วันจันทร์, กันยายน 12, 2554

นโยบายการเงิน/การคลัง เงินแข็งตัว/อ่อนตัว (ม.5)

นโยบายการเงิน

เพื่อการควบคุมปริมาณเงินและสินเชื่อ โดยธนาคารกลาง

แบ่งเป็น

§  นโยบายการเงินแบบเข้มงวด                                       

ผลที่ได้จะทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจลดลง

§  นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย                                    

 ผลที่ได้จะทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

นโยบายการคลัง (Fiscal Policy)

นโยบายที่เกี่ยวกับการใช้รายได้ และรายจ่ายของรัฐบาล

เครื่องมือนโยบายการคลัง

1.             งบประมาณรายจ่าย

2.             งบประมาณรายรับ

3.             หนี้สาธารณะ

งบประมาณรายจ่าย

งบลงทุน

งบประจำ

งบประมาณรายรับ

แบ่งเป็น 2 ประเภท

รายได้จากการเก็บภาษีอากร

                   ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

                   ภาษีเงินได้นิติบุคคล

                   ภาษีสรรพสามิต

                   ภาษีศุลกากร

                            ฯลฯ

รายได้ที่ไม่ใช่ภาษีอากร

                   รายได้จากรัฐพาณิชย์

                   รายได้จากการขายหลักทรัพย์

                   รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์

                   ค่าธรรมเนียมประเภทต่างๆ

                   ฯลฯ

หนี้สาธารณะ

ความหมาย

รัฐบาลกู้เงินจากสถาบันการเงินเอกชนภายในประเทศและนอกประเทศ

ประเภทของนโยบายการคลัง

นโยบายการคลังแบบขยายตัวหรือใช้งบประมาณขาดดุล

โดยมีรายจ่ายรัฐบาลมากกว่ารายรับ ใช้ในกรณีเศรษฐกิจตกต่ำ

นโยบายการคลังแบบหดตัวหรือใช้งบประมาณเกินดุล

โดยมีรายรับมากกว่ารายจ่าย ใช้ในกรณีเศรษฐกิจฟองสบู่ เกิดภาวะเงินเฟ้อ

เงินแข็งตัวและเงินอ่อนตัว

ค่าเงินแข็งตัว (Appreciation) หมายถึง การที่ค่าเงินสกุลหนึ่งมีค่ามากขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น

การไหลเข้าของเงินสกุลอื่น
ค่าเงินอ่อนตัว (
Depreciation) หมายถึง การที่ค่าเงินสกุลหนึ่งมีค่าลดลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น

การไหลออกของเงินบาท

ใครได้ประโยชน์



ค่าเงินแข็งตัว
ค่าเงินอ่อนตัว
เจ้าหนี้ชาวไทย
ผู้นำเข้า
นักลงทุนชาวไทย
ลูกหนี้ชาวไทย
ผู้ส่งออก
นักลงทุนชาวต่างประเทศ


วันศุกร์, กันยายน 09, 2554

ดุลการชำระเงิน (ม.5)

ดุลการชำระเงิน
(
Balance of Payment/Balance Budget)
ความหมาย
บัญชีดุลชำระเงินระหว่างประเทศ เป็นการลงบันทึกรายการเกี่ยวกับรายรับและรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานทางเศรษฐกิจของประชากรในประเทศรวมทั้งส่วนของประชากรที่อยู่ในต่างประเทศ ภายในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
ความสำคัญ
เครื่องบ่งชี้ฐานสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ
ถ้าดุลการชำระเงินเกินดุลในปีใด หมายถึง รายรับของประเทศมากกว่ารายจ่าย อาจจะมีผลทำให้เงินทุนสำรองของประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงว่าในปีนั้นประเทศมีสภาพคล่องทางเศรษฐกิจสูง
ประเภทของบัญชี
1. บัญชีเดินสะพัด
2. บัญชีการเคลื่อนย้ายของทุน
3. เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ

