วันศุกร์, กันยายน 09, 2554

สัญญา (ม.3)

สัญญา
เป็นนิติกรรมหลายฝ่ายเกิดจากการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป ซึ่งแต่ละฝ่ายนั้นอาจจะเป็นบุคคลคนเดียวหรือหลายคนก็ได้  สัญญาเป็นนิติกรรม อย่างหนึ่ง ฉะนั้นจึงนําเอาหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความสมบูรณ์ของนิติกรรมมาใช้บังคับแก่สัญญาด้วย แต่เนื่องจากสัญญานั้น เกิดจากการแสดงเจตนาของบุคคลสองฝ่ายขึ้นไป จึงต้องนําหลักเกณฑ์ของการแสดงเจตนาของบุคคล หลายฝายมาใช้บังคับเพิ่มเติม จากหลักเกณฑ์ความสมบูรณ์ของการแสดงเจตนาที่เป็นนิติกรรมโดย ทั่วๆไป

องค์ประกอบของสัญญา
สัญญาเป็นนิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป โดยฝ่ายหนึ่ง แสดงเจตนาเป็นคําเสนอและอีกฝ่ายแสดงเจตนาเป็นคําสนอง เมื่อคําเสนอสนองถูกต้องตรงกันจึงเกิด เป็นสัญญา
ซึ่งแยกองค์ประกอบเพื่อพิจารณา ดังนี้
1.สัญญาเกิดขึ้นโดยบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป
เนื่องจากสัญญาเป็นนิติกรรมสองฝ่าย จึงจําเป็นที่ต้องมีคู่สัญญาตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปโดยแต่ละฝ่ายอาจเป็นบุคคลคนเดียวหรือหลายคนรวมกันเป็นฝ่ายเดียวก็ได้
 2.มีการแสดงเจตนาที่ถูกต้องตรงกันของคู่สัญญา 
กล่าวคือมีการแสดงเจตนาขอทำสัญญาที่เรียกว่า คําเสนอและคําตอบรับตามคําเสนอนั้นที่เรียกว่า คําสนองสัญญาจึงจะเกิดขึ้น ซึ่งทั้งคําเสนอและคําสนองต้องมีลักษณะที่ชัดเจนแน่นอน ไม่ใช่เป็นเพียงแต่คําเชิญชวนหรือการตอบรับที่ไม่มุ่งประสงค์ผลเท่านั้น และเมื่อคําเสนอคําสนองถูกต้องตรงกัน สัญญาจึงเกิดขึ้น
3.ในการทําสัญญาดังกล่าวต้องมีวัตถุประสงค์ของคู่กรณี
กล่าวคือในการแสดงเจตนาทำนิติกรรมจะต้องมีวัตถุประสงค์ในการทำนิติกรรมทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวหรือนิติกรรมสองฝ่ายก็ตามซึ่งหากไม่มีวัตถุประสงค์ย่อมไม่เกิดเป็นนิติกรรม ดังนั้นเนื่องจากสัญญาเป็นนิติกรรมชนิดหนึ่งซึ่งจัดอยู่ในนิติกรรมสองฝ่ายจึงต้องมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกันและหากไม่มีวัตถุประสงค์ในการทําสัญญาแล้ว สัญญาย่อมจะเกิดขึ้นไม่ได
ประเภทของสัญญา
ในเรื่องของนิติกรรมสองฝ่ายหรือสัญญานี้โดยทั่วไปอาจพอจำแนกประเภทของสัญญา ตามแบบดั้งเดิมออกได้ 5 ประเภท ดังนี้
 1.สัญญาต่างตอบแทนกับสัญญาไม่ต่างตอบแทน
สัญญาต่างตอบแทน
เป็นสัญญาที่คู่สัญญาต่างเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน กล่าวคือ คู่สัญญาต่างฝ่ายต่างมีภาระหนาที่ในการตอบแทนต่อกัน อาจกล่าวได้ว่าต่างมีหนี้ต่อกัน หรือมีหนาที่ จะต้องชำระให้แก่กันเป็นการตอบแทน เช่น ในสัญญาซื้อขายซึ่งผู้ขายมีหน้าที่ที่จะต้องส่งมอบทรัพย์ที่ซื้อขายให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งผู้ ซื้อก็มีหน้าที่ที่จะต้องชําระราคาให้แก่ผู้ขายเป็นการตอบแทน
สัญญาไม่ต่างตอบแทน
                เป็นสัญญาที่กอหนี้ฝ่ายเดียวโดยที่ไม่ทำให้คู่สัญญาทั้งสอง ฝ่ายตกเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ซึ่งกันและกัน กล่าวคือมีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเท่านั้นที่เป็นเจ้าหนี้ โดยที่คู่สัญญา อีกฝ่ายหนึ่งเป็นเพียงลูกหนี้เท่านั้น เช่น ในเรื่องฝากทรัพย์ไม่มีบําเหน็จ สัญญากู้ ยืมเงิน เป็นต้น
2.สัญญามีค่าตอบแทนกับสัญญาไม่มีค่าตอบแทน
สัญญามีค่าตอบแทน
