วันศุกร์, กันยายน 09, 2554

ดุลการชำระเงิน (ม.5)

ดุลการชำระเงิน
(
Balance of Payment/Balance Budget)
ความหมาย
บัญชีดุลชำระเงินระหว่างประเทศ เป็นการลงบันทึกรายการเกี่ยวกับรายรับและรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานทางเศรษฐกิจของประชากรในประเทศรวมทั้งส่วนของประชากรที่อยู่ในต่างประเทศ ภายในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
ความสำคัญ
เครื่องบ่งชี้ฐานสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ
ถ้าดุลการชำระเงินเกินดุลในปีใด หมายถึง รายรับของประเทศมากกว่ารายจ่าย อาจจะมีผลทำให้เงินทุนสำรองของประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงว่าในปีนั้นประเทศมีสภาพคล่องทางเศรษฐกิจสูง
ประเภทของบัญชี
1. บัญชีเดินสะพัด
2. บัญชีการเคลื่อนย้ายของทุน
3. เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ

ดุลบัญชีเดินสะพัด
1) ดุลการค้า
รายการการค้าสินค้าระหว่างประเทศ
2) ดุลบริการ
รายการการค้าบริการระหว่างประเทศ เช่น การขนส่ง การท่องเที่ยว สิทธิบัตร เป็นต้น
3) ดุลรายได้
ผลตอบแทบจากการจ้างงานรวมถึงสวัสดิการ
4) ดุลการโอนและการบริจาค
การโอนเงินบริจาค
ดุลบัญชีเดินสะพัด = ดุลการค้า + ดุลบริการ + ดุลรายได้+ดุลการโอนและการบริจาค

ดุลบัญชีเงินทุน
ประกอบไปด้วยการเคลื่อนย้ายเงินทุนของภาคเอกชนและภาคทางการ
1) การเคลื่อนย้ายเงินทุนของภาคเอกชน
- การลงทุนโดยตรง
- การลงทุนในตลาดหุ้นของไทย หรือนักลงทุนไทยไปลงทุนในตลาดหุ้น
ต่างประเทศ เรียกว่า การลงทุนในหลักทรัพย์
- การให้กู้ยืมระหว่างคนไทยกับคนต่างประเทศ
- การให้สินเชื่อการค้า ที่เรียกว่า Trade Credits
2) การเคลื่อนย้ายเงินทุนของภาคทางการ
เงินกู้และสินเชื่อระหว่างประเทศ
เช่น การกู้ยืมเงินมาเพื่อลงทุนในโครงการสร้างรถไฟฟ้าของรัฐบาล เป็นต้น
รูปแบบ
เกินดุล (Surplus)
การไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศมากกว่าการไหลออกของ เงินตราต่างประเทศ
สมดุล (Balance)
การไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศเท่ากับการไหลออกของเงินตราต่างประเทศ
 ขาดดุล(Deficit)
การไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศน้อยกว่าการไหลออกของเงินตราต่างประเทศ

ทุนสำรองระหว่างประเทศ
Foreign exchange reserves / Forex reserves
สินทรัพย์ที่ธนาคารกลางถือไว้  ซึ่งสินทรัพย์ที่ถือว่าเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศที่นิยมใช้กันนั้น
- สินทรัพย์ในรูปเงินตราต่างประเทศ
- ทองคำ
- สิทธิพิเศษถอนเงิน
- สินทรัพย์ส่งสมทบกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น