ดุลบัญชีเดินสะพัด
1) ดุลการค้า
รายการการค้าสินค้าระหว่างประเทศ
2) ดุลบริการ
รายการการค้าบริการระหว่างประเทศ เช่น การขนส่ง การท่องเที่ยว สิทธิบัตร เป็นต้น
3) ดุลรายได้
ผลตอบแทบจากการจ้างงานรวมถึงสวัสดิการ
4) ดุลการโอนและการบริจาค
การโอนเงินบริจาค
ดุลบัญชีเดินสะพัด = ดุลการค้า + ดุลบริการ + ดุลรายได้+ดุลการโอนและการบริจาค

ดุลบัญชีเงินทุน
ประกอบไปด้วยการเคลื่อนย้ายเงินทุนของภาคเอกชนและภาคทางการ
1) การเคลื่อนย้ายเงินทุนของภาคเอกชน
- การลงทุนโดยตรง
- การลงทุนในตลาดหุ้นของไทย หรือนักลงทุนไทยไปลงทุนในตลาดหุ้น
ต่างประเทศ เรียกว่า การลงทุนในหลักทรัพย์
- การให้กู้ยืมระหว่างคนไทยกับคนต่างประเทศ
- การให้สินเชื่อการค้า ที่เรียกว่า Trade Credits
2) การเคลื่อนย้ายเงินทุนของภาคทางการ
เงินกู้และสินเชื่อระหว่างประเทศ
เช่น การกู้ยืมเงินมาเพื่อลงทุนในโครงการสร้างรถไฟฟ้าของรัฐบาล เป็นต้น
รูปแบบ
เกินดุล (Surplus)
การไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศมากกว่าการไหลออกของ เงินตราต่างประเทศ
สมดุล (Balance)
การไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศเท่ากับการไหลออกของเงินตราต่างประเทศ
 ขาดดุล(Deficit)
การไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศน้อยกว่าการไหลออกของเงินตราต่างประเทศ

ทุนสำรองระหว่างประเทศ
Foreign exchange reserves / Forex reserves
สินทรัพย์ที่ธนาคารกลางถือไว้  ซึ่งสินทรัพย์ที่ถือว่าเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศที่นิยมใช้กันนั้น
- สินทรัพย์ในรูปเงินตราต่างประเทศ
- ทองคำ
- สิทธิพิเศษถอนเงิน
- สินทรัพย์ส่งสมทบกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

สัญญา (ม.3)

สัญญา
เป็นนิติกรรมหลายฝ่ายเกิดจากการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป ซึ่งแต่ละฝ่ายนั้นอาจจะเป็นบุคคลคนเดียวหรือหลายคนก็ได้  สัญญาเป็นนิติกรรม อย่างหนึ่ง ฉะนั้นจึงนําเอาหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความสมบูรณ์ของนิติกรรมมาใช้บังคับแก่สัญญาด้วย แต่เนื่องจากสัญญานั้น เกิดจากการแสดงเจตนาของบุคคลสองฝ่ายขึ้นไป จึงต้องนําหลักเกณฑ์ของการแสดงเจตนาของบุคคล หลายฝายมาใช้บังคับเพิ่มเติม จากหลักเกณฑ์ความสมบูรณ์ของการแสดงเจตนาที่เป็นนิติกรรมโดย ทั่วๆไป

