วันศุกร์, กันยายน 09, 2554

การแสดงเจตนาที่ทำให้นิติกรรมมีผลไม่สมบูรณ์ (ม.3)

การแสดงเจตนาที่ทำให้นิติกรรมมีผลไม่สมบูรณ์
เจตนาซ่อนเร้น
เป็นการแสดงเจตนาที่เจตนาภายในกับการแสดงออกซึ่งเจตนาไม่ตรงกันโดยผู้แสดงเจตนารู้ตัวโดยไม่มีการสมรู้ร่วมคิดกับบุคคลอื่น การแสดงเจตนาออกมานั้นจะมีผลสมบูรณ์ โดยไม่พิจารณาเจตนาที่แท้จริงภายในของผู้แสดงเจตนาเลย
เจตนาลวง
เป็นการแสดงเจตนาที่เจตนาภายในกับการแสดงออกซึ่งเจตนาไม่ตรงกันโดยผู้แสดงเจตนารู้ตัวโดยสมคบกับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อหลอกลวงผู้อื่น ดังนั้นในนิติกรรมฝ่ายเดียวโดยที่ไม่ต้องมีผู้รับการแสดงเจตนาจึงไม่อาจมีกรณีเจตนาลวงได้เนื่องจากไม่มีคู่กรณีอีกฝ่ายให้สมคบกันได้
นิติกรรมอำพราง
เป็นการแสดงเจตนาทำนิติกรรมเพื่ออำพรางหรือซ่อนเร้นนิติกรรมที่คู่กรณีมีเจตนาให้มีผลอย่างแท้จริง กล่าวคือ มีการทำนิติกรรม 2 ราย รายหนึ่งเป็นนิติกรรมอำพรางซึ่งจะเปิดเผยออกมาภายนอก เรียกว่า นิติกรรมอำพราง และอีกรายเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางหรือถูกซ่อนเร้นปกปิดไว้เรียกว่า นิติกรรมที่ถูกอำพราง
ผลของนิติกรรมอำพราง (มาตรา 155 วรรค 2)
นิติกรรมอำพรางจะตกเป็นโมฆะเนื่องจากคู่กรณีสมรู้กันมิได้มีเจตนาที่แท้จริงที่จะผูกพันกัน (เป็นกรณีของเจตนาลวงตามมาตรา 155 วรรคแรกนั่นเอง) แต่นิติกรรมอีกรายหนึ่งที่ถูกปกปิดไว้ หรือนิติกรรมที่ถูกอำพรางนั้นมีผลใช้บังคับได้ เนื่องจากเป็นกรณีที่คู่กรณีตกลงกันโดยไม่มีความบกพร่องด้านการแสดงเจตนาแต่อย่างใด
สำคัญผิด
การเข้าใจความจริงไม่ถูกต้องในช่วงการแสดงเจตนา เป็นกรณีความนึกคิดของผู้แสดงเจตนาไม่ตรงกับความจริงที่เป็นอยู่ โดยผู้แสดงเจตนาไม่ทราบความจริงดังกล่าวและได้แสดงเจตนานั้นออกมา โดยความสำคัญผิดนั้นอาจเกิดขึ้นจากผู้แสดงเจตนาเข้าใจผิดเอง หรือคู่กรณีอีกฝ่ายหลอกลวง หรือบุคคลอื่นหลอกลวงให้เข้าใจผิดก็ได้
ความสำคัญผิดที่จะทำให้นิติกรรมมีผลไม่บริบูรณ์นั้นมี 2 กรณีคือ
1. สำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม (มาตรา156) ซึ่งจะให้ผลเป็นโมฆะได้แก่
·       ลักษณะหรือประเภทหรือชนิดของนิติกรรม
·       ตัวบุคคลที่เป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม
·       ทรัพย์สินที่เป็นวัตถุแห่งนิติกรรม
·       เนื้อหาของข้อตกลงในกรณีที่เป็นเงื่อนไขสำคัญ
2. สำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์ที่เป็นสาระสำคัญ (มาตรา 157) ซึ่งจะให้ผลเป็นโมฆียะ
คุณสมบัตินั้น มิใช่เพียงแค่ลักษณะของบุคคลหรือทรัพย์เท่านั้นแต่หมายถึง ลักษณะเฉพาะตัวที่แสดงถึงคุณค่าของบุคคลหรือทรัพย์นั้น ๆ คุณสมบัติใดเป็นสาระสำคัญหรือไม่ต้องถือว่าคุณสมบัติใดหากผู้แสดงเจตนาได้ทราบความจริงแล้วจะไม่เข้าทำนิติกรรมเลยคุณสมบัตินั้นก็ต้องถือว่าเป็นสาระสำคัญ
กลฉ้อฉล
เป็นการใช้อุบายหลอกลวงให้บุคคลอื่นหลงเชื่อในสิ่งที่ไม่เป็นความจริงเพื่อให้บุคคลดังกล่าวแสดงเจตนาทำนิติกรรม ผู้แสดงเจตนาได้แสดงเจตนาไปโดยหลงเชื่อเนื่องจากถูกหลอกลวง
ลักษณะของกลฉ้อฉล
1.ผู้กระทำกลฉ้อฉลมีเจตนาทุจริต
2.ผู้กระทำกลฉ้อฉลต้องมีการหลอกลวง
3.การหลอกลวงดังกล่าวทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหลงเชื่อจน
4.แสดงเจตนาทำนิติกรรมลงไป
ข่มขู่   เป็นการบังคับให้เกิดความกลัว
ภัยเพื่อให้ผู้ถูกข่มขู่แสดงเจตนาทำนิติกรรม การแสดงเจตนาโดยข่มขู่นี้ผู้แสดงเจตนามีใจสมัครที่จะทำนิติกรรม คือมีทางเลือกว่าจะทำนิติกรรมหรือจะยอมรับภัยที่ถูกข่มขู่นั้น การแสดงเจตนาที่เกิดจากการข่มขู่จึงเป็นนิติกรรมแต่เนื่องจากเกิดขึ้นเพราะถูกข่มขู่บังคับกฎหมายจึงถือว่าการแสดงเจตนาทำนิติกรรมดังกล่าวไม่สมบูรณ์คือ ตกเป็นโมฆียะ
หลักเกณฑ์การข่มขู่
·       ผู้ข่มขู่มีเจตนาทุจริต
·       ภัยที่ขู่นั้นมีความใกล้จะถึงและไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
·       ภัยที่ขู่นั้นมีความร้ายแรงถึงขนาดจูงใจให้ผู้ถูกขู่มีมูลต้องกลัวภัยดังกล่าว
การข่มขู่นี้อาจเกิดจากบุคคลภายนอกข่มขู่ก็ได้ ผลคือตกเป็นโมฆียะเสมอไม่ว่าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รู้ถึงการข่มขู่หรือไม่ก็ตาม (มาตรา 166)

4 ความคิดเห็น:

หัวหน้าห้อง[อดีต/12] กล่าวว่า...

ขอบพระคุนคับบบ

หัวหน้าห้อง[อดีต/12] กล่าวว่า...

ขอบพระคุนคับบบ

หัวหน้าห้อง[อดีต/12] กล่าวว่า...

ลอกเเทบตายยยยยยยยยยยยย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อา จารย์คะมันอยุ่หนัยหรอคะของ ม.1/11 เทอม 2 อ่ะค่ะ

แสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างปลายภาค รอบสุดท้าย

  1. ความหมายโดยทั่วไปของกฎหมายคืออะไร 1. ข้อบังคับของรัฐ 2. บรรทัดฐานในสังคม 3. จารีตประเพณี 4. บรรทัดฐานที่ศาลใช้ในการตัดสินคด...