วันพฤหัสบดี, สิงหาคม 18, 2554

นิติกรรมและสัญญา (ม.3)

นิติกรรมคืออะไร
(ป.พ.พ.ม. 149) การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร  มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อก่อ  เปลี่ยนแปลง  โอน  สงวน  หรือระงับซึ่งสิทธิ
หลักการของนิติกรรม
1.ต้องมีการแสดงเจตนาของบุคคล
§  ชัดแจ้ง
§  ปริยาย
§  นิ่ง
2. ต้องประกอบด้วยใจสมัคร
§  เจตนาด้วยใจจริง และด้วยใจสมัคร
§  ปราศจากการข่มขู่ ล่อลวง ฉ้อฉล หรือหลอกลวงให้สําคัญผิดใด ๆ
§  แม้จะตกลงให้ได้เปรียบเสียเปรียบแก่กันอย่างไรก็ถือว่าใช้ได้
3. มุ่งให้มีผลผูกพันในทางกฎหมาย
§  ต้องการให้มีผลในทางกฎหมาย
4. เป็นการกระทําที่ชอบด้วยกฎหมาย
§  ต้องไม่ต้องห้ามตาม กฎหมาย
§  ไม่พ้นวิสัย
§  ไม่ขัดต่อความสงบฯ
§  แบบของนิติกรรม
§  ความสามารถของบุคคล
5. การกระทํานั้นเพื่อก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวในสิทธิ
§  ก่อสิทธิ
§  เปลี่ยนแปลงสิทธิ
§  โอนสิทธิ
§  สงวนสิทธิ
§  ระงับซึ่งสิทธิ
นิติกรรมในชีวิตประจำวัน
1. การกู้ยืมเงิน
การกู้ยืมเงินเป็นสัญญาอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า "ผู้กู้" มีความต้องการจะใช้เงิน แต่ตนเองมีเงินไม่พอ หรือไม่มี เงินไปขอกู้ยืมจากบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า "ผู้ให้กู้" และผู้กู้ตกลงจะใช้คืน ภายในกำหนดเวลาใดเวลาหนึ่ง การกู้ยืมจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ มีการส่ง มอบเงินที่ยืมให้แก่ผู้ที่ให้ยืม ในการกู้ยืมนี้ผู้ให้กู้จะคิดดอกเบี้ยหรือไม่ก็ได้
2. การค้ำประกัน
การที่ใครคนหนึ่งทำสัญญา กับเจ้าหนี้ว่าถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันจะชำระหนี้นั้นแทน เมื่อลูกหนี้ ไม่ชำระหนี้เจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องหรือฟ้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดได้
3. การจำนอง
การที่ ผู้จำนอง เอาอสังหาริมทรัพย์ไปตราไว้แก่ ผู้รับจำนอง เพื่อเป็นประกัน การชำระหนี้ของลูกหนี้ โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์ที่จำนองให้เจ้าหนี้ เมื่อจำนองแล้วถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เจ้าหนี้ก็มีอำนาจยึดทรัพย์ที่จำนองออกขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้ และมีสิทธิพิเศษได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้ธรรมดาทั่วไป
4. การจำนำ
สัญญาซึ่ง ผู้จำนำ ส่งมอบสังหาริมทรัพย์ให้แก่ ผู้รับจำนำ เพื่อประกันการชำระหนี้
5. การเช่าซื้อ
สัญญาที่เจ้าของทรัพย์สินเอาทรัพย์สินของตนออกให้ผู้อื่นเช่า เพื่อใช้สอยหรือเพื่อให้ได้รับประโยชน์ และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์นั้น หรือจะให้ทรัพย์สินที่เช่าตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ เมื่อได้ใช้เงินจนครบตามที่ตกลงไว้โดยการชำระเป็นงวด ๆ จนครบตามข้อตกลง
**ไม่เหมือนขายผ่อนส่งตรงกรรมสิทธิ์**
6. การเช่าทรัพย์
สัญญาซึ่ง ผู้ให้เช่า ตกลงให้ ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดและผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น
7. การซื้อขาย
สัญญาที่ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ สินให้แก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย
8. การขายฝาก
สัญญาซื้อขายซึ่งสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของ ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยผู้ซื้อตกลงในขณะทำสัญญาว่า ผู้ขายมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ภายในกำหนดเวลาเท่าใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างปลายภาค รอบสุดท้าย

  1. ความหมายโดยทั่วไปของกฎหมายคืออะไร 1. ข้อบังคับของรัฐ 2. บรรทัดฐานในสังคม 3. จารีตประเพณี 4. บรรทัดฐานที่ศาลใช้ในการตัดสินคด...