องค์ประกอบของสัญญา
สัญญาเป็นนิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป โดยฝ่ายหนึ่ง แสดงเจตนาเป็นคําเสนอและอีกฝ่ายแสดงเจตนาเป็นคําสนอง เมื่อคําเสนอสนองถูกต้องตรงกันจึงเกิด เป็นสัญญา
ซึ่งแยกองค์ประกอบเพื่อพิจารณา ดังนี้
1.สัญญาเกิดขึ้นโดยบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป
เนื่องจากสัญญาเป็นนิติกรรมสองฝ่าย จึงจําเป็นที่ต้องมีคู่สัญญาตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปโดยแต่ละฝ่ายอาจเป็นบุคคลคนเดียวหรือหลายคนรวมกันเป็นฝ่ายเดียวก็ได้
 2.มีการแสดงเจตนาที่ถูกต้องตรงกันของคู่สัญญา 
กล่าวคือมีการแสดงเจตนาขอทำสัญญาที่เรียกว่า คําเสนอและคําตอบรับตามคําเสนอนั้นที่เรียกว่า คําสนองสัญญาจึงจะเกิดขึ้น ซึ่งทั้งคําเสนอและคําสนองต้องมีลักษณะที่ชัดเจนแน่นอน ไม่ใช่เป็นเพียงแต่คําเชิญชวนหรือการตอบรับที่ไม่มุ่งประสงค์ผลเท่านั้น และเมื่อคําเสนอคําสนองถูกต้องตรงกัน สัญญาจึงเกิดขึ้น
3.ในการทําสัญญาดังกล่าวต้องมีวัตถุประสงค์ของคู่กรณี
กล่าวคือในการแสดงเจตนาทำนิติกรรมจะต้องมีวัตถุประสงค์ในการทำนิติกรรมทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวหรือนิติกรรมสองฝ่ายก็ตามซึ่งหากไม่มีวัตถุประสงค์ย่อมไม่เกิดเป็นนิติกรรม ดังนั้นเนื่องจากสัญญาเป็นนิติกรรมชนิดหนึ่งซึ่งจัดอยู่ในนิติกรรมสองฝ่ายจึงต้องมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกันและหากไม่มีวัตถุประสงค์ในการทําสัญญาแล้ว สัญญาย่อมจะเกิดขึ้นไม่ได
ประเภทของสัญญา
ในเรื่องของนิติกรรมสองฝ่ายหรือสัญญานี้โดยทั่วไปอาจพอจำแนกประเภทของสัญญา ตามแบบดั้งเดิมออกได้ 5 ประเภท ดังนี้
 1.สัญญาต่างตอบแทนกับสัญญาไม่ต่างตอบแทน
สัญญาต่างตอบแทน
เป็นสัญญาที่คู่สัญญาต่างเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน กล่าวคือ คู่สัญญาต่างฝ่ายต่างมีภาระหนาที่ในการตอบแทนต่อกัน อาจกล่าวได้ว่าต่างมีหนี้ต่อกัน หรือมีหนาที่ จะต้องชำระให้แก่กันเป็นการตอบแทน เช่น ในสัญญาซื้อขายซึ่งผู้ขายมีหน้าที่ที่จะต้องส่งมอบทรัพย์ที่ซื้อขายให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งผู้ ซื้อก็มีหน้าที่ที่จะต้องชําระราคาให้แก่ผู้ขายเป็นการตอบแทน
สัญญาไม่ต่างตอบแทน
                เป็นสัญญาที่กอหนี้ฝ่ายเดียวโดยที่ไม่ทำให้คู่สัญญาทั้งสอง ฝ่ายตกเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ซึ่งกันและกัน กล่าวคือมีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเท่านั้นที่เป็นเจ้าหนี้ โดยที่คู่สัญญา อีกฝ่ายหนึ่งเป็นเพียงลูกหนี้เท่านั้น เช่น ในเรื่องฝากทรัพย์ไม่มีบําเหน็จ สัญญากู้ ยืมเงิน เป็นต้น
2.สัญญามีค่าตอบแทนกับสัญญาไม่มีค่าตอบแทน
สัญญามีค่าตอบแทน
 เป็นสัญญาที่คู่สัญญาต่างมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนซึ่งกันและกัน ซึ่งค่าตอบแทนนั้นอาจจะเป็นทรัพย์สิน แรงงานหรือประโยชน์อย่างอื่นใดก็ได้  เช่นสัญญาซื้อขาย สัญญาจ่างแรงงาน เป็นต้น
