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
1. ทารกพ้นจากคลอดของมารดา
2. อยู่รอดเป็นทารก
ทารกในครรภ์มารดาปกติยังไม่ถือว่ามีสภาพบุคคล โดยหลักจึงไม่อาจมีสิทธิใด ๆ ในทางกฎหมาย แต่
ป.แพ่งฯ มาตรา ๑๕ วรรคสอง บัญญัติว่า “ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่าง ๆ ได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก”
เช่น สิทธิในการรับมรดกจากบิดาที่ตายในระหว่างที่ทารกนั้นยังอยู่ในครรภ์มารดาโดยการคลอดนี้จะต้องคลอดภายในระยะเวลา ๓๑๐ วัน นับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
การสิ้นสุดสภาพบุคคล
สภาพบุคคลสิ้นสุดลงเมื่อตาย ( มาตรา ๑๕ ) การตายตามกฎหมายนั้นมีอยู่ ๒ กรณี คือ
การตายตามธรรมชาติ
หมายถึง คนสิ้นชีวิต โดยหลักจะได้แก่ ระบบการทำงานของร่างกาย ๓ ระบบ ไม่ทำงาน คือ
1. ระบบประสาทกลาง ได้แก่ สมอง
2. ระบบไหลเวียนโลหิต ได้แก่ หัวใจและหลอดเลือด
3. ระบบหายใจ ได้แก่ หลอดลมและปอด
การตายโดยผลของกฎหมาย
คือ บุคคลที่ศาลสั่งแสดงว่าเป็นคนสาบสูญ
การที่บุคคลถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังชีวิตอยู่ หรือไม่ตลอดระยะเวลาห้าปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ แต่ในกรณีที่มีเหตุภยันตรายจากการรบหรือสงคราม ยานพาหนะสูญหาย ระยะเวลาจะลดเหลือ ๒ ปี
นิติบุคคล
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สมาคม มูลนิธิ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด
กฎหมายอื่น
กระทรวงและกรมในรัฐบาล ราชการบริหารส่วนภูมิภาค วัด
5 ความคิดเห็น:
ขอบคุณค่ะครู: )
ครูคะ ครูข้ามเรื่องจารีตไปค่ะ มีให้จดในสมุด
ไม่ออกข้อสอบเรื่องจารีตหรอคะ??
นั้นสิค่ะ ไม่มีเรื่อง จารีต
จารีตไม่ออกครับ
เจตน์จรัส
วู้ววววว^^
แสดงความคิดเห็น