 เป็นสัญญาที่คู่สัญญาต่างมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนซึ่งกันและกัน ซึ่งค่าตอบแทนนั้นอาจจะเป็นทรัพย์สิน แรงงานหรือประโยชน์อย่างอื่นใดก็ได้  เช่นสัญญาซื้อขาย สัญญาจ่างแรงงาน เป็นต้น
สัญญาไม่มีค่าตอบแทน
เป็นสัญญาที่ก่อประโยชน์ให้คู่สัญญาแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้รับประโยชน์อย่างใดเป็นค่าตอบแทน เช่น สัญญาฝากทรัพย์สินไม่มีบําเหน็จ สัญญาให เป็นต้น
3.สัญญาประธานกับสัญญาอุปกรณ์
สัญญาประธาน
 เป็นสัญญาที่เกิดขึ้นอยู่ได้โดยลําพังไม่ขึ้นกับสัญญาอื่นใดซึ่งโดยอาศัยความสมบูรณ์ของสัญญาจากตัวสัญญานั้นเองเท่านั้น เช่น สัญญาซื้อขาย, สัญญาเช่าทรัพย์, สัญญาเช่าซื้อ, สัญญากู้ยืมเงิน เป็นต้น
สัญญาอุปกรณ
เป็นสัญญาที่อาศัยความสมบูรณ์จากสัญญาอื่นอีกฉบับหนึ่งโดยที่ไม่สามารถเกิดขึ้นและเป็นอยู่ได้โดยลำพังดวยตนเองได้และในความสมบูรณ์ของสัญญาอุปกรณ์นั้น นอกจากจะพิจารณาจากสัญญาตนซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณแล้วยังต้องอาศัยสมบูรณ์ของสัญญาอีกฉบับ ที่เป็นสัญญาประธานอีกด้วย กล่าวคือ หากสัญญาประธานนั้นไม่สมบูรณ์ สัญญาอุปกรณ์ดังกล่าว ก็ย่อมไม่สมบูรณ์ไปด้วย  ถึงแม้ว่าสัญญาอุปกรณ์จะมีความสมบูรณ์แล้วก็ตาม ดังนั้นสัญญาอุปกรณ์นั้น จะเกิดขึ้นลอยๆลําพังโดยปราศจากสัญญาประธานไม่ได้  สัญญาอุปกรณ์ในประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย เช่นสัญญาค้าประกัน สัญญาจํานอง เป็นต้น
4.สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก
เป็นสัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งตกลงกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง โดยมีเงื่อนไขว่าจะให้ คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจัดการชําระหนี้ที่คู่สัญญาผูกพันให้แก่บุคคลภายนอกตามที่ได้ตกลงกันโดยที่บุคคลภายนอกนั นไม่จําต้องเข้ามาเป็นคู่สัญญาด้วย   เมื่อเกิดหนี้ขึ้นตามสัญญา ก็ให้จัดการชําระหนี้ดังกล่าวแก่บุคคลภายนอกที่ระบุไว้โดยตรง  โดยไม่จําต้องชําระหนี้ดังกล่าว ให้แก่คู่สัญญาอีก สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เช่นในกรณีของสัญญาประกันชีวิตที่ผู้ เอาประกันระบุบุคคลภายนอกเป็นผู้ รับประโยชน์
5.เอกเทศสัญญากับสัญญาไม่มีชื่อ
เอกเทศสัญญา
 ได้แกสัญญาที่ได้มีการกําหนดไว้โดยเฉพาะเรื่องในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่าด้วยเอกเทศสัญญา โดยได้กําหนดชื่อของสัญญา ลักษณะของสัญญา วัตถุประสงคและผลทางกฎหมาย รวมตลอดถึงสิทธิและหนาที่ของคู่สัญญาในสัญญาไว้แต่ละประเภท
 สัญญาไม่มีชื่อ
ได้แก สัญญาอื่นใดนอกเหนือจากที่ได้บัญญัติไว้ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชยว่าด้วยเอกเทศสัญญา
ซึ่งได้ทําถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักทั่วไปใน เรื่องนิติกรรมสัญญา และกฎหมายยอมรับบังคับให้ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญานั้น
เช่น สัญญาเล่นแชรเป็นต้น

4 ความคิดเห็น:

pongiie กล่าวว่า...

จาร คับ สมุดหายวางไว้บนหลังคารถ ปิวไปเลยยยย เขียนใหม่ทั้งเล่ม

Aliya Wangchai(3/13) กล่าวว่า...

เยอะเวอร์คะ.. Orz

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อาจาร คับ ผมว่า บางที มันก็มาก เกินไป T_T' จดไม่ใหวแง้!!

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

;-)=-O:-*:-)B-):-!:’(:-\:-V

แสดงความคิดเห็น