วันพุธ, กุมภาพันธ์ 13, 2556

อารยธรรมอิสลาม(ม.2)


อารยธรรมอิสลาม หมายถึง ความก้าวหน้าที่ได้รับแรงดลใจมาจากอิทธิพลของศาสนาอิสลาม สร้างขึ้นโดยชาวมุสลิมเชื้อชาติต่าง ๆ แต่เนื่องจากศาสดามุฮัมมัดผู้ประกาศศาสนาเป็นชาวอาหรับ ดังนั้น กลุ่มอาหรับ                จึงมีบทบาทสำคัญในการให้กำเนิดอารยธรรมอิสลาม
            คาบสมุทรอาหรับในช่วงระยะที่อารยธรรมอิสลาม ถือกำเนิดเป็นดินแดนซึ่งประชากรแบ่งแยกออก
เป็นเผ่านักรบหลายเผ่า ต่างก็มีวิถีชีวิตที่อาจแบ่งออกเป็นสองแบบ คือ พวกที่เร่ร่อนตามทะเลทรายซึ่งเรียกกันว่า พวกเบดูอิน (Bedouins) มีอาชีพเลี้ยงสัตว์ จึงต้องเดินทางเร่ร่อนเพื่อแสวงหาทุ่งหญ้าและบ่อน้ำ  ทำให้ไม่สามารถหยุดตั้งหลักแหล่งได้ พวกเร่ร่อนบางกลุ่มทำการเกษตร จึงตั้งถิ่นฐานชั่วคราวตามบริเวณโอเอซิส (Oasis) ซึ่งเป็นแหล่งน้ำในทะเลทราย การดำเนินชีวิตอีกแบบหนึ่งคือพวกตั้งหลักแหล่งในเมืองยึดการค้าเป็นอาชีพ ด้วยเหตุที่เมืองในคาบสมุทรอาหรับสมัยนั้นมักตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าและเป็นเมืองท่าที่จอดพักของกองคาราวาน ชาวเมืองเหล่านี้จึงแสวงหาผลประโยชน์จากการค้าจนมั่งคั่งร่ำรวย เช่น ชาวเมืองมักฮ์ (เมกกะ)   เป็นต้น
            แม้ว่าอารยธรรมอิสลามจะถือกำเนิดจากชนเผ่าที่ตั้งหลักแหล่งอยู่ในเมืองก็ตาม  แต่อิทธิพลของวัฒนธรรมของชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทราย ก็ปรากฏเด่นชัดอยู่ในพัฒนาการของอารยธรรมอิสลาม ทั้งนี้เพราะความผูกพันกันทางสายเลือด และขนบธรรมเนียมประเพณีของหมู่ชนทั้งสองพวก ด้วยเหตุที่วัฒนธรรมของชนเผ่าเร่ร่อนมีความสำคัญต่อพัฒนาการของอารยธรรมอิสลาม เนื่องจากความแห้งแล้งของทะเลทราย                    มีอิทธิพลต่อระบบความคิด สังคม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชาวอาหรับ การอยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นกิจกรรมในทะเลทรายตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ทำให้ชนเผ่าเร่ร่อนรักอิสรภาพและยาก      ที่จะปกครองหรือบังคับบัญชา ประวัติศาสตร์ของการสร้างจักรวรรดิอาหรับ แสดงให้เห็นว่าผู้นำที่สามารถพิสูจน์ตนเองว่า เป็นผู้เคร่งศาสนา สามารถดึงดูดความศรัทธาได้ เป็นนักรบที่เข้มแข็งและเป็นนักบริหาร               ที่ประสบความสำเร็จเท่านั้น จึงจะได้รับความจงรักภักดีจากชนเผ่าอาหรับและรักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของจักรวรรดิไว้ได้ หากเมื่อใดที่ฐานอำนาจจากศูนย์กลางเสื่อมลง จักรวรรดิก็จะเริ่มแตกแยกออกจากกันและทำสงครามเข่นฆ่ากันเอง
ความแห้งแล้งทุรกันดารของทะเลทรายก็ดี การมีชีวิตยากลำบากต้องสู้เพื่ออยู่รอดก็ดี ทำให้ชนเผ่าเร่ร่อนเหล่านั้นมีความกล้าหาญ อดทน เป็นนักรบที่เข้มแข็ง ครั้นเมื่อยอมรับศาสนาอิสลาม มีผู้นำที่สามารถและเข้มแข็ง เป็นนายทัพ ประกอบกับมีความเชื่อว่าทำการสงครามปกป้องศาสนาจะทำให้ได้ไปสู่ชีวิตที่มีความสุขในสวรรค์ กองทัพอาหรับจึงได้ชัยชนะในการรบและขยายอำนาจได้อย่างรวดเร็ว จึงเห็นได้ว่าแรงศรัทธา               ในศาสนาอิสลาม ประกอบกับความกล้าหาญ แข็งแกร่ง อดทน และชนเผ่าเร่ร่อนชาวอาหรับ ทำให้เกิดจักรวรรดิอิสลาม ซึ่งสร้างขึ้นด้วยการชนะสงคราม ความจำเป็นที่จะต้องรักษาตัวให้รอดพ้นจากการฆ่าฟันทำลายล้างกัน และเพื่อดำรงชีพในทะเลทรายอันประกอบด้วยภัยอันตรายได้ทำให้ชนเผ่าเร่ร่อนชาวอาหรับรู้จักสร้างขนบธรรมเนียมประเพณีขึ้น และยึดถือราวกับเป็นกฎหมายของตน ขนบธรรมเนียมประเพณีเหล่านี้ ประกอบกับภาษาอาหรับซึ่งแต่ละเผ่าสามารถใช้และเข้าใจกันได้ นับเป็นรากฐานของวัฒนธรรม และความเป็นชาติหนึ่งชาติเดียวกันของชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทรายอาหรับ ตัวอย่างของขนบธรรมเนียมประเพณีของชนเผ่าเร่ร่อน เช่น การดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในกระโจมเพื่อสะดวกแก่การอพยพ ครอบครัวหนึ่งจะอาศัยอยู่ในกระโจมหนึ่ง หลายๆ ครอบครัวจะเดินทางเร่ร่อนไปด้วยกันเป็นกลุ่ม สมาชิกทุกคนของกลุ่ม ซึ่งมีความสัมพันธ์               ทางสายเลือดหรือนับญาติกันได้ นับว่าอยู่ในสกุลเดียวกัน มีผู้อาวุโสของสกุลเป็นหัวหน้า สกุลต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกัน หรือมีความปรารถนาจะรวมกัน ก็สามารถรวมกันเป็นเผ่ามีหัวหน้าเผ่า                เป็นผู้ปกครอง ผู้ที่อยู่ในสกุลเดียวกันหรือสังกัดเผ่าใดเผ่าหนึ่ง ย่อมจะได้รับความพิทักษ์ปกป้องอันตรายด้วย
            ก่อนเกิดศาสนาอิสลาม ชาวอาหรับนับถือเทพเจ้าหลายองค์ แต่ละเผ่าจะมีเทพเจ้าประจำเผ่า มีศาลเทพารักษ์สำหรับเทพเจ้าของตน เพื่อให้สมาชิกเผ่าเดินทางมานมัสการประจำปี นอกจากเทพเจ้าประจำเผ่าแล้ว แต่ละเผ่าก็ยับนับถือเทพเจ้าอีกมากมายหลายองค์ รวมทั้งยังนับถือธรรมชาติแวดล้อม เช่น น้ำพุ ต้นไม้ และหิน เป็นต้น เทพเจ้าบางองค์และปูชนียสถานบางแห่งอาจเป็นที่ที่ชนทุกเผ่าในอาหรับนับถือเหมือนกันหมดก็ได้ เช่น หินดำทรงกลมในปูชนียสถานกะฮ์บรอที่เมืองเมกกะ เป็นสถานที่ที่ชนเผ่านับถือว่าศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้าหลายองค์และพากันเดินทางมานมัสการเป็นประจำปี ในบรรดาเทพเจ้าทั้งหลาย ชนเผ่าต่างๆ ในอาหรับนับถือพระอัลลอฮ์  เป็นเทพเจ้าสูงสุด เพราะเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ในการทำพิธีบูชาเทพเจ้านั้น ชาวอาหรับมักใช้เลือดบูชายัญ เพราะเชื่อว่าเพื่อสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างเทพเจ้ากับเผ่าของตนโดยทั่วๆ ไป การปฏิบัติศาสนาก็ดูจะเป็นเรื่องของขนบธรรมเนียมประเพณีของเผ่ามากกว่า จึงปรากฏอิทธิพลของอารยธรรมต่างๆ ในดินแดนอาหรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพลของคริสต์ศาสนา และศาสนายิว ประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 อิทธิพลของศาสนาที่นับถือพระเจ้าองค์เดียวมีพลังรุนแรงขึ้น กลุ่มชาวอาหรับผู้ใฝ่ฝันที่จะคิดเกี่ยวกับศาสนาให้ลึกซึ้งเห็นว่าศาสนาที่ตนนับถืออยู่ ไม่อาจตอบสนองความต้องการของตนได้ ในช่วงระยะนี้มักมีเรื่องเกี่ยวกับศาสดาผู้พยากรณ์เกิดขึ้นบ่อยๆ ชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของการนับถือพระเจ้าองค์เดียว และแสดงว่าชาวอาหรับเริ่มแสวงหาทางไปสู่การนับถือพระเจ้าองค์เดียว แทนการนับถือเทพเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายดังแต่ก่อน ในวาระนั้นเองศาสดาก็ปรากฏตัวขึ้นเพื่อตอบสนองสิ่งที่ชาวอาหรับแสวงหา
                อารยธรรมของอิสลาม จักรวรรดิมุสลิมมีความเจริญรุ่งเรืองในแถบตะวันออกกลาง เพราะอิทธิพล ของการนับถือพระจ้าพระองค์เดียว ชาวมุสลิมมาประดิษฐ์เลขอารบิกที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน ผลงานเด่นของอารยธรรมอิสลามที่มีต่อโลก คือ เรื่องการแพทย์  ซึ่งเป็นต้นฉบับตำราแพทย์ปัจจุบัน โดยมหาวิทยาลัย           เลอลาโนในประเทศสเปน เป็นมหาวิทยาลัยแพทย์แห่งแรกของโลก นอกจากนี้ชาวมุสลิมยังมีผลงานด้านฟิสิกส์และเป็นเค้าโครงทางวรรณคดียุโรปปัจจุบัน นักวิชาการทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า อารยธรรมอิสลามเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมอารยธรรมตะวันตกและตะวันออกให้ประสานกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างปลายภาค รอบสุดท้าย

  1. ความหมายโดยทั่วไปของกฎหมายคืออะไร 1. ข้อบังคับของรัฐ 2. บรรทัดฐานในสังคม 3. จารีตประเพณี 4. บรรทัดฐานที่ศาลใช้ในการตัดสินคด...