วันจันทร์, กันยายน 12, 2554

นโยบายการเงิน/การคลัง เงินแข็งตัว/อ่อนตัว (ม.5)

นโยบายการเงิน

เพื่อการควบคุมปริมาณเงินและสินเชื่อ โดยธนาคารกลาง

แบ่งเป็น

§  นโยบายการเงินแบบเข้มงวด                                       

ผลที่ได้จะทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจลดลง

§  นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย                                    

 ผลที่ได้จะทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

นโยบายการคลัง (Fiscal Policy)

นโยบายที่เกี่ยวกับการใช้รายได้ และรายจ่ายของรัฐบาล

เครื่องมือนโยบายการคลัง

1.             งบประมาณรายจ่าย

2.             งบประมาณรายรับ

3.             หนี้สาธารณะ

งบประมาณรายจ่าย

งบลงทุน

งบประจำ

งบประมาณรายรับ

แบ่งเป็น 2 ประเภท

รายได้จากการเก็บภาษีอากร

                   ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

                   ภาษีเงินได้นิติบุคคล

                   ภาษีสรรพสามิต

                   ภาษีศุลกากร

                            ฯลฯ

รายได้ที่ไม่ใช่ภาษีอากร

                   รายได้จากรัฐพาณิชย์

                   รายได้จากการขายหลักทรัพย์

                   รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์

                   ค่าธรรมเนียมประเภทต่างๆ

                   ฯลฯ

หนี้สาธารณะ

ความหมาย

รัฐบาลกู้เงินจากสถาบันการเงินเอกชนภายในประเทศและนอกประเทศ

ประเภทของนโยบายการคลัง

นโยบายการคลังแบบขยายตัวหรือใช้งบประมาณขาดดุล

โดยมีรายจ่ายรัฐบาลมากกว่ารายรับ ใช้ในกรณีเศรษฐกิจตกต่ำ

นโยบายการคลังแบบหดตัวหรือใช้งบประมาณเกินดุล

โดยมีรายรับมากกว่ารายจ่าย ใช้ในกรณีเศรษฐกิจฟองสบู่ เกิดภาวะเงินเฟ้อ

เงินแข็งตัวและเงินอ่อนตัว

ค่าเงินแข็งตัว (Appreciation) หมายถึง การที่ค่าเงินสกุลหนึ่งมีค่ามากขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น

การไหลเข้าของเงินสกุลอื่น
ค่าเงินอ่อนตัว (
Depreciation) หมายถึง การที่ค่าเงินสกุลหนึ่งมีค่าลดลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น

การไหลออกของเงินบาท

ใครได้ประโยชน์



ค่าเงินแข็งตัว
ค่าเงินอ่อนตัว
เจ้าหนี้ชาวไทย
ผู้นำเข้า
นักลงทุนชาวไทย
ลูกหนี้ชาวไทย
ผู้ส่งออก
นักลงทุนชาวต่างประเทศ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น