สัญญาไม่มีค่าตอบแทน
เป็นสัญญาที่ก่อประโยชน์ให้คู่สัญญาแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้รับประโยชน์อย่างใดเป็นค่าตอบแทน เช่น สัญญาฝากทรัพย์สินไม่มีบําเหน็จ สัญญาให เป็นต้น
3.สัญญาประธานกับสัญญาอุปกรณ์
สัญญาประธาน
 เป็นสัญญาที่เกิดขึ้นอยู่ได้โดยลําพังไม่ขึ้นกับสัญญาอื่นใดซึ่งโดยอาศัยความสมบูรณ์ของสัญญาจากตัวสัญญานั้นเองเท่านั้น เช่น สัญญาซื้อขาย, สัญญาเช่าทรัพย์, สัญญาเช่าซื้อ, สัญญากู้ยืมเงิน เป็นต้น
สัญญาอุปกรณ
เป็นสัญญาที่อาศัยความสมบูรณ์จากสัญญาอื่นอีกฉบับหนึ่งโดยที่ไม่สามารถเกิดขึ้นและเป็นอยู่ได้โดยลำพังดวยตนเองได้และในความสมบูรณ์ของสัญญาอุปกรณ์นั้น นอกจากจะพิจารณาจากสัญญาตนซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณแล้วยังต้องอาศัยสมบูรณ์ของสัญญาอีกฉบับ ที่เป็นสัญญาประธานอีกด้วย กล่าวคือ หากสัญญาประธานนั้นไม่สมบูรณ์ สัญญาอุปกรณ์ดังกล่าว ก็ย่อมไม่สมบูรณ์ไปด้วย  ถึงแม้ว่าสัญญาอุปกรณ์จะมีความสมบูรณ์แล้วก็ตาม ดังนั้นสัญญาอุปกรณ์นั้น จะเกิดขึ้นลอยๆลําพังโดยปราศจากสัญญาประธานไม่ได้  สัญญาอุปกรณ์ในประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย เช่นสัญญาค้าประกัน สัญญาจํานอง เป็นต้น
4.สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก
เป็นสัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งตกลงกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง โดยมีเงื่อนไขว่าจะให้ คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจัดการชําระหนี้ที่คู่สัญญาผูกพันให้แก่บุคคลภายนอกตามที่ได้ตกลงกันโดยที่บุคคลภายนอกนั นไม่จําต้องเข้ามาเป็นคู่สัญญาด้วย   เมื่อเกิดหนี้ขึ้นตามสัญญา ก็ให้จัดการชําระหนี้ดังกล่าวแก่บุคคลภายนอกที่ระบุไว้โดยตรง  โดยไม่จําต้องชําระหนี้ดังกล่าว ให้แก่คู่สัญญาอีก สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เช่นในกรณีของสัญญาประกันชีวิตที่ผู้ เอาประกันระบุบุคคลภายนอกเป็นผู้ รับประโยชน์
5.เอกเทศสัญญากับสัญญาไม่มีชื่อ
เอกเทศสัญญา
 ได้แกสัญญาที่ได้มีการกําหนดไว้โดยเฉพาะเรื่องในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่าด้วยเอกเทศสัญญา โดยได้กําหนดชื่อของสัญญา ลักษณะของสัญญา วัตถุประสงคและผลทางกฎหมาย รวมตลอดถึงสิทธิและหนาที่ของคู่สัญญาในสัญญาไว้แต่ละประเภท
 สัญญาไม่มีชื่อ
ได้แก สัญญาอื่นใดนอกเหนือจากที่ได้บัญญัติไว้ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชยว่าด้วยเอกเทศสัญญา
ซึ่งได้ทําถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักทั่วไปใน เรื่องนิติกรรมสัญญา และกฎหมายยอมรับบังคับให้ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญานั้น
เช่น สัญญาเล่นแชรเป็